" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
<<
มกราคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
7 มกราคม 2552
 
All Blogs
 
0153. ยุทธศาสตร์โครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น

Resource://www.mfa.go.th/internet/BDU/fashion.doc


ยุทธศาสตร์โครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น

ความเป็นมา

- คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ 21 มกราคม 2546 เห็นชอบโครงการกิจกรรมเปิดตัวโครงการกรุงเทพฯเมืองแฟชั่น และเมื่อ 10 เมษายน 2546 เห็นชอบโครงการฯ ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้มีคำสั่งตั้งสำนักงานโครงการฯ เมื่อ 21 เมษายน 2546

- อุตสาหกรรมแฟชั่น ประกอบไปด้วย อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง และอุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่องประดับ โดยมี 10,207 โรงงาน คนงาน ประมาณ 1.58 ล้านคน โดยมี มูลค่าการส่งออกในปี 2545 ประมาณ 346,822.3 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.2 ของ GDP

- ปัญหาที่ประสบของอุตสาหกรรมแฟชั่น คือแนวโน้มการส่งออกที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2545 (ยกเว้น อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ) โดยปัจจัยของการถดถอย ได้แก่ ผู้ประกอบการของไทยส่วนใหญ่เป็นเพียงผู้รับจ้างผลิต Original Equipment Manufacture: OEM ผลิตสินค้าคุณภาพระดับล่าง และไม่สร้างมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งมีการแข่งขันสูงขึ้นจากประเทศที่มีต้นทุนและค่าจ้างแรงงานต่ำ (จีน เวียดนามและอินโดนีเซีย) ประกอบกับการเปิดเสรีสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม กรอบ WTO ในปี 2548 และการสิ้นสุดลงของระบบ โควต้าการส่งออกที่ได้รับจากประเทศต่างๆ สหรัฐฯ EU และญี่ปุ่น


วัตถุประสงค์

- สร้างคน สร้างธุรกิจ และสร้างเมือง เพื่อให้ไทยมีภาพลักษณ์ที่โดดเด่นด้านแฟชั่น และตราสินค้าไทยเป็นที่ยอมรับ สร้างมูลค่าเพิ่มในการส่งออก งบประมาณและรายได้ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางแฟชั่นอย่างแท้จริง

- กำหนดวิสัยทัศน์ว่า ปี 2548 กรุงเทพฯจะเป็นผู้นำแฟชั่นและศูนย์กลางธุรกิจแฟชั่นในอาเซียน ปี 2550 กรุงเทพฯ จะเป็นศูนย์กลางธุรกิจแฟชั่นในเอเชีย (แฟชั่นเมืองร้อน) และปี 2555 กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางแฟชั่นอีกแห่งหนึ่งของโลก


แนวทางการดำเนินการ

โครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น ใช้ยุทธศาสตร์ของ “การตลาดด้านแฟชั่น” เป็นตัวฉุดนำการพัฒนาทั้งระบบ (คือ ฉุดดึงและสร้างมูลค่าเพิ่มในทุกอุตสาหกรรมที่เก่ยวข้องกับคำว่า “แฟชั่น” ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ครบวงจรขยายตัวและเติบโตไปด้วยกันหมด)

การดำเนินโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น ในระยะแรกมีเวลา 18 เดือน มุ่งเน้นการเพิ่มมูลค่าเพิ่ม การปรับปรุงคุณภาพเน้น high end และมาตรฐานของสินค้า การพัฒนาเครื่องหมายการค้า พัฒนาสินค้าใหม่ พัฒนาการตลาดเฉพาะ (Niche Market) การส่งเสริมการสนับสนุนการเชื่อมโยงทั้งวงจรการผลิตและการ พัฒนาศักยภาพประสิทธิภาพบุคลากรภาคธุรกิจอุตสาหกรรม


มาตราการในการสร้างให้กรุงเทพฯเมืองแฟชั่น มี 3 มิติ ที่จะดำเนินไปพร้อมกันแบบบูรณาการ

- ด้านการสร้างคน -เน้นการต่อยอดให้แก่ผู้จบการศึกษาด้านแฟชั่น อาจารย์และบุคลากรในอุตสาหกรรมแฟชั่น เพื่อให้นักออกแบบ นักธุรกิจสินค้าแฟชั่น และ เจ้าหน้าที่เชี่ยวชาญด้านเทคนิค โดยจะเปลี่ยนจาก ผู้รับจ้างผลิต OEM เป็นผู้ออกแบบสินค้าและมีตรายี่ห้อตัวเอง (Original Design/Brand Manufacture)

- ด้านการสร้างธุรกิจ- จัดตั้งศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับแนวโน้มแฟชั่น โดยตั้งเป้าหมายมีผู้ได้รับข้อมูล 5,000 ราย และจะพัฒนาผู้ประกอบการทั้ง 3 สาขาอุตสาหกรรมประมาณ 950ราย การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าแฟชั่นไทย และการพัฒนาเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นผู้นำด้านแฟชั่นระยะยาว

- ด้านการสร้างเมือง- จัด กิจกรรมสร้างภาพลักษณ์อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ งานแสดงสินค้าแฟชั่นโชว์ระดับโลก จัดเวิร์กช็อปแนวโน้มแฟชั่น เจาะตลาดเป้าหมาย โดยทำ Road Show เผยแพร่ผลงานแฟชั่นนักออกแบบไทย และจัดประกวดออกแบแฟชั่นนานาชาติ
การบริหารจัดการโครงการ โครงสร้างและวิธีการบริหารโครงการ แบ่งออกเป็น 4 ระดับ

1. คณะกรรมการบริหารโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น มี รมว.อก. เป็นประธาน และผู้แทนจากภาครัฐและเอกชนและผู้ทรงคุณวุฒิในวงการแฟชั่นเป็นกรรมการ มีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบาย เป้าหมาย แนวทาง แผนการดำเนินงาน รวมทั้งกำกับการดำเนินงานของโครงการฯในภาพรวม

2. คณะกรรมการอำนวยการโครงการฯ มีผู้ช่วยรมว.อก. เป็น
ประธาน มีผู้แทนจากภาคเอกชน 3 สาขาอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมการส่งออก กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และสำนักงานเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม มีอำนาจหน้าที่กำหนดแผนปฏิบัติการ ติดตามกำกับการดำเนินงานและประเมินผลการปฏิบัติการงานตามโครงการ

3. สำนักงานโครงการกรุงเทพฯเมืองแฟชั่น ขึ้นตรงต่อ รมว. อก. โดยทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการ ทั้งสองคณะ ประกอบด้วยฝ่ายบริหารและฝ่ายปฏิบัติการ สำนักงานฯ ตั้งอยู่ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทร. 02-202-4536 และ 02-2024537 โทรสาร 02-354-0380 และ 02-354-3272 เว็บไซต์ //www.bangkokfashioncity.com

4. ทีมที่ปรึกษามืออาชีพ


ผลที่คาดจะได้รับ

- คาดว่าจะมีการมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 335,000 ล้านบาทต่อปี แบ่งออกเป็นการใช้จ่ายของนัก ท่องเที่ยว นักธุรกิจ 3,500 ล้านบาท การค้าในศูนย์ธุรกิจแฟชั่นเพิ่มขึ้น 10,000 ล้านบาท การเจาะตลาด สร้างรายได้โดยตรง 3,000 ล้านบาท และการส่งออกของอุตสาหกรรมแฟชั่นเพิ่ม 17,000 ล้านบาท

- ปี 2548 กรุงเทพฯจะเป็นผู้นำแฟชั่นและศูนย์กลางธุรกิจแฟชั่นในอาเซียน ปี 2550 กรุงเทพฯ จะเป็น ศูนย์กลางธุรกิจแฟชั่นในเอเชีย (แฟชั่นเมืองร้อน) และปี 2555 กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางแฟชั่นอีกแห่งหนึ่งของโลก


โครงการเจาะตลาดเป้าหมาย ประจำปี 2548 ของสำนักงานโครงการกรุงเทพฯเมืองแฟชั่น

- เมื่อเดือนกรกฎาคม 2546 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่นในวงเงิน 1,824.635 ล้านบาท จำนวน 11 โครงการย่อย ทุกโครงการมีการร่วมมือกันอย่างชัดเจนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

- โครงการเจาะตลาดเป้าหมาย ซึ่งเป็นหนึ่งใน 11 โครงการย่อย ของสำนักงานโครงการกรุงเทพฯเมืองแฟชั่น ประจำปี 2548 ได้แก่

o Trade Show ที่เมือง Basel ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ในเดือนมีนาคม 2548

o In-store Promotion ที่สหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคม 2548

o In-store Promotion และ Independent Show ที่ Oriental Place และ Temple of Heaven ที่จีน ในเดือนมิถุนายน 2548

o In-store Promotion และ Independent Show ที่ฝรั่งเศส ในเดือนกันยายน 2548

o In-store Promotion ที่ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ในเดือนพฤศจิกายน 2548


บทบาทของกระทรวงฯ

- กระทรวงฯ ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนยุทธศาสตร์โครงการกรุงเทพฯเมืองแฟชั่น ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ มีบทบาทในการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์สินค้าอุตสาหกรรมแฟชั่น และขยายตลาดในต่างประเทศร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่แบบบูรณาการ

- ในปี 2548 กระทรวงฯ ได้จัดสรรงบประมาณทีมประเทศไทยประจำปีงบประมาณ ให้แก่โครงการจัดงานประกวด Thai Young Fashion Designer ของ สอท. ณ กรุงลอนดอน และโครงการแสดงแบบแฟชั่นเสื้อผ้าของนักออกแบบไทยของ สอท. ณ กรุงปารีส รวมทั้งโครงการส่งเสริมไทยเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอนด้านการออกแบบแฟชั่น/วิชาชีพการเสริมสวย ในงานแสดงสินค้าไทยที่กรุงพนมเปญ ของสอท. ณ กรุงพนมเปญด้วย


กองสนเทศเศรษฐกิจ

4 สิงหาคม 2548








Thailand Team จะสร้าง Mission: Impossible






Create Date : 07 มกราคม 2552
Last Update : 7 มกราคม 2552 8:35:29 น. 2 comments
Counter : 3746 Pageviews.

 
Resource://www.mfa.go.th/internet/document/548.doc


สรุปการอภิปราย “โครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น”

วันที่ 28 สิงหาคม 2546


ในโอกาสที่กระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดการประชุมเอกอัครราชทูต และกงสุลใหญ่ไทยทั่วโลกที่กรุงเทพ ฯ ระหว่างวันที่ 26 สิงหาคม – 4 กันยายน 2546 นั้น หัวข้อหนึ่งที่ได้รับเลือกเป็นหัวข้ออภิปรายในที่ประชุมเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2546 คือ โครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญนโยบายหนึ่งของรัฐบาล

โดยมีวิทยากร ประกอบด้วย

นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ผู้อำนวยการสำนักงานโครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น กระทรวงอุตสาหกรรม

นายสุชาติ จันทรานาคราช นายกสมาคมอุตสาหกรหรมเครื่องนุ่งห่มไทย

นายพงษ์ อิงคสิทธิ์ อุปนายกสมาคมเครื่องหนังไทย

นายพรสิทธิ์ ศรีอรทัยกุล ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

โดยมีนายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย


ภาพรวมโครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น

โครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่นมีความสำคัญอยู่ 3 ประการ คือ การเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งของประเทศ เป็นการปรับตัวรับกับสถานการณ์ในเชิงรุก และตรงกับความต้องการของภาคเอกชน โดยมีภาครัฐเป็นผู้ประสานงาน

อุตสาหกรรมแฟชั่นของไทย นับเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่สร้างรายได้เข้าประเทศจำนวนมากในแต่ละปี โดยมียอดส่งออกในปี 2545 อยู่ที่ 346,822.3 ล้านบาท มีจำนวนโรงงานในอุตสาหกรรมนี้ทั้งสิ้น 10,207 โรง และเป็นที่ว่าจ้างแรงงานมากถึง 1.58 ล้านคน ทั้งนี้ อุตสาหกรรมแฟชั่น ประกอบด้วยอุตสาหกรรมหลัก 3 อุตสาหกรรม คือ

1.อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

2.อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ และ

3.อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง

โครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น ได้เริ่มดำเนินโครงการเมื่อเดือนกรกฎาคม 2546 โดยได้รับงบประมาณทั้งสิ้น 1,825 ล้านบาท ตั้งเป้าการดำเนินโครงการไว้ 3 ระยะ คือ

ระยะแรก ใช้เวลาดำเนินงาน 18 เดือน เพื่อให้กรุงเทพ ฯ เป็นศูนย์กลางแฟชั่นในอาเซี่ยนให้ได้ภายในเดือนมกราคม 2546

ระยะที่สอง การเป็นศูนย์กลางแฟชั่นในภูมิภาค ภายในระยะเวลา 3 ปี

และระยะสุดท้าย คือ การเป็นศูนย์กลางแฟชั่นแห่งหนึ่งของโลก ภายในปี 2555

กลยุทธที่ใช้รองรับการดำเนินโครงการ ประกอบด้วย การสร้างคน เน้น การพัฒนาบุคลากรด้านแฟชั่น การสร้างธุรกิจ เน้น การพัฒนาเชื่อมโยงธุรกิจแฟชั่น และการสร้างเมือง เน้น การพัฒนาภาพลักษณ์กรุงเทพ ฯ เมืองแฟชั่น



ภาพรวมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอุตสาหกรรมหนึ่งของประเทศไทย ปัจจุบันมีโรงงานที่ประกอบกิจการประเภทนี้รวมทั้งสิ้น 4,570 โรงงาน และเป็นแหล่งจ้างงานกว่า 1.1 ล้านคน หรือคิดเป็น 20% ของจำนวนการจ้างงานทั้งหมดของประเทศไทย (5,039,700 คน)

ประเทศคู่แข่งที่สำคัญของไทย คือ จีน อินเดีย และเวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการเปิดเสรีทางการค้าในปี 2548 จะทำประเทศเหล่านี้เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวสำหรับไทยมากยิ่งขึ้น

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยมีจุดแข็ง คือ การมีอุตสาหกรรมอื่นมารองรับ ผู้ผลิตเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ แรงงานมีทักษะและฝึกฝนได้ ผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก เป็นอุตสาหกรรมที่ให้ความสำคัญทางด้านสิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม แรงงาน มาตรฐานความปลอดภัย และสุขอนามัยในสถานประกอบการ และความมีเสถียรภาพทางกการเมืองและเศรษฐกิจ

จุดอ่อนของอุตสาหกรรมนี้ คือ ค่าแรงงานสูงกว่าประเทศคู่แข่ง ขาดวัตถุดิบที่มีนวัตกรรม ขาดความเชื่อมโยงที่ดีระหว่างอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ขาดนวัตกรรมในตัวสินค้า และการขาดบุคลากรในระดับวิศวกร ช่างเทคนิค และนักออกแบบ


อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

โครงสร้างของอุตสาหกรรม ฯ ประกอบด้วย การทำเหมืองแร่รัตนชาติ อุตสาหกรรมเผาพลอย อุตสาหกรรมเครื่องประดับ และการนำเข้าวัตถุดิบ และการส่งออกผลิตภัณฑ์

บทบาทของอุตสาหกรรม ฯ ที่มีต่อเศรษฐกิจไทย มีอยู่ 2 ด้าน ทั้งผู้ประกอบการ และการจ้างงาน โดยบทบาทต่อผู้ประกอบการนั้น มีผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ในอุตสาหกรรม ฯ ประมาณ 2,000 ราย และอุตสาหกรรมในครัวเรือนมากกว่า 10,000 ราย ขณะที่อุตสาหกรรม ฯ มีการจ้างงานทั้งสิ้น 900,000 คน โดยอยู่ในภาคการส่งออก 700,000 คน และอีก 200,000 คนเป็นแรงงานผลิตภายในประเทศ

จุดแข็งของอุตสาหกรรม ฯ คือ การมีฐานผลิตขนาดใหญ่ มีความสามารถพิเศษในการหุงหรือเผาพลอย มีฝีมือการเจียระไนอัญมณี และการเป็นศูนย์กลางการค้าพลอยสีที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ขณะที่จุดอ่อนของอุตสาหกรรม ฯ คือ ต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศและขาดการวางแผนอย่างเป็นระบบด้านการแสวงหาแหล่งวัตถุดิบ การขาดแคลนนักออกแบบที่มีความสามารถสูง และการมีตราสินค้าเป็นของตนเองน้อยมาก


อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง

ประกอบด้วยอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องหนังและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง เช่น การฟอกหนัง การผลิตรองเท้า และการผลิตกระเป๋า เป็นต้น

จุดแข็งของอุตสาหกรรม ฯ คือ มี Business Networking การมีตราสินค้าเป็นของตนเอง มีแรงงานฝีมือที่มีคุณภาพสูง และการมี credit ด้านการลิต

จุดอ่อนของอุตสาหกรรม ฯ คือ การขาดนักออกแบบมืออาชีพ ค่าจ้างแรงงานและการผลิตสูง และการขาดการทำการตลาดในเชิงรุก

สรุป

โครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมด จะมีความเข้มแข็งและมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ ต้องอาศัยการประสานงานและการสนับสนุนทั้งจากหน่วยงานภายในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสนับสนุนของเอกอัครราชทูต และกงสุลใหญ่ไทยทั่วโลก ในการประชาสัมพันธ์ และแสวงหาโอกาสทางการตลาดที่มีอยู่ในแต่ละประเทศ เพื่อเป็นข้อมูลกลับมาสู่ส่วนกลาง ใช้ประกอบการพิจารณาจัดกลยุทธดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

************************


โดย: สรุปการอภิปราย “โครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น” (moonfleet ) วันที่: 7 มกราคม 2552 เวลา:0:18:03 น.  

 
Resource://library.dip.go.th/multim/edoc/09663.doc


กรุงเทพเมืองแฟชั่น;ฝันไกลแต่ไม่เกินไขว่คว้า

Source - Department of Industrial Promotion (Th/Eng)

Thursday, October 09, 2003 15:58

24137 XTHAI XECON XGOV XLOCAL XMEDIA V%GOVL P%DIP

เมื่อวันที่ 24 ก.ค.2546 นับเป็นปรากฏการณ์แปลกใหม่ของวงการการเมืองของโลก ที่บุคคลระดับนายกรัฐมนตรี ได้เข้าร่วมประชุมกับภาครัฐ - เอกชนเพื่อผลักดันธุรกิจแฟชั่น และทุกฝ่ายล้วนมีเป้าหมายเดียวกันที่จะยกระดับการแข่งขันของธุรกิจแฟชั่นไทยให้แข่งขันได้สร้างรายได้แก่ประเทศ ซึ่งจะนำมาถึงการจ้างงานและเศรษฐกิจโดยรวมในที่สุด

ในวันดังกล่าว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมประชุมที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อระดมความคิดเห็นให้โครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น สามารถเกิดขึ้นได้จริงเชิงปฏิบัติ หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการในวงเงิน 1,824.635 ล้านบาท จำนวน 11 โครงการย่อย และมีเป้าหมายสำคัญ คือ สร้างคน สร้างธุรกิจ และสร้างเมือง เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางแฟชั่นอย่างแท้จริง โดยกำหนดวิสัยทัศน์ว่า ปี 2548 กรุงเทพฯจะเป็นผู้นำแฟชั่นและศูนย์กลางธุรกิจแฟชั่นในอาเซียน ปี 2550 กรุงเทพฯ จะเป็นศูนย์กลางธุรกิจแฟชั่นในเอเชีย (แฟชั่น เมืองร้อน) และ ปี 2555 กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางแฟชั่นอีกแห่งหนึ่ง ของโลก

“ที่ผ่านมาคนไทยส่วนใหญ่ จะรับจ้างผลิตในรูปโออีเอ็ม แต่หากทำเช่นนี้ก็จะได้รายได้หรือกำไรต่ำสุด ต้องปรับมาทำ NETWORK SALE และ BRAND NETWORK ก็จะได้รับกำไรเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการไทยต้องร่วมกันคิดว่าจะสร้างแบรนด์ได้อย่างไร ต้องเริ่มจากการสร้างดีไซน์เนอร์ ออกแบบสินค้า โดยคำนึงถึงความต้องการของลูกค้า ต้อง ติดตามแนวโน้มแฟชั่น ทำวิจัยตลาด เช่น ลีวายส์ จะมีการวิจัย ตลาด และผลิตยีนส์รุ่นต่างๆออกมา ไม่ว่าจะเป็นเอวสูง เองต่ำ แบบ ฟอกหรือไม่ฟอก” พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าว แบรนด์ดังๆที่นายกรัฐมนตรี ได้หยิบหยกถึงความสำเร็จมีหลากหลาย เช่น หลุยส์วิตตอง แห่งฝรั่งเศส ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ไม่มีการสร้างแฟรนส์ไชส์ แต่ราคาแพงระยับ ไม่ว่าแพงเท่าใดก็มีคนซื้อ ส่วนแบรนด์ ดีเคเอ็นวาย ใช้แนวทางการซื้อสินค้าในหลายพื้นที่ แล้วเมื่อติดแบรนด์ ก็มีราคาแพงขึ้นทันที อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรียอมรับว่าการสร้างแบรนด์นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องมีการสร้างคน หรือดีไซเนอร์ โดยจะต้องมีห้องสมุดที่รวบรวมเทรนด์ของแฟชั่น เป็นศูนย์กลางให้ดีไซเนอร์ค้นคว้า จุดนี้นับว่าเป็นก้าวสำคัญที่ผู้ประกอบการไทยให้ความเห็นว่าเป็นจุดหลักที่ไทยต้องเร่งทำ และจะมีการจัดตั้งเป็นสถาบันสร้างดีไซน์เนอร์ ซึ่งเป็นสถาบันต่อยอด เสริมความแข็งแกร่งต่อภาพลักษณ์สินค้า จุดที่จะเดินไปข้างหน้า

คงไม่ได้หมายความว่าภาครัฐจะทุ่มงบฯลงมาแล้วเนรมิตได้ตามความฝัน แต่อยู่ที่ความร่วมมือของภาคเอกชนจะต้องเดินไปด้วยกัน แม้จะ มีการสร้างขึ้นมาหลายแบรนด์แข่งขันกันเองก็ตาม สำหรับอุตสาหกรรมแฟชั่น ตามโครงการนี้ประกอบไปด้วย อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง และอุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่องประดับ โดยมีโรงงานทั้งหมด 10,207 โรง คนงาน ประมาณ 1.58 ล้านคน โดยมียอดส่งออกในปี 2545 ประมาณ 346,822.3 ล้านบาท และวางยุทธศาสตร์ของโครงการไว้ว่า “การ ตลาดด้านแฟชั่น” เป็นตัวฉุดนำการพัฒนาทั้งระบบ

ด้านการสร้างคน -เน้นการ ต่อยอดให้แก่ผู้จบการศึกษาด้านแฟชั่น อาจารย์และบุคลากรในอุตสาหกรรมแฟชั่น เพื่อให้นักออกแบบ นักธุรกิจสินค้าแฟชั่น และ เจ้าหน้าที่เชี่ยวชาญด้านเทคนิค ด้าน การสร้างธุรกิจ- จัดตั้ง ศูนย์ข้อมูลแนวโน้มแฟชั่น โดยตั้งเป้าหมายมีผู้ได้รับข้อมูล 5,000 ราย และจะพัฒนาผู้ประกอบการทั้ง 3 สาขาอุตสาหกรรมประมาณ 950ราย

ด้านการสร้างเมือง- จัด กิจกรรมสร้างภาพลักษณ์อย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลา 18 เดือน จัดงานแสงดสินค้าแฟชั่นโชว์ระดับโลก 1 ครั้ง จัดเวิร์กช็อปเพื่อแนวโน้มแฟชั่น 2 ครั้ง เจาะตลาดเป้าหมาย โดยทำโรดโชว์ 12 ครั้ง เผยแพร่ ผลงานแฟชั่นนักออกแบบไทย 6 ครั้งๆละ 12,000 ฉบับ และจัดประกวดออกแบแฟชั่นนานาชาติ 3 ครั้ง

สำหรับระยะเวลาการดำเนิน การโครงการกรุงเทพฯเมืองแฟชั่น ในระยะแรกมีเวลา 18 เดือน หรือจนกระทั่งครบวาระของรัฐบาลชุดนี้ แต่คาดว่าจะเป็นส่วนจุดประกายทำให้เกิดความต่อเนื่อง ทำให้ไทยมีภาพลักษณ์ที่โดดเด่น ด้านแฟชั่น และตราสินค้าไทยเป็นที่ยอมรับ สร้างมูลค่าเพิ่มในการ ส่งออก โดยรวมคาดว่าจะมีการมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 33,500 ล้านบาทต่อปี แบ่งออกเป็น การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว นักธุรกิจ 3,500 ล้านบาท การค้าในศูนย์ธุรกิจแฟชั่นเพิ่มขึ้น 10,000 ล้าน บาท การเจาะตลาด สร้างรายได้โดยตรง 3,000 ล้านบาท และการ ส่งออกของอุตสาหกรรมแฟชั่นเพิ่ม 17,000 ล้านบาท ………


--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--


โดย: กรุงเทพเมืองแฟชั่น;ฝันไกลแต่ไม่เกินไขว่คว้า (moonfleet ) วันที่: 7 มกราคม 2552 เวลา:0:22:39 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.