" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2554
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
22 พฤษภาคม 2554
 
All Blogs
 

016. คนไทยกับศาลอเมริกา

คนไทยกับศาลอเมริกา

เมธี ครองแก้ว กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โดยปกติการกระทำที่ว่าเป็นความผิดของประเทศใดจะต้องเกิดขึ้นภายในดินแดนของประเทศนั้น ยกเว้นแต่ที่มีกรณียกเว้นไว้ในกฎหมาย อย่างเช่นในกรณีของประเทศไทยความผิดที่เกี่ยวกับความมั่นคง การก่อการร้าย การปลอมและแปลงเงินตราและเอกสารเกี่ยวข้องอื่น ความผิดเกี่ยวกับเพศ และความผิดฐานชิงทรัพย์ซึ่งถึงแม้จะมีการกระทำหรือตระเตรียมที่จะทำในต่างประเทศ หากถูกจับได้จะต้องรับโทษในราชอาณาจักรด้วย

อย่างไรก็ตาม มีกฎหมายเฉพาะของประเทศหนึ่งซึ่งถึงแม้ไม่ใช่ความผิดที่ร้ายแรงอย่างเห็นได้ชัด หรือผิดศีลธรรมอย่างเห็นได้ชัด แต่ผู้ที่กระทำผิดที่เป็นชาวต่างชาติก็อาจถูกกฎหมายของประเทศนี้ดำเนินการเอาผิดได้ กฎหมายที่ว่านี้คือ กฎหมายว่าด้วยการกระทำอันเป็นการทุจริตข้ามชาติ (Foreign Corrupt Practices Act) ของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งได้รับการประกาศใช้มาตั้งแต่ ค.ศ.1977 และได้รับการแก้ไขมาแล้ว 2 ครั้ง ในปี ค.ศ.1988 และปี ค.ศ.1998 และกฎหมายฉบับนี้แหละคือ กฎหมายที่อาจจะทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐไทยหรือคนไทยโดยทั่วไปต้องไปเป็นจำเลยของศาลในประเทศสหรัฐอเมริกาได้โดยตัวเองไม่รู้ตัว

จุดประสงค์หลักของกฎหมายนี้ก็คือ การปราบปราม ป้องกัน หรือป้องปรามการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในต่างประเทศโดยคนอเมริกันหรือบริษัทของอเมริกัน เพื่อโน้มน้าวเจ้าหน้าที่ดังกล่าวอนุมัติโครงการแก่คนอเมริกันหรือบริษัทอเมริกันนั้นโดยไม่สุจริตหรือโดยผิดขั้นตอน หน่วยงานของสหรัฐอเมริกาที่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ 2 หน่วยงาน คือ Department of Justice หรือ กระทรวงยุติธรรม (ซึ่งมีอำนาจในการควบคุม และบริหารจัดการ Federal Bureau of Investigation หรือ FBI ที่คนไทยรู้จักกันดีด้วย) และ US Securities and Exchange Commission หรือ US SEC หรือเทียบเท่ากับสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต.ของประเทศไทยนั้นเอง โดย US DOJ มีหน้าที่ในการฟ้องร้องเอาความผิดในศาล ส่วน US SEC มีหน้าที่ในการตรวจบัญชีของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ว่าจะมีการกระทำผิดกฎหมายอย่างไร หรือไม่ สองหน่วยงานนี้จะทำงานควบคู่กันไป

ปัญหามีอยู่ว่าแล้วคนไทย (หรือคนต่างชาติใดก็แล้วแต่) จะมีส่วนไปเกี่ยวกับการฟ้องร้องโดย US DOJ และ US SEC อย่างไร? ตามที่กล่าวถึงแล้วข้างต้น หากคนอเมริกันหรือบริษัทอเมริกันเอาเงิน หรือสัญญาว่าจะให้เงินหรือสิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ (foreign officials) เพื่อให้มาซึ่งสัญญาที่จะทำโครงการใดกับรัฐบาลของประเทศนั้น ก็จะถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย FCPA นี้ และจะมีโทษทางอาญาทั้งจำทั้งปรับ และโทษทางแพ่งที่ต้องถูกยึดทรัพย์ในส่วนที่ได้ประโยชน์จากโครงการที่ได้รับอนุมัตินั้น ในส่วนนี้เข้าใจได้ไม่ยาก แต่เมื่อปี 1998 รัฐบาลอเมริกันได้ขอให้แก้กฎหมายโดยให้เพิ่มอำนาจในการพิจารณาความผิดของ “เจ้าหน้าที่ของรัฐในประเทศอื่น” (foreign officials) ที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมกับคนอเมริกัน หรือบริษัทอเมริกันตามกล่าวข้างต้นเข้าไปด้วย แสดงว่าขอบเขตทางกฎหมาย (legal jurisdiction) ของสหรัฐอเมริกาได้ถูกแผ่ขยายไปครอบคลุมประเทศอื่นด้วย (โดยประเทศนั้นจะยอมหรือไม่ยอมก็ตาม)

โดยปกติการจะไต่สวนพิจารณาความผิดของคนอเมริกันในประเทศอเมริกาเองก็ยากอยู่แล้ว รัฐบาลอเมริกันจะไปไต่สวนเอาผิดกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในประเทศอื่นทั่วโลกได้อย่างไร? ข้อนี้นับเป็นความบังเอิญที่กฎหมายของสหรัฐอเมริกาได้เปิดช่องให้กระทรวงยุติธรรมในฐานะอัยการของแผ่นดินที่จะเจรจาตกลงกับคนอเมริกันหรือบริษัทอเมริกันที่ทำผิดกฎหมายนี้ให้ยอมสารภาพเสียเพื่อแลกเปลี่ยนกับการไม่ต้องถูกฟ้องร้องในศาล (non-prosecution agreement หรือ NPA) ในคดีอาญาหรือให้พิจารณาฐานความผิดให้เบาลง ซึ่งช่องทางนี้ดูเหมือนเป็นช่องทางที่คนอเมริกันและบริษัทอเมริกันส่วนใหญ่จะเลือก ทำให้งานของอัยการอเมริกันเบาลงไปเยอะ ยิ่งไปกว่านั้นในระยะหลังๆ นี้ US SEC ยังไม่ทันไปตรวจบัญชีของบริษัทอเมริกันที่ถูกสงสัยเท่านั้น บริษัทนั้นก็มาสารภาพเสียเลย (คงเพื่อให้รัฐบาลปรานีกระมัง) และในคำสารภาพนี้ส่วนใหญ่ก็จะบอกรายละเอียดว่า บริษัทเอาเงินไปให้เจ้าหน้าที่ของรัฐคนใดในต่างประเทศบ้าง หรือเอาไปให้นายหน้าหรือตัวแทน (agent) คนไหนเพื่อเอาไปจ่ายให้เจ้าหน้าที่ของรัฐคนไหนอีกต่อหนึ่งบ้าง

เพราะฉะนั้นเจ้าหน้าที่รัฐไทยคนไหนที่เคยได้รับเชิญให้ไปต่างประเทศโดยบริษัทอเมริกันที่ได้ทำสัญญากับรัฐบาลไทยในที่สุด โดยได้รับผลตอบแทนอื่นด้วย เช่นได้รับเงิน pocket money จำนวนมาก, ได้รับการพาไปเที่ยวและการเลี้ยงรับรองต่างๆ ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกพิจารณาเป็นความผิดในกฎหมาย FCPA นี้ หรือแม้แต่นายหน้าหรือตัวแทนที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐก็ไม่รอดเพราะกฎหมายของอเมริกันฉบับนี้ครอบคลุมถึงด้วย

ในเมื่อรัฐบาลอเมริกันเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้จึงคงไม่แปลกที่เราจะเห็นเจ้าหน้าที่ของรัฐไทยหรือคนไทยอื่นๆ ถูกฟ้องเป็นจำเลยในศาลสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อุทาหรณ์จากเรื่องนี้ก็คือว่าทุกคนจะต้องทำงานด้วยความสุจริตเพื่อไม่ให้ต้องตกเป็นจำเลยในศาลอเมริกันโดยไม่รู้ตัว


Source://www.nidambe11.net/ekonomiz/2011q1/2011_February16p1.htm

-----------------------------------------------------------------------------




 

Create Date : 22 พฤษภาคม 2554
1 comments
Last Update : 22 พฤษภาคม 2554 11:49:12 น.
Counter : 3019 Pageviews.

 

You made some good points there. I looked on the internet for the issue and found most people will agree with your blog.
Ray Ban Wayfarer //www.homesnetwork.com/

 

โดย: Ray Ban Wayfarer IP: 94.23.252.21 4 สิงหาคม 2557 2:16:45 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.