" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
<<
มกราคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
7 มกราคม 2552
 
All Blogs
 
156. ประชาธิปไตยบนทางแพร่ง : ปาฐกถา พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ที่สถาบัน IISS ที่ลอนดอน

Resource://www.palawat.org/twiki/tiki-read_article.php?articleId=297


ประชาธิปไตยบนทางแพร่ง

By: ข่าวพลวัต on: Tue 06 of Mar, 2007 [23:56] (460 reads)


อ่านคำต่อคำ ปาฐกถา พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ที่สถาบัน IISS ที่ลอนดอน : ในขณะที่พวกเราบางคนในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังไม่เปิดรับประชาธิปไตยในวันนี้ แต่พวกเขาก็ตระหนักว่านี่เป็นหนทางที่จะต้องก้าวต่อไป บางทีอาจต้องให้เวลากับการปลูกฝังคุณค่าของระบอบประชาธิปไตยในภูมิภาคของเรา เหมือนกับที่ยุโรปเป็นในวันนี้ แต่ทิศทางในอนาคตสำหรับเรานั้นแจ่มชัด ซึ่งมีเพียงแต่การผสมผสานการเมืองและเศรษฐกิจในภูมิภาคของเรานั้นที่จะต้องเพิ่มความยึดมั่นในคุณค่าของระบอบประชาธิปไตยให้มากขึ้น ระบอบประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งฟุ่มเฟือยสำหรับภูมิภาคของเราอีกต่อไปแล้ว แต่มันเป็นความจำเป็น เราต้องการระบอบประชาธิปไตยเพื่อทำให้เรามั่นใจได้ว่า เมื่อมีวิกฤตเกิดขึ้น, ซึ่งมันมักจะเกิดขึ้นเสมอ, สถาบันการเมืองและเศรษฐกิจในตัวของแต่ละปัจเจกชน ก็จะยังเข้มแข็งพอที่จะให้ความร่วมมือกันในส่วนรวม เพื่อที่จะหาทางออกที่มั่นคง และในที่สุดมันจะยังความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะโดยหนังสือสัญญา หรือการที่เพียงแต่ปัจเจกชนนั้นได้ทำงานร่วมกันในตลาดเสรี หากคนทั้งหมดได้ตกอยู่ภายใต้ความเสี่ยง ซึ่งเกิดจากการที่ประเทศนั้นล้าหลังในการอนุบาลรัฐบาลประชาธิปไตยที่มั่นคง

ถอดรหัส อดีตนายกรัฐมนตรี ต้องการสื่ออะไรถึงประชาชนชาวไทย และนักลงทุนชาวต่างประเทศ : พลาดไม่ได้!!!








ภาพประกอบ: ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่องจาก //www.

สวัสดีท่านสุภาพบุรษและสภาพสตรีทุกท่านครับ,

ขอบคุณเป็นอย่างยิ่งสำหรับคำกล่าวแนะนำที่น่าประทับใจ ผมเห็นคุณค่าที่ได้รับโอกาสในการมากล่าวปาฐกถาที่สถาบันการศึกษายุทธศาสตร์นานาชาติ (The International Institute for strategic studies) แห่งนี้เป็นอย่างยิ่ง, ขอบคุณสำหรับคำเชิญในช่วงบ่ายนี้ เพื่อให้ผมได้มาพูดเกี่ยวกับเรื่องระบอบประชาธิปไตย ในแผ่นดินที่โลกยอมรับว่ามีชื่อเสียงเป็นต้นแบบประชาธิปไตยรัฐสภาแบบเวสมินสเตอร์ (westminster model of parliamentary democracy) อันซึ่งได้กลายเป็นพิมพ์เขียวสำหรับระบอบประชาธิปไตยใหม่หลายแห่งทั่วโลก, ในแผ่นดินที่ซึ่งคุณค่าของระบอบประชาธิปไตยได้, เป็นเวลานับศตวรรษ, เป็นเส้นทางที่เป็นธรรมชาติสำหรับประชาชนในชีวิตประจำวันของพวกเขา และดูเหมือนว่า (ประชาธิปไตยนั้นจะ) หลั่งไหลอยู่ในสายเลือดของพวกเขา, ในที่ซึ่งผู้คนดูเหมือนได้หายใจ, นอน และดื่มกิน ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย



ผมเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากมันเป็นระบบที่รัฐบาลจะสามารถส่งมอบสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองให้กับประชาชนและผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง ซึ่งเป็นใจความหลัก, ผมเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย เพราะมันได้ให้วิถีทางที่มีประสิทธิภาพที่สุดที่จะนำมาซึ่งความยุติธรรมในสังคม

รัฐบาลที่ผ่านการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย จะยังคงเป็นรัฐบาลได้ถ้าหากพวกเขารับใช้ผลประโยชน์ของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ดังนั้นแล้ว, รัฐบาลประชาธิปไตยจะต้องให้คำมั่นและมีความสามารถที่จะส่งมอบซึ่ง ความสุข, ความรุ่งเรือง และความเป็นอยู่ที่ดี ให้แก่พลเมืองที่พวกเขาได้รับผิดชอบ

อย่างไรก็ตาม, จะสำเร็จได้มากน้อยแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับและแปรผันไปตามปัจจัยนานานับประการ โดยเฉพาะเมื่อ รัฐบาลได้รับอำนาจ โดยมีที่มาผ่านกระบวนการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตย และนำไปสู่ฉันทานุมัติจากผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง, ที่ซึ่งรัฐบาลจะได้รับการยอมรับความถูกต้องชอบธรรม และได้รับประโยชน์ จากมุมมองที่มาจากการรู้จักความนอบน้อมถ่อมตน

แต่หากในทางตรงข้าม, รัฐบาลที่ได้รับอำนาจมาจากวิถีทางอื่น พวกเขาอาจจะหลงผิดที่จะใช้ทุกวิถีทางเพื่อรักษาไว้ซึ่งอำนาจ และมักจะตกอยู่ภายใต้ภาพลวงตาว่าสิ่งใดก็ตามที่ดีที่สุดสำหรับพวกเขา ก็ย่อมดีที่สุดสำหรับประเทศชาติด้วย ในความเป็นจริงแล้วอำนาจนั้นง่ายต่อการทำให้เคลิบเคลิ้มที่จะหลงไปในทางนั้น

ในห้วงระยะเวลาเมื่อสองศตวรรษที่แล้ว และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อศตรวรรษที่ผ่านมา เราได้เห็นระบอบประชาธิปไตยเจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างมากมาย แต่เราไม่ได้เห็นรูปแบบของระบอบประชาธิปไตย เพียงรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่จะก่อกำเนิดรัฐบาลประชาธิปไตย แต่ระบอบประชาธิปไตยนั้นจะพัฒนาขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมทางการเมืองของแต่ละประเทศ ภายใต้บริบทของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง

แต่อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่ามีเงื่อนไขและปัจจัยทั่วไปที่พบอยู่ในธรรมชาติในกระบวนการประชาธิปไตย สิ่งเหล่านี้ได้แก่ การมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิภาพ, กระบวนการลงคะแนนเสียงที่เสมอภาค, การเลือกตั้งที่เป็นอิสระ, เป็นธรรม และมีขึ้นบ่อยครั้ง ,การแสดงความคิดเห็นที่เป็นอิสระ, การมีเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย และแหล่งข้อมูลทางเลือกอื่น, และความเป็นอิสระของสื่อ เป็นต้น

ช่วงหลังจากสงคราม ในปี 1945 เราได้พบเห็นการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วครั้งใหญ่ของระบอบประชาธิปไตยใหม่ๆ ในบรรดาเหล่านี้หลายแห่งเป็นของขวัญจากการปลดปล่อยประเทศอาณานิคม และผลพวงของประชาธิปไตยแบบตะวันตก ที่มหาอำนาจผู้ล่าอาณานิคมทั้งหลายได้เหลือทิ้งไว้

ตลอดหกสิบปีหลังจากสงครามนั้น โลกได้เป็นพยานรู้เห็นถึงความสำเร็จในการรับเอาระบอบประชาธิปไตยเป็นจำนวนมาก แต่ก็ต้องรับทราบถึงความล้มเหลว และล่มสลายของระบอบประชาธิปไตยจำนวนไม่แพ้กันหลายแห่งในโลก ในขณะที่ศตวรรษนี้เป็นช่วงเวลาแห่งการเจริญงอกงามของระบอบประชาธิปไตยในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ, ตามที่ศาสตราจารย์ โรเบิร์ต ดาห์ล ได้กล่าวถึงไว้ในหนังสือ On democracy แต่ก็ยังมีระบอบประชาธิปไตยกว่า 70 ตัวอย่างที่ได้ล่มสลายและพ่ายแพ้ให้แก่ระบอบเผด็จการ

ประชาธิปไตย, อันซึ่งใครอาจจะกล่าวอ้างหลักฐานในข้อดีของมันตามรสนิยม, ได้ประสบกับภาวะการขึ้นและลงในประเทศต่างๆ ทั่วทุกมุมโลก ดังนั้นกล่าวได้ว่า, ประชาธิปไตยกำลังอยู่ในทางแยกเป็นมั่นคง

ในประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตยนั้น, ข้อดีและข้อเสียของประชาธิปไตย ไม่เคยได้บรรลุถึงข้อสรุป ในประเทศประชาธิปไตยใหม่หลายประเทศ สถาบันประชาธิปไตยอาจจะถูกทำให้เข้มแข็งขึ้น หรือถูกทำให้อ่อนแอลง และเป็นเหตุให้ประชาธิปไตยจะได้ปักฐานลงอย่างมั่นคงในประเทศหนึ่ง และทิ้งขว้างอย่างไม่ใยดีในอีกประเทศหนึ่ง

ในทุกระบอบประชาธิปไตย มักจะมีคำถามอยู่เสมอว่ามีความจำเป็นที่จะให้ระบบประชาธิปไตยหยั่งรากลึกลงไปกว่านี้หรือไม่ หรือมีการให้ใช้ประชาธิปไตยมากเกินไปหรือไม่ และมักจะมีคำถามว่าเราจะไปในทิศทางไหนสำหรับการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย ที่ซึ่งดูเหมือนว่ากำลังอยู่ ณ ทางแยก

ในขณะที่ประเทศประชาธิปไตยใหม่กำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกที, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการล่มสลายลงของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกในช่วงปลายยุคปี 80 และในช่วงต้นยุคปี 90 เราได้เรียนรู้ที่จะปรับปรุงประเทศใหม่ๆเหล่านี้ให้มีระบอบประชาธิปไตย ที่มีความมั่นคง โดยการกระตุ้นให้มีโครงสร้างวัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตยในประเทศเหล่านั้น เราสามารถช่วยส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยในประเทศประชาธิปไตยใหม่เหล่านั้น ด้วยการชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างความรุ่งเรืองและระบอบประชาธิปไตย และการที่มีตัวแทนในระบอบประชาธิปไตยจะสามารถนำมาซึ่งความเป็นมิตรในสภาพแวดล้อมของประเทศที่ใช้เศรษฐกิจแบบตลาดได้อย่างไร หรือพูดอีกแบบหนึ่งก็คือเราจะต้องช่วยพวกเขาได้ค้นพบหนทางที่เหมาะสมในขณะที่กำลังดิ้นรนอยู่ ณ ทางแยกได้อย่างไร

ในส่วนของผม ผมเชื่ออย่างจริงใจว่าความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจอันแท้จริงนั้น จะไม่มีทางยั่งยืนในระยะยาวได้ หากปราศจากซึ่งระบอบประชาธิปไตย ทั้งระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจแบบตลาด หากจะให้ประสบความสำเร็จแล้ว เสรีภาพจะต้องได้รับการปกป้อง ที่ใดที่เสรีภาพได้รับการปกป้อง ที่นั้นจะมีทั้งความโปร่งใส, มีการตรวจสอบได้ และมีการคาดเดาได้ นี่ก็คือองค์ประกอบทั้งหมดของเสถียรภาพในทั้งระบอบประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจ

ผมเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจนั้นผูกติดกับ การบริหารประเทศแบบประชาธิปไตยที่ยั่งยืน เพราะระบอบประชาธิปไตยจะฟูมฟักให้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ความรุ่งเรือง ในระยะยาวแล้วการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในลักษณะนี้จะช่วยให้ระบอบประชาธิปไตยเป็นที่ชื่นชอบและมีความมั่นคงขึ้น การเติบโตจะช่วยลดความยากจน ปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพ และช่วยลดความขัดแย้งในทางการเมืองและในสังคม การเติบโตจะช่วยสร้างทรัพยากรได้มากพอที่จะแบ่งปันและใช้ประโยชน์ในการศึกษาและสวัสดิการ อันซึ่งในที่สุดก็จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้ระบอบประชาธิปไตย

ในโลกใบนี้ เราก็ได้เห็นประเทศที่ซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหลือล้น แต่ไม่ได้เข้าถึงทรัพย์สินทางปัญญา ก็ยังมีประชากรที่อยู่อาศัยอย่างยากจน เมื่อผู้นำประเทศไม่ยอมรับผิดต่อประชาชนแล้ว เมื่อพวกเขาไม่ได้ให้ความไว้วางใจต่อการยอมรับการตัดสินใจโดยเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน ประเทศเหล่านั้นจะไม่เคลื่อนที่และชะงักงัน ประชาธิปไตยหล่อเลี้ยงความคิดสร้างสรรค์ การแลกเปลี่ยนความคิดที่มาจากเสรีภาพในการพูด และเสรีภาพในการแสดงออก ได้สร้างจักรกลแห่งเศรษฐกิจในตัวของประชาชน และความเชื่อมโยงระหว่างประชาธิปไตยและการพัฒนาทางเศรษฐกิจมีผลกระทบต่อการพัฒนาในทุกๆ อารยธรรม

ถ้าเราได้มองย้อนกลับไปในช่วงศตวรรษก่อนของระบอบประชาธิปไตย ที่ซึ่งมันได้กลายเป็นระบอบหลักในยุโรป เราจะพบว่าในช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19 ซึ่งเป็นยุคทหารได้ครอบงำระบบ และกลไกของรัฐบาล บารมีกลายเป็นเป้าหมาย แต่ในศตวรรษที่ 19 ยุคอุตสาหกรรมได้ย่างก้าวมาถึง ซึ่งเป็นยุคที่การสร้างความมั่งค่ำได้ก้าวล้ำการสั่งสมบารมี แต่ทุกวันนี้โลกตะวันตกได้กลายเป็นผู้นำในยุคใหม่ ยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร ซึ่งการสร้างความรู้ได้กลายเป็นที่มาของทั้งความมั่งคั่งและบารมี

ประเทศใน เอเชีย อาฟริกา และอเมริกาใต้ ที่ไม่อาจบรรลุพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตย จะไม่สามารถยังประโยชน์ในยุคใหม่ซึ่งเป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร และจะพบตนเองว่ายากที่จะทำให้เศรษฐกิจไปได้ดี ทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นภยันตรายต่อเสถียรภาพของระบอบประชาธิปไตย

ในทางตรงข้าม ระบอบประชาธิปไตยในตะวันตกพร้อมแล้วที่จะดำเนินการในการติดตั้งระบบยุทธศาสตร์เพื่อที่จะทำให้ยุคข้อมูลข่าวสารนี้เกิดประโยชน์สูงสุด ยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะสร้างโอกาสที่ดีกว่าให้กับพลเมืองของประเทศเหล่านี้ พร้อมทั้งเสรีภาพในการแสดงออก เพื่อจะสั่งสมข้อมูลข่าวสาร และสร้างยุทธศาสตร์ข้อมูลข่าวสารเพื่อผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ ดังนั้นมันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สหภาพยุโรป ที่ซึ่งเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จในการสร้างความแข็งแรงให้กับระบอบประชาธิปไตยในประเทศสมาชิก จะได้มอบความช่วยเหลิอและการอนุเคราะห์แก่ประเทศประชาธิปไตยใหม่เหล่านี้ จากประสบการณ์อันหลากหลายของสหภาพยุโรปเอง

ความสำเร็จในการสร้างท้งระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจที่เจริญรุ่งเรือง ของประเทศในยุโรปตั้งแต่หลังสงครามโลกคร้งที่สอง เป็นเป็นตัวอย่างบรรลุเป้าหมายที่พิเศษสุดอย่างหนึ่งในศตวรรษที่ผ่านมา และการสร้างความสำเร็จดังกล่าวโดยการเคลื่อนระบอบการเมืองและเศรษฐกิจของสหภาพไปข้างหน้าอย่างมั่นคงนั้น แสดงให้เห็นถึงชัยชนะแห่งความหวังและความฝัน เหนือประวัติศาสตร์และโศกนาฏกรรม นี่เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงนั้นจะสามารถสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจได้อย่างไร มีอีกหลายแห่งในโลกนี้ที่ยุโรปจะสามารถมอบบทเรียนที่พวกเขาได้เรียนรู้ ไม่ใช่ประเทศไหนเลยนอกจากเหล่าประเทศที่กำลังอยู่บนทางแพร่งของการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย

พวกเขาต้องการความช่วยเหลือที่จะรับประกันได้ว่าพวกเขาจะไม่เดินไปผิดทาง หรือไม่ก็หาทางออกไม่เจอ สำหรับเอเชีย, ในมุมมองของผมแล้ว, ยุโปรควรจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องกับประเทศในเอเชียอย่างระมัดระวัง และให้ความเคารพในวิสัยทัศน์ของพวกเขา และเสริมกำลังเพื่อสนับสนุนในระบอบประชาธิปไตย การดำเนินการของท่านจะยังความมั่นใจให้กับเป้าหมายร่วมของพวกเราได้มีโอกาสนำไปสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ เอเชียและยุโรปจะเพิ่มพูนและขยายขอบข่ายความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจและต่อรัฐบาลประชาธิปไตยในเอเชีย

เราสามารถจะทำได้มากกว่าแค่การส่งเสริมธรรมาภิบาลในการขยายการพัฒนาทางเศรษฐกิจและระบอบประชาธิปไตยอย่างแน่นอน ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในเอเชียอาคเนย์ หรืออาเซียน ได้มีบรรลุถึงย่างก้าวที่สำคัญในการยืนยันคำรับรองของเราในเรื่องเสรีภาพทางเศราฐกิจและประชาธิปไตย หลังจากสี่สิบปีตั้งแต่การก่อตั้ง อาเซียนได้มีการทำงานร่วมกันในการร่างกฎบัตรอาเซียนข้อที่ 1 กลุ่มบุคคลที่มีชื่อเสียงที่เป็นตัวแทนของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศที่ได้ทำการร่างกฎบัตรดังกล่าว ได้ให้คำแนะนำที่จะ จัดเตรียมข้อบัญญัติใหม่โดยกำหนดเงื่อนไขว่า สันติภาพและความมั่นคงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นอยู่กับ และผมขออ่านคำพูดต่อไปนี้ "ความเคลื่อนไหวที่เข้มแข็งของคุณค่าประชาธิปไตย , ธรรมาภิบาล, การปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลโดยวิถีทางที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย, การเป็นนิติรัฐ (รวมถึงกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายมนุษยธรรม) และให้ความเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน"

ในขณะที่พวกเราบางคนในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังไม่เปิดรับประชาธิปไตยในวันนี้ แต่พวกเขาก็ตระหนักว่านี่เป็นหนทางที่จะต้องก้าวต่อไป บางทีอาจต้องให้เวลากับการปลูกฝังคุณค่าของระบอบประชาธิปไตยในภูมิภาคของเรา เหมือนกับที่ยุโรปเป็นในวันนี้ แต่ทิศทางในอนาคตสำหรับเรานั้นแจ่มชัด ซึ่งมีเพียงแต่การผสมผสานการเมืองและเศรษฐกิจในภูมิภาคของเรานั้นที่จะต้องเพิ่มความยึดมั่นในคุณค่าของระบอบประชาธิปไตยให้มากขึ้น ระบอบประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งฟุ่มเฟือยสำหรับภูมิภาคของเราอีกต่อไปแล้ว แต่มันเป็นความจำเป็น เราต้องการระบอบประชาธิปไตยเพื่อทำให้เรามั่นใจได้ว่า เมื่อมีวิกฤตเกิดขึ้น, ซึ่งมันมักจะเกิดขึ้นเสมอ, สถาบันการเมืองและเศรษฐกิจในตัวของแต่ละปัจเจกชน ก็จะยังเข้มแข็งพอที่จะให้ความร่วมมือกันในส่วนรวม เพื่อที่จะหาทางออกที่มั่นคง และในที่สุดมันจะยังความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะโดยหนังสือสัญญา หรือการที่เพียงแต่ปัจเจกชนนั้นได้ทำงานร่วมกันในตลาดเสรี หากคนทั้งหมดได้ตกอยู่ภายใต้ความเสี่ยง ซึ่งเกิดจากการที่ประเทศนั้นล้าหลังในการอนุบาลรัฐบาลประชาธิปไตยที่มั่นคง

และต่อไปนี้, หากเป็นไปได้, ขอให้ผมได้กล่าวอะไรสองสามประการเกี่ยวกับประเทศไทย เหนือสิ่งอื่นใด, ผมอยากให้ท่านทั้งหมดได้ทราบว่า ผมยังคงมีความหวังในแง่บวกอย่างมั่นคงและมีความหวังต่ออนาคตประเทศชาติของผม ขอให้ผมได้บอกท่าน อะไรอย่างคร่าวๆ ว่าเพราะเหตุใดผมถึงได้รู้สึกเช่นนี้ ประเทศไทยได้มีการเริ่มสร้างรากฐานสถาบันประชาธิปไตยในปี 1932 และนับจากนั้นเป็นต้นมา ผ่านรัฐธรรมนูญมา 17 ฉบับ และผ่านภาวะปรวนแปรทางการเมืองมามากมาย แต่รากแก้วของระบอบประชาธิปไตยได้หยั่งลึกอย่างมั่นคงท่ามกลางคนไทยแล้ว ผู้คนทั่วทั้งประเทศยังคงต้องการเห็นการรับผิดที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง พวกเขาเริ่มเข้าใจความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งระหว่างพัฒนาการทางเศรษฐกิจและระบอบประชาธิปไตย

เมื่อผมได้เป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2001, มีประชากร 12.5 ล้านคนต้องมีชีวิตอยู่ใต้เส้นความยากจน และด้วยการสร้างความเข้มแข็งในเศรษฐกิจไทยจากฐานราก ตัวเลขเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาแม้จะตกลงจาก 12.5 ไปอยู่ที่ 7.5 กระนั้นก็ยังนับว่าเยอะอยู่มาก แต่เราก็ได้มุ่งหน้าไปสู่ทิศทางที่ถูกต้อง ทั้งที่ต้องประสบหายนะภัยทางธรรมชาติครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์, เหตุคลื่นสึนามิ เมื่อปี 2004, แต่รายได้ประชาชาติของประเทศก็ยังเพิ่มขึ้นเกือบ 50% ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา และตอนนี้เราก็กลายเป็นประเทศผู้ให้กู้ไปแล้ว

หลังจากต้องเจ็บปวดกับผลกระทบจากการล่มสลายทางการเงินในเอเชียเมื่อปี 1997 เราได้มีการบริหารจัดการต่อโอกาสทั้งหลายเพื่อที่จะสามารถชำระหนี้ไอเอ็มเอฟของเราล่วงหน้าได้สองปีก่อนถึงกำหนด เราได้ให้ความเอาใจใส่เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าประชาชนผู้ยากไร้ในชนบทสามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ เพื่อที่จะให้งบประมาณท้องถิ่น และรายได้ที่มาจากการบริหารจัดการจากภายในชุมชนท้องถิ่นเอง นั้นสามารถเข้าถึงโดยคนไทยทุกคน

โดยการสร้างความมั่นคงให้กับเศรษฐกิจไทยจากฐานราก เราก็ได้สร้างความมั่นคงให้กับเศรษฐกิจในประเทศทั้งหมดด้วย ซึ่งในที่สุดทำให้เงินลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น บางทีคุณอาจจะเริ่มเข้าใจแล้วว่าเพราะเหตุใดผมจึงยังคงมีความหวังในแง่ดีต่ออนาคตประเทศชาติของผม ผมยังคงยืนยันได้ว่า ความยืดหยุ่นแข็งแกร่งของคนไทยจะรองรับการฟื้นฟูและทำให้ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจก้าวหน้าต่อไปได้ ทันทีที่ระบอบประชาธิปไตยหวนคืนสู่ประเทศไทย และผมเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่าความมีน้ำใจที่ซึ่งเป็นคุณลักษณะเฉพาะตัวของคนไทย จะช่วยให้ประเทศไทยได้มุ่งมั่นสู่การสมานฉันท์ของคนในชาติ ภายใต้ความเป็นผู้นำที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของพวกเรา

ผมทราบดีว่าคนไทยทุกคนรู้สึกปลื้มปิติต่อพระราชกรณียกิจตลอด 60 ปีของพระองค์ท่านเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนไทย ไม่มีอะไรที่จะเป็นการแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณครั้งนี้ได้ลึกซึ้งยิ่งไปกว่า การที่คนไทยจะมีความสมานฉันท์และตั้งใจที่จะทำงานร่วมกันเพื่อที่จะบรรลุถึงความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การกอบกู้ระบอบประชาธิปไตยให้คืนมาในไม่ช้าก็เร็วนี้ จะช่วยทำให้การณ์นั้นเป็นไปโดยง่ายขึ้น

และสำหรับทุกท่านที่เป็นมิตรสหายของเรา ผมทราบว่าเมื่อเราประสบความยากลำบากในช่วงวิกฤตปี 1997 ท่านยังยืนอยู่เคียงข้างและคอยห่วงใยพวกเรา บนเส้นทางแห่งการฟื้นฟูของเรา ท่านได้เห็นความยืดหยุ่นอย่างแข็งแกร่งและความมุ่งมั่นที่จะกลับมาสู่สถานการณ์ปกติที่ควรจะเป็นแล้ว และเราก็ทำได้

เราทำได้ดีกว่าที่หลายคนได้คาดเอาไว้ และผมมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าบนทางแยกครั้งใหม่นี้ เราจะสามารถทำให้ประเทศไทยได้หวนคืนกลับมาได้อย่างดีอีกครั้ง


ขอบคุณเป็นอย่างยิ่งสำหรับการให้ความสนใจฟังของท่าน ผมยินดีที่จะตอบคำถามที่อาจมีขึ้นครับ.



Create Date : 07 มกราคม 2552
Last Update : 7 มกราคม 2552 11:31:03 น. 0 comments
Counter : 820 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.