ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
มกราคม 2562
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
10 มกราคม 2562
 
All Blogs
 
ปฏิทินเดือนกุมภาพันธ์ที่บอกให้แชร์ต่อ








ของปีที่แล้ว ปีนี้คงมาอีก
แบบ Reuse Recycle Reprocess Reproduct
ประดิษฐ์วาทกรรมซ้ำ ๆ
หรือปรับปรุงข้อความใหม่อีกรอบ
แล้วบอกต่อ บอกต่อ ให้คนแชร์กัน


โดยทั่วไปเดือนหนึ่งมักจะมี 4 สัปดาห์ เศษ
เดือนกุมภาพันธ์ที่มี 28 วัน
จะลงตัวที่ 4 สัปดาห์พอดี
หรือ 4x7 = 28 ลงตัวพอดี
ดังนั้นจึงจะมีครบทุกวันในแต่ละสัปดาห์
ตามตัวอย่างปฏิทิน หรือ กะดิทิน ภาษาปากของชาวบ้าน
ยกเว้นปีที่มี 29 วันที่จะมีวันเกิน
ไม่ลงตัวพอดีแบบ คำโฆษณาชวนเชื่อ


โปรดหยุดแชร์ได้แล้วครับ


เพราะจะทำให้ Server ของ Line, Facebook
ต่างต้องทำงานหนักขึ้นกว่าเดิม
และเครื่องของแต่คนจะมีแต่ข้อมูล
เต็มไปด้วยข้อมูลขยะแบบ Junk Mail




























เรื่องเล่าไร้สาระ


ตามตำนานเดือนกุมภาพันธ์เคยมี 30 วัน
Julius Caesar เถลิงอำนาจเกิดอาการไม่พอใจ
ที่เดือน July ที่มีชื่อของท่าน
มีแค่ 30 วัน เลยดึงวันที่จากเดือนกุมภาพันธ์มาเพิ่มอีก 1 วัน
ต่อมาจักรพรรดิ์ Augustus ก็ไม่พอพระทัยเช่นกัน
ที่เดือน August ที่มีชื่อของพระองค์
มีแค่ 30 วัน เลยดึงวันที่มาจากเดือนกุมภาพันธ์มาเพิ่มอีก 1 วันเช่นกัน
ทำให้เดือนกุมภาพันธ์เหลือเพียงแค่ 28 วัน


การดึงวันที่มาถึง 2 วันนี้มีผลทางจิตวิทยามวลชนด้วย
เพราะชาวบ้านไม่อยากให้วันในฤดูหนาวยาวนาน
อยากให้เดือนนี้/ฤดูนี้ผ่านพ้นไปเร็วขึ้นกว่าเดิมด้วย
และการเพิ่มวันในเดือนกรกฏาคม สิงหาคม
ทำให้มีวันที่ในเดือนฤดูร้อนเพิ่มอีก 2 วัน
ซึ่งเป็นช่วงที่อากาศอบอุ่นไม่หนาวจนเกินไป
และพืชผลดอกไม้จะเริ่มเจริญงอกงามพร้อมที่จะเติบโตเต็มที่
ก่อนย่างเข้าฤดูเก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ร่วงก่อนเข้าฤดูหิมะ
ทำให้รู้สึกว่ามีวันเวลาเพิ่มขึ้นในฤดูร้อน/การทำไร่ไถนา


ต่อมา วันเดือนปีคลาดเคลื่อนไปมาก
เพราะวันที่ในปฏิทินผิดพลาด/ขาดหายไป
ไม่สอดคล้องกับวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์
ทำให้วันที่ในปฏิทินเริ่มจะไม่ตรงกับ
วันที่ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ไม่สอดคล้องกับฤดูกาล
หรือวันเริ่มต้นฤดูกาลในการทำไร่ไถนา/เก็บเกี่ยว
ก็คลาดเคลื่อนไปจากฤดูกาลที่แท้จริงมาก
จนต้องมีการปรับปรุงปฏิทินใหม่โดยพระบัญชาของ
พระสันตปาปา Gregory XIII
ที่ใช้กันมาจนทุกวันนี้ด้วยการทำให้วัน/เดือนหายไป
แต่พระองค์ไม่ลดวันที่ใน 2 เดือนก่อน (July August)
เพียงแต่เพิ่มวันที่ในกุมภาพันธ์แทน
เพื่อทดแทนจำนวนชั่วโมง/วันที่อาจจะคลาดเคลื่อน
ด้วยการบวกเพิ่มเข้าอีก 1 วันในเดือนกุมภาพันธ์
รายละเอียดมีใน ปฏิทินเกรโกรเรียน


เพราะโลกจะมี วงโคจร รอบดวงอาทิตย์
ราว ๆ ปีละ 365.2564 วัน วันสุริยะกลาง หรือหนึ่งปีดาวฤกษ์
หรือ 365.242199074 วัน ถ้าคิดโดยละเอียดตามหลักวิทยาศาสตร์


โดยการกำหนดสูตรคำนวณคือ
วันที่ 29 กุมภาพันธ์ เรียกวันนี้ว่าเป็นวัน อธิกวาร (leap day)
ในปฏิทิน Gregorian ปี ค.ศ. ที่หารด้วย 4 ลงตัวจะมีอธิกวาร
แต่ปี ค.ศ. ที่หารด้วย 100 ลงตัวไม่มีอธิกวาร
ยกเว้นปี ค.ศ. ที่หารด้วย 400 ลงตัวจะมีอธิกวาร
ปีที่มีอธิกวารเรียกปีอธิกสุรทิน
ถ้าไม่ทำเช่นนี้ วันเดือนปียิ่งคลาดเคลื่อนเร็วขึ้น
แบบจำนวนวันจะสะสมมากขึ้นไปเรื่อย ๆ




ปีอธิกมาส Credit : https://bit.ly/2Fd5Mv5


ส่วนวันในจันทรคติมีแค่ 29.5 วัน (29.530589 วัน)
ตามปฏิทินที่ดูดวงจันทร์เป็นหลักนั้น
จะมี 1 เดือนเท่ากับ 29.5 วัน พอครบ 12 เดือน
ก็จะนับวันทั้งหมดได้ 354.37 วัน
แต่ใน 1 ปีนั้นโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์
จะใช้เวลาถึง 365 วัน (365.2564 วัน)
ทำให้วันหายไปปีละ 11 วันเศษ


ทุก ๆ 3 ปีจึงต้องเพิ่มวันเข้าไปอีก
ก็จะกลายเป็น 33 วัน ก็ไม่ถูกต้องอีก
เพราะตัองให้สอดคล้องกับ 1 เดือนมี 29.5 วัน
เพื่อให้ง่ายต่อการนับ/ดูดวงจันทร์
คนโบราณเลยกำหนดออกมาดังนี้
เดือนคู่ มี 30 วัน –> แบ่งเป็น ข้างขึ้น15 ข้างแรม 15
เดือนคี่ มี 29 วัน –> แบ่งเป็น ข้างขึ้น15 ข้างแรม 14


เพื่อเป็นการแก้ปัญหา เดือนขาดไป 1 เดือน
ถ้าปีไหน เกิดปรากฏการณ์เดือนขาด
ด้วยการกำหนดให้เป็น ปีอธิกมาส
ให้เพิ่มเดือนที่ 13 เข้ามา เพื่อให้ ชดเชยวันที่หายไป
และยังทำให้ทุกราศีได้มีวันเพ็ญ
ซึ่งทำให้ปีอธิกมาสนี้จะมี 384 วัน (384-354=30 วัน)


จะเห็นว่าปีอธิกมาสนั้น
สมควรจะเกิดทุก ๆ 3 ปี หรือคือ 6 ครั้งใน 18 ปี
แต่ว่าถ้าคำนวนแบบละเอียดจริง ๆ แล้ว
จะพบว่า ปีอธิกมาสจะเกิด 7 ครั้งใน 19 ปี
(ทุก 3 ปีบ้าง ทุก 2 ปีบ้าง)


ส่วนเศษวันที่ขาดไปอีก 3.5 วัน
จะถูกกระจายลงไปยังปีต่าง ๆ
โดยจะถูกแจกไปให้กับเดือน 7
ทำให้เดือน 7 ของปีนั้น ๆ
จะมีวันข้างขึ้น 15 ข้างแรม 15 (รวม 30 วัน)
(เดือนคี่ ตามข้อกำหนดจะมี 29 วัน
แบ่งเป็นวันข้างขึ้น 15 ข้างแรม 14)
ทำให้ปีนั้นจะมี 355 วัน จะถูกเรียกว่า อธิกวาร
ซึ่งปีอธิกวาร จะไม่เกิดทุกปี
มีกฎเกณฑ์การคำนวณต่างหาก
เหตุผลก็เหมือน ๆ กับวันที่ 29 กุมภาพันธ์


สรุปหลักการปฏิทินจันทรคติ


ปีปรกติ (ปรกติวาร)มี 354 วัน
เดือนคู่ มี 30 วัน –> แบ่งเป็น ข้างขึ้น 15 ข้างแรม 15
เดือนคี่ มี 29 วัน –> แบ่งเป็น ข้างขึ้น 15 ข้างแรม 14
ปีอธิกวาร มี 355 วัน (บวก 1 วันให้เดือน 7 -> ข้างขึ้น 15 ข้างแรม 15
ยกเว้นหลักการเดือนคี ข้างแรมไม่เกิน 14)
ปีอธิกมาส มี 384 วัน (เพิ่มเตือน 8 หนที่ 2)
ถ้าปีไหนเพิ่มเดือน 8 แล้ว
ก็ไม่ต้องไปบวกวันให้เดือน 7
นั่นคือ ให้ทำแค่ปีละอย่างเดียว


การที่มีปีอธิกมาสนั้น
ทำให้ในปีนั้นจะมีวันข้างขึ้นข้างแรมเพิ่มขึ้น 30 วัน
โดยแถวบ้านมักจะพูดกันว่า
ปีที่มีการเพิ่มวันอีก 30 วันว่า
ปีนี้มี เดือน 8 สองหน หรือ หนสอง หรือวันพระหลัง
มีผลทำให้ วันเข้าพรรษา ล่าช้าไปอีก 30 วัน
ซึ่งปกติมักจะตกในวันแรม 1 ค่ำเดือน 8
ทั้งนี้ เพื่อให้ตรงกับวันเริ่มต้นฤดูฝนจริง ๆ
การบวกวันเพิ่มเข้าไป 30 วันนั้น
จะทำให้วันเข้าพรรษาล่าช้าไปอีก 30 วัน
และวันทำบุญเดือนสิบของคนใต้
ก็จะช้ากว่าปีก่อน ๆ ไปอีก 30 วันเช่นกัน
และแถวบ้านมักชอบพูดกันว่าปีนี้ มีวันพระหลัง


ถ้าดูตามวันปฏิทินระบบใหม่ Gregorian
วันที่มีพิธีกรรมทางศาสนาที่ใช้ดูดวงจันทร์/จันทรคติ
ในบางวันจะไม่ตรงกับวันที่ประกาศของทางราชการ
เช่น วันมหาสงกรานต์ (วันปีใหม่ไทยในอดีต)
ที่ทุก ๆ ปีจะระบุไว้ในวันที่ 13-15 เมษายน
ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการวางแผน/ประกอบการด้านต่าง ๆ ทั้งราชการ/เอกชน
และกลายเป็นวันสำคัญทางประเพณีที่รู้จักกันของคนต่างชาติแล้วว่า วันสาดน้ำ
ก็ไม่ได้ยึดเอาวันแรกของวันที่พระอาทิตย์ย้ายออกจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ
ส่วนวันสำคัญทางศาสนาพุทธ อิสลาม วันไหว้เจ้าคนจีน/ตรุษจีน ยังยึดเอาวันจันทรคติเป็นหลัก







Credit : https://bit.ly/2Rj1Jnq





มีบางคนระบุว่า ตอนนี้วันแรม 1 ค่ำ
พระจันทร์จะเต็มดวงกว่าวันขึ้น 15 ค่ำ
เพราะรอบระยะเวลานาทีที่เป็นเศษ
ต่างสะสมมานานนับพันปีแล้ว
ทำให้วันทางจันทรคติคลาดเคลื่อน
จนครบเกินกว่า 24 ชั่วโมงไปแล้ว


ทางแก้ คือ เพิ่มวันเข้าไปอีก 1 วัน
แต่เรื่องแบบนี้พูดง่าย แต่ทำยากมาก
เพราะจะกระทบกับผู้ที่มีส่วนได้เสียมาก
ในการที่วันเวลาเพิ่มขึ้น กับวันที่เพิ่มขึ้น
มีผลกระทบกับวันที่มีพิธีกรรมทางศาสนา
ที่ยึดถือเอาปฏิทินจันทรคติเป็นหลัก
เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาจูดาห์(ยิว) ศาสนาอิสลาม
เพราะต้องปรับวันเวลาและการคำนวณปฏิทินใหม่
กอปรกับยังไม่มีผู้นำที่มีบารมี/ทรงอิทธิพล
ในการชี้ขาดและคนส่วนใหญ่ยอมปฏิบัติตาม












Create Date : 10 มกราคม 2562
Last Update : 11 มกราคม 2562 22:35:45 น. 2 comments
Counter : 3409 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณอุ้มสี, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณnewyorknurse, คุณhaiku


 
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
toor36 Education Blog ดู Blog
newyorknurse Klaibann Blog ดู Blog
Rinsa Yoyolive Review Travel Blog ดู Blog
โอน่าจอมซ่าส์ Travel Blog ดู Blog
ฟ้าใสวันใหม่ Home & Garden Blog ดู Blog
kae+aoe Parenting Blog ดู Blog
กะว่าก๋า Literature Blog ดู Blog
ไวน์กับสายน้ำ Diarist ดู Blog
บาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน Review Food Blog ดู Blog
ravio Education Blog ดู Blog

แวะมาเจิมอ่านเป็นคนแรกค่ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 10 มกราคม 2562 เวลา:13:43:59 น.  

 
สี่มาเยอะจริงๆจ้า


โดย: โอน่าจอมซ่าส์ วันที่: 10 มกราคม 2562 เวลา:17:10:59 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.