ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2561
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
16 สิงหาคม 2561
 
All Blogs
 
ตำนานแมวกวัก Maneki-neko ของวัด Gōtoku-ji









ร้านค้า ร้านอาหารและธุรกิจหลายอย่าง ๆ ในญี่ปุ่นหลายแห่ง
มักจะวางตุ๊กตาแมวตัวเล็ก ๆ ที่มีอุ้งเท้ายกขึ้นกวักเรียกคนใกล้กัทางเข้า
แมวกวักเป็นตุ๊กตาญี่ปุ่นซึ่งเป็นเสน่ห์ของความโชคดีที่เรียกว่า Maneki-neko
ซึ่งหมายถึงแมวกวัก และเชื่อกันว่าจะนำโชคลาภและเงินทองให้กับเจ้าของ
มักจะทำมาจากเซรามิคหรือพลาสติก รูปแกะสลัก
เป็นรูปแมวที่ยกขาขึ้นคล้ายการกวักมือเรียกคนให้เข้ามา
เป็นการแสดงถึงการนำโชคลาภและความมั่งคั่งเข้ามาด้านใน


แมวกวัก Maneki-neko สมัยใหม่มักจะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่
และมีอาการแมวกวักแบบเคลื่อนที่ช้า
ทุกวันนี้รูปแมวกวักเหล่านี้กำลังเป็นที่นิยมกันมาก
ในหมู่พ่อค้าในประเทศแถบเอเชีย และที่อื่น ๆ
เช่นกันเช่นเดียวกับ รูปปั้นพระสังกัจจายน์
(หมายถึงความสมบูรณ์พูลสุข) ที่แพร่หลายกัน


แมวกวัก Maneki-neko ได้ข้ามพรมแดนทั้งทางกายภาพและทางศาสนา
แต่ต้นกำเนิด/บ้านที่แท้จริงของพวกแมว
ยังคงอยู่ใน Gōtoku-ji ซึ่งเป็นวัดในเขต Setagaya ของโตเกียว


วัด Gōtoku-ji ซ่อนตัวอยู่ในย่านที่พักอาศัยแสนเงียบสงบ
ในเขตชานเมืองของกรุงโตเกียว
และอาจจะหาทางเข้าวัดไม่ค่อยเจอก็ได้
เพราะวัดนี้มีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับวัดอื่น ๆ ในโตเกียว
แต่กล่าวกันว่าเป็นวัดที่มีต้นไม้ที่สวยงามมาก
เช่น ต้นเมเปิ้ลญี่ปุ่น ต้น GingKo ต้นเชอร์รี่ญี่ปุ่น
งดงามเสมือนหนึ่งการจัดสวนญี่ปุ่น


ที่มุมหนึ่งของวิหาร มีพื้นที่ขนาดเล็ก ๆ
มีชั้นวางของที่มอบให้กับการวางแมวกวักซ้อน ๅ กัน
ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หลายร้อยแมวทีเดียว


มีตำนานหลายเรื่องเกี่ยวกับต้นกำเนิดของแมวเจ้าเสน่ห์ตัวนี้
แต่เรื่องราวที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมากที่สุดเรื่องหนึ่ง
ต้องย้อนกลับไปสู่สมัยเอะโดะ Edo
เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับขุนศึกศักดินาที่ร่ำรวยมาก
จากเมือง Hikone (ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัด Shiga)
กำลังจะเข้าพักใต้ต้นไม้ใหญ่ที่ใกล้กับวัด Gōtoku-ji
ในช่วงพายุฝนฟ้าคะนองอย่างมาก


ขุนศึกรายนี้ได้เห็นแมวของพระสงฆ์ในวัด
กวักมือเรียกให้เดินเข้าไปในวิหาร
เมื่อขุนศึกเดินตามแมวกวักเข้าไปในวิหาร


สักครู่ต่อมา ต้นไม้ใหญ่ก็ถูกฟ้าผ่าลงมา
ทำให้ขุนศึกรายนี้รอดตายจากฟ้าผ่า
ขุนศึกรายนี้จึงรู้สึกขอบคุณการกวักมือเรียกของแมว
จึงได้บริจาคเงินจำนวนมหาศาล
เพื่อปรับปรุงให้วัดมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น
และพยายามทำให้เป็นวัดของครอบครัวขุนศึก
และเป็นการแสดงน้ำใจขอบคุณแมวกวักตัวนี้


ต่อมา เมื่อแมวตัวแรกนี้เสียชีวิตลง
จึงมีการสร้าง Maneki-neko เพื่อเป็นเกียรติแก่แมวตัวแรกนี้
แต่เมื่อเวลาผ่านพ้นไป ผู้คนเริ่มนำตุ๊กตา Maneki-neko ไปที่วัด Gōtoku-ji
เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงความกตัญญูต่อแมว
เมื่อความปรารถนาของพวกเขาเป็นจริงขึ้นมา


เชื่อกันว่าแมวกวัก Maneki-neko มีต้นกำเนิดใน Tokyo (ที่เดิมชื่อว่า Edo)
แต่มีบางคนอ้างว่ามีต้นกำเนิดใน Kyoto
แมวกวัก Maneki-Neko มีหลักฐานปรากฏตัวครั้งแรกในยุค Edo
มีการบันทึกเรื่องแมวกวัก Maneki-neko
ใน Bukō nenpyō's (จดหมายเหตุของ Edo) ย้อนไปปี ค.ศ.1852
มีภาพวาด Marushime-neko ที่แตกต่างกับแมวกวัก Maneki-neko ที่วัด Senso Ji Tokyo


ในปีค.ศ.1876 ช่วงยุค Meiji มีรายงานข่าวปรากฏในบทความหนังสือพิมพ์
เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่แมวกวัก Marushime-neko สวมชุด Kimono
มีการแจกจ่ายกันที่วิหาร ใน Osaka ช่วงเวลานั้น


ในปีค.ศ.1902 โฆษณาเกี่ยวกับแมวกวัก Maneki-neko
ที่มีอายุยาวนานร่วมศตวรรษเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง


บางตำนานอ้างว่า แมวกวัก Maneki-neko
คล้ายคลึงกับลักษณะแมวเช็ดหน้าตนเอง
มีความเชื่อชาวญี่ปุ่นว่า
ถ้าแมวเช็ดหน้าตนเองจะมีคนมาเยี่ยมเยือนในไม่ช้า
สอดคล้องกับสุภาษิตจีนโบราณที่ว่า
ถ้าแมวเช็ดหน้าตนเอง ฝนจะตก
และต่อมากลายเป็นว่า
แมวเช็ดหน้าตนเอง จะพาลูกค้าเข้าร้าน


ในบันทึกสัพเพเหระของ Youyang ยุครัชสมัยถังของจีน
โดยผู้แต่ง Duan Chengshi (803-863) เขียนว่า
" ถ้าแมวยกเท้าเหนือใบหูแล้วเช็ดหน้าตนเอง
จะมีผู้อุปถัมภ์มาหาในไม่ช้านี้ "


บางตำนานว่า แมวจรจัดช่วยนำโชคให้กับร้านค้า
ผู้ประกอบการที่ฐานะค่อนข้างยากจน
เช่น ร้านค้า โรงเตี๊ยม ที่พักคนเดินทาง วัด ฯลฯ
ที่ให้อาหารกับแมวเร่ร่อนหรือแมวหลงทาง
แม้ว่าจะมีรายได้แทบจะไม่พอที่จะเลี้ยงตัวเอง
ด้วยความกตัญญู แมวจึงนั่งอยู่ด้านหน้าของร้านค้า
กวักมือเรียกลูกค้าให้เข้ามาในร้านค้า
เพื่อนำความมั่งคั่งเป็นรางวัลให้กับเจ้าของที่ใจดีเลี้ยงดูพวกมัน
ทำให้แมวกวักเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดีสำหรับเจ้าของธุรกิจ


เรียบเรียง/ที่มา


https://bit.ly/2P8JP2l
https://bit.ly/2w9X75F
https://bit.ly/1J1w9uu



2.


3.


4.


5.


6.


7.


8.


9.


10.


11.


12.


13.


14.


15.


16.


17.


18.


19.


20.


21.


22.


23.



นางกวัก




นางกวัก เป็นเทพีแห่งโชคลาภตามคติไทย
มีลักษณะเป็นรูปศักดิ์สิทธิ์ทำเป็นรูปหญิงสวมเครื่องแต่งกาย
และเครื่องประดับอย่างธรรมเนียมไทย นั่งพับเพียบ
มือซ้ายวางลงแตะข้างลำตัวหรือวางบนตัก
ส่วนมือขวายกขึ้นระดับไหล่ทำท่ากวักมือหรือเรียกเข้ามาหา
เชื่อว่าเทพีองค์นี้จะกวักมือเรียกทรัพย์
เป็นที่นับถืออย่างยิ่งในหมู่พ่อค้าแม่ขายชาวไทย
เพราะถือว่าเทพีองค์นี้จะเรียกลูกค้าเข้ามาอุดหนุนสินค้าในร้าน


คติการนับถือนางกวักพัฒนาการนับถือผีผู้หญิงของคนไทย
ซึ่งนับถือเพศหญิงเป็นใหญ่ เช่น แม่น้ำ แม่ทัพ แม่ย่านาง
คติการนับถือแม่โพสพ พระแม่ธรณี
ส่วนเจ้าบ่าว ในสมัยก่อนนำตัวมารับใช้ครอบครัวสตรี
ถ้าทำตัวไม่ดีสตรีหย่าหาสามีใหม่ได้เลย
ก่อนที่ศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธจะมาเปลี่ยนให้ผู้ชายเป็นใหญ่


นางกวัก คือ ผีที่พัฒนาเป็นเทพที่คอยกวักเงินกวักทองมาให้
มีการหล่อรูปปั้นนางกวักครั้งแรกราวยุคกรุงศรีอยุธยา
โดยมากพบเป็นขนาดบูชา สร้างจากเนื้อโลหะ ดินเผา หรือสลักจากไม้


ต่อมาในยุครัตนโกสินทร์ คติการนับถือนางกวัก
ปรากฏชัดเจนขึ้นในช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ 4-5
เพราะช่วงที่สยามมีเศรษฐกิจเฟื่องฟู
มีการขยายตัวของกิจการร้านในเมืองหลวงและตามหัวเมืองใหญ่ ๆ


ที่มาที่ไปของนางกวักนั้นไม่เป็นที่แน่ชัดนัก
และคาดว่าน่าจะเกิดจากพัฒนาการนับถือผีของคนไทย
ตาม บทสวดคาถาบูชานางกวัก
ที่ว่านางกวักเป็นบุตรีของปู่เจ้าเขาเขียว

" โอม มหาสิทธิโชคอุดม โอมปู่เจ้าเขาเขียว
มีลูกสาวคนเดียว ชื่อแม่นางกวัก
ชายเห็นชายรัก หญิงเห็นหญิงรัก
รู้จักทุกตำบล คนรักทุกถ้วนหน้า
โอมพวกพานิชชา พากูไปค้าถึงเมืองแมน
ค้าหัวแหวน ก็ได้แสนทะนาน
กูค้าสารพัดการ ก็ได้กำไรคล่อง ๆ
กูจะค้าเงินก็เต็มกอง กูจะค้าทองก็เต็มหาบ
กลับมาเรือนสามเดือน เลื่อนเป็นเศรษฐี
สามปีเป็นพ่อค้าสำเภา
โอมปู่เจ้าเขาเขียว ประสิทธิแก่กูคนเดียว สวาหะ "


โองการไหว้ครูช่าง

มีการกล่าวถึงเทพสตรีองค์หนึ่งชื่อ นิลบรรพตเทพสุดา
แปลว่า ลูกสาวของเทพยดาแห่งเขาเขียว ซึ่งชื่อใกล้เคียงกัน
ในคติของครูช่างเชื่อว่านิลบรรพตเทพสุดา เป็นเทพแห่งการเย็บปักถักร้อย
เป็นพระภาคหนึ่งของพระวิศวกรรม
นิลบรรพตเทพสุดา มีลักษณะเหมือนกันกับนางกวัก
คือ กวัก ทรัพย์สมบัติมาให้ ในโองการไหว้ครูช่าง

"...อนึ่งไซร้ข้าขอเคารพนบนางนามปรากฏ
นิลบรรพตเทพสุดา กวักมาซึ่งสุวรรณรัตน์
สรรพสมบัติโอฬาร จะแจ้งการพิธี
มารับพลีทั้งหลายไซร้ แล้วให้พระศรีสวัสดิ์
ปัดสรรพภัยทุกประการ นำศฤงคารโภคาทั่วทุกสิ่งมา
เพิ่มพูนประมูลมากธนสาร นานมาโดยเนืองนิตย์
ประสิทธิแต่ปวงข้าพเจ้า ตามขนบเค้าแบบบรรพ์..."

อรุณศักดิ์ กิ่งมณี นักโบราณคดีกรมศิลปากร
ไม่ยืนยันว่านางกวักกับนิลบรรพตเทพสุดาเป็นเทพีองค์เดียวกัน


นิทานพื้นบ้านลพบุรี

นางกวักรับอิทธิพลจากรามเกียรติ์ฉบับรัชกาลที่ 1
มีเนื้อเรื่องว่าพระรามได้ต่อสู้กับท้าวกกขนาก เจ้าเมืองสิงขรผู้มีใจอยุติธรรม
(รามเกียรติ์ฉบับพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 เรียกท้าวอุณาราช)
ด้วยการแผลงศรพรหมมาสตร์ตรึงท้าวกกขนาก
ไว้บนเขาวงพระจันทร์และสาปว่า
ท้าวกกขนากจะออกไปได้ก็ต่อเมื่อถึงยุคพระศรีอาริย์เท่านั้น
หรือลูกศรถูกรดด้วยน้ำส้มสายชู
ทำให้ในสมัยก่อน ลพบุรีจะหาซื้อน้ำส้มสายชูยากมาก
เพราะกลัวจะไปแก้คำสาป

นางนงประจันทร์ธิดาท้าวกกขนากจึงเพียรทอผ้าไตรจีวร
จากใยบัวเตรียมถวายพระศรีอาริย์ในอนาคต
วันดีคืนดีนางนงประจันทร์จะแปลงกายเป็นหญิงสาว
มาขอซื้อน้ำส้มสายชูหวังใจจะทำน้ำส้มนั้น ไปราดรดศรพรหมมาสตร์
ชาวบ้านที่ทราบดังนั้นก็โกรธและรังเกียจนางนงประจันทร์
ด้วยเกรงว่าหากท้าวกกขนากหลุดพ้นออกมาก็จะทำร้ายผู้คนอีก

ด้วยเหตุนี้ ปู่เจ้าเขาเขียวซึ่งเป็นสหายสนิทของท้าวกกขนาก
เกิดมีใจสงสารนางนงประจันทร์
จึงส่งนางกวักซึ่งเป็นธิดาไปอยู่เป็นเพื่อนนางนงประจันทร์
หลังจากนั้นเป็นต้นมา จากเดิมที่เคยมีผู้คนรังเกียจนางนงประจันทร์
ก็กลับมีแต่คนรักใคร่ นำลาภมาให้
นางนงประจันทร์จึงยกย่องนางกวักว่า
เป็นหญิงผู้นำความสมบูรณ์ในโภคทรัพย์


นางกวักของพุทธ

หลังจากที่ไทยรับศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ
นางกวักจึงมีต้นกำเนิดในประเทศอินเดียมาแต่ยุคพุทธกาล
นางกวักมีนามเดิมว่าสุภาวดี เกิดที่เมืองมิจฉิกาสัณฑนคร
เป็นธิดาของสุจิตต์พราหมณ์ กับมารดาชื่อสุมณฑา
ครั้นจำเริญวัยได้เดินทางไปค้าขายกับบิดา
ระหว่างทางได้พบกับพระอรหันต์สองคือ
พระมหากัสสปะและพระสีวลี
ซึ่งได้ประสาทพรให้นางสุภาวดีให้เป็นผู้เจริญร่ำรวยจากการค้าขาย
ทำให้ครอบครัวของนางร่ำรวยขึ้น
โดยสุภาวดีและครอบครัวมักทำบุญและบริจาคทานอยู่เป็นนิจ
หลังนางสุภาวดีเสียชีวิตจึงมีการสร้างรูปขึ้นมาเคารพบูชา

ทว่าคติการนับถือนางกวักไม่เคยมีในประเทศอินเดีย
เข้าใจว่าคงแต่งเรื่องให้นางกวักมีความเป็นมายาวนาน

นางกวักตามคติไทยมีลักษณะเป็นรูปหญิงสวมเครื่องแต่งกาย
และเครื่องประดับอย่างธรรมเนียมไทย นั่งพับเพียบ
มือซ้ายวางลงแตะข้างลำตัวหรือวางบนตัก
หรืออาจถือถุงเงินที่มีการจดจารคาถาหัวใจสีวลี (พระสงฆ์ผู้เป็นเลิศด้านโชคลาภ)
ส่วนมือขวายกขึ้นระดับไหล่ทำท่ากวักมือหรือเรียกเข้ามาหา
ซึ่งมือขวาที่ยกนั้นหากอยู่สูงกว่าปากมีความหมายว่า กินไม่หมด
ถ้าหากต่ำกว่าปากจะมีความหมายว่า กินไม่พอ

แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้นางกวัก
มีทรวดทรงหรือท่าทางที่ต่างไปจากเดิม
อาทิ มีรูปพรรณอวบอ้วน ยกมือกวักทั้งสองข้าง
หรือการเพิ่มมือกวักให้มีจำนวนมากขึ้น
บ้างก็เสริมแต่งให้มีเครื่องแต่งกายที่หลากหลาย
อาทิ สวมแว่นกันแดดหรือถือกระเป๋ามียี่ห้อ

ส่วนนางกวักในคติล้านนา
จะเป็นรูปหญิงสวมเครื่องแต่งกายพื้นเมืองล้านนา
รูปพรรณงดงามสมส่วน ยกมือซ้ายขึ้นกวักโดยยกสูงขึ้นเหนือใบหู
สะพายถุงเงินถุงทองไว้ด้านหลัง


นางกวัก มีพื้นฐานมาจากศาสนาผี
ซึ่งเป็นศาสนาพื้นเมืองดั้งเดิมของไทย
แต่ก็ได้รับการเคารพนับถือยิ่งโดยเฉพาะ
ในหมู่พ่อค้าแม่ค้าที่เป็นพุทธศาสนิกชน
เพราะเชื่อว่านางกวักจะกวักเรียกลูกค้าให้เข้ามาอุดหนุนสินค้า
เปรียบดั่งการกวักเงินกวักทองมาให้
รวมไปถึงคติเมตตามหานิยม
ดลบันดาลให้คนที่เกลียดกลับมารัก

ผู้คนที่นับถือจะนำรูปปั้นนางกวักตั้งไว้
บนหิ้งหรือมุมใดมุมหนึ่งของร้านค้า
มีการถวายน้ำแดงและพวงมาลัยไปเซ่นไหว้


Credit : https://bit.ly/2MM8GqZ



Create Date : 16 สิงหาคม 2561
Last Update : 16 สิงหาคม 2561 9:27:40 น. 0 comments
Counter : 2630 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.