" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
 
มีนาคม 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
12 มีนาคม 2551
 
All Blogs
 
0104. TEN DEADLY MARKETING SINS : 1 ใน 10 หนังสือควรอ่าน จาก นายกฯ ทักษิณ ชินวัตร





Why marketing is in bad shape

TEN DEADLY MARKETING SINS
Philip Kotler
Publisher: Wiley India

Bad news comes in droves from the dust jacket of Ten Deadly Marketing Sins by Philip Kotler, from Wiley India (www.wileyindia.com) . Such as: "Marketing has ceased to work today. New products are failing at a disastrous rate. Most advertising campaigns do not register anything distinctive in the customer's mind. Direct mail barely achieves a one per cent response rate ... "

Kotler identifies the reasons by skimming through the findings gleaned from `over 75 marketing audits of business units conducted over a 15-year period' by Hamilton Consultants (www.hamiltonco.com) . He identifies `ten worst deficiencies' and devotes a chapter to each of these in his new book. But not before spelling more doom in the intro: "Marketing is in bad shape. Not marketing theory, but marketing practice ... Most of the marketing is reduced to a one-P function - Promotion - not a four-P job (that includes product, price, and place too) ... CEOs are understandably getting impatient with marketing."

The first sin, according to Kotler, is lack of market focus. To say, for instance, that you sell to `everyone' is a key sign of poor identification of market segments. "A women's dress shop might say, `We sell clothing to women between ages 20 and 50.' " To Kotler, this isn't acceptable, either, because the range is `a pretty large group' with varying needs. "Younger women are more likely to dress for the social scene while the 35+ group is probably more interested in utility in clothes for work and home."

Identifying market segments and lining up offerings for each is not enough. You must prioritise, based on `the relative attractiveness of each segment.' For example, though IBM sells mainframe computers to companies in numerous industries, it recognised that a dozen industries, including banking, insurance, hotels, telecommunications, and transportation, were important. "By focussing their research on these industries they were able to design more compelling offerings than unfocussed competitors could present." A strategy that can work provided you also `verticalise your sales force.'

Along with market focus, you must be-customer-driven, advises Kotler. "Your company needs to make it super-easy for customers to reach you by phone, fax, mail, or e-mail. Furthermore, you should set a high standard for answering quickly." He cites, as a model, Amazon, where `mail and e-mail must be answered within two days and telephone calls within four rings.' Why is this important? Because "the cost of this level of service is small in comparison with the cost of losing customers."

Another sin is mismanaged relationships with stakeholders. Symptoms show in the form of dissatisfied employees, unhappy investors, and poor quality suppliers and distributors. "A disgruntled employee can sabotage a company," alerts Kotler. "Signs of unhappy employees would include high employee turnover, frequent failure to carry out policies, strong factionalism, and negative views of other company departments."

Yet another sin is being not good at finding new opportunities. To explain this, the author contrasts between 3M and P&G. While 3M works at deriving "30 per cent of its current revenue from products introduced in the last five years," P&G "cannot boast of introducing many successful new products in the last five years through their own R&D efforts." P&G has, instead, gone on `an acquisition binge'.

Kotler suggests two solutions to this malaise: "Set up a system for stimulating the flow of new ideas from your partners. Utilise creativity systems for generating new ideas." To manage the `idea flow', appoint a high-level executive as `the Idea Captain,' heading `an Idea Committee with representation from each major department,' he counsels. Everyone submitting an idea should be told of its fate, says Kotler. For, such a communication would counter the belief that the company isn't interested in ideas.

A book of ready utility, to help you sin less!




เป็นหนังสือ อีกเล่มหนึ่งที่ นายกรัฐมนตรีแนะนำที่ประชุมคณะรัฐมนตรี แต่คณะผู้จัดทำ ไม่สามารถระบุวันที่กล่าวถึงแน่นอนได้ คาดว่าเป็นการประชุมคณะรัฐมนตรีในช่วง เดือน เมษายน - พฤษภาคม.....



บาปร้ายแรงด้านการตลาด 10 ประการ (TEN DEADLY MARKETING SINS: SIGNS AND SOLUTIONS)

ผู้แต่ง/แปล : PHILIP KOTLER / ดนัย จันทร์เจ้าฉาย :แปล
ISBN : 9749248651
Barcode : 9789749248652
ปีพิมพ์ : 1 / 2547
ขนาด (w x h) : 150 x 230 mm.
ปก/จำนวนหน้า : ปกอ่อน / 136 หน้า 1
ราคาปกติ : 235.00 บาท
ราคาพิเศษ : 212.00 บาท (ลดถึง 10 %) เฉพาะสั่งซื้อทางเว็บไซต์เท่านั้น



Create Date : 12 มีนาคม 2551
Last Update : 12 มีนาคม 2551 10:06:02 น. 5 comments
Counter : 3064 Pageviews.

 
สรุป
บาปร้ายแรงด้านการตลาด 10 ประการ
รูปแบบ file pdf. จำนวน 10 หน้า

Resource:
//www.thailocaladmin.go.th/work/kpinow/7ebook/pdf/4801.pdf




โดย: บาปร้ายแรงด้านการตลาด 10 ประการ (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:9:57:56 น.  

 


บาปร้ายแรงด้านการตลาด 10 ประการ (TEN DEADLY MARKETING SINS: SIGNS AND SOLUTIONS)

ผู้แต่ง/แปล : PHILIP KOTLER / ดนัย จันทร์เจ้าฉาย :แปล
ISBN : 9749248651
Barcode : 9789749248652
ปีพิมพ์ : 1 / 2547
ขนาด (w x h) : 150 x 230 mm.
ปก/จำนวนหน้า : ปกอ่อน / 136 หน้า 1
ราคาปกติ : 235.00 บาท


โดย: บาปร้ายแรงด้านการตลาด 10 ประการ (TEN DEADLY MARKETING SINS: SIGNS AND SOLUTIONS) (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:10:01:32 น.  

 
จาก
//www.brandage.com/issue/edn_print.asp?id=1408

The Saint
ใครที่เคยผ่านการศึกษามาจากโรงเรียนคริสต์ คงคุ้นชินกันดีกับคำว่านักบุญ หรือ Saint

ชื่อโรงเรียนในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ก็ตั้งมาจากชื่อของนักบุญในพระศาสนาทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น เซนต์แมรี่ เซนต์โยเซฟ พระมารดา และพระบิดาขององค์พระเยซูคริสต์

หรือ เซนต์คาเบรียล, เซนต์ดอมินิค, เซนต์ปอล เซนต์หลุยส์, เซนต์ฟรังซ์ซีสซาเวียส ฯลฯ

Saint คือผู้กระทำความดีต่อพระศาสนา และต่อสากลเป็นผู้เผยแพร่หรือเรียกด้วยศัพท์ภาษาซึ่งเป็นต้นฉบับว่า Evangelist คำศัพท์คำเดียวกับที่นำมาใช้ในแวดวงเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) เมื่อหลายปีก่อน เพื่อเรียกผู้ที่ทำหน้าที่เผยแพร่และทำให้องค์ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจใหม่ขยายสู่มวลชน (Democratization) โดยเฉพาะเรื่องอินเตอร์เน็ตและกลจักรการเงินสมัยใหม่อย่าง Venture Capital และ Incubator

และที่สำคัญ Saint ก็คือแบบอย่างหรือสัญลักษณ์ที่งดงามไม่เพียงเฉพาะผู้มีศรัทธราต่อหากแต่เป็นแบบอย่างที่มีอิทธิพลต่อความดีงามของมนุษย์ในเชิงสากลด้วย

นักบุญเกือบทั้งหมดจึงเป็นอัครสาวกของพระผู้เป็นเจ้า

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการนำกรอบคำสอนและ Jargon /Vocabulary ที่ใช้ในการศาสนามาประยุกต์ใช้ในแวดวงธุรกิจมากมาย

จะด้วยเหตุผลมาจากความสนใจในข่าวความขัดแย้งระหว่างผู้คนต่างศาสนาที่ร้อนระอุในระดับอุณหภูมิละลายโลก หรือด้วยเหตุที่มาจากกระแสความคิดแบบ OCC (Out of the Box / Convergence / Cross Industry) พัดแรง ก็ยากที่ใครจะชี้ชัดได้

มีตัวอย่างที่เล่าให้ฟังแล้วจะเห็นภาพได้หลาย Case!!

เมื่อ 3 ปีก่อน มีหนังสือขายดีเล่มหนึ่งชื่อ Jihad VS McWorld เขียนโดย Benjamin R. Barbers ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Rutgers สหรัฐอเมริกา

Barbers ได้ใช้ Jargon คำว่า Jihad อันมีความหมายเกี่ยวกับการทำสงครามศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิมเป็นตัวแทนความพยายามปกป้องและต่อสู้ทั้งทางเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการเมืองของประเทศเล็กประเทศน้อยต่อประเทศมหาอำนาจ

และใช้ McWorld เป็นตัวแทนของการรุกคืบของบริษัทและวัฒนธรรมในระดับ World Class ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นวัฒนธรรมตะวันตกที่มีสหรัฐอเมริกาเป็น Hub ไปยัง Market Place และ Economic Zone ทั่วโลกผ่านการรุกคืบทางธุรกิจด้วยอาวุธที่รุกรบเร็วอย่าง Fast Music (MTV./Napster ฯลฯ) Fast Computer (imac ฯลฯ) Fast Food (Mcdonald's, KFC ฯลฯ) Fast Communications (Internet Cable Network) etc

การรุกรานแบบ McWorld และการต่อสู้แบบ Jihad ที่หนังสือเล่มนี้อรรถาธิบายถึง ให้ภาพเหมือนดูข่าวสงครามของสหรัฐและพันธมิตร VS อิรักและกลุ่มก่อการร้ายสากลไม่ผิดเพี้ยน

องค์ความรู้ทางด้านธุรกิจและการตลาด เกือบทั้งหมดถูก Originate ขึ้นในซีกของ McWorld กว่าครึ่งถูกวิจัยและพัฒนาเป็นทฤษฎีโดยนักวิชาการที่ฝังตัวอยู่ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งแม้จะเป็นสังคมที่หลากหลายในเรื่องเชื้อชาติและศาสนา แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าศาสนาที่ชี้นำความคิดและจริยธรรมของอเมริกันไม่ใช่ศาสนาซึ่งมีองค์พระเยซูคริสต์เป็นพระศาสดา

การนำกรอบความคิดและจริยธรรมของศาสนาคริสต์มาประยุกต์ใช้ในทางธุรกิจจึงมีให้เห็นมากกว่าจากศาสนาอื่นๆ

ที่เล่าให้อ่านกันเพราะเดือนที่แล้วมีหนังสือเล่มล่าสุดของศาสตราจารย์ Philip Kotler Guru หมายเลข 1 ของวงการ Marketing วางตลาดทั่วโลก

หนังสือเล่มนี้ชื่อ The Ten Deadly Marketing Sins เป็นเล่มเดียวกับหนังสือเล่มล่าสุดที่ นายกฯทักษิณ แนะนำให้อ่าน

กรอบวิธีคิดในการนำเสนอรวมทั้งปรัชญาเบื้องหลังของหนังสือเล่มนี้หยิบยืมมาจากหลักการทางศาสนา ที่ระบุการกระทำที่เป็นบาป เป็นศีล เป็นข้อห้ามที่ควรต้องละเว้น

Peter F. Drucker เคยใช้กรอบเดียวกันนี้มาแล้วเมื่อปี 1995 หรือ 9 ปีที่แล้ว ผ่านงานเขียน The Five Deadly Sins ที่ตีพิมพ์ในหนังสือ Managing in a Time of Great Change

Drucker ชี้ว่า บาป 5 ประการ หรือความผิดพลาด 5 ประการที่อาจถึงตายได้ประกอบด้วย

บาปข้อแรก การบูชากำไรต่อหน่วยมากเกินไปหรือการทำ Pricing Strategy แบบ Premium Price ที่เป็นความผิดพลาดจนทำให้ XEROX นั้นต้องพ่ายแพ้อย่างย่อยยับต่อ CANON ในตลาดสหรัฐอเมริกา เมื่อกว่าทศวรรษที่แล้ว

Drucker ชี้ว่า กำไรต่อหน่วยสูงเป็นคนละเรื่องกับกำไรรวม การใช้ Premium Pricing เป็นการทิ้งการ์ดเปิดหน้าให้คู่ชกเต็มๆ

Drucker ชี้ว่ากำไรต่อหน่วยต้องสัมพันธ์กับ Positioning และ Net Profit

บาปข้อที่ 2 การตั้งราคาผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Products) ในระดับสูงสุดเท่าที่ตลาดจะรับได้

ซึ่งในโลกของความเป็นจริงเป็นเรื่องยากที่จะหาที่ยืนได้ในตลาด

บาปข้อที่ 3 การตั้งราคาตามต้นทุน แทนที่จะกำหนดต้นทุนตามราคาที่ตั้งไว้

บาปข้อที่ 4 การใช้โอกาสในอนาคตเป็นเครื่องบูชายัญความสำเร็จในอดีต

เรื่องนี้ต้องขยายความ

Drucker ใช้กรณีศึกษาของ IBM ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 1970 ที่แม้จะ Launch พีซีได้อย่างรวดเร็ว แต่กลับบริหารตลาดพีซีให้อยู่ใต้ Platform ของเมนเฟรม ซึ่งเป็น Money Machine ตัวเก่าด้วยการกำหนดนโยบายไม่จำหน่ายพีซีให้ลูกค้าเมนเฟรม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการขยายตัวอย่างรวดเร็วของ IBM Compatible และเป็นจุดเริ่มต้นของความเพลี่ยงพล้ำตกต่ำยาวนานของ Big Blue

บาปข้อที่ 5 การเลี้ยงดูให้อาหารกับตัวปัญหาแต่ปล่อยให้โอกาสต้องอดตาย

บาปข้อนี้เราคงจินตนาการต่อได้ไม่ยากนัก

นี่คือ The Five Deadly Sins ของ Drucker เมื่อเกือบทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งยังคงขลังและใช้การได้แม้ในชั่วโมงปัจจุบัน

ทิ้งช่วงเวลายาวนานพอสมควร Guru ระดับชั้นพรีเมียร์ลีดเหมือน Drucker อย่าง Kotler ก็พูดถึง The Deadly Sins อีกครั้ง

ครั้งนี้เพิ่มจากจำนวนนับ 5 ข้อของ Drucker เป็น 10 ข้อแล้วโฟกัสเฉพาะ Marketing Function

Kotler ได้สังเคราะห์ The Ten Deadly Sins ว่าประกอบไปด้วย บาป 10 ประการดังนี้

บาปข้อแรก ไม่ได้มุ่งทำตลาดที่มีประสิทธิภาพ (Sufficiently Market Focused) และ Customer Driven

บาปข้อที่สอง ไม่มีความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง

บาปข้อที่สาม ขาดการมอนิเตอร์ และให้นิยามคู่แข่งขันใหม่ให้ชัดเจน

บาปข้อที่สี่ ไม่ได้บริหารความสัมพันธ์กับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างต่อเนื่อง

บาปข้อที่ห้า ไม่หาโอกาสใหม่ๆ ให้กับธุรกิจของตนเอง

บาปข้อที่หก การวางแผนทางการตลาดของบริษัทและกระบวนการวางแผนบกพร่องผิดพลาด

บาปข้อที่เจ็ด ขาดเกมรุกด้านนโยบายด้านสินค้าและบริการ

บาปข้อที่แปด การสร้างแบรนด์และทักษะในการสื่อสารยังอ่อนหัด

บาปข้อที่เก้า ไม่มีการเตรียมการที่ดี (Well Organizes) เพื่อรองรับการทำตลาดที่ทรงประสิทธิภาพและมีศักยภาพ

บาปข้อที่สิบ ไม่ได้ใช้ประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยี

นอกจาก Kotler จะชี้ให้เห็นบาปทางการตลาด 10 ประการแล้ว Kotler ยังเติมเต็มบทบาท Evangelist ด้วยการชี้ทางออกด้วยบัญญัติ 10 ประการ (10 Commandments) ในการสร้างศักยภาพทางการตลาดเพื่อกลับสู่ Track ที่รบแล้วชนะ

เรียกว่าครบเรื่องทั้งบาป - บุญ

Kotler ชี้ทางสว่างไว้ดังนี้

บัญญัติข้อที่ 1 ต้องเลือกเจาะเซ็กเม้นต์ที่ดีที่สุดของตลาด และต้องพัฒนาตำแหน่งทางการตลาดที่แข็งแกร่ง (Strong Position) ในแต่ละเซ็กเม้นต์

บัญญัติข้อที่ 2 ต้องรู้ถึงความต้องการ (Need) ความชอบ (Preference) ของลูกค้า ตลอดจนการรับรู้ พฤติกรรม และการกระตุ้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้นำเสนอนี้ และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า

บัญญัติข้อที่ 3 ต้องรู้คู่แข่งสำคัญของตน โดยเฉพาะจุดอ่อน จุดแข็งของคู่แข่งเหล่านั้น

บัญญัติข้อที่ 4 ต้องทำให้หุ้นส่วนพ้นจากการเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

บัญญัติข้อที่ 5 ต้องพัฒนาระบบเพื่อหาโอกาสและจัดลำดับ พร้อมทั้งเลือกโอกาสที่ดีที่สุด

บัญญัติข้อที่ 6 ต้องบริหารระบบการวางแผนการตลาดเพื่อที่จะนำไปสู่แผนการตลาดทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

บัญญัติข้อที่ 7 ต้องควบคุมการจัดส่วนผสมสินค้าและบริการอย่างเข้มงวด

บัญญัติข้อที่ 8 ต้องสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่ง โดยใช้เครื่องมือทางด้านการส่งเสริมการขายและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพที่สุด

บัญญัติข้อที่ 9 ต้องสร้างภาวะความเป็นผู้นำทางการตลาด (Marketing Leadership) และทีมสปิริตท่ามกลางหน่วยงานที่หลากหลาย และสุดท้าย

บัญญัติข้อที่ 10 ต้องเสริมเทคโนโยโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาด!!!

From Bible สู่ Business World ที่ Drucker และ Kotler ได้แสดงต่อผู้คนในโลกธุรกิจจะยิ่งใหญ่พอที่จะก้าวสู่ฐานะ Saint ในโลกธุรกิจทุนนิยมสมัยใหม่หรือไม่ คงไม่มีใครสามารถตอบได้

แต่ถ้าหากใครมีโอกาสได้อ่านและทำความเข้าใจกับบาป 7 ประการ หรือ The Seven Sins ของ มหาตมะ คานธี รัฐบุรุษของอินเดียและโลก คงหาคำตอบถึงขนาดของความยิ่งใหญ่ที่แท้ได้อย่างแท้จริง

คานธีบัญญัติ บาป 7 ประการไว้ดังนี้

Politics without principles

Pleasure without conscience

Wealth without work

Knowledge without character

Commerce without morality

Science without humanity

Worship without sacrifice

มีการถอดความเป็นภาษาไทยที่งดงาม โดยอาจารย์ เรืองอุไร กุศลาสัย แบบประโยคต่อประโยคว่า

เล่นการเมืองโดยไม่มีหลักการ

หาความสุขสำราญโดยไม่ยั้งคิด

ร่ำรวยเป็นอกนิษฐ์โดยไม่ต้องทำงาน

มีความรู้มหาศาลแต่ความประพฤติไม่ดี

ค้าขายโดยไม่มีหลักศีลหลักธรรม

วิทยาศาสตร์เลิศล้ำแต่ไม่มีธรรมแห่งมนุษย์

บูชาสูงสุดแต่ไม่มีความเสียสละ

อ่านจบและขบคิดอย่างละเอียดแล้ว ผมคงได้แต่สงสัยในใจว่าโลกใบนี้คนบาปกับนักบุญ ใคร-ไหนมากกว่ากัน!?!

Oh My Saint!!!



โดย: จาก http://www.brandage.com/issue/edn_print.asp?id=1408 (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:10:07:52 น.  

 
“สิบข้อการตลาดที่ทำให้องค์กรพัง” (ตอนที่ 2)


โดย ม.ล.ชัยวัฒน์ ชยางกูร [17-5-2004]

ตอนที่แล้วมี 5 ข้อแรก
1.บริษัทฯ ของท่านไม่คล่องตัวในการจับตลาดและมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้า
2. บริษัทของท่านไม่ศึกษาพฤติกรรมของลูกค้า
3. ขาดการสนใจคู่แข่งและติดตาม
4. บริษัทขาดการดูแลเอาใจใส่ความสัมพันธ์กับ Stakeholders
5. บริษัทขาดการหาโอกาสใหม่ๆ ในการทำธุรกิจ

คราวนี้มาต่อกันอีก 5 ข้อ

6. การจัดการและขั้นตอนการตลาดของบริษัทฯ มีข้อบกพร่อง (Your Company’s Marketing Planning Process is Deficient) เมื่อสังเกตเห็นสัญญาณการตลาด จะเห็นจากแผนงานการตลาดไม่ค่อยเป็นเหตุเป็นผล และมี Logic การวางแผนการ ตลาดไม่สามารถคาดคะเนผลในเชิงวิเคราะห์รายได้ แผนของบริษัทฯ ไม่มีการวางแผนสำรองในกรณีที่ทุกอย่างไม่เป็นไปตามแผน ดูไปดูมาจะเห็นว่าในข้อหกหลายองค์กรขาดประสิทธิภาพ เป็นเพราะไม่รู้หรือไม่ไหวตัวก็ไม่ทราบ แต่ที่น่ากลัวคือ อาจจะพอใจกับรายได้ของตัวเองอยู่มาก จนไม่ได้สังเกตเห็นความไม่น่าจะเป็นไปได้ในหลายจุด หรือไม่มีข้อมูลในการวิเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ การทำรายละเอียดลงลึกโดยการทำ SWOT และการจัดการในรูปแบบสากล จึงเป็นเรื่องที่ควรพิจารณา

7. นโยบายสินค้าและบริการไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Product and Service Policies are not Tightening) สังเกตเห็นได้ง่ายจากการที่สินค้าและบริการสูญเสียตลาด สูญเสียส่วนแบ่งและลูกค้า บริษัทฯ แจกบริการฟรีอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ ไม่ค่อยให้ทางเลือกในการซื้อสินค้าข้ามกลุ่ม หรือสร้างคุณค่าในการซื้อ ให้ลูกค้า กำไรต่อหน่วยลดลง งานยุ่งแต่กำไรทรุดกับทรง

การจัดการทางด้านการตลาดที่อ่อนแอ มักจะเห็นได้จากสินค้าที่ไม่เด่นและไม่มีจุดแข็งจนเกิดแรงดึงดูดที่ทำให้เกิดการขายได้ จนแผนกขายต้องแจกแหลก ลดแหลก เช่น ส่งสินค้าฟรี ฟรีติดตั้ง ฟรี Training นี่เป็นเหตุผลง่ายๆ ที่ต้นทุนจะมาที่ฝ่ายบริการ แม้สินค้าจะกำไร แต่บริษัทอาจจะขาดทุน เพราะมาจ่ายให้บริการที่มีต้นทุนอยู่ แต่ถ้าทำดีดี จุดอ่อนอาจจะเป็นจุดแข็งได้ เช่น ในปัจจุบัน รถยนต์บีเอ็มมีบริการหลังการขายให้ฟรี 2 ปี แต่ถ้าลูกค้าต้องการจะให้บริการเพิ่มเป็น 5 ปี ต้องจ่ายเพิ่มอีก แต่ลูกค้าจะคิดในแง่ใช้รถ 5 ปี ต้องคุ้ม เพราะสามารถทำงบประมาณได้แน่นอน ในเชิงรูปแบบของบริษัทก็ทำให้มี Budget ได้แล้ว แต่คนที่ได้และมีแต่ได้คือผู้ขาย ซึ่งนอกจากจะได้ค่าบริการล่วงหน้ามาหมุนเงิน ยังคลายการวิตกถึงคุณค่าของสินค้าได้อย่างดีเยี่ยม เรียกว่ายิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ตัวใหญ่

8. การสื่อสารภายในองค์กรและการสร้าง Brand อ่อนปวกเปียก (Communication and Brand Building are Weak) ไปถามใครว่ารู้จักบริษัทฯ ของเราหรือไม่ จะมีคำตอบว่ารู้บ้าง ที่สำคัญเราต้องเจาะลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้ได้ว่า เขารู้จักเรามากแค่ไหนและรู้จักยังไง เราคาดหวังจะเห็นลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายพูดถึงเราว่าอย่างไร และทำยังไง เขาจะเห็นว่าเราเป็นที่หนึ่ง หรือ Product of Choice เสมอ เมื่อนึกถึงสินค้าและ บริการในกลุ่มสินค้าของเรา

การสร้างคุณค่าของ Brand ของแต่ละองค์กรจะมีความสามารถแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสไตล์ของ CEO ในแต่ละองค์กร ถ้าเป็น CEO ที่ชอบการประชาสัมพันธ์และมีทักษะในการนำเสนอ องค์กรนั้นจะมีกิจกรรมดี และมากเพียงพอที่จะสร้าง Brand ให้สินค้าและองค์กรเป็นที่รู้จักแก่ตลาด หลายองค์กรก็ฉลาดจ้างคนมาช่วยดูแลในการสร้าง Brand ที่ตัวเองอาจจะไม่เก่งและขาดความถนัดไป โดยไปหาคนมาช่วยจัดกิจกรรมการตลาด และทำการประโคมข่าวจนทำงานได้สำเร็จ ก็เป็นวิธีหนึ่งในชั้นเชิงการ สร้าง Brand

9.องค์กรขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำการตลาด (Company is not well Organized to carry on Effective and Effecient Marketing) สิ่งที่ต้องสังเกตใกล้ตัวที่สุดก็คือหัวหน้าฝ่าย การตลาดไม่เก่งเท่าที่ควร พนักงานในหน่วยงานการตลาดเป็นคนทำเก่งมากกว่าคิดเก่ง จึงไม่มี Killing Ideas ที่จะทำให้คู่แข่งสะเทือน และได้สัดส่วนทางด้านการตลาด

นอกจากนั้น การขัดแย้งในทางความคิดและการจัดการ ที่ขัดแย้งขัดขากันไปมาระหว่างการตลาดและการขาย กับฝ่ายต่างๆ ก็เป็นเหตุให้การทำงานไม่ประสบความสำเร็จ ทางออกในเรื่องนี้คือ ต้องได้คนที่ “ใช่” มาทำงาน และทีมการตลาดต้องพัฒนาความรู้ ความคิดในเชิงการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ผลออกมาดี ตลอดจนอาจจะต้องให้ Department Head ของแต่ละแผนกในองค์กรแบกเป้า เพื่อเป็นการขอให้ช่วยแกมบังคับในการช่วยกันทำให้งานการขายดียิ่งขึ้น

10.เทคโนโลยีล้าสมัยมีเหมือนไม่มี (Has not Made Maximum use of Technology) สัญญาณความล่มจมจะมาจากไม่มี Intranet Internet ตลอดจนไม่มีการใช้ข้อมูลในการช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในเชิงการจัดการ ทำให้ใช้เวลาเยอะและขาดประสิทธิภาพในการตัดสินใจ

ใน 10 ข้อนี้มีดีเยอะ แต่ขอนำมาพอสังเขป ขอให้ท่านไปหาหนังสือ Ten Deadly Marketing Sins ของ Philip Kotler มาอ่าน จะได้ทะลุปรุโปร่งในความคิด แต่ละข้อค่อนข้างเป็นเรื่องยาว 10 เจาะแง่คิดในการตลาดเชิงเอเชียให้ท่านผู้อ่านในโอกาสต่อไป ทำไปทำมา 10 ข้อนี้ อยู่ใกล้ตัวจนเราเคยชิน แต่จะเก่งไม่เก่ง อยู่ที่การตั้งใจอุดรอยรั่วของการจัดการด้านการตลาด

Resource:
//www.businessthai.co.th/content.php?data=407898_Opinion


โดย: “สิบข้อการตลาดที่ทำให้องค์กรพัง” (ตอนที่ 2) (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:10:10:00 น.  

 
Lifestyle Update : Top 10 Business & Management Books Checklist

แรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่ บางครั้งก็มาจากหนังสือดีๆ สักเล่มหนึ่ง คำถามก็คือปีนี้คุณอ่านหนังสือไปแล้วกี่เล่ม

ก่อนวางแผนว่าปีหน้าจะทำอะไรบ้าง ลองมาดูกันก่อนว่าในปีนี้หนังสือที่ได้รับการยอมรับและจัดอันดับว่าเป็นหนังสือขายดีจากเอเชียบุ้คส์นั้น คุณผ่านตามาแล้วกี่เล่ม หากยังไม่ได้อ่านสักเล่ม หรืออ่านไม่ถึงครึ่งก็ไม่ต้องตกใจ marketeer นำ 10 อันดับหนังสือธุรกิจขายดีในปีที่ผ่านมา พร้อมสรุปเนื้อหาสำคัญมาให้เลือก

คัดมาให้เลือกง่ายขนาดนี้แล้ว จะเลือกหนังสือสร้างแรงบันดาลใจต้อนรับปีใหม่ให้กับตัวเอง หรือเลือกเล่มเด็ดๆ ให้คนอื่นในวาระขึ้นปีใหม่ก็คงดีไม่น้อย

1.Ten Deadly Marketing Sins: Signs and Solutions โดย Philip Kotler

รายละเอียด กูรูการตลาดจะเล่าถึงสาเหตุที่ทำให้การทำการตลาดไม่ได้ผล รวมถึงบอกวิธีการตรวจสอบว่าองค์กรใครมีสภาพ “การตลาดอ่อนแอ” พร้อมเสนอวิธีการแก้ไขสภาพเหล่านั้น

2. Strategy Maps: Converting Intangible Assets into Tangible Outcomes โดย Kaplan & Norton

รายละเอียด Strategy Map พัฒนาขึ้นมาจากผลการวิจัยของผู้ที่ใช้ Balanced Scorecard นับร้อยรายทั่วโลก โดยจะช่วยให้องค์กรหรือบริษัทต่างๆ สามารถค้นพบความสัมพันธ์ของทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้กับการสร้างคุณค่าขององค์กร

3. Re-imagine!: Business Excellence in a Disruptive Age โดย Tom Peters

รายละเอียด นำเสนอมุมมองแนวคิด และรูปแบบใหม่ๆ ในการบริหารจัดการธุรกิจที่กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาการบริหารเพื่อช่วยส่งเสริมทักษะ ความคิดสร้างสรรค์ หล่อหลอมจิตวิญญาณร่วมกันของพนักงานในองค์กร

4. Execution: The Discipline of Getting Things Done โดย Bossidy Et Al

รายละเอียด ความสำคัญของการบริหารที่ผู้นำองค์กรต้องเรียนรู้ และให้ความสำคัญหากอยากให้องค์กรประสบความสำเร็จ

5. How to Become CEO: The Rules for Rising to the Top of Any Organization โดย Jeffrey J. Fox

รายละเอียด กฎเหล็ก 75 ข้อที่คัดมาแล้วว่าเฉพาะเจาะจงและ Practical มีทั้งสิ่งที่ควรทำ ควรเลี่ยง และควรพัฒนาเพิ่มเติม

6. The Toyota Way: Fourteen Management Principles from the World’s Greatest Manufacturer โดย Jeffrey Liker

รายละเอียด Toyota Way เป็นหนังสือเล่มแรกที่พูดถึงหลักการการจัดการ และปรัชญาการบริหารงานของ Toyota ซึ่งได้สร้างชื่อเสียง และความเชื่อถือให้แก่แบรนด์ดังกล่าว

7. Tools for Success: A Manager’s Guide โดย Suzanne Turner

รายละเอียด เครื่องมือแบบวันสต็อปเพื่อการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ พัฒนาศักยภาพลูกทีม และเพิ่มผลผลิตให้กับองค์กร

8. Warren Buffett Wealth: Principles and Practical Methods Used by the World’s Greatest Investor โดย Robert C Miles

รายละเอียด บอกเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับการเริ่มต้นชีวิตการทำงาน บทเรียนต่าง ๆ ความลับเกี่ยวกับความสำเร็จของ Buffett

9. The Origin of Brands: Discover the Natural Laws of Product Innovation and Business Survival โดย Al & Laura Ries

รายละเอียด กล่าวถึงวิธีการสร้างแบรนด์ใหม่ โดยขยายจากแบรนด์เก่าที่มีอยู่และประสบความสำเร็จอยู่แล้ว

10. The Art of the Advantage: Strategies to Ensure the Competitive Edge โดย Kaihan Krippendorff

รายละเอียด พูดถึงหลักอุบายของจีนที่เก่าแก่ถึง 36 ศตวรรษมาแล้ว รวมถึงการนำหลักดังกล่าวมาปรับใช้กับในองค์กรและในชีวิตประจำวัน




ที่มา Asia Books New Arrivals เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2547








ฉบับที่ 58 ธันวาคม 2547



โดย: Lifestyle Update : Top 10 Business & Management Books Checklist (moonfleet ) วันที่: 12 มีนาคม 2551 เวลา:10:14:18 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.