" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
 
มีนาคม 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
7 มีนาคม 2551
 
All Blogs
 
40. THE RESPONSIBILITY VIRUS : 1 ใน 109 หนังสือควรอ่าน จาก นายกฯ ทักษิณ ชินวัตร






เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2546 นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวในที่ประชุมวางแผน "เตรียมการประชุมต่อต้านการก่อการร้ายสากล" นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงเรื่องเกี่ยวกบผู้นำกับผุ้ตาม จาก หนังสือ The Responsibility Virus ว่า ผู้นำ มัจะคิดว่า ตนเองเก่ง ทำงานทุกอย่าง คิดเอง ทำเอง ส่วนผู้ตามมักจะคิดว่า ผู้นำเก่งอยู่แล้ว จึงไม่กล้าทำเพราะกลัวผิด ลักษณะเช่นนี้ จะทำให้ระบบบริหารเกิดภาวะหย่อนยาน หรือ เกิดจุดอ่อนในระบบ ผู้นำจะเข้าไปรับผิดชอบงานที่เกินขีดความสามารถของมนุษย์ที่จะทำได้ในเวลาอันจำกัด จะเกิดสภาวะ การทำงานที่สูญเปล่าในระบบการทำงาน (Energy of close Circuit System) เป็นการเน้นย้ำให้หัวหน้างาน ได้พยายามที่จะใช้ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด...



บทคัดย่อสำหรับผู้บริหาร
จาก หนังสือ The Responsibility Virus
ผู้เขียน Roger L. Martin
สำนักพิมพ์: Financial Time Prentice Hall
ปีที่จัดพิมพ์ : คศ. 2003
จำนวนหน้า : 286 หน้า

ผู้จัดทำบทคัดย่อ : นางสาว เจตขจี อติการบดี
ผู้ตรวจบทคัดย่อ : นางสาว วิสากร สระทองคำ
สำนัพัฒนาระบบงบประมาณ สำนักงบประมาณ
พฤษภาคม 2546

รูปแบบ file pdf. จำนวน 12 หน้า


Click://suthep.ricr.ac.th/mgnt48.pdf



Create Date : 07 มีนาคม 2551
Last Update : 7 มีนาคม 2551 12:20:05 น. 5 comments
Counter : 858 Pageviews.

 


Responsibility Virus

January 5 2003 - Why do some people take credit for everything-dooming themselves to a lonely 'crash-and-burn,' while others go to extreme measures to hide from the spotlight? Why do 'team efforts' often end in acrimony? Dean Roger Martin of the University of Toronto's Rotman School of Management explains it's the fear of failure that infects companies and people with the bug he calls the Responsibility Virus.

For all the talk about empowerment and teamwork, many companies still rely on their leaders to drive needed changes through their organizations. The reason, explains Martin in his new book, "The Responsibility Virus" , is that most people are fundamentally uncomfortable with true collaboration: it makes them responsible for outcomes, yet forces them to rely on others to achieve those results. And the process of collaboration is full of many little negotiated battles in which one colleague can seem to win while another loses. Rather than risk conflict or embarrassment, people usually retreat from collaboration and accept a simpler state of affairs where only one person has clear responsibility and power.

Reluctant to invest in something they do not control, people tend to psychologically disassociate themselves, making only the minimum effort dictated by their position. To stamp out this "virus" of extreme activity or passivity, Martin offers group techniques that frame choices or roles in ways that require people to collaborate. Yet, he concludes, only people with enough confidence and commitment to risk failure can truly do so.

Drawing upon his years of experience advising the world's top companies on strategic planning, Martin shows how most poor decision-making begins at the level of individual behavior. Because most of us will do anything to win, maintain control, and avoid embarrassment, we constantly adapt our behavior to those around us. Trapped in this dynamic, we vacillate between taking charge and backing off, causing those around us to vacillate too, making it impossible to work with one another effectively. With lively case studies based on real business practice, Martin lays out tested tools that all of us can use as we negotiate choices and decisions. Eschewing management theory that focuses on issues such as centralized versus team structure in corporations, Martin lays out a wholly original way of understanding group dynamics. His sophisticated and impassioned belief in the "power of one" will be required reading for any of us who think about how we function in organizations, from the boardroom to the mailroom.

The Responsibility Virus: How Control Freaks, Shrinking Violets-And the Rest of Us-Can Harness the Power of True Partnership
by Roger L. Martin
Prices and details from:
Amazon.ca - Canadian dollars
Amazon.com - US dollars
Amazon.co.uk - UK pounds
Amazon.de - Euros
Amazon.fr - Euros



โดย: Responsibility Virus (moonfleet ) วันที่: 7 มีนาคม 2551 เวลา:11:00:02 น.  

 
"ทักษิณ" อ่าน อ่าน "ทักษิณ"
รายงาน ประชาชาติธุรกิจ หน้า 6 วันที่ 23 กันยายน 2547 ปีที่ 28 ฉบับที่ 3621 (2821)

"ประชาชาติธุรกิจ" ฉบับที่ผ่านมาได้ทำการรวบรวมหนังสือเกี่ยวกับ "พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร" ในช่วง 3 ปีกว่าของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีช่วงทั้งขาขึ้นและขาลงปรากฏว่ามีหนังสือออกมาขายกว่า 50 ปก เรียกได้ว่าไปร้านหนังสือร้านไหนก็ต้องเห็นหน้า "ทักษิณ"

ในอีกด้านหนึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณก็ยังเป็นผู้จุดกระแสให้นักการเมือง รัฐมนตรี ข้าราชการ นักธุรกิจ และนักการศึกษา สนใจใคร่เรียนรู้แนวคิดใหม่ๆ ของนักคิดรุ่นใหม่ๆ ทั่วโลก

โดยประเดิมด้วยการเอาหนังสือ As The Future Catches You เขียนโดย Juan Enriquez แนะนำต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นครั้งแรก เมื่อ 3 กันยายน 2545 จนถึงกลางปี 2546 ก็มีการแปลเป็นภาษาไทย ในชื่อ "เมื่ออนาคตไล่ล่าคุณ" โดยชวนิต ศิวะเกื้อ, สมสกุล เผ่าจินดามุข มีเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาเพื่อมุ่งไปในอนาคตที่รวดเร็วมาก

จากนั้นก็พรั่งพรูออกมาอีกหลายเล่ม เช่น

Rethinking the Future เขียนโดย Ronan Gibson ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่คนต้องปรับกระบวนความคิดตามให้ทัน ซึ่งเป็นที่มาของสโลแกนพรรคไทยรักไทย "คิดใหม่ ทำใหม่"

The Mystery of Capital เขียนโดย Hernando de Soto อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของเปรู เป็นเรื่องเกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนที่ "ทักษิณ" เอามาใช้จนฮือฮามากในเมืองไทย

Lateral Thinking เขียนโดย Edward de Bono เนื้อหาเกี่ยวกับการคิดนอกกรอบ ไม่ยึดติดกรอบจนกลายเป็นอุปสรรคในการทำงาน

Business @ The Speed of Thought เขียนโดย Bill Gates ผู้สร้างไมโครซอฟท์ผงาดโลก ทักษิณแนะนำว่าหนังสือเล่มนี้จะฝึกในการเลือกใช้ข้อมูล และกระตุ้นให้ทุกฝ่ายตระหนักในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน

Primal Leadership : Realizing the Power of Emotional Intelligence เขียนโดย Daniel Goldman, Richard Boyatzis and Annie McKee แดเนียล โกลด์แมน นักจิตวิทยา จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ผู้ที่ทำให้โลกรู้จักคำว่า "อีคิว" หรือ "ความฉลาดทางอารมณ์"

Execution : The Discipline of Getting Things Done เขียนโดย Larry Bassidy และ Ram Charan นายกฯทักษิณบอกว่า เป็นหนังสือทางธุรกิจที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานและเป็นขั้นตอน นำเอาสิ่งที่คิดฝันไปปฏิบัติให้เป็นความจริง

What the Best CEOs Know : 7 Exceptional Leaders and Their Lessons for Transforming any Business เขียนโดย Jeffrey A. Krames พ.ต.ท.ทักษิณยกหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาประกอบวาระ ครม.เรื่องผู้ว่าฯซีอีโอ

Winning the Merger Endgame : A Playbook for Profiting From Industry Consolidation เขียนโดย Graeme K. Deans, Fritz Kroeger และ Stefan Zeisel เนื้อหาแนะนำถึงการรวมภารกิจทั้งหมดเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ แนะนำผู้บริหารต้องดูที่โครงสร้างพื้นฐานทางการเมืองที่เหมาะสม คือต้องกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อเอื้ออำนวยให้แก่วงการอุตสาหกรรม เพื่อสร้างเศรษฐกิจให้แก่ประเทศอย่างเหมาะสม

It"s Alive : The Coming Convergence of Information, Biology, and Business เขียนโดย Chris Meyer, Stan Davis เป็นหนังสือเกี่ยวกับเทคโนโลยีในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า เนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทุกอย่างเปรียบเสมือนสิ่งมีชีวิต ดังนั้น จะต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่ทันสมัย

Leading at the Speed of Growth : Journey from Entrepreneur to CEO เขียนโดย Katherine Catlin หนังสือจะกล่าวถึงการตั้ง องค์กรใหม่ๆ ที่จะต้องมีผู้นำที่เป็นผู้กระทำเอง และเป็นคนที่ตัดสินใจเรื่องต่างๆ ในองค์กร เมื่อองค์กรพัฒนาไปอีกขั้นก็จะเป็นผู้ที่มอบหมายงานให้ผู้อื่นไปปฏิบัติ และเมื่อพัฒนาต่อไปก็จะเป็นผู้กำหนดทิศทางองค์กรว่าจะไปในทิศทางใด

Ten Deadly Marketing Sins : Signs and Solutions เขียนโดย Philip Kotler นักการตลาดชื่อดัง ซึ่งเคยมาแสดงวิสัยทัศน์ในงานสัมมนา CEO forum ในหัวข้อ Marketing Thailand และ Marketing Move ในเมืองไทย

"พุทธทาสที่ข้าพเจ้ารู้จักในทางการเมือง" ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณเป็นผู้เขียนเอง เป็นเล่มเล็กๆ ราคาแค่ 25 บาท และเคยนำไปปาฐกถาเมื่อครั้งตั้งพรรคไทยรักไทยใหม่ โดย พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวว่าได้ศึกษาธรรมะจากหนังสือของท่านพระพุทธทาสแล้วเห็นว่า เป็นหลักปรัชญาชั้นสูง ทำความเข้าใจได้ยาก แต่ถ้าเข้าใจแล้วนำมาปฏิบัติจะเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต ทำให้ปล่อยวางเรื่องต่างๆ ได้มาก ถ้าไม่มีหลักธรรมะยึดเหนี่ยว การปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่จะต้องเผชิญปัญหาต่างๆ มากมาย คงไม่ลุล่วงมาได้ถึงทุกวันนี้

Mind Into the 21st Century หรือ "พลังจิตในศตวรรษที่ 21" เขียนโดย John Kehoe นายกฯทักษิณแนะนำว่า หนังสือเล่มนี้ชี้ความจริงว่า การทำงานทุกอย่างไม่มีการแยกส่วน แต่เป็นเรื่องขององค์รวมทั้งสิ้น

และเล่มสุดท้ายที่นายกฯทักษิณ แนะนำล่าสุดเมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา คือ Underdog Advantage หรือ "ข้อได้เปรียบของคนที่ตกเป็นเบี้ยล่าง" เขียนโดย David Morey และ Scott Miller โดยปรารภในที่ประชุม ครม.ว่า กำลังอ่านหนังสือเล่มนี้อยู่ ในยามที่รัฐบาลขาลงเช่นนี้ควรจะอ่านหนังสือเล่มนี้ หนังสือกล่าวถึงคนที่อยู่ในฐานะที่เสียเปรียบจะมีข้อได้เปรียบอะไรบ้าง เมื่อคนตัวเล็กต้องต่อสู้กับคนตัวใหญ่กว่าและมีอำนาจมากกว่าจะทำอย่างไร

ต้องยอมรับว่าโลกแห่งการเรียนรู้จากหนังสือสามารถย่อโลกและความคิดของคนทั่วโลกได้อย่างกระชับและมีองค์ความรู้ ใครที่อยากรู้ทันทักษิณยิ่งจะต้องอ่านหนังสือที่ทักษิณอ่าน

ประชาชาติธุรกิจ หน้า 6


--------------------------------------------------------------------------------

"ทักษิณ" อ่าน ภาค 2 "ต้องจินตนาการให้ไกลที่สุด"

ประชาชาติธุรกิจ หน้า 6 วันที่ 27 กันยายน 2547 ปีที่ 28 ฉบับที่ 3622 (2822)

เมื่อฉบับที่แล้ว "ประชาชาติธุรกิจ" ได้นำเสนอรายงานหนังสือที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แนะนำให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อ่านและนำเสนอในการแสดงปาฐกถาในวาระต่างๆ แต่ตกหล่นหนังสือที่น่าสนใจไปหลายเล่ม จึงขอนำเสนอต่อในภาค 2

"The Third Wave" ของ "Alvin Toffler" ซึ่งเป็นหนึ่งในหนังสือชุดว่าด้วยความพยายามการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเริ่มตั้งแต่ฟิวเจอร์ช็อก คลื่นลูกที่สาม และอำนาจใหม่ โดย "ทักษิณ" กล่าวถึงหนังสือเล่มนี้แบ่งเป็น 3 ยุค ยุคที่ 1 เป็นสังคมเกษตร ต่อมายุคที่ 2 เป็น การทำลายสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรและคุณค่าของมนุษย์ และยุคที่ 3 จะเป็นยุคที่เรียกร้องสิ่งที่ดีงามจากยุคที่ 2 กลับคืนมา เป็นยุคไฮเทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์ต้องปรับปรุงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และให้ความสำคัญเรื่อง "ความปลอดภัยในอาหาร" ซึ่งจะเห็นได้ชัดในเรื่อง "จีเอ็มโอ" อันเป็นปัญหาที่คนไทยกำลังทั้งตกใจและสงสัยระคนกันอยู่ในขณะนี้

หนังสือเล่มนี้มีผู้แปลเป็นภาษาไทยแล้วชื่อ "คลื่นลูกที่สาม" แต่ไม่ทราบว่ายังมีวางขายอยู่อีกหรือไม่

"The Guru Guide" เขียนโดย Joseph H. Boyett และ Jimmie T. Boyett "ทักษิณ" มองว่าเป็นหนังสือที่พูดถึงผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ สามารถเป็นผู้นำในการเล่าเรื่อง ซึ่งต้องเก่งในการนำเสนอ มิฉะนั้นจะไม่สามารถสื่อวิสัยทัศน์ของตนเองให้คนในองค์กรได้รับรู้และนำไปปฏิบัติได้

"The Attention Economy" ซึ่ง "ทักษิณ" บอกว่า ในวันนี้ข้อมูลความรู้มีมากมาย แต่เรายังขาดนำสิ่งเหล่านี้มาวิเคราะห์และใช้ประโยชน์มันอย่างเต็มที่ มันเป็นกระบวนการที่เรียกว่า attention economy หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Thomas H. Davenport และ John C. Beck

"Judo Strategy" เขียนโดย David B. Yoffie และ Mary Kwak เป็นหนังสือว่าด้วยกลยุทธ์ในการแข่งขัน เหมาะสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี ทักษิณอธิบายว่า นักยูโดเขาไม่ผลีผลามปะทะคู่แข่ง วิเคราะห์ดูท่าทีของคู่แข่ง ฉะนั้นจะต้องมองว่าคู่แข่งมีอะไรแข็ง แล้วความแข็งของคู่แข่งทิ่มแทงตัวเอง"

"The Math Gene" เป็นหนังสือที่ "ทักษิณ" แนะนำกับครู โดยบอกว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นหัวใจสำคัญของการสร้างเด็กยุคใหม่ มนุษย์พันธุ์ใหม่ต้องมีความคิดสร้าง สรรค์สูง ควรส่งเสริมให้เด็กคิดต่างอย่างสร้างสรรค์ หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Keith J. Devlin

"The Responsibility Virus" เขียนโดย Roger L. Martin ทักษิณบอกว่า เป็นหนังสือที่ช่วยให้ผู้นำใช้ความสามารถของผู้บังคับ บัญชาให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

ซึ่งจะมีเครื่องมืออยู่ 4 อย่าง คือ 1.เปิดโอกาสให้มีการปรึกษาหารือกันโดยเปิดเผย เพื่อตรวจสอบข้อมูลของแต่ละคนเทียบกัน เพื่อให้ได้ทางเลือกที่ดีที่สุดจากกลุ่ม 2.การจัดกรอบความคิดเพื่อหลีกเลี่ยงหรือออกจากการตกอยู่ในสภาวะของการรับผิดชอบมากเกินไปหรือน้อยเกินไป

3.แบ่งงานและความรับผิดชอบให้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละคน สนับสนุนและร่วมมือเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย และ 4.กำหนดลักษณะของผู้นำกับผู้ตามใหม่ ให้มองเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ร่วมมือกันในการดำเนินงานแทน

เช่นเดียวกับหนังสือ The Power of Minds at Work ซึ่งเขียนโดย Karl Albrecht ซึ่งทักษิณชี้ว่า ผู้บริหารควรใช้ปัญญาของคนในองค์กรรวมกัน และนำปัญญาสะสมของคนในองค์กรมาทำงานร่วมกัน โดยมีจุดเริ่มต้นคือมีวิสัยทัศน์ที่เห็นพ้องต้องกัน มีความกระหายอยากจะเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น

และอีกเล่มหนึ่งที่แนะนำด้านการบริหารที่น่าสนใจ คือ Re-imagine เขียนโดย Thomas J. Peters และ Tom Peters

ทักษิณเห็นว่า "ในการบริหารองค์กรจะต้องใช้จินตนาการ จะต้องจินตนาการให้ไกลที่สุด จะแปลกประหลาดเกินจริงหรือเหลือเชื่อบ้างก็ไม่เป็นไร แล้วค่อยๆ ปรับให้เข้ากับความเป็นจริง เพราะโลกปัจจุบันไม่นิ่งอยู่กับที่ ผู้นำจะต้องมีการปรับตัวเองอยู่ตลอดเวลา ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองให้มีวิสัยทัศน์ยาวไกลและมีจินตนาการเชิงบวก จะทำให้องค์กรถึงเป้าหมายในเวลาที่รวดเร็ว"

ไม่ว่าจะ "ชอบ" หรือ "ไม่ชอบ" "ทักษิณ" ก็ตาม แต่ก็ควรหาหนังสือที่ "ทักษิณ" อ่านมาอ่านบ้าง เพราะองค์ความรู้ในนั้นจะทำให้เราทันโลกยิ่งขึ้น



โดย: ไม่ว่าจะ "ชอบ" หรือ "ไม่ชอบ" "ทักษิณ" ก็ตาม แต่ก็ควรหาหนังสือที่ "ทักษิณ" อ่านมาอ่านบ้าง เพราะองค์ความรู้ในนั้นจะทำให้เราทันโลกยิ่งขึ้น (moonfleet ) วันที่: 7 มีนาคม 2551 เวลา:11:15:12 น.  

 
จาก
บทคัดย่อ ของ หนังสือ The Responsibility Virus
โดย เจตขจี อติการบดี

หนังสือเรื่อง The Responsibility นี้ โรเจอร์ แอล. มาร์ติน ผู้เขียนได้เขียนจาก ประสบการณ์ในการให้คำปรึกษา แนะนำบริษัทต่างๆ ในการพัฒนากลยุทธ์ การวางแผน โดย ได้แสดงให้เห็นว่า การตัดสินใจที่ผิดพลาด หรือ ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเกิดขึ้นในองค์กรนั้น มักเริ่มต้นมาจากพฤติกรรมของแต่ละบุคคล

แท้จริงแล้ว เราสามารถหลีกเลี่ยงการแสดงบทบาทของการรับผิดชอบที่มากและน้อยเกินไป ซึ่งผู้เขียนได้เสนอแนะวิธีการต่างๆ ในกาหลีกเลี่ยงบทบาทเหล่านั้น และ ทำให้การกำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบของแต่ละคนเหมาะสม

ความกลัวต่อความผิดพลาด

ความกลัวต่อความผิดพลาด (Fear of Failure) เป็นสิ่งกระตุ้นพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง เปรียบเสมือนเป็นไวรัสที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบของบุคคลหนึ่งที่สามารถติดต่อไปยังบุคคลอื่นได้ (Res - ponsibility Virus) ในองค์กรที่มีผู้นำซึ่งแสดงความรับผิดชอบในลักษณะวีรบุรุษ (Heroic Responsibility) ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาสำคัญที่องค์กรเผชิญอยู่โดยลำพัง ผู้นำนั้นจะต้องทำงานหนักมากขึ้นและมากขึ้น ผู้นำประเภทนี้มักมองผู้ร่วมงานอื่นๆ ว่าไม่สำคัญ

ในขณะเดียวกัน ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา หรือ ผู้ตาม ก็มีแนวโน้มที่จะมีทัศนคติว่า เมื่อเกิดปัญหาต่างๆขึ้น ผู้ที่เป็นผู้นำจะต้องเป็นบุคคลที่เข้ามาควบคุมสถานการณ์ และ ต้องมีความรับผิดชอบเต็มที่ โดยไม่คำนึงว่า ผู้นำนั้นจะมีความสามารถพอที่จะจัดการแก้ปัญหานั้น หรือ ไม่ โดยผู้ตามจะเป็นผู้ถอยออกมาจากปัญหานั้น และ เฝ้ามองการดำเนินงานของผู้นำ

หากพิจารณาถึงหลักธรรมชาติแล้วจะพบว่า คนเรามักยอมรับและยินดีเมื่อสิ่งต่างๆ ดำเนินไปด้วยดี และ มักหลีกเลี่ยงการตำหนิติเตียนเมื่อเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวัง โดยเป็นเรื่องของการลดความเสี่ยงจากความผิดพลาดทางสังคม ในขณะเดียวกันก็พยายามเพิ่มผลประโยชน์ส่วนตัวให้มากขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นตัวผลักดันให้แต่ละฝ่ายกลายเป็นผู้ที่แสดงความรับผิดชอบมากเกินไป (Over-responsibility) หรือ น้อยเกินไป (Under-responsibility)

เครื่องมือที่ส่งเสริมให้เกิดการดำเนินงานแบบร่วมมือกัน

เครื่องมือที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือกันดำเนินงานนั้น แบ่งได้เป็น 4 ประการ ดังนี้

1. The Choice Structuring Process
คือ การเปิดโอกาสให้มีการปรึกษาหารือกันอย่างเปิดเผย เพื่อตรวจสอบข้อมูล และ ความเห็นของแต่ละคนเทียบกับของคนอื่น เพื่อให้ได้ทางเลือกที่ดีที่สุดจากกลุ่ม

2. The Frame Experiment
เป็นวิธีการที่ช่วยให้บุคคล ซึ่งรับเอาความรับผิดชอบมากเกินไป หรือ น้อยเกินไป และ มีประสบการณ์กับความไม่ไว้วางใจ และ ความเข้าใจผิด ปรับความสัมพันธ์ และ ความสามารถของตนในการร่วมมือกับบุคคลอื่นได้ ส่วนสำคัญของวิธีการนี้มีอยู่ด้วยกัน 3 ประการ ได้แก่

- 2.1 มุมมองของงานที่รับผิดชอบ
-2.2 มุมมองตนเองต่องาน
-2.3 มุมมองผู้อื่นต่องาน

เพื่อหลีกเลี่ยง หรือ ออกจาก การตกอยู่ในสภาวะของการรับผิดชอบมาก หรือ น้อยเกินไป กรอบความคิดเกี่ยวกับตนเอง ผู้อื่น และ งาน ควรมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เป็นบวก

3. The Responsibility Ladder

เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาสามารถทำงานกับหัวหน้า หรือ ผู้บังคับบัญชาในการพัฒนาขีดความสามารถ เพื่อรองรับความรับผิดชอบต่างๆได้ และ ป้องกันไม่ให้ผู้บังคับบัญชาแสดงความรับผิดชอบต่างๆ มากเกินไป

ในการกำหนดความรับผิดชอบของการดำเนินงานใดๆนั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์อยู่ที่การกำหนดว่าใครจะเป็นผู้ควบคุมดูแล แต่อยู่ที่การแบ่งงานและความรับผิดชอบให้เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละคน และ การสร้างการยอมรับ ตลอดจนความรับผิดชอบต่อผลสำเร็จของงานตามความรับผิดชอบที่แต่ละคนได้รับมอบหมาย

4. Redefinition of Leadership and Followership
เป็นวิธีการที่ช่วยทั้งผู้นำและผู้ตามหลีกเลี่ยงการรับเอาความรับผิดชอบมาก หรือ น้อยเกินไป

จากการที่ทั้งผู้นำ และ ผู้ตาม ต่างก็มีความกลัวต่อความผิดพลาด จึงเป็นสาเหตุให้มีการกำหนดลักษณะของการเป็นผู้นำ และ ลักษณะของการเป็นผู้ตาม ตามที่ตนเข้าใจ ซึ่งหากพิจารณากันใหม่อีกครั้ง จะพบว่าการมองผู้อื่นเป็นหุ้นส่วน และ การร่วมมือกันดำเนินงานนั้นต่างหากที่จะสามารถขจัดความกลัวต่อความผิดพลาดได้

หมายเหตุ :
ท่านสามารถอ่าน

บทคัดย่อฉบับเต็ม
รูปแบบ file pdf. จำนวน 12 หน้า

ผู้จัดทำบทคัดย่อ : นางสาว เจตขจี อติการบดี
ผู้ตรวจบทคัดย่อ : นางสาว วิสากร สระทองคำ
สำนัพัฒนาระบบงบประมาณ สำนักงบประมาณ
พฤษภาคม 2546

ได้ที่ Click : //suthep.ricr.ac.th/mgnt48.pdf


โดย: บทคัดย่อ ของ หนังสือ The Responsibility Virus (moonfleet ) วันที่: 7 มีนาคม 2551 เวลา:11:59:11 น.  

 
อยากอ่านหนังสือเก่งๆอะ อ่านทีไรง่วงนอนทุกทีสิ
ชอบตรงคำพูดที่ว่า
"โดย: ไม่ว่าจะ "ชอบ" หรือ "ไม่ชอบ" "ทักษิณ" ก็ตาม แต่ก็ควรหาหนังสือที่ "ทักษิณ" อ่านมา อ่านบ้าง เพราะองค์ความรู้ในนั้นจะทำให้เราทันโลกมากยิ่งขึ้น "



โดย: อินทรีทองคำ วันที่: 7 มีนาคม 2551 เวลา:12:13:15 น.  

 


The responsibility virus (แนะนำโดย ท่านนายกรัฐมนตรี)

แต่งโดย Roger L. Martin

Stop taking charge or taking orders, and start making critical decisions.
Over- responsible leaders need under-responsible followers, and under-responsible followers need over-responsible leaders. Each providers the energy the other need to sustain their part of the Virus. The critical reality is that every one of us, in each specific situation holds the power to stop the Virus in our own hands. All we have to do is refuse the opportunity presented to act over-responsibly or under-responsibly.
Part one : Dynamics of the Responsibility Virus
Part two : Cost of the Responsibility Virus
Part three : Tools for Inoculating Against the Virus
Part four : Fighting the Responsibility Virus


โดย: The responsibility virus (แนะนำโดย ท่านนายกรัฐมนตรี) (moonfleet ) วันที่: 7 มีนาคม 2551 เวลา:12:21:36 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.