ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
กันยายน 2561
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
12 กันยายน 2561
 
All Blogs
 
ลูกลอยแก้วจากญี่ปุ่นและนอร์เวย์ล่องลอยไปทั่วทุกมุมโลก






Finders Keepers 30 sec English

1.





ในทุก ๆ ปี Oregon’s Lincoln City ชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกา
จะมีมหกรรมค้นหาสมบัติบนชายหาดสาธารณะโดยชาวบ้านทุกเพศทุกวัย
ซึ่งสมบัติที่วางให้ค้นหาในปีนี้คือ ลูกลอยแก้วกลมจำนวนมากกว่า 3,000 ลูก
ลูกลอยแก้วเป็นงานฝีมือประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ด้วยงานฝีมือของคน
โดยมีขนาดตั้งแต่ใหญ่เท่าลูกบาสเกตบอลจนเล็กขนาดลูกเบสบอล
ด้านในกลวงมีโพรงอากาศและมีสีสันตกแต่ง/ลายต่าง ๆ/ตัวอักษรเขียนไว้
มหกรรมนี้น่าจะกระตุ้นการท่องเที่ยวในเขตชายหาดนี้
ทำให้มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนลูกลอยแก้วระหว่างกัน
มีผลทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียนและการเงินเดินสะพัด
แบบงานเทศกาลตามสถานที่ต่าง ๆ ที่จัดขึ้นประจำปี

ลูกลอยแก้ว ในพื้นที่บางแห่งจะเรียกว่า ทุ่นลอยแก้ว


มหกรรมล่าสมบัติ Finders Keepers เป็นงานประจำปีในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา
เริ่มต้นตั้งแต่มีศิลปินรายหนึ่งเดินบนชายหาด
แล้วพบลูกลอยแก้วถูกคลื่นซัดขึ้นมาเกยฝั่งบนชายหาด
ทำให้ต่อมา มีคนจำนวนมากสนใจที่จะเดินหาลูกลอยแก้วบนชายหาด
แต่ลูกลอยแก้วที่พัดพามาจากท้องทะเลแทบไม่มีแล้ว
จึงมีการผลิตของใหม่ขึ้นมาทดแทนแล้ววางบนชายหาดระยะทาง 7 ไมล์
เพื่อให้ชาวบ้านทุกเพศทุกวัยได้เล่นสนุกค้นหาลูกลอยแก้วกัน

2.



Credit: https://www.glassfloatjunkie.com




ในอดีตลูกลอยแก้วเหล่านี้ส่วนมากมักจะล่องลอยมาจากทะเล
ซึ่งจะมีมากกว่าปกติหลังจากพายุพัดโหมกระหน่ำท้องทะเลในฤดูหนาว
ลูกลอยแก้วยังเป็นของที่ชื่นชอบและของที่ระลึก
ในหมู่นักสะสม ที่เรียกว่า Glass Fishing Floats
เพราะลูกลอยแก้วเหล่านี้เคยถูกใช้โดยชาวประมง
ในท้องทะเลหลายแห่งของโลก


แต่ลูกลอยแก้วที่รู้จักและนิยมกันมากที่สุดคือ
สินค้าที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่นและในประเทศนอร์เวย์
โดยนำมาใช้ในงานประมง ในการจับปลาเชิงพาณิชย์/อุตสาหกรรม
ด้วยการนำลูกลอยแก้วถักกับเชือกผูกกับแหอวน
แล้ววางเป็นระยะทางสั้น ๆ จนถึงระะทางยาวหลายไมล์
ลูกลอยแก้วจะช่วยพยุงแหอวนให้ลอยตัวอยู่ได้ในท้องทะเล
โดยลูกลอยแก้ว
ข้างในจะกลวงมีอากาศบรรจุอยู่ภายใน


แต่ทุกวันนี้ ลูกลอยมักจะทำมาจากพลาสติกหรืออลูมิเนียม
เพื่อทดแทนของเดิมที่เคยทำมาจากแก้ว
เพราะต้นทุนการผลิตถูกกว่าและผลิตได้ทีละจำนวนมาก ๆ



ПРОМЫСЕЛ"ТУНЦА"#))) МОРСКАЯ РЫБАЛКА "Big catch"!!!




ลูกลอยแก้วมีการผลิตครั้งแรกใน 1842
โดยผู้ผลิตกระจกของนอร์เวย์ Hadeland Glassverk
ซึ่งมาจากแนวคิดจุดประกายของ Christopher Faye
พ่อค้าชาวนอร์เวย์ที่ทำการค้าอยู่ที่ Bergen

โดยก่อนหน้านี้ลูกลอยใช้งานประมงในทะเลต่าง ๆ
มักจะทำขึ้นมาจากไม้และไม้ก๊อก
ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายจากการตัดไม้ทำลายป่า
รวมทั้งเนื้อไม้มักจะได้รับความเสียหายจาก
การกระแทก/ฉีกขาดจากการเฉี่ยวชนของเรือ/แหอวน
รวมทั้งเนื้อไม้มักจะถูกพวกเพรียงทะเลกัดกิน



แต่ลูกลอยที่ทำจากแก้วที่เป่าด้วยคนจะมีคุณภาพที่ดีกว่ามาก
เพราะทั้งทน ทั้งถึก แบบใช้ทน ใช้นาน ใช้จนรำคาญ

และมีอายุการใช้งานยาวนานแทบจะชั่วนิรันดร์ในท้องทะเล

ทั้งยังสามารถนำลูกเก่ามาหลอมเพื่อใช้งานใหม่ได้อีกด้วย


ลูกลอยแก้วจึงกลายเป็นสินค้ายอดนิยม
และใช้กันทั่วไปในการประมงของยุโรป
แต่ก็ต้องใช้เวลาอีกเกือบหนึ่งศตวรรษ
กว่าที่ลูกลอยแก้วมาใช้ทดแทนพวกไม้และไม้ก๊อก
ที่ใช้พยุงแหอวนให้ล่องลอยอยู่ในท้องทะเล


ประเทศญี่ปุ่นเริ่มผลิตลูกลอยแก้วในปี 1910 

และมีการใช้อย่างกว้างขวางมากตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

จนลูกลอยแก้วเพิ่งจะถูกแทนที่ด้วย
ลูกลอยพลาสติกและลูกลอยอลูมิเนียม ในปี 1970



แต่ในช่วง 60 ปีที่ผ่านมา
ชาวประมงญี่ปุ่นต่างใช้ลูกลอยแก้วจำนวนมหาศาลในท้องทะเล
แต่
ลูกลอยแก้วเหล่านี้มักจะขาดลอยออกจาก
แหอวน
แล้วล่องลอยหายไปในท้องทะเล
เพราะการประมงในประเทศญี่ปุ่นส่วนใหญ่
มักจะทำประมงในน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิก
ซึ่งมีกระแสน้ำไหลเวียนวนไปออกทางขั้วโลกเหนือได้ในฤดูร้อน
หรือกระแสน้ำพัดพาลงมาทางทิศใต้ที่เชื่อมต่อกับมหาสมุทรอื่น ๆ
ทำให้ลูกลอยแก้วญี่ปุ่นล่องลอยไปยังน่านน้ำเขตทะเลอื่น ๆ ได้ไกลแสนไกล
และในทุกวันนี้ยังสามารถตรวจสอบแหล่งที่มา
ของลูกลอยแก้วญี่ปุ่นได้
จากสัญญลักษณ์/เนื้อแก้วที่ผลิตได้


3.



Credit : Jgrimmer / Wikimedia




ลูกลอยแก้วญี่ปุ่นมักจะล่องลอยอยู่ในกระแสน้ำวน
ภายในท้องน้ำของมหาสมุทรแปซิฟิก

แต่บางครั้งลูกลอยแก้วก็ถูกคลื่นพัดขึ้นมา
บนชายฝั่ง
ด้านตะวันตกของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
บางครั้งเดินทางกินเวลา 7-10 ปีกว่าจะถึงชายฝั่งอลาสก้า
บางครั้งก็ล่องลอยไปไกลถึงชายหาดไต้หวัน

ชายหาดในไมโครนีเซียและเฟรนช์โปลินีเซีย
บางครั้งก็ยังพบว่าอยู่บนชายหาดและแนวปะการังบนหมู่เกาะแปซิฟิก
และ/หรือบนเกาะเล็ก ๆ แถวมหาสมุทรแอตแลนติก

หรือบนเกาะเล็ก ๆ ที่อยู่ห่างไกลในหมู่เกาะแคริบเบียน
หรือแม้กระทั่งผืนแผ่นดินในทวีปยุโรป


ลูกลอยแก้วส่วนใหญ่มักจะมีสีเขียว
เพราะทำจากขวดเก่านำมารีไซเคิล
ที่พบน้อยมากคือ มีส่วนผสมแร่ Amethyst
ซึ่งจะมีสีสดใสเห็นได้ชัดเจนมากกว่าลูกลอยแก้วที่ทำจากขวดเก่า
แต่ลูกลอยแก้วบางลูกจะมีส่วนผสม Manganese
ลูกลอยแก้วก็จะสะท้อนสี Amethyst
จากการสัมผัสกับรังสีอัลตราไวโอเลต
นอกจากนั้น ลูกลอยแก้วยังสีสันสดใส
เช่น สีแดง สีเขียวนีออน สีน้ำเงินโคบอลต์ และสีเหลืองอ่อน

ทำให้ลูกลอยแก้วสีสันต่าง ๆ เป็นที่ต้องการกันมาก
ในการใช้งานตกแต่งร้านค้า
และมอบให้เป็นของที่ระลึกกัน


ลูกลอยแก้วจะมีฟองอากาศอยู่ภายใน

และบางลูกอาจจะมีสิ่งสกปรกฝังอยู่ภายในแก้ว

ลูกลอยแก้วบางลูกจะมีสภาพสึกหรอ
/สึกกร่อน/รอยขีดข่วน
บริเวณพื้นผิวด้านนอกของลูกลอยแก้ว

เพราะถูกกระทบกระแทกด้วยกันเองหรือจากเรือประมง
หรือถูกครูดไปมาจากสายรัด/แหอวน
ลูกลอยแก้วส่วนมากมักจะมีเครื่องหมายการค้า

หรือตราสัญลักษณ์เป็นลายนูนเขียนเป็นภาษาญี่ปุ่น 

เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของลูกลอยแก้วจากเจ้าของเรือประมง


ลูกลอยแก้วญี่ปุ่นมีการผลิดในขนาดที่แตกต่างกัน

เพื่อความเหมาะสมในการใช้งานประมงกับใช้ในแหอวน

ซึ่งทำการประมงในเขตพื้นที่ต่าง ๆ ของท้องทะเล

ลูกลอยแก้วญี่ปุ่นจึงมีขนาดที่หลากหลายมาก
ตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้วถึง 20 นิ้ว และมีรูปร่างที่แตกต่างกัน
แต่ทั้งนี้ ลูกลอยแก้วญี่ปุ่นที่มีขนาดใหญ่ค่อนข้างหายาก


เรียบเรียง/ที่มา


https://bit.ly/2QkCME2
https://bit.ly/2NzTmkQ





4.



ลูกลอยแก้วที่เคยล่องลอยในท้องทะเล แขวนฝาบ้านชาวประมง
ในเมือง Boathouse ในประเทศนอร์เวย์ Credit : Ingrid Maasik / Shutterstock.com



5.



ลูกลอยแก้วพร้อมกับแหอวนของเรือประมงที่กู้ขึ้นมาได้ในนอร์เวย์ Credit : glassfloats.blogspot.com



6.



ลูกลอยแก้วที่พบบนชายฝั่งตะวันตกของเกาะแวนคูเวอร์ Credit : WhatiMom / Flickr



7.



ลูกลอยแก้วของญี่ปุ่น



8.



ลูกลอยแก้วญี่ปุ่น ผลิตโดย Asahi Glass Company



9.



ลูกลอยแก้วญี่ปุ่น ที่พบบนชายหาดแห่งหนึ่ง


10.



ลูกลอยแก้วญี่ปุ่น ที่พบบนชายหาด Hokkaidō


11.



12.



13.



14.



15.




16.




17




หมายเหตุ


ลูกลอยที่ใช้ในชีวิตประจำวันคือ
ลูกลอยในถังเก็บน้ำสำรอง/ถังพักน้ำ
และลูกลอยในห้องน้ำบางรุ่น
ลุกลอยในถังเก็บน้ำมักจะมีปัญหา
ชิ้นส่วนยาง ที่ปิดเปิดน้ำตามลูกศรชี้ (ภาพที่ 17)
ชิ้นส่วนยางนี้มักจะเสื่อม/ชำรุดทำให้น้ำไหลล้น
แต่ถ้าใช้พวก PE(HDPE) (High Density Polyethylene) มากลึงใช้งานแทน
ซึ่งมีแหล่งผลิตหลายเจ้าและหลายราคา
จะใช้ทนใช้นานใช้จนรำคาญ เรียกว่า ลืมไปเลย

ส่วนตัวลูกลอยบางรุ่นพอใช้ไปสักพัก
มักจะมีรูรั่วหรือตามดทำให้น้ำเข้า
ก็ต้องเปลี่ยนไปก่อนชิ้นส่วนยางที่กลึงมาทดแทน


16.



Credit : https://bit.ly/2NyHTCd

17.



Credit : Dayong

18.



Credit : https://bit.ly/2CLprlu




ราคาลูกลอยแก้ว มีแหล่งขายต่างประเทศ
ของเมืองไทย ราคาแล้วแต่ชอบใจ
ไม่มีราคามาตรฐาน ต้องเสาะหาตามร้านของเก่า
หรือสั่งตามแพปลา ชาวประมง ตามท้องถิ่น


https://amzn.to/2oXuN3x

19.



https://ebay.to/2Nx5sLM

20.





21.




ตามหาลูกแก้ว 7 ใบไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับลูกลอยแก้ว
แต่เป็นภาพยนตร์ที่ชื่นชอบ ที่มา https://bit.ly/2QmIJR6




Create Date : 12 กันยายน 2561
Last Update : 12 กันยายน 2561 20:17:25 น. 1 comments
Counter : 1959 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณSweet_pills, คุณnewyorknurse


 
ลูกลอยแก้วสวยจังค่ะ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลความรู้นะคะคุณ ravio


โดย: Sweet_pills วันที่: 13 กันยายน 2561 เวลา:0:37:14 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.