ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
เมษายน 2561
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
25 เมษายน 2561
 
All Blogs
 
Navajo รหัสลับอินเดียนแดงที่ช่วยสหรัฐมีชัยชนะใน WWII






Pfc. Preston Toledo กับ Pfc. Frank Toledo พี่น้องชนเผ่าอินเดียนแดง Navajo
กำลังใช้วิทยุสนามส่งข้อความและคำสั่งจากกองทัพเรือสหรัฐที่มหาสมุทรแปซิฟิคทางตอนใต้



ในช่วงสงครามขั้นสู้รบกันอย่างดุเดือด
เรื่องลับสุดยอดและสำคัญมากที่สุด คือ
การส่งและรับข้อความอย่างรวดเร็วที่สุด
และข้อความเหล่านั้นจะต้องถูกเข้ารหัส
เพื่อให้ศัตรูไม่ทราบแผนการล่วงหน้า/แกะรหัสข้อความได้

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
นาวิกโยธินสหรัฐได้ใช้หนึ่งในพันกว่าภาษาของชาวโลก
เพื่อสร้างรหัสที่ไม่สามารถถอดรหัส : ภาษานาวาโฮ่ Navajo







สงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่ใช่ครั้งแรก
ที่มีการใช้ภาษาอเมริกันพื้นเมืองเพื่อสร้างรหัส
เพราะในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
ภาษาอินเดียนแดง Choctaw
ก็ถูกนำมาใช้ในการส่งข้อความลับทางยุทธวิธี
ทำให้การจู่โจมเยอรมันประสบความสำเร็จ
หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1
เยอรมนีและญี่ปุ่นจึงได้ส่งนักเรียนไปเรียนที่สหรัฐอเมริกา
เพื่อศึกษาภาษาและวัฒนธรรมของชนเผ่าพื้นเมืองอินเดียนแดง
Cherokee Choctaw และ Comanche


ด้วยสาเหตุนี้ จึงทำให้นายทหารในกองทัพสหรัฐจำนวนมาก
ไม่สบายใจในการใช้รหัสลับของชนเผ่าอินเดียนแดงอีกต่อไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
เพราะเกรงว่าฝ่ายศัตรูโดยเฉพาะคนที่เคยมาเรียนภาษาพื้นเมืองที่สหรัฐจะถอดรหัสลับได้
ก่อนที่จะรู้ว่ามีภาษาชนเผ่าอินเดียนแดง Navajo ที่สลับซับซ้อนกว่า
ไม่เคยมีการบันทึกเป็นตัวหนังสือและมีคนพูดได้น้อยมาก













ความคิดริเริ่มของ Philip Johnston


ในปี 1943 ขณะที่ Philip Johnston กำลังอ่านบทความของกองทัพ Louisiana
เรื่องที่กำลังพยายามหาภาษาชนเผ่าอินเดียนแดงในสหรัฐเพื่อนำมาใช้เข้ารหัสลับ
ซึ่ง Philip Johnston รู้จักภาษาพื้นเมืองชนเผ่าอินเดียนแดง Navajo เป็นอย่างดี
สามารถนำมาใช้เป็นภาษารหัสลับใหม่แทนภาษารหัสลับเดิมได้
เพราะตอนวัยเด็ก ท่านใช้ชีวิตส่วนใหญ่ภายในเขตสงวนของชนเผ่า Navajo
เพราะพ่อแม่ของท่านทำงานเป็นผู้สอนศาสนาอยู่ที่นั่น
ทำให้ท่านเติบโตขึ้นมาโดยเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรม Navajo เป็นอย่างดี

ตอนวัย 9 ขวบ Philip Johnston ก็พูดภาษา Navajo ได้อย่างคล่องแคล่วแล้ว
และได้ไปทำหน้าที่เป็นล่ามให้กับผู้แทนชนเผ่า Navajo
ที่เดินทางไป Washington, D.C. เพื่อเรียกร้องสิทธิของชนเผ่าอินเดียนแดง

ในปี 1942 Philip Johnston ได้ขอพบนายพล Clayton B. Vogel
ผู้บัญชาการ Amphibious Corps เขต Pacific Fleet และทีมงาน
เพื่อโน้มน้าวและเสนอแนะให้ใช้ภาษา Navajo เป็นรหัสลับ
มีการจำลองสถานะการณ์ภายใต้การสู้รบ
ชาวอินเดียนแดง Navajos สามารถแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษา Navajo
และส่งข้อความแทนภาษาอังกฤษจำนวน 3 บรรทัดภายในเวลาเพียง 20 วินาที
ขณะที่เครื่องจักรถอดรหัสเวลานั้นต้องใช้เวลาถึง 30 นาทีในงานแบบเดียวกัน
นายพล Clayton B. Vogel จึงบัญชาให้หน่วยนาวิกโยธิน
เปิดรับสมัครทหารเฉพาะชนเผ่า Navajo ถึง 200 อัตรา

แม้ว่าทางกองทัพสหรัฐยังมีความกังวลเกี่ยวกับ
ความปลอดภัยของรหัสลับที่อิงกับภาษาอเมริกันพื้นเมือง
แต่นาวิกโยธินสหรัฐได้ตัดสินใจทดลองแนวคิด Philip Johnston
ด้วยการอนุมัติโครงการนำร่องการใช้ภาษา Navajo
โดยชนเผ่าดินเดียนแดง Navajos 30 นายและ Philip Johnston
เข้าร่วมโครงการครั้งนี้ในการสร้างรหัสลับอีกชั้นหนึ่ง



การเริ่มต้น


ชาวอินเดียนแดง Navajo 29 คนได้รับการคัดเลือก (มีคนหนึ่งสละสิทธ์)
ทุกคนต่างเดินทางมาที่ Camp Elliott ใกล้กับ San Diego ในเดือนพฤษภาคม 1942
ภาระกิจแรกสุดคือ การพัฒนารหัสลับ Navajo
ภาษา Navajo ดูเหมือนจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการสร้างรหัสลับ
เพราะยังไม่มีตัวเขียนและมีคนน้อยมากที่สามารถพูดภาษานี้ได้

อย่างไรก็ตาม นาวิกโยธินได้สร้างรหัสลับขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง
ซึ่งทำให้ถอดรหัสลับไม่ได้เลยถ้าไม่รู้วิธีแทนคำภาษานี้ในรหัสลับ
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีชาวอินเดียนแดง Navajo
สมัครเป็นทหารสื่อสารเพื่อทำหน้าที่นี้ถึงจำนวน 420 นาย


รหัสลับและการแปลงคำ


ชนเผ่า Navajo ได้เริ่มพัฒนารหัสลับ
ด้วยการใช้คำจากภาษาของตนเอง
ซึ่งนำมาใช้ในการสื่อสารข้อความลับในครั้งนี้
ตัวอย่างเช่น ชื่อของนกชนิดที่แตกต่างกัน
ถูกนำมาใช้เพื่อบอกถึงเครื่องบินประเภทใด

รหัสลับเริ่มต้นด้วยคำศัพท์ 211 คำ
ซึ่งต่อมาได้ขยายไปถึง 411 คำในช่วงสงคราม

A แทนคำว่า Apple ...

ระบบรหัสลับได้รับการพัฒนาขึ้นโดย
ทหารที่ส่งข่าวรหัสลับ Code Talkers
ซึ่งคำบางคำจะไม่พบในคำศัพท์ของ Navajo
ตัวอักษรตัวแรกของ Navajo
จะสอดคล้องกับตัวอักษร 26 ตัวในภาษาอังกฤษ
แต่ก็ยังมีคำที่แตกต่างกันหลายคำ
ที่ได้รับการเลือกให้แสดงตัวอักษรที่ใช้กันบ่อย
เพื่อให้รหัสลับมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

* พจนานุกรม Navajo Code Talker ในหน้าประวัติกองทัพเรือสหรัฐฯ


ช่วงเวลารบ


นายทหารที่ดูแลเรื่องรหัสลับนี้ยังไม่ค่อยเชื่อมั่นกับรหัสลับนี้
จึงได้ตัดสินใจที่จะทดสอบทักษะและรหัสลับดังกล่าว
ก่อนที่จะนำไปใช้สื่อสารข้อความในสถานะการณ์สู้รบที่เกิดขึ้นจริง
ทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo สามารถแปลข้อความทดสอบได้
แบบกลับไปกลับมาภายในเวลา 2 นาทีเศษ
ซึ่งหากไม่ใช้รหัสลับ Navajo กองทัพอาจต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง
เพื่อถอดรหัสอย่างเดียวกันให้ได้ความหมายแบบเดียวกัน

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo
ก็ถูกนำมาใช้ในยุทธการครั้งสำคัญ ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับนาวิกโยธินในมหาสมุทรแปซิฟิก
งานหลักของทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo
คือ การส่งข้อมูลทางยุทธวิธีผ่านทางโทรศัพท์และวิทยุ






ในช่วงบุกยึด Iwo Jima
ทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo จำนวน 6 นาย
ปฏิบัติภาระกิจสื่อสารอย่างต่อเนื่อง
มีการส่งข้อความมากกว่า 800 รายการ
ข้อความทั้งหมดถูกส่งไปมาโดยไม่มีข้อผิดพลาดเลย
ทำให้ทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo
ได้รับการยอมรับอย่างสูงสุดจากพวกทหารนาวิกโยธิน
พันตรี Howard Connor ผู้บังคับบัญชากองเรือที่ 5
ด้านทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo กล่าวว่า
" หากไม่ใช่ทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo
กองทัพเรือก็บุกยึด Iwo Jima ไม่ได้ "

ทหารญี่ปุ่นที่ชำนาญในการถอดรหัสลับเอง
ยังคงงุนงงและไปไม่ถูกเลยกับภาษา Navajo
หัวหน้าฝ่ายข่าวกรองญี่ปุ่น นายพล Seizo Arisue ยอมรับเองว่า
ที่ผ่านมาสามารถถอดรหัสลับกองทัพบกสหรัฐ กองทัพอากาศสหรัฐ
แต่ไม่สามาถถอดรหัสลับของกองทัพเรือสหรัฐได้เลยสักครั้ง

ทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo จึงสร้างความลำบากให้กับเชลยศึกทหารชนเผ่า Navajo
ที่ถูกจับกุมและคุมขังที่ Bataan (มีทหารชนเผ่า Navajo 20 รายรบอยู่ใน Philippines)
ทหารชนเผ่า Navajo ถูกบังคับให้ฟังการรับส่งข้อความและถอดรหัสลับแต่ก็ไม่ได้ผล
ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง จึงได้เล่าเรื่องนี้ให้ทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo ว่า
" ผมไม่เคยคิดเลยว่าพวกคุณจะสร้างความเดือดร้อนให้กับผม
ในเรื่องที่พวกคุณพูดคุยสื่อสารรหัสลับกันในช่วงเวลานั้น "


ในปี 1942 มีชาวอินเดียนแดง Navajo ราว 50,000 Navajo คน
ในปี 1945 ชาวอินเดียนแดง Navajo 540 คนสมัครเป็นทหารเรือ
ราว 375 ถึง 420 คนได้รับการฝึกอบรมให้เป็นทหารสื่อสารรหัสลับ
ส่วนที่ไม่ได้รับการคัดเลือกก็ไปทำหน้าที่อื่นในกองทัพเรือ

คุณค่าและความสามารถในการใช้รหัสลับ Navajo
ได้รับการยกย่องและช่วยชีวิตชาวอเมริกันจำนวนมาก
ทำให้เป็นที่จดจำและรำลึกถึงจากรัฐบาลและประชาชนอเมริกัน






Cpl Henry Bake, Jr. กับ Pfc George H. Kirk ทหารสื่อสารรหัสลับ Navajos
ปฏิบัติหน้าที่เดือนธันวาคมปี 1943 โดยวิทยุสื่อสารเคลื่อนที่ของหน่วยนาวิกโยธิน
เพื่อป้องกันการแอบฟังในป่าหนาทึบโดยอยู่แนวหลังทหารเรือที่บุกยึดเกาะ Iwo Jima




เกียรติยศ


ผลการปฏิบัติหน้าที่อย่างทุ่มเทของทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo Code Talkers
ในช่วงแรกยังไม่มีคนรับรู้และจดจำมากนัก
จนกระทั่งมีเปิดเผยยุทธการเรื่องนี้ในปี 1968

ประธานาธิบดี Ronald Reagan
ได้มอบ Certificate of Recognition
ให้กับทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo Code Talkers
และประกาศให้ทุกวันที่ 14 สิงหาคมของทุกปี
เป็นวัน Navajo Code Talkers Day ในปี 1982

ในปี 2000 ประธานาธิบดี Bill Clinton
ได้ลงนามในกฎหมายเพื่อมอบเหรียญรางวัล
Congressional Gold Medal ให้กับ
ทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo Code Talkers จำนวน 29 นาย

ในปี 2001 ประธานาธิบดี George W. Bush
ได้มอบเหรียญดังกล่าวให้กับ ทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo จำนวน 4 นาย
ที่อนุสรณ์สถาน Capitol Rotunda ใน Washington (กรกฏาคม 2001)





นายพล Douglas MacArthur ถ่ายรูปร่วมกับทหารชนเผ่า Navajo Pima Pawnee และทหารชนพื้นเมืองอเมริกัน





Jack Nez (ซ้าย) กับ Chester Nez (ขวา)




Glenn Nez ลูกจ้าง CIA ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า
Jack Nez พ่อของตนเป็น 1 ในทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo จำนวน 29 ราย
" พ่อไม่เคยเล่าประสบการณ์ตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้ฟังแต่อย่างใด
เพียงแต่ให้ชมภาพถ่ายบางภาพที่เคยไปประจำการอยู่ เช่น Wake Island
แต่ไม่เคยเล่าภาระกิจที่พ่อเคยทำเลย " Glenn Nez


ในปี 1968 ยุทธการสื่อสารรหัสลับ Navajo Code Talker ไม่เป็นความลับอีกต่อไป
แม้ว่า Jack Nez จะเสียชีวิตในอีก 9 ปีต่อมา
แต่ท่านก็ไม่เคยเล่าเรื่องราวการเป็นทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo ให้ครอบครัวฟังเลย
ทำให้ Glenn Nez คิดว่าความลับของโครงการดังกล่าวนี้
พ่อจึงไม่สามารถเล่าถึงภาระกิจดังกล่าวในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้





Jack Nez (ซ้ายมือ) กับเพื่อนทหารสื่อสารรหัสลับ




“ ผมประทับใจในตัวท่าน จากการรู้เรื่องผ่านทางทหารสื่อสารรหัสลับรายอื่น
เพราะเป็นภาระกิจลับมากในงานที่ทำตอนนั้น
เรารู้แต่เพียงว่า ท่านเป็นทหารวิทยุสื่อสารและช่างเทคนิค
นั่นคือ การพูดคุยของพวกท่านทางวิทยุสื่อสาร " Glenn Nez

จนกระทั่งในปี 2000 รัฐสภาสหรัฐอเมริกาและประธานาธิบดี Bill Clinton
ได้ผ่านกฎหมายมอบเหรียญตราเกียรติยศให้ทหารสื่อสารรหัสลับ Code Talkers
เรื่องราวและข่าวสารจึงแพร่หลายไปทั่วโลก
ครอบครัวของ Glenn Nez จึงรู้เรื่องราวภาระกิจลับของ Jack Nez
จากภาพถ่ายที่ปรากฎในเอกรัฐการที่เผยแพร่

“ พวกเราอึ้งไปเลยตอนที่รู้ข่าวนี้ แต่เป็นข่าวดี
พวกเราภูมิใจมากที่ท่านมีส่วนร่วมสำคัญในประวัติศาสตร์ " Glenn Nez


การเป็นทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo


Jack Nez เกิดในปี 1924
และเติบโตใน Fort Defiance รัฐ Arizona
เขตสงวนชนเผ่าอินเดียนแดง Navajo
ท่านรู้จักภาษา Navajo เป็นอย่างดี
ต่อมาได้เดินทางออกจากเขตสงวนฯ
เพื่อไปเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
และใช้เวลาเรียนหลายปีเพื่อจะเป็นช่างซ่อมรถยนต์
ที่ Haskell University ใน Lawrence รัฐ Kansas
ที่นั่น ท่านได้พบกับ LaVera ซึ่งกำลังเรียนวิชาพยาบาล


ช่วงสหรัฐอเมริกาอยู่ในภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2
Jack Nez ได้อาสาสมัครเป็นทหารนาวิกโยธิน ตอนนั้นท่านอายุเพียง 17 ปี
ต่อมาทางกองทัพเรือทราบว่า Jack Nez สามารถพูดภาษา Navajo ได้
จึงได้เสนอให้ท่านเข้าร่วมงานในโครงการพิเศษเกี่ยวกับภาษา Navajo
ท่านจึงถูกคำสั่งให้ปลดประจำการชั่วคราวจากกองทัพเรือ
เพื่อไปร่วมกันพัฒนารหัสลับ Navajo สำหรับใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2
ต่อมา Jack Nez ได้เดินทางไปร่วมรบแถบหมู่เกาะแปซิฟิค
ตั้งแต่มกราคม 1943 ถึงสิงหาคม 1944


ชีวิตทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo ทั้งตื่นเต้นและอันตรายตลอดเวลา
เพราะต้องหน้าที่สลับกันไปมาบางครั้งอยู่แนวหน้าบางครั้งอยู่แนวหลัง
เพื่อติดต่อสื่อสารส่งข้อความทางโทรศัพท์หรือวิทยุทหาร
ทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo จะไม่มีหนังสือคู่มือถอดรหัสลับ
ต้องจำรหัสลับทุกตัวให้ได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
เพื่อป้องกันไม่ให้หนังสือคู่มือถอดรหัสลับอยู่ในเงื้อมมือศัตรู


การประกาศเกียรติยศ


26 กรกฏาคม 2001 ประธานาธิบดี George W. Bush
ได้มอบเหรียญรางวัล Congressional Gold Medal ให้กับครอบครัว Nez
เช่นเดียวกับครอบครัวทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo รายอื่น ๆ
รางวัลนี้ก็เช่นเดียวกับเหรียญรางวัลอื่น ๆ ของ Jack Nez
ได้จัดแสดงไว้ที่สำนักงานประมวลข่าวกรอง CIA Headquarters

“ รางวัลเกียรติยศแบบนี้
ไม่สมควรที่จะเก็บไว้ในตู้นิรภัยหรือที่บ้าน
แต่ควรจะนำเสนอให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้ชื่นชม
ถ้าไม่มีบุคคลเหล่านี้ โลกทุกวันนี้คงไม่เป็นเช่นนี้ได้ ”


เจริญรอยตามพ่อ


Glenn Nez กับพี่น้องส่วนใหญ่ทำงานในกองทัพหรือรัฐการ
และงานของ Glenn Nez ก็คล้ายกับงานที่พ่อเคยทำไวในอดีต
คือทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
โดยทำหน้าที่สนับสนุนฝ่ายบริหารด้านโรงเรียนสอนภาษา

“ พ่อผมคงจะภูมิใจมากที่พวกเราเจริญรอยตามพ่อ
พวกเราทุกคนภูมิใจกับประเทศของเรา ”









Roy Hawthorne วัย 92 ปีเพิ่งจะเสียชีวิต 23 เมษายน ปีนี้
ท่านคือ 1 ใน 12 รายทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo
ที่ยังมีชีวิตอยู่จนถึงทุกวันนี้จากเดิมที่มีอยู่ 29 คน

ท่านสมัครเข้าเป็นทหารนาวิกโยธินวัย 17 ปี
และเป็นส่วนหนึ่งของชาวอเมริกันพื้นเมือง
ที่ร่วมพัฒนารหัสลับ Navajo
ป้องกันการถอดรหัสของทหารญี่ปุ่น
ท่านทำงานที่กองเรือที่ 1 เขตมหาสมุทรแปซิฟิค
และได้รับยศเรือตรีหลังสงคราสิ้นสุด

“ ยิ่งพวกเรามีอายุยาวนานขึ้น พวกเรายิ่งตระหนักถึงความสำคัญของงานที่พวกเราทำ
แต่พวกเราไม่ใช่วีรบุรุษ มันไม่เคยอยู่ในหัวคิดของผม ” Roy Hawthorne ในปี 2015

แต่ Regan Hawthorne บุตรชายเล่าถึงพ่อที่เสียชีวิตอย่างภูมิใจว่า
“ พวกท่านไม่รู้สึกว่าเป็นการทำตามหน้าที่
แต่ทำด้วยจิตใจที่รักประเทศของตน "

ทั้งนี้ Regan Hawthorne ตอนอายุได้ 20 ปีเศษเพิ่งจะรู้ว่า
พ่อเป็นทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 20
“ ผมโตขึ้นมาโดยไม่รู้ว่าพ่อผมเป็นทหารสื่อสารรหัสลับ Code Talker
พ่อไม่เคยพูดถึงมันเลย หรือคิดว่าไม่จำเป็นต้องพูดถึงมันเลย "

พวกทหารสื่อสารรหัสลับมักเชื่อว่ากำลังปฏิบัติภารกิจ
และค่อนข้างถ่อมตนไม่อยากรับรางวัลจากผลงานในอดีต

“ ตอนที่พวกเราอ่านเรื่องราวความสำเร็จของรหัสลับ Navajo Code
ทำให้สงครามยุติลงได้โดยใช้เวลาไม่นานมากนัก
พวกเราต่างคิดถึงผลงานของทหารสื่อสารเหล่านี้ที่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
แต่พวกท่านค่อนข้างถ่อมตน เพราะพวกท่านรู้สึกว่า
พวกท่านทำหน้าที่เพื่อปกป้องทุกสิ่งที่พวกท่านรักและหวงแหน
เพราะพ่อและสหายศึกต่างกลับบ้านหลังจากสงครามสิ้นสุด
พวกท่านกลับบ้านมาทำงานอย่างเรียบง่ายเพื่อกลับมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ "



เรียบเรียง/ที่มา


https://bit.ly/2vIdOs1
https://bit.ly/2Jq34k3
https://bit.ly/2r14UQG
https://bit.ly/2vJtGdY
https://bit.ly/2qXUgvb





ให้ทดลองถอดรหัสลับ Navajo ที่ใช้สื่อสารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
Navajo Code Talkers ที่ช่วยให้สหรัฐมีชัยชนะ

1. Ne-Zhoni-Lin-Tkin-Ah-Jad-Tkin-Ne-Zhoni Ah-Ya-Tsinne-A-Kha-Lin-A-Chin-Klesh-D-Ah-A-Kha-A-Chin

2. Tkin-Gloe-lh-A-Kha Ah-Ya-Tsinne-Tkin-Tsin-Tliti-Tse-Nill

Navajo Code Talkers' Dictionary

ตัวอักษร United States Navy Navajo Code Dictionary ที่ปรับปรุงเมื่อ 15 มิถุนายน 1945





















คำเฉลย


1. Philip Johnston

2. Iwo Jima




Create Date : 25 เมษายน 2561
Last Update : 26 เมษายน 2561 9:23:42 น. 0 comments
Counter : 3168 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.