" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
 
มีนาคม 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
11 มีนาคม 2551
 
All Blogs
 
0088. Play to Your Strengths : 1 ใน 109 หนังสือควรอ่าน จาก นายกฯ ทักษิณ ชินวัตร






Play to Your Strengths: Managing Your Company's Internal Labor Markets for Lasting Competitive Advantage
by Haig R. Nalbantian, Richard A. Guzzo, Dave Kieffer, Jay Doherty

Write a Review


Publisher: McGraw-Hill Companies, The
Pub. Date: September 2003
ISBN-13: 9780071422536
Sales Rank: 419,158
272pp
Edition Description: First Edition
Edition Number: 1

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2547 ในการประชุมคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี ได้แนะนำหนังสือเล่มใหม่อีก 2 เล่ม เล่มที่ 2 คือ Play to Your Strengths: Managing Your Company's Internal Labor Markets for Lasting Competitive Advantage
by Haig R. Nalbantian, Richard A. Guzzo, Dave Kieffer, Jay Doherty



Create Date : 11 มีนาคม 2551
Last Update : 11 มีนาคม 2551 15:50:04 น. 2 comments
Counter : 726 Pageviews.

 
Resource://www.thaigov.go.th/webold/news/speech/thaksin/sp03nov47-1.htm

ปาฐกถาพิเศษของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

เรื่อง “คลังสมองกับการพัฒนาประเทศทางด้านสังคม”
ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการนักวิชาการเพื่อการพัฒนาประเทศ ครั้งที่ 2
ณ ห้องมิราเคิล แกรนด์บอลรูม โรงแรมมิราเคิลแกรนด์

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน 2547 เวลา 09.30 น.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ปลัดกระทรวงกลาโหม
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ
ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ นักวิชาการที่รักและเคารพทั้งหลาย

วันนี้ผมรู้สึกยินดีและดีใจที่ได้มาพบบุคคลซึ่งมีความรู้ มีการศึกษาสูง ที่จะได้มาช่วยกันคิด เพื่อการพัฒนาประเทศให้ถูกทิศถูกทาง เพราะช่วงนี้เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลง หลายประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว แต่ประเทศที่มีปัญหาต่อการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด คือประเทศที่มีระบบ 2 สังคมในประเทศเดียวกัน คือประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีส่วนหนึ่งเป็นสังคมชนบท สังคมที่มีการศึกษาน้อย สังคมที่มีโอกาสเข้าถึงแหล่งข้อมูลและแหล่งเงินทุนน้อย กับสังคมเมืองซึ่งเต็มไปด้วยคนซึ่งมีการศึกษาดี มีโอกาสสูง เพราะฉะนั้นประเทศที่มีปัญหา 2 สังคมจะเป็นประเทศที่มีปัญหาในเรื่องแนวทางที่ตัวเองจะเดิน ทุกประเทศ ทั่วโลกจะเป็นคล้ายอย่างนี้ เพราะเป็นในลักษณะที่ไม่สามารถใช้นโยบายอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะครอบคลุมทั้งสองสังคม ได้แทบทุกนโยบาย เพราะฉะนั้นจึงมี 2 แนวทางตลอดเวลา แต่การทำ 2 แนวทางเป็นเรื่องที่ยาก เพราะว่าความขัดแย้งทางความคิดจะมี บางคนอยู่โลกของซีกหนึ่ง เหมือนคนเห็นแต่กลางวัน จะรู้ว่าโลกนี้มีแต่แสงสว่างสูง มีความร้อน ส่วนอีกซีกหนึ่งที่อยู่กลางคืน จะมองเห็นแต่ความมืด เหมือนคนที่อยู่ในอลาสก้า กับคนที่อยู่ในทะเลทรายซาฮาร่า คงคุยกันยาก คล้าย ๆ อย่างนั้น แต่ทำอย่างไรจึงจะทำให้ 2 มิตินั้นเป็นมิติที่เกื้อกูลและเข้าใจกัน

เพราะฉะนั้นกระทรวงศึกษาธิการก็ดี สำนักงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้มาปรึกษากับผมว่าถึงเวลาแล้วที่เราจะระดมคลังสมองของประเทศมาช่วยกันคิด มาช่วยกันทำ และสิ่งที่กำลังเปลี่ยนไปวันนี้ คือว่า วิชาการทั้งหลาย เทคโนโลยีทั้งหลายเริ่มไม่มีเส้นแบ่งเขต แต่ในขณะเดียวกันโดยวัฒนธรรมของไทยเรา เราชอบมี เส้นแบ่งเขต ซึ่งท่านจะเห็นว่าสวนทางกัน วิชาที่อยู่คนละขั้วคนละมุม เวลานี้กลับมารวมกัน เพื่อเกิดวิชาใหม่ เกิดขึ้น เกิดความรู้ใหม่เกิดขึ้น แต่สิ่งเหล่านี้ยังไม่ค่อยเกิดในสังคมไทย ทำให้เราเสียเปรียบ ถ้าไม่เกิดขึ้นเรา เสียเปรียบแน่นอน เพราะว่าเราจะไม่มีโอกาสมีความรู้ใหม่ๆ มีการค้นพบใหม่ๆ เราจะค้นพบในแนวเดิม และในแนวที่แพ้ทางคนอื่น เพราะว่าเราไปเรียนจากคนอื่นมา และเรายังอยู่ใน Limit ในมุมของใครของมัน แต่ถ้าเมื่อไหร่เราจับมือข้ามสายวิชาการ แล้วเกิดการประชุมร่วมกัน คิดร่วมกัน วิจัยร่วมกัน ศึกษาร่วมกันแล้วจะเกิดความรู้ใหม่ ๆ ซึ่งอาจจะเป็นความรู้ใหม่กว่าที่โลกมีหรือที่คนอื่นมี เพราะเกิดจากสิ่งใหม่ ถ้าไม่เช่นนั้นเราจะไม่มีทางชนะคนอื่นได้ ผู้ชนะคือผู้คิดเกมใหม่ ผู้ที่ไปเล่นเกมคนอื่นตลอด อย่างเก่งที่สุดเสมอตัว เสมอตัวต้อง ตบมือให้แล้วว่าเก่งมาก เพราะว่าส่วนใหญ่แล้วจะแพ้ ฉะนั้นวันนี้ผมไม่ได้หมายถึงว่าจะต้องแพ้ ชนะอย่างเดียว แต่ว่าเราเอง ถ้าท่านย้อนกลับไปนึกในอดีต ท่านจะเห็นว่าสมัย ดร.ชุมพล ไปเรียนเมืองนอก ตอนนั้น 18 บาทต่อดอลลาร์ ถ้าแวะแถวญี่ปุ่นจะเห็นว่า 100 เยนเท่ากับ 7 บาท แต่วันนี้ไปถึงไหนแล้ว อันนั้นคือผลทางอ้อม ๆ คิดหยาบ ๆ ว่านั่นคือการแพ้การแข่งขัน แพ้การแข่งขัน คือ ศักยภาพกำลังซื้อของคนในประเทศจะลดด้อยกว่าประเทศอื่น และในที่สุดหมายความว่าเราต้องทำงานมากเพื่อเอาของก้อนใหญ่ ๆ ไปแลกของก้อนเล็ก ๆ จากเขา อันนั้นคือสัญญาณของการพ่ายแพ้การแข่งขัน วันนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเชิญท่านทั้งหลายมา

ท่านคงได้ยินถึงแม้ท่านจะไม่ได้อยู่ในสายวิทยาศาสตร์ ในเรื่องของการทำ DNA Mapping การทำแผนที่พันธุกรรม ว่าสามารถทำได้ เมื่อก่อนทำไม่ได้ เกิดทำได้เพราะอะไร เพราะนักชีววิทยา นักเคมี และนักฟิสิกส์ ซึ่งเป็นนักคอมพิวเตอร์ ได้มารวมกัน ร่วมกันคิดเอาวิชาต่าง ๆ ที่มี ที่ค้นพบแล้วเอามารวมกัน จึงเกิดศาสตร์ใหม่ขึ้น เกิดการ Code รหัส ATCG ที่ใช้ Code เมื่อ Code เสร็จก็ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือคำนวณ จึงสามารถทำแผนที่พันธุกรรมได้ เมื่อทำได้แล้วเกิดอะไรขึ้น เขากำลังบอกกันว่าในอนาคตข้างหน้าคุณอยากได้มนุษย์หน้าตาอย่างไร สีผมอะไร ในตาสีอะไร สามารถทำได้จากการทำ DNA แต่เราไม่จำเป็นต้องไปขนาดนั้น เราเอาแค่ความรู้พื้นฐานคือ Genome

Genome คือ เอาสิ่งมีชีวิตเดียวกันแต่มีลักษณะเด่น ลักษณะด้อยต่างกัน เลือก Gene ที่พึงประสงค์เอามารวมกัน สิ่งมีชีวิตนั้นจะออกมามีคุณภาพที่เปลี่ยนไป เช่น ทำ Genome ข้าว ทำ Genome มนุษย์หรือในอนาคต ในวันนี้ที่ผมกำลังพูดวกกลับมาที่นี่คือผมกำลังจะทำ Genome ทางวิชาการ หมายความว่าถ้าเรามีภารกิจเรื่องใดเรื่องหนึ่งเราจะต้องใช้นักวิชาการที่มีความหลากหลาย หลายวิชาเอามารวมกัน เหมือนเป็นการตั้งทีมพิเศษขึ้นมา คือ Genome ทางวิชาการนั่นเอง เพื่อที่จะได้เอาคนที่มีความรู้หลากหลายไปรวมกันแก้ปัญหาหนึ่ง เรื่อง ไม่ใช่มิติเดียวแก้ปัญหา ทำไม่ได้ ถ้าหลายมิติมาช่วยกันคิด จะแก้ปัญหาได้ อันนั้นคล้าย ๆ อย่างนี้

วันนี้การที่ท่านมารวมกัน มีความรู้กันหลากหลาย มาจากพื้นฐานหลากหลาย แต่ว่าเรากำลังพูดกันว่าสายสังคม วันก่อนที่ผมพบกันเมื่อเดือนกุมภาพันธ์เป็นสายวิทยาศาสตร์ วันนี้เราเรียกว่าสายสังคม ความจริงเดี๋ยวนี้เราก็เรียกว่าเป็น Science เหมือนกัน แต่คนละ Science อันนี้เป็น Social Science จริง ๆ แล้วก็แตกลูกกันมาหลายคณะ Social Science เราก็จะพูดกันตั้งแต่ Auguste Comte แตกมาเป็นคณะรัฐศาสตร์ แตกมาเป็น Criminology เพราะว่าเอาวิชาอื่นมารวมกัน เอา Psychology มารวม มาสร้างใหม่เป็น Criminology อย่างที่ ผมเรียนมา ความรู้ก็แตกไปเรื่อย ๆ เพราะว่าเมื่อก่อนเรารู้ไม่ลึก พอเรารู้ลึกขึ้น เราก็แยกสาขาไปเรื่อย ๆ อันนี้เป็น สิ่งที่เป็นที่มาของการที่พวกเรามารวมกันอยู่ที่นี่ คือมีความรู้กันหลากหลาย

ทีนี้สิ่งที่ผมอยากจะเรียนท่านทั้งหลายว่า บางคนรับทุนจากรัฐบาล จากภาษีอากรประชาชน บางคนได้รับการศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่ Subsidize ถึงแม้ท่านจะเสียเงินเอง แต่ Subsidize โดยงบประมาณของรัฐหรือภาษีอากรประชาชน บางท่านอาจจะเรียนเอกชนตั้งแต่ต้นจนจบ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในเมื่อเราเป็นคนไทย เราต้องการที่จะเอาสิ่งที่เราเรียนมาๆช่วยกัน ก็เป็นความตั้งใจที่สูงสุดแล้ว แต่ว่าถ้าปฏิบัติได้จริง จะเป็นสิ่งที่ดี วันนี้จะแบ่งกลุ่มออกมาเป็นกลุ่มต่าง ๆ เดี๋ยวผมจะขอกลับมาพูดนิดหนึ่งว่า รัฐบาลนี้มองสินทรัพย์ที่สำคัญของประเทศคือ มนุษย์ หรือที่เรียกว่าทุนทางมนุษย์ คือ Human Capital

Human Capital นี้สำคัญที่สุด เป็น Asset ที่หาได้ยาก เพราะฉะนั้นเราจะต้องบริหารจัดการให้ดี วันนี้ผมจึงพยายามทำทุกอย่างโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง เพราะเรากำลังต้องการยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางทั้ง 2 ทาง ทางหนึ่งคือ Service ให้เขา อีกทางหนึ่งคือ ใช้เขาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ ท่านลองมา นั่งดูว่าวันนี้เรามีสินทรัพย์อะไรในประเทศที่จะยั่งยืนของความเป็นประเทศ คือ ความเป็นทุนทางมนุษย์ เราจะสร้างขึ้นมาอย่างไร เราจะทำอย่างไรให้ทุนทางมนุษย์มีความเข้มแข็ง

มีหนังสือเล่มหนึ่งที่ผมเพิ่งเล่าให้คณะรัฐมนตรีฟังเมื่อวานนี้ ชื่อเรื่องว่า Play to Your Strengths เป็นหนังสือที่ออกมาปีนี้ 2004 แต่งโดย Haig R. Nalbantian, et al. คือมีผู้แต่ง 4 คน เป็นหนังสือของ McGraw-Hill 200 กว่าหน้า หนังสือเล่มนี้เน้นในเรื่องของ Human Capital คือ สรุปแล้วว่าเราจะต้องสร้างองค์กรของเราให้เข้มแข็ง โดยการสร้างทรัพยากรมนุษย์แล้วให้ถือว่าเรื่องของคนเป็นการลงทุน อย่าถือว่าคนเป็น ค่าใช้จ่าย ถ้าเมื่อไรถือว่าทรัพยากรมนุษย์เป็นค่าใช้จ่ายที่สิ้นเปลือง องค์กรนั้นมีวิสัยทัศน์แคบ องค์กรนั้นพังทลายในที่สุด ต้องถือว่าการที่ท่านทั้งหลายไปเรียนหนังสือมานี้ และจะสร้างเด็ก Generation ใหม่นี้ การที่เราจะดูแลคนทั้งหมดเป็นการสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่เข้มแข็ง เพราะว่าไม่มีใครและไม่มีอะไรที่จะผลิตและขายได้ดีไปกว่าสิ่งที่มาจากสมองและสองมือของมนุษย์ เพราะฉะนั้นวันนี้เรื่องของมนุษย์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่สิ่งที่ผมอยากจะเรียนว่าที่ผมกลับมาพูดกันตลอดเวลาและระดมคนมาช่วยกันคิดช่วยกันทำ ระดมพวกท่านมานี้ เพราะอยากเห็นท่านไปทำต่อ อยากเห็นท่านทั้งหลายเมื่อวันนี้รู้จักกันแล้ว ได้เกิดการสร้างประชาคมของหมู่ผู้มีความรู้ มีการศึกษาทั้งหลาย เพื่อจะนำไปสู่สิ่งที่เป็นปัญญาของสังคมต่อไป แน่นอนความรู้ไม่จำเป็นต้องเรียนมาอย่างเดียว การเรียนให้ฐานที่จะนำไปคิดต่อ เรียนต่อ แต่ไม่ใช่เรียนมาแล้ว เป็นเครื่องมือที่บอกว่าเราจะต้องเก่งกว่า คนอื่น แต่อย่างน้อยคือเป็นเครื่องมือที่สร้างฐานให้ท่านมีความรู้ มีหลักคิด มีหลักที่เรียนต่อ วิจัยและค้นคว้าต่อ เพื่อไปหาประสบการณ์ และนำประสบการณ์กับทฤษฎีมารวมกัน เพื่อให้เกิดหลักในการทำงานของท่าน เพราะฉะนั้นวันนี้เรื่องของความรู้จึงเป็นเรื่องที่เราอยากจะส่งเสริมเต็มที่

ทีนี้ผมจะย้อนกลับมาที่หนังสือ Play to Your Strengths อีกครั้ง คือเขาบอกว่าสิ่งที่สำคัญของมนุษย์คืออยากให้เน้นเรื่องของ System Thinking เพราะว่าจุดอ่อนของเราคือเราไม่มี System Thinking คือไม่ได้คิดอะไรเป็นองค์รวม ไม่มองระบบรวม มองแยกส่วนตลอดเวลา อันนี้คือจุดอ่อนที่ทำให้มนุษย์ขาดศักยภาพ ทั้งที่มีความรู้ มนุษย์ที่มีความรู้ มีการศึกษาดี แต่ถ้าไม่มี System Thinking เหนื่อย เพราะจะไม่เข้าใจอะไรใน ภาพรวมในระบบรวม ถ้าเข้าใจในระบบรวม ความเชื่อมโยงของ Sub System ซึ่งอยู่ใน System เดียวกันได้ และเข้าใจว่า System ทุกอย่าง ระบบทุกอย่างไม่ได้อยู่ในที่ว่างเปล่า แต่มีสิ่งห่อหุ้ม ถ้าเราเข้าใจตรงนี้ ความรู้ที่เรียนมาจะเพิ่มพูนไปไม่รู้เรื่องเลย ทีนี้สิ่งที่เป็นปัญหาอย่างหนึ่งก็คือว่าสังคมของวิชาการ เป็นสังคมที่บางครั้งมี Say and Do Gap สูง Say and Do Gap คือ Say พูดอย่างนี้ คิดอย่างนี้แต่ว่าเวลาทำแล้วไปอีกอย่างหนึ่ง คือมี Gap สูง ทำอย่างไรถึงจะลด Say and Do Gap อันนี้เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราเกี่ยวข้อง

ผมอยากจะให้ดูตรงนี้ว่า รัฐบาลวันนี้เน้นเรื่องคนอย่างไร ผมอยากเห็นมนุษย์ ผมพูดหลายเวทีแล้ว คนไทยมีสุขภาพที่ดี 3 ด้านคือ สุขภาพกายที่ดี สุขภาพจิตที่ดี และสุขภาพทางปัญญาที่ดี หรือที่เรียกว่า Physical Health, Mental Health, Intellectual Health ถ้าเราได้คนไทยที่มีสิ่งพึงประสงค์ทั้ง 3 อย่าง แต่มนุษย์ไม่ค่อยมีทั้งหมด 3 อย่างเพราะพระเจ้าไม่ค่อยให้มาพร้อมกัน ไม่เป็นไรบางคนได้ 3 เต็มบ้างไม่เต็มบ้างไม่เป็นไร แต่เราต้องพยายามให้ได้มากที่สุด คนที่มี Physical Health อย่างเดียวก็มีประโยชน์ คนที่มี Mental Health อย่างเดียวก็มีประโยชน์ คนที่มี Intellectual Health อย่างเดียวก็มีประโยชน์ แต่ถ้ามี Health ที่มากกว่า 1 จะยิ่งมีประโยชน์มากขึ้น ถ้ามี Health ทั้ง 3 ยิ่งมีประโยชน์มากที่สุด เพราะฉะนั้นจึงยอมลงทุนตัวนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งเป็น Physical Health

วันนี้เรากำลังจะมองเรื่องของ Mental Health และ Intellectual Health Intellectual Health เราจะมองเรื่องการศึกษา Mental Health คือปัญหาสังคม ปัญหาครอบครัว ปัญหาการเลี้ยงดูลูก ผมกำลังจะทำทั้ง 3 สาขา เอาจริงเอาจังกับมัน ที่ผมพูดอย่างนี้เพื่อที่เราจะได้เห็นแนวทางร่วมกันว่าเรากำลังจะให้ความสำคัญต่อทรัพยากรมนุษย์ ในที่นี้คือ คนไทยทั้งประเทศ แต่แน่นอนเราจะ Target ไปที่กลุ่มประกอบด้วย กลุ่มผู้ที่ต้องไปเป็นตัวแม่ทัพนายกอง เหมือนกับสมมติว่าเราเป็นทหาร มีนายสิบ นายร้อย นายพัน นายพล อันนี้เป็นเรื่องที่จะต้องจัดกำลัง เพราะฉะนั้นประเทศไทยก็เช่นกัน ผมกำลังต้องการสร้างสังคมไทยที่คนไทยมีสุขภาพที่แข็งแรงทั้ง 3 ด้าน เรื่องของ Mental Health จะรวมเรื่องคุณธรรม จริยธรรมด้วย อันนี้กำลังทำ

ผมได้ตั้งสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ขึ้นมาเป็นองค์การมหาชน มีงบประมาณสูง เพื่อที่ผมจะมีแท่งต่าง ๆ เอาไปทำงาน แท่งแรกคือเรื่องของพิพิธภัณฑ์ ผมไม่อยากให้พิพิธภัณฑ์เป็นโกดังเก็บของเก่า เป็น Antique Warehouse ผมต้องการให้พิพิธภัณฑ์นั้นเป็นที่เรียนรู้ ทั้งหมดต้องกลับไปที่ความรู้ เพราะฉะนั้นเราจะต้องสร้างพิพิธภัณฑ์ จัดพิพิธภัณฑ์ จัด Display จัดการ Presentation ทั้งหลายเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ให้ความรู้ แท่งที่ 2 คือ ห้องสมุด ผมต้องการสร้างห้องสมุดที่มีชีวิต ไม่ใช่ห้องสมุดที่เก็บหนังสืออย่างเดียวเท่านั้น แต่มีชีวิต น่าอ่าน ชวนอ่าน บรรยากาศดี สะดวก มีหนังสือเปลี่ยนแปลงมีหนังสือใหม่และหนังสือเก่าเก็บต่อเนื่องไป อันนี้จะต้องทำให้ได้ แท่งที่ 3 ของพลตรีจำลอง ศรีเมือง จะไปสร้างเรื่องคุณธรรม จริยธรรมให้กับสังคมไทยเพิ่มเติม เพราะเนื่องจากว่าเวลานี้ บางครั้งเราลืมพวกนี้นานไป แท่งที่ 4 คือ เรื่องของ Life science เรื่องของ Bio-technology เรากำลังจะสร้างขึ้นมา เพราะเราเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ เราใช้ประโยชน์กับมันน้อย แท่งที่ 5 คือ แท่งที่มองพัฒนาการของเด็ก ทั้งพัฒนาการทางด้านของสุขอนามัยและพัฒนาการทางการเรียนรู้ ไปพร้อม ๆ กันที่เราเรียกกันว่า Brain Based Learning อันนี้เป็นตัวอย่างอันหนึ่ง

วันนี้เรามีนักการศึกษาอยู่ที่นี่มาก เรื่องของการศึกษา ถ้ามองว่าเมื่อไรเรื่องของการศึกษาเป็นเรื่องของนักการศึกษาเท่านั้น เป็นธุระของนักการศึกษาเท่านั้น ทุกอย่างก็จบ การศึกษาก็จบ นี่คือสิ่งที่ผิดพลาดกันมานาน เพราะเราต่างคนต่างอยู่ เรามองว่าการศึกษาเป็นเรื่องของนักการศึกษา ความจริงการศึกษาจะต้องประกอบทีมหรือที่นาย Tom Peters พูดในหนังสือ Re-imagine! ถึงเรื่อง Hollywood Model Hollywood Model กับ Genome ทางวิชาการ คล้ายกันคือเอาคนที่ถนัดในเรื่องที่เราต้องการจะแก้ปัญหามาร่วมกันคิด ร่วมกันทำ เหมือนสร้างหนังเรื่องหนึ่ง คุณจะสร้างหนังบู๊ คุณต้องหาพระเอกหนังบู๊ คุณจะเอาพระเอกหนังชีวิตมาทำหนังบู๊คงทำไม่ได้ ผู้กำกับที่ไม่เคยทำหนังบู๊เลยทำแต่หนังสารคดีทั้งเรื่องมาทำหนังบู๊จะไม่เข้าใจ อะไรทำนองนี้ เพราะฉะนั้นเหมือนกันที่เราเรียกกันว่า Hollywood Model คือว่านักการศึกษาคงต้องยอมรับแนวคิดของ Psychiatrist พวกนักจิตวิทยา และทางด้าน Neuro เพื่อดูพัฒนาการทางสมอง ซึ่งเขาบอกว่าช่วงเด็กโตเท่านี้ เด็กเรียนรู้รับได้แค่นี้ เรียนรู้อย่างนี้ รับได้เท่านี้ แต่ละช่วงในการรับรู้ไม่เหมือนกัน จะมีทีมที่ทำเป็นเรื่องเป็นราว ทีมเหล่านี้จะมีการทำ Outsource เรื่องของ Research เพื่อจะนำมาทำนอกระบบราชการ เมื่อทำเสร็จเรียบร้อยแล้วใส่เข้าไปในระบบทีหลัง ถ้าเมื่อไรเราคิดจะเปลี่ยนแปลงอยู่ในระบบ เปลี่ยนไม่ได้เพราะถูกกลืน เพราะระบบใหญ่กว่า ฉะนั้นรัฐบาลจึงใช้วิธีการว่าเอาออกมานอกระบบ มาคิดมาทำ อะไรเรียบร้อยแล้ว ขยายจนถึงแข็งแรงจุดหนึ่ง แล้วจึงใส่เข้ากลับคืนสู่ระบบ ทั้งหมดจะกลับคืนสู่ระบบ แต่ช่วงแรกต้องทำนอกระบบก่อน นี่คือแนวคิดที่เน้นเรื่องของมนุษย์ เน้นเรื่องของสุขภาพ เน้นเรื่องของจริยธรรม คุณธรรมและภาวะจิตใจ และเรื่องของปัญญาความรู้ จะทำไปพร้อม ๆ กัน

ทีนี้เรามานั่งดูว่าเราจะจัดการอย่างไรกับมนุษย์ของเรา 3 Generation Generation ที่แก่หน่อยเรียกว่า My Generation คือผมไม่กล้าเรียก Old เพราะหลายท่านเด็กกว่าผมมาก ประมาณแถวหน้านี้ได้ ถ้าแถวหลังเรียกว่าไม่ใช่ My Generation คือ Generation ผม เป็น Generation ที่วันนั้นเติบโตมา Globalization ยังไม่ค่อยมาก ระบบการไหลเวียนของคน ทุน ความรู้ เทคโนโลยี สินค้า บริการ ยังอยู่ในดีกรีที่ต่ำ เรายังไม่ค่อยเรียกกัน เรายังไม่มีคำศัพท์ Globalization คนค่อนข้างต่างคนต่างอยู่ การพัฒนาการ การเรียนรู้ ยังเป็นการ ผสมผสานระหว่างการเรียนแบบหลายวิชา กับการเรียนกับสถานการณ์ ปน ๆ กันอยู่ เพราะฉะนั้นรุ่น Generation ผมยังไม่เสียหายเท่าไรกับระบบ คือเป็นเรื่องของภูมิคุ้มกันทางสังคมยังดีอยู่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ยังเลี้ยงดูอยู่ด้วยกัน จริยธรรม คุณธรรม ยังถูกเกลาเพราะทุนนิยมยังบทบาทไม่รุนแรงเท่า ตอนนั้นยังเป็นโลกยุคสงครามเย็น ระบอบประชาธิปไตยจ๋ายังไม่เข้ามา ระบบทุนนิยมจ๋ายังไม่เต็มที่ เพราะฉะนั้นยังเป็นบาง ๆ ของทุนนิยมและยังมีความหนาของภูมิคุ้มกัน ยังมีการเรียนรู้ ซึ่งระบบอังกฤษยังมีอิทธิพลอยู่มาก ยังมีผลดีอยู่ เพราะตรงนั้นรุ่นผมหรือแก่กว่าหรือในอเมริกาเรียกยุค Baby Boom อายุแถว Baby Boom พวกนี้ปัญหายังน้อยแต่ Current Generation คือ Generation ปัจจุบัน เป็น Generation ที่ต้องช่วยกัน คือการแก้ปัญหาต้องแก้ทั้งหมด Generation ปัจจุบัน คือคนที่อายุประมาณ 20-40 ปี ที่ผมพูดแค่นี้ไม่ใช่ผมอายุเพิ่ง 40 แก่ ๆ หรือ 50 ต้น แต่ผม 50 กลาง ๆ แล้ว เพราะฉะนั้น รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ Democracy เต็มที่ สิ่งที่ติดตามมากับ Democracy คือ Capitalism Economy เมื่อเศรษฐกิจทุนนิยมเข้ามาก็เกิดการแข่งขันสูง นำไปสู่ Materialism วัตถุนิยม นำไปสู่การแข่งขันการสะสม Wealth นำไปสู่การ แข่งขันการสะสม Wealth นำไปสู่การแข่งขันเพื่อเอาตัวรอด ในที่สุดเวลาที่จะดูแลลูก เวลาที่จะดูแล Generation หลัง ๆ ลดน้อยลง แสดงให้เห็นว่า ภูมิคุ้มกันทางสังคมลดลง และนอกจากนั้นระบบการศึกษาเริ่มเห็นความ ล้าสมัยอย่างเห็นได้ชัด เพราะเป็นระบบการศึกษาที่ได้รับอิทธิพลจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมหรือคลื่นลูกที่สอง ยังเป็นอุตสาหกรรมในลักษณะของ Piecemeal คือเรียนเป็นชิ้น ๆ เรียนแบบอุตสาหกรรม การจัดองค์กรเป็นแบบ Detroit Model เป็นสายการผลิต เป็นลักษณะแบบนั้น เพราะฉะนั้นจะทำให้การเข้าใจที่เรียกว่า System Thinking อ่อน ภูมิคุ้มกันอ่อน ระบบ Thinking มีปัญหาเพราะอิทธิพลของระบบวิธีคิดระบบ Socrates Plato Aristotle ยังอยู่ Dr. (Edward) de Bono ยังมาไม่ถึง ยังเป็นแนวนี้อยู่ ดังนั้นเราจะต้องช่วยกันสร้าง Generation นี้

ที่ผมพูดอย่างนี้เพราะพวกท่านเป็นคนที่ได้รับการศึกษามากมาย ไปเห็นอะไรต่ออะไรมากมาย แต่เราต้องมาช่วยกันว่า Current Generation จะแก้ปัญหาอย่างไร อันนั้นอันที่หนึ่ง ทีนี้ Future Generation คือ เด็กที่ยังตัวเล็ก ๆ วันนี้อยู่และที่กำลังจะเกิดเข้ามาตรงนี้สำคัญ เพราะฉะนั้นวันนี้ My Generation มีหน้าที่ Correct แก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดไปเพื่อให้ Current Generation หรือ Generation ปัจจุบันได้เติบโต ได้อยู่ในสังคมที่ดีและปรับวัฒนธรรม วิธีคิดต่าง ๆ และปรับวิธีทำมาหากินต่าง ๆ เพื่อให้เขาอยู่รอด มีกำลังที่จะ Raise Generation ใหม่ ๆ ได้อย่างสมบูรณ์ อันนี้คือวิธีคิดที่กำลังคิดอยู่อย่างมาก ทำไมผมถึงพูดว่าตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2548 เป็นต้นไปจะมีของขวัญให้เด็กเกิดใหม่ทุกครอบครัว ทุกคน เพราะอะไร เพราะเราเริ่มดูแลตั้งแต่เด็ก ว่าเลี้ยงดูถูกต้องหรือไม่ การอบรม การให้การศึกษา การปูพื้นฐานวิธีคิดให้กับเด็ก ใส่เติม Software เข้าไปในสมอง ตั้งแต่เด็กเกิดใหม่ถูกต้องหรือไม่ ถ้าผิดคือผิด ถ้าผิดแก้ยาก เพราะอะไร



โดย: ปาฐกถาพิเศษของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรื่อง “คลังสมองกับการพัฒนาประเทศทางด้านสังคม” (moonfleet ) วันที่: 11 มีนาคม 2551 เวลา:15:52:22 น.  

 
ปาฐกถาพิเศษของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรื่อง “คลังสมองกับการพัฒนาประเทศทางด้านสังคม”
(.. ต่อ ..)

ผมอ่านหนังสืออีกเล่มคือ My Power เป็นหนังสือเก่าแล้วปี 1997 ที่พูดถึงเรื่อง Conscious (จิตสำนึก) และ Subconscious (จิตใต้สำนึก) ซึ่งท่านทั้งหลายที่เรียนมารู้ดี Conscious เราเรียกว่าจิตเหนือสำนึกเรียกสั้น ๆ ว่าจิตสำนึก Subconscious คือจิตใต้สำนึก จิตใต้สำนึกคือสิ่งที่สั่งสม ดีก็ใส่เข้าไป แย่ก็ใส่เข้าไป บางคนเป็นคนที่คิดมากมีปมด้อย เพราะเอาแต่เรื่องน้อยเนื้อต่ำใจฝังเข้าไปลึก คนที่มีปมด้อยจะทำอะไรมีปมด้อยไปหมด เพราะว่าใส่เข้าไปผิด แต่คนบางคนเอา Achievements ใส่เข้าไปมองโลกในแง่ดีก็ใส่เข้าไป เพราะเวลามนุษย์คิดหรือตัดสินใจกะทันหัน ส่วนใหญ่จะออกมาจากจิตใต้สำนึก จิตเหนือสำนึกจะออกมาต่อเมื่อมีการ calculate สบาย ๆ ค่อยนั่งคำนวณแล้ว มีความชัดเจนถึงจะใช้จิตเหนือสำนึกคิด คือความรู้และเหตุการณ์ปัจจุบัน แต่เวลากะทันหัน ฉุกเฉิน ฉับพลัน จิตใต้สำนึกมีพลังออกมา

เพราะฉะนั้นวันนี้เราต้องดูเด็กตั้งแต่เล็ก ทำไมต้องมีของขวัญ ของขวัญของผมประกอบด้วยอะไรบ้าง จะมี หนึ่งเพลงกล่อมเด็ก เพราะ Generation พวกน้อง ๆ ทั้งหลาย เริ่มจะไม่มีเวลาดูแลลูกเท่าที่ควร เพราะชีวิต Rush มีพระองค์หนึ่ง เป็นพระของสันติอโศก ชื่อท่านจันทร์ ท่านก็เทศน์ของท่านง่าย ๆ ท่านว่า 3–ry ทำให้อายุสั้น เราก็นึกว่าอะไร 3-ry 1) Curry กินแกงเผ็ดมากมันมีกะทิ ทำให้หลอดเลือดหัวใจอุดตัน 2) Hurry คือเร่งร้อน Rush ทุกวัน ทำให้เครียด และ 3) คือ Worry คือทำให้เครียด กังวลนั่น กังวลนี่ ทำให้หัวใจแย่ ท่านจึงบอกว่าอายุสั้นนะ 3-ry เพราะฉะนั้นวันนี้สังคมเร่งรัด ไม่มีเวลา และพ่อแม่ ปู่ย่า ไม่ได้อยู่ด้วย แยกครอบครัวออกมา ไม่มีแล้วเพลงกล่อมเด็ก ไม่รู้จักการกล่อมเด็ก มาถึงเลี้ยง ๆ เสร็จให้นม ไปทำงาน กลับมาก็เลี้ยง ๆ เป็นอย่างนี้ สุนทรียะในตัวเด็กที่ถูกเลี้ยงดูมาแบบนั้นจะไม่ค่อยดี Tendency ในการที่จะสะสมสิ่งก้าวร้าว สิ่งที่ไม่นุ่มนวล จะมากขึ้น ผมจึงบอกเอาเพลงกล่อมเด็กไป สอง ผมให้ของเล่นที่ฝึกการใช้ประสาท ปลายประสาท ประสาทสัมผัส เพราะว่าเด็กจะได้มีความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสที่ดี แต่ทางภาษาธรรมะ บอกว่าอย่าไปปรุงแต่ง ถ้าหากภาวะที่เข้ามากระทบทางประสาททั้ง 5 ทั้ง 6 นี้ ถ้าไปปรุงแต่งแล้วอันตรายจะต้องให้เกิดภาวะจิตว่าง คือ อย่าปรุงแต่งมาก แต่อันนั้น Physical ไม่ใช่ Mental สาม ที่ผมจะให้คือ คู่มือเลี้ยงลูก เป็นการ์ตูน เป็นอะไรที่อ่านง่าย ๆ ดูง่าย ๆ เพราะว่าจะได้เลี้ยงลูกได้ถูกวิธี และสี่ เป็นหนังสืออ่านเล่นของแม่อ่านให้ลูกฟัง และอีกหน่อยพอลูกเริ่มจะรู้เรื่องก็ไปอีกขั้นหนึ่ง เป็นหนังสือ 2 เล่ม เพราะฉะนั้นคือสิ่งที่เรากำลังมองพัฒนาการของเด็กมีความหมาย เพราะเหมือนกับว่าเราจะใส่ฐานรากที่เข้มแข็งให้กับประชาชนคนไทยใน Generation ใหม่ เหมือนกับว่าเราจะหลอม ต้องมี Foundation ต้องมีฐานที่แข็ง ถ้าไม่อย่างนั้นโตขึ้นแล้วอ่อนแอ เลี้ยงดูไม่ดีทางกายภาพก็อ่อนแอทางกายภาพ เลี้ยงดูไม่ดีทางด้านจิตใจ ก็อ่อนแอทางด้านจิตใจ ทั้ง 2 อย่างนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งทางด้านปัญญาจะลดน้อยลง นี่คือแนวที่เรากำลังดูว่า จะดู Future Generation อย่างไร จะดู Current Generation อย่างไร แล้ว My Generation นี้จะต้องมีหน้าที่ช่วยกันเสียสละทำให้สังคมดีอย่างไร อันนั้นคือสิ่งที่เรากำลังเรียกร้องกัน

เพราะฉะนั้นท่านทั้งหลายวันนี้มารวมกันกำลังจะคิด กำลังจะรวมกัน กำลังจะสร้าง Genome ทางวิชาการ ผมไม่อยากเห็นการแยกกลุ่มว่า คนนี้จบวิชานี้ไปรวมกันอย่างเดียว บางทีไม่ใช่ ไม่พอ อย่างเรื่องกระจายอำนาจ ท่านลองเอาแค่นักรัฐศาสตร์ นักรัฐประศาสนศาสตร์ไปรวมกันอย่างเดียว ถามว่าพอหรือไม่ ไม่พอหรอก ท่านเข้าใจปัญหาชุมชนหรือไม่ ต้องเอาอย่างนายประยงค์ รณรงค์ไปด้วย ถึงเข้าใจว่ากระจายอำนาจคืออะไร Bottom Line ทั้งหมดคือความผาสุกของประชาชน ฉะนั้นกระจายอำนาจเพื่ออะไร ไม่ใช่เป็นการกำหนดตำแหน่งการจ้างงานให้กับคนที่อยากเป็น ยึดอาชีพการเมือง ไม่ใช่ แต่เรากำลังจะบอกว่ากระจายอำนาจเพื่อความผาสุกของประชาชน สรุปว่าวันนี้มีรัฐบาลระดับชาติอย่างเดียว ไม่พอ มีระบบราชการอย่างเดียวยังไม่พอที่จะบริการประชาชนและเข้าใจปัญหาประชาชนอย่างแท้จริง เราจึงบอกว่าอย่างนั้นให้ท้องถิ่นเลือกกันเอง เพราะเขาเข้าใจดีกว่าเพื่อจะบริการประชาชนที่ดีขึ้น มิติต้องไปตรงนั้น มิติคิดสำคัญ ถ้าคิดผิด ปรัชญา หรือ Concept จะผิด เราทำอะไรก็ผิด ไม่ได้วัตถุประสงค์อย่างที่เราต้องการ ใช้กฎหมายตีความอย่างเดียวกำหนดว่าอย่างนี้ เป็นอย่างนี้ ไม่พอ Concept หรือ philosophy ในทุกเรื่องเป็นหลักวิธีคิดที่ดีที่สุด โครงสร้างเป็น ตัวประกอบ การจะมีองค์กรหนึ่ง ขึ้นมา 1 องค์กร แน่นอนมันมีโครงสร้าง โครงสร้างเป็นหลัก อันที่หนึ่ง Process กระบวนการ อันที่สอง อันที่สาม คือ Culture คือวัฒนธรรม ทั้ง Process และ Culture จะต้องมี Philosophy รองรับ จะต้องมี Concept ที่ถูกต้องรองรับ ไม่เช่นนั้น Structure จะพาไป พาไปโดยใช้กฎหมายตีความ ไม่ได้อะไร ปรัชญาคือความผาสุกของประชาชน เราจะมีการกระจายอำนาจเพื่อความผาสุกของประชาชน เพื่อการบริการที่ดีต่อประชาชน แล้วเพื่อความเข้าใจปัญหาถ่องแท้ที่ประชาชนต้องการ

ถ้าจะเป็นอย่างนี้ ย้อนกลับมาเรื่อง Human Capital Human Capital ข้อหนึ่งที่บอกว่าสำคัญ นอกเหนือจากคำว่า System Thinking คือเป็นเรื่องของ Facts เป็นเรื่องของ Get the Right Facts คือการได้ข้อมูลที่แท้จริง การได้ข้อมูลที่แท้จริงนั้นไม่ใช่ Inside Out อย่างเดียว แต่ต้อง Outside In ไปพร้อม ๆ กัน คือเรามีหลักวิชา เรามีหลักกฎหมาย เรามีหลักคิดที่จะเอาไปช่วยประชาชน ให้ประชาชน แต่เราไม่รู้ว่าประชาชนคิดอย่างไร หรือต้องการอะไร เพราะฉะนั้นเราต้อง Outside In คือต้องฟังจากประชาชน ให้ประชาชนมีส่วนร่วม ไม่ใช่ ส่วนร่วมของประชาชน คือ ลงคะแนนเลือกตั้งแล้วเลิกกัน ไม่ใช่ ฉะนั้นการกระจายอำนาจจึงเป็นอะไรที่ ไม่ใช่บอกว่าเอาอำนาจมาแบ่งกัน เวลาเราจะตั้งองค์กรหนึ่ง เราจะแบ่งงาน จะกระจายงานครั้งหนึ่ง เราทำเหมือนแบ่งมรดก ไม่ใช่ เราอย่าทิ้งปรัชญา ปรัชญาคือว่า เราจะบริการประชาชนอย่างไร เราจะให้ประชาชนมีความสุขได้อย่างไร เราจะรู้ความต้องการ รู้ปัญหาที่แท้จริงของประชาชนอย่างไร เพื่อจะสนองตอบความต้องการได้ นั่นคือสิ่งที่เป็นหลักทั้งหมดของการกระจายอำนาจ แน่นอนถ้าเรามองทฤษฎี ทฤษฎีใครทฤษฎีมัน ทะเลาะกันตาย ต้องปล่อยวางไม่ยึดติด แล้วหันมาปล่อยจิตให้ว่าง มานั่งคุยกัน โดยมองเห็นเป้าหมายเดียวกัน คือเป้าหมายความผาสุกของประชาชน แล้วเอาที่เราเรียนมาประกอบ แต่อย่าไปยึดมั่นถือมั่นจากสิ่งที่เราเรียนมาจนไม่ฟังความเห็นคนอื่น ไม่ใช่ เพราะฉะนั้นวันนี้การผสมผสานของความรู้หลายสาขาเป็นสิ่งจำเป็นและอยากส่งเสริมมาก สถาบันการศึกษาเป็นอะไรที่ต้องไปปรับเส้นแบ่งเขตระหว่างคณะทั้งหลาย อาณาจักรใคร อาณาจักรมัน โดยธรรมชาติพัง เพราะโดยธรรมชาติของการใฝ่รู้ ใฝ่เรียน การแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ นั้น เป็นธรรมชาติของการที่เส้นแบ่งเขตต้องเบลอ ๆ ถ้าเส้นแบ่งเขตเข้ม ก่อกำแพง มีไฟฟ้าล่อข้างบนอีก ข้ามเขตมาโดนไฟฟ้าช็อตตาย พังแน่นอน

เพราะฉะนั้นวันนี้ต้องไม่มีเส้นแบ่งเขต เราต้องกลับมาช่วยกันคิด ใช้ความรู้ที่เรียนมา ประสบการณ์ที่เรียนมา ช่วยกันมองไปที่เป้าหมายความผาสุกของประชาชน ความก้าวหน้าของประเทศชาติ ถ้าท่องได้ 2 คาถานี้ แล้วทุกอย่างเบลอ รับรองว่าสมบูรณ์ วันนี้ผมถึงพยายามอย่างยิ่งที่จะใช้สถาบันการศึกษาทั้งหลายเชื่อมโยงเข้ากับท้องถิ่น ประชาชนและระบบราชการภูมิภาค เพื่อให้องค์ความรู้เกิด เพราะถ้าร่างกายสมบูรณ์ คนไปเรียนมาก็รู้วิชาการเต็มที่ แต่ไม่เคยทำอะไรก็มีมาก แต่คนที่ทำทั้งวันไม่เคยอ่านหนังสือ ไม่มีวิชาการก็มาก ถ้า 2 คนนี้เดินไปด้วยกันและต่างมีเป้าหมายเดียว ช่วยกันคิด รับรองสมบูรณ์ เรากำลังต้องการผสมผสานความเข้มแข็งของแต่ละภาคส่วน เกษตรกรชาวนาตื่นเช้ามาจับจอบ ลองไปนั่งคุยเถอะ เขามีอะไรดีอย่างหนึ่งแน่นอน ฉะนั้นเราทำอย่างไรถึงจะสกัดของดีในสังคมนี้มารวมกันสร้างสิ่งที่ดีใหม่ ๆ ขึ้นมา นั่นคือสิ่งที่พูดง่าย ทำยาก

วันนี้ท่านทั้งหลายกำลังจะแบ่งทีม แบ่งกลุ่มไปคิด แต่ว่ากลุ่มที่แบ่งก็ดี แต่ผมอยากให้การมาพบปะครั้งนี้ การมาเริ่มคิดด้วยกันวันนี้นำไปสู่การเกิดประชาคมของนักวิชาการที่มีความรู้ในสายสังคมศาสตร์กับสายวิทยาศาสตร์เพื่อจะนำไปสู่การทำ Paper ร่วมกัน การทำวิจัยร่วมกัน ผมขอท้าวันนี้เลย ถ้าท่านร่วมกันคิด รวมกันทำเป็นทีมใหญ่ อยากจะทำวิจัยใหญ่แค่ไหน ผมให้ ผมสนับสนุนสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (สกว.) ก็อยู่ที่นี่ สกว.ไม่มีทุนพอ ผมให้ทุนเพิ่ม ผมหาได้เพราะผมเป็นคนกล้าลงทุนเพื่อให้ได้ความรู้ กล้าลงทุนเพื่อสร้างคนที่ดี ผมถือว่าเป็น Investment ผมไม่ถือว่าเป็น Cost ยกตัวอย่างเรื่องบ้า ๆ เรื่องหนึ่งที่ผมคิดบ้า ๆ ขึ้นมา ผมบอกว่า เวลานี้นมโรงเรียน มีปัญหามาก บางที่บอกว่าเอานมผงไปผสม ผมก็สำรวจว่าวัวเลี้ยงกันกี่ตัวในประเทศไทย แล้วผลผลิตเป็นอย่างไร สรุปคิดว่าผลผลิตปีหนึ่งได้ 6,000 ล้านบาท เท่ากับงบประมาณที่เราจ่ายค่านมโรงเรียน แต่ความไม่ทั่วถึงมีมาก มีปัญหาคือเรื่อง logistic อันนี้เรามองแบบไม่มีคอรัปชั่น ผมจึงบอกว่าเอาอย่างนี้ ทำระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) ให้รู้ว่าวัวอยู่ตรงไหน แล้วก็หา Cluster มา Cluster หนึ่ง แล้วตั้ง พาสเจอไรส์ตัวเล็ก ๆ เป็นโรงงานพาสเจอไรส์ ผมบอกกระทรวงวิทยาศาสตร์ให้ไปทำอันนี้ให้ผมหน่อยได้ไหม ที่เหมือนก๊อกน้ำเย็นแต่แทนที่จะใส่น้ำ ก็ใส่นม นมที่พาสเจอไรส์ เสร็จแล้วเอาไปตั้งทุกโรงเรียน เอาไปตั้งทุก ชุมชน แต่มีกล้องจับ ห้ามเอาไปขาย แต่กดกินได้ ห้ามห่อกลับบ้าน ผู้ใหญ่กินบ้าง เด็กกินบ้าง กินให้หมด ก็ไม่เป็นไร จะได้แข็งแรง กินตอนเด็ก ๆ จะได้สูง เห็นไหมว่าเด็กสมัยนี้บางคนสูง 180 เซ็นติเมตร เราจะได้สร้างเด็กที่มีคุณภาพดี ไม่เป็นไรหรอก อันนี้คือการลงทุน แล้วได้อะไร คนเลี้ยงโคนมก็รอด ชีวิตครอบครัวดีขึ้น ได้มีสตางค์ส่งลูกไปเรียนหนังสือ เด็กที่โตมาก็แข็งแรง ครูจะกินบ้างก็ไม่เป็นไร อย่าบอกว่านมโรงเรียนแล้วไม่ให้ครูกิน นมนักเรียนครูก็กินได้ เพราะเงินเดือนไม่ค่อยเหลือ ผ่อนหมด ผ่อนมอเตอร์ไซค์ ผ่อนจนไม่เหลืออะไรแล้ว เพราะฉะนั้นกินนมฟรีบ้างก็ไม่เป็นไรหรอก

นี่คือสิ่งที่ผมคิดบ้า ๆ ของผมขึ้นมา คือสรุปแล้วคิดอะไรก็แล้วแต่กลับไปที่คน เพราะผมมองคนคือศูนย์กลางของการพัฒนา แล้วคนมีความสามารถในการที่จะไปทำต่อ ถ้าสร้างคนให้แข็งแรง คนเหล่านั้นจะ Produce วันนี้ปัญหาเรื่องความยากจน คนคิดว่าเป็นเรื่องหาเสียง เป็นเรื่องนโยบายประชานิยม (Popularity Policy) คนจนถ้าเรามองว่าเขาเป็นภาระ ทั้งชีวิตเขาก็จะเป็นภาระอย่างนี้ แล้วจะไม่พ้นจนจะผลิตลูกที่เป็นภาระต่อไปให้ แต่ถ้าเรามองว่าเอาเขาให้หลุดพ้นให้ได้ เพื่อให้เขาเป็นพลัง พอเขาเป็นพลัง เขาหลุดพ้นความยากจน ลูกของเขาก็ไม่ได้ถูกสาปว่าเป็นคนจนต่อไป จะมีโอกาสมีศักยภาพ เพราะฉะนั้นเอาให้หลุดคือเปลี่ยนคนที่เป็นภาระให้เป็นพลัง เปลี่ยนคนที่เป็นปัญหาของสังคม เป็นคนที่ช่วยสร้างสังคมให้เข้มแข็งไม่ดีกว่าหรือ หลักการแก้ปัญหาความยากจนของผมง่ายนิดเดียว กำปั้นทุบดิน ทำให้รายได้ของเขาสูงกว่ารายจ่าย แล้วพยายามสร้างโอกาสให้เขา หลังจากเขาพ้นความยากจน และให้เขาใช้สมอง สองมือของเขาไปพัฒนาต่อเพื่อให้เขาพ้นจากความยากจน แล้วยังมีสตางค์เพื่อที่จะได้ส่งลูกเรียนหนังสือ ได้เลี้ยงลูกมีคุณภาพ นั่นคือหลักคิดทั้งหมด แต่คนไม่เข้าใจ พอผมคิดมา ก็มองทุกอย่างเป็นการเมือง แน่นอนการเมืองคือการเมืองแน่นอน แต่การเมืองต้องได้จาก
ผลของการทำดี ไม่ใช่ได้ผลจากการหาเสียง หาเสียง Say and Do Gap มาก หาเสียงหลายคนพูดสารพัดอย่าง Promise the Whole World แต่ผลสุดท้ายชีวิตก็ทำไม่เป็นเรื่อง ทำไม่ได้ไม่ต้องพูดถึง ทำ ไม่เคยทำ เพราะฉะนั้น Say and Do Gap ใหญ่มาก

วันนี้เราจะต้องพูดและทำให้ได้ วันนี้ผมถึงบอกว่านักวิชาการทั้งหลายเราต้องมาช่วยกัน เพราะเราทั้งหลาย Direct or Indirect ได้ใช้ภาษีอากรประชาชนมาสร้างปัญญาให้เราวันนี้ สร้างความรู้ให้เราวันนี้ เพราะฉะนั้นเราจะต้องตอบแทน ผมเป็นนายกสมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลมาก่อน ผมบอกนักเรียนทุนรัฐบาลเป็นพิเศษ ต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน วิธีตอบแทนที่ดีที่สุดคือเอาปัญญาที่เราได้มานี่แหละ สิ่งที่เติมอยู่ในสมองเรา เราได้มาจากอะไร ส่วนหนึ่งมาจากภาษีอากรประชาชน Direct หรือ Indirect แล้วแต่ มาช่วยกัน ทำให้สังคม ทำให้ประเทศ จึงเรียกร้องกันว่า มารวมกัน มาช่วยกัน แล้วอย่าจบแค่นี้ ผมท้าท้ายว่า ใครอยากทำวิจัยอะไรก็ช่าง ถ้าวิจัยนั้นจะเกิดความรู้ใหม่แก่สังคม จะเกิดแนวทางการปรับปรุงสิ่งที่ทำผิดพลาดในอดีตให้ถูกขึ้น หรือสิ่งที่เราสามารถฝ่า Wind of Change ได้ เพราะเราจะต้องฝ่าคลื่นลมแห่งการเปลี่ยนแปลงมากมาย เราจะฝ่าได้อย่างไร ถ้าเราไม่มีความรู้ ไม่มีสติปัญญา ต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำ เราจะต้องมารวมพลังกัน อย่าลืมว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระนามว่า ภูมิพล แปลว่า พลังแผ่นดิน ฉะนั้นคนไทยจะรอดได้ต่อเมื่อเรารวมพลังกัน ไม่ใช่แยกกันอยู่ ทะเลาะกัน อย่าไปเลียนแบบการเมือง ไม่ใช่สิ่งดี สิ่งที่สำคัญต้องยึดประเทศชาติเป็นหลัก อย่าแตกแยก ช่วยกันคิด และปล่อยวางให้ได้ ตรงนี้ถามว่าประเทศไทยมีสตางค์หรือยัง จะว่ามีสตางค์มากก็ไม่มี จะว่าจนก็ไม่ใช่ แต่สิ่งไหนที่เป็นประโยชน์ของประเทศเท่าไรต้องหามาให้มี นั่นคือวิธีคิดของผม อย่างรถไฟฟ้า 500,000 ล้านบาท จำเป็น เงินมากไหม มาก มากก็ต้องหาเพราะว่าจำเป็น ถ้าไม่จำเป็น 10,000 ล้านบาท ก็ไม่เอา ถ้าจำเป็น 500,000 ล้านบาท ก็ 500,000 ล้านบาท เพราะจำเป็น

วันนี้เหมือนกันถ้าท่านสามารถคิดอะไรขึ้นมา แล้วเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อประเทศ ต้องใช้เงินมาก ก็ต้องใช้ เพราะมีประโยชน์ เราต้อง Focus on Value แปลว่าเราวัดที่ Output ถ้า Output กับค่าใช้จ่ายที่ทำให้เกิด Output แล้ว Output มีค่าสูงกว่า เราก็ใส่ไปได้ ถูกไหม เราก็ลงทุนได้ เพราะฉะนั้น Human Capital อย่างไรก็ต้องกลับมาที่ Focus on Value คือต้องทำให้ได้ Output คือได้ผลลัพธ์ที่มีค่าสูงกว่า แต่ผลลัพธ์อาจจะวัดโดยตรงและวัดโดยอ้อมก็ได้ หรือวัดใน Generation นี้ได้ส่วนหนึ่ง และใน Generation ต่อไปได้อีกส่วนหนึ่ง ต้องเอามารวมกัน ไม่ใช่ว่าจะ Immediate Return ผมไม่คิดว่า Immediate Return เป็นเรื่องหลัก แต่ผมคิดว่า Return เป็นได้ทั้ง Short Term และ Long Term ได้ทั้งนั้น

ผมขอย้ำอีกครั้งว่าท่านทั้งหลายในฐานะที่เป็นนัก Social Science ขอฝากว่า ปัญหาสังคมทุก วันนี้อ่อนแอ ปัญหายาเสพติดที่ผ่านมา ท่านคงเห็นแล้วว่าหนักหนา ทำให้ครอบครัวล่มสลายไปหลายครอบครัว วันนี้ดีขึ้นแล้ว แต่ปัญหาคือว่า ความเร่งรีบในการที่จะต้องต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจของครอบครัวแต่ละครอบครัว ความที่อาจจะไม่รู้จักพอหรือว่าบางทีการใช้จ่ายเป็นสิ่งจูงใจ วิชา Marketing สมัยใหม่ จูงใจให้คนใช้สตางค์มากขึ้น เมื่อมากขึ้นก็เกินตัวบ้าง เพราะฉะนั้นจึงทำให้สภาพสังคมมีปัญหา เราต้องช่วยกันแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเรื่องของสถาบันครอบครัว เรื่องของจริยธรรม คุณธรรมที่ต่ำลงไป เรื่องของเด็กเยาวชน เป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันดูแลใน ทุก ๆ มิติ

วันนี้ผมรับการบ้านมาหลายเรื่อง แต่ว่าคงทำชั่วข้ามคืนไม่ได้ เพราะเป็นปัญหาที่หมักหมม มานาน ต้องทำ สมัยหน้า ผมไม่ได้ทึกทักเอาเอง เพราะว่าประชาชนบอก สรุปว่าสมัยหน้าสิ่งที่ผมอยากทำ อย่างหนึ่ง มีพระคุณเจ้านั่งอยู่ที่นี้หลายรูป คือเรื่องของธรรมะ เพราะว่าจริยธรรมกับธรรมะ เป็นสิ่งที่ต้องไป ด้วยกัน ธรรมะหมายถึงหลักธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ธรรมะไม่ได้หมายถึงพิธีกรรม ซึ่งผมจะมีการพบปะกับพระที่มีธรรมะแม่น ๆ ทั้งหลายเพื่อจะมาระดม เหมือนระดมพวกท่านคุยกันอย่างนี้ เพื่อที่ว่าทำอย่างไรถึงจะเอาธรรมะ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไปสู่ประชาชนและสังคมให้ได้มากที่สุด เพราะวันนี้ห่างไปเรื่อย ๆ คนเข้าวัดเพื่อที่จะไปเอาธรรมะจริง ๆ น้อยลง คนอยู่ใกล้พระก็เพราะพิธีกรรม ความเชื่อมากขึ้น วันนี้ต้องปรึกษากันว่าพระท่านคิดอย่างไร แล้วเราจะทำอย่างไร เพราะพระธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นปรัชญา เพราะฉะนั้น มีความยากในการเข้าใจ เมื่อมีความยากในการเข้าใจ คนที่จะให้ธรรมะแก่สังคมได้จะต้องเข้าใจในตัวเองให้ ถ่องแท้ ซึ่งไม่ง่าย มีพระที่เป็นปราชญ์ทางการใช้ความรู้ทางธรรมะแก่สังคมเป็นจำนวนมาก อย่างองค์หนึ่งที่ ล่วงลับไปคือ ท่านพระพุทธทาส ท่านพระพุทธทาสยังทิ้งพระลิขิตตามหนังสือหลายเล่ม ซึ่งหนังสือหลายเล่มเป็นประโยชน์มาก อ่านแล้วให้สติคนมาก บางครั้งคนมีความรู้ทางศาสตร์อย่างเดียวไม่พอ ท่านรู้ไหมว่า ผมพบกับ Christopher Ford Chairman ของบริษัท Ford เข้าใจว่า เป็นคนรุ่นที่ 4 เขาเป็นลูกศิษย์อาจารย์ชา อ่านหนังสือของท่านอาจารย์ชา Richard Gere นับถือศาสนาพุทธ คนเหล่านี้มีความลึกซึ้งในรสพระธรรม เขาบอกผมว่า หนังสือทางด้าน personal หนังสือทางด้านจิตวิทยาที่ออกใหม่ ๆ ปัจจุบันนี้ เป็นหนังสือที่เขียนตรงตามหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ผมเชื่อว่าหลายคนที่จบปริญญาเอกทั้งหลาย ถ้าท่านลองเอาหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไปอ่าน ท่านจะรู้ว่าทำไมเหมือนที่เรียนมา บางทีท่านไปเอาศาสตร์ก่อน แต่ท่านลืมไปว่าท่านคือคนในศาสนาพุทธ ท่านมีธรรมะเต็มเลยแต่บังเอิญลืมไป ไปเรียนมาแล้วน่าจะรู้ ตอนหลังผมไปอ่านหนังสือด้าน Psychiatry , Psychology ผมอ่านแล้ว ผมเห็นหลายอย่างคล้ายกันเลย เพราะธรรมะแปลว่าธรรมชาติ ธรรมะคือกฎธรรมชาติ ฉะนั้นมีการสอนอะไรดี ๆ สมัยหน้า ผมคิดว่าจะทำเรื่องนี้ ที่ย้ำนี่ไม่ได้อะไร ก็ว่ากันไปตามกติกา แต่คิดว่าคงไม่มีปัญหา

วันนี้ขอขอบคุณอีกครั้งในน้ำใจที่ท่านได้มาพร้อมใจกันที่นี่ และขอขอบคุณล่วงหน้าสำหรับ ท่านที่จะเอาสิ่งที่ท่านเรียนรู้มาๆ ช่วยกัน เพื่อจะทำให้บ้านเมืองของเรานั้นเข้มแข็งขึ้น เพื่อให้ประชาชนของเรานั้นมีที่พึ่งอย่างมีศาสตร์และมีศิลป์ ผมกำลังจะมีสภาที่ปรึกษา ที่เป็น Dual Track ผมมีอยู่แล้วที่เป็นสภาของ ผมคือ สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า สมาคมธนาคาร อันนี้เป็น Track บน แต่ Track ล่างยังไม่มี Track ล่าง ที่เร็ว เรียกว่า Grass Root Economy ผมจะตั้งบรรดาสภาที่ปรึกษาสภาผู้นำชุมชน ซึ่งจะเป็นที่ปรึกษาให้นายกฯ เพื่อจะได้รู้ปัญหารากแท้ของชาวบ้าน ของสังคมจริง ๆ และแนวคิดของเขา สภานี้จะนำไปสู่จังหวัดเพื่อมีสภาผู้นำชุมชมประจำจังหวัด เพื่อเป็นที่ปรึกษาให้ผู้ว่า CEO เพราะไม่อย่างนั้น ผู้ว่า CEO ก็มาจากที่อื่น ไม่เข้าใจพื้นที่ ไม่เข้าใจท้องถิ่น จะได้มีความเข้าใจมากขึ้น นอกเหนือจากการที่มีระบบการกระจายอำนาจ ก็ว่ากันไป อันนี้ฝากเป็นข้อมูลประกอบ เพราะหลายท่านจะต้องคิดกันต่อ จะต้องมีการพูดกัน คิดกันต่อในบ่ายนี้ วันนี้ใช้เวลาพอดี ขอขอบคุณอีกครั้ง โชคดี สวัสดีครับ

………………………………………………

ข้อมูลจาก สถาบันคลังสมองของชาติ





โดย: ปาฐกถาพิเศษของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรื่อง “คลังสมองกับการพัฒนาประเทศทางด้านสังคม” (moonfleet ) วันที่: 11 มีนาคม 2551 เวลา:15:53:31 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.