" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
 
มีนาคม 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
4 มีนาคม 2551
 
All Blogs
 
0015. THE THIRD WAVE : 1ใน 109 หนังสือควรอ่าน จาก นายกฯ ทักษิณ ชินวัตร





เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2544 นายกรัฐมนตรี กล่าวในโอกาสเปิดประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการศึกษา ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล มีข้อความตอนหนึ่งว่า....

...."ผมขอเอาหนังสือเก่าๆ ที่คนไทยรู้จักกันดีมาเล่าให้ฟัง เรื่องของ อัลวิน ทอฟฟ์เลอร์ ซึ่งเมื่อวานนี้ผมได้เล่าให้กับทางฝ่ายเศรษฐกิจ อันวิน ทอฟฟ์เลอร์ พูดใน The Third Wave สิ่งหนึ่งที่คนไม่ได้พูดถึงเขาในข้อนี้ ใน The Third Wave เขาบอกว่า ในยุคสังคมข่าวสารเป็นยุคที่คนเริ่มเรียนรู้ว่า อดีตในยุคที่หนึ่งมีของดีอะไร ยุคที่สองได้ทำลายสิ่งดีๆเหล่านั้นไป มีอะไรบ้าง และ ยุคที่สาม ก็โหยหาสิ่งดีๆในยุคที่หนึ่ง แล้ว Restore หรือ ว่าฟื้นสิ่งที่เสียหายไปจากยุคที่สองให้ได้

"ยุคที่หนึ่ง มีสิ่งดีๆ คือ วัฒนธรรม ศิลปะ ขนบธรรมเนียม ประเพณี อันดีงาม
ยุคที่สอง เป็นยุคที่เราเรียกว่า การประยุกต์อุตสาหกรรมที่มีการเร่งการผลิต ใครผลิตมากที่สุดคนนั้นได้เปรียบ การผลิตในยุคนี้จึงเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีหมายหมด
พอยุคที่สาม คนหาเงินเก่งขึ้น คนที่หาเงินด้วยสมองจะหาเงินเก่งขึ้น ฉะนั้น คนเหล่านี้จะเริ่มสะสมสิ่งที่เป็นศิลปะในอดีต และ พยายามจะเรียกร้องให้มีการรักษา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีดีๆ ในอดีต ขณะเดียวกัน ก็ พายามส่งเสริมให้มีการวิจัยพัฒนาหาพลังงานทดแทน รักษาสิ่งแวดล้อม ทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อมที่เรามีอยู่ให้หมดไป สูญหายต่อไปอีก นี่คือ สิ่งที่นอกเหนือจากการทำมาหากิน ด้วยระบบ Information Technology แล้วก็มีสองสิ่งนี้ที่เราไม่ค่อยพูดกันถึงตรงนี้"



เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2546 ในการประชุมคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีได้ยกตัวอย่าง คำทำนายของ นาย อัลวิน ทอฟฟ์เลอร์ ในหนังสือเรื่อง The Third Wave อีกครั้ง เป็นการทำนาย (Predict) ว่าในอดีตนั้นเป็นอย่างไร
ยุคที่ 1 เป็นสังคมเกษตรกร
ยุคที่ 2 เป็นการทำลาย การสูญเสียของโลก สิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และ คุณค่าของมนุษย์ถูกทำลายไป
ยุคที่ 3 จะเป็นยุคที่เรียกร้องสิ่งดีงามจาก ยุคที่ 2 กลับคืนมา เป็นยุค High-Technology มีการปรับปรุงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ เรื่อง Food Safety จะส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของประชาชนเพราะฉะนั้น นายกรัฐมนตรีจึงเน้นความสำคัญของ Food Safety เป็นอย่างมาก



เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2546 นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงหนังสือเล่มนี้อีก ในการปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "แนวนโยบายของรัฐบาลในการปฏิรูปการศึกษา เพื่อพัฒนาคนไทยให้เข้มแข็ง" ณ ลานคณะสังคมศาสตร์ ระหว่างอาคาร 1 - 2 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน โดยมีข้อความว่า...

...."จะต้องเพิ่มศักยภาพในการพัฒนา Biotect และ ICT จะต้องสร้างมิติใหม่ มุมมองใหม่ร่วมกันของคนทั้งชาติ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ให้ไปอ่านหนึงสือของ อัลวิน ทอฟฟ์เลอร์ ที่บรรยายไว้ว่า ในยุคที่ 3 ของมนุษย์จะเป็นยุคที่หลีกเลี่ยง Dark Side ของยุคที่ 2 แล้วจะมองหา Bright Side ของยุคที่ 1 นำมาผสมผสานกันเป็นจุดกำเนิดของยุคที่ 3 โดยที่มนุษย์ยุคที่ 3 จะแสวงหาสิ่งดีงามจากยุคที่ 1 ซึ่งเป็นยุคเกษตรกรรม มีศิลปะ วัฒนธรรมอยู่อย่างสมบูรณ์ จะมองหาผลผลิตที่เกี่ยวกับสุขภาพเป็นหลัก เช่น สมุนไพร ศิลปวัฒนธรรมของยุคที่ 1 หลีกเลี่ยง Dark Side ของยุคที่ 2 ซึ่งเป็นยุคที่ทำลายสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ประเทศไทยยังโชดคีที่ยังมีจุดแข็งอยู่ในด้านนี้ มีฐานอุดมการณ์ ความรักชาติ ศิลปวัฒนธรรมดีกว่าประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศ น่าจะพัฒนาให้เกิดศักยภาพต่อไปในอนาคตได้ สามารถพัฒนาให้เกิดศักยภาพทางด้านการแข่งขัน


THE THIRD WAVE

ผู้แต่ง/แปล : TOFFLER, A.
ISBN : 0553246984
Barcode : 9780553246988
ปีพิมพ์ : 1 / 1990
ขนาด (w x h) : 105 x 175 mm.
ปก/จำนวนหน้า : ปกอ่อน / 537 หน้า 0
ราคาปกติ : 265.00 บาท
ราคาพิเศษ : 239.00 บาท (ลดถึง 10 %) เฉพาะสั่งซื้อทางเว็บไซต์เท่านั้น



Create Date : 04 มีนาคม 2551
Last Update : 4 มีนาคม 2551 16:43:32 น. 2 comments
Counter : 3133 Pageviews.

 
Resource://lab.tosdn.com/?p=40

คิดตามหนังสือเก่า “ทฤษฎีคลื่นลูกที่สาม” ของอัลวิน ทอฟเลอร์”

ผมเคยนั่งฟัง CEO ของผู้ให้บริการโทรคมนาคมของประเทศนิวซีแลนด์สามราย บรรยายวิสัยทัศน์และ Business Model ของธุรกิจเขา ทั้ง บริษัท ฟาร์ม ไซด์ ผู้ให้บริการโทรคมนาคม ความเร็วสูงทั้ง ADSL และ IP star โดยเจาะกลุ่มลูกค้า ชาวไร่ อีกทั้ง CEO บริษัท Bay City ผู้จำหน่าย Solution สำหรับพื้นที่ทุรกันดาร ทั้ง Hard Ware และ Software เป็นผู้เชี่ยวชาญในการหา Solutions สำหรับ Farm และ CEO บริษัท ICONZ ผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต (ISP)



นิวซีแลนด์นั้นเป็นหนึ่งในประเทศที่น่าอยู่ที่สุดในโลกมีประชากรประม าณ 4 ล้านคน มีแกะประมาณ 40 ล้านตัว และประชาชนกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ของประเทศเข้าถึงบริการ Broadband หรือเครือข่ายโทรคมนาคมความเร็วสูง!

นิวซีแลนด์นั้นผมถือว่าเป็นประเทศ เกษตรกรรม แต่เป็นประเทศเกษตรกรรมที่ชาวไร่ชาวนาของประเทศค่อนข้างมีฐานะที่ดี การที่เกษตรกรจะมีฐานะที่ดี ต้องมีผลิตผลที่ดีมาก อันส่งผลให้เศรษฐกิจของประชาติดีตามไปด้วย (High Productivity) ผู้บริหารบริษัทโทรคมนาคมของ นิวซีแลนด์ ทั้งสามค่ายนั้นได้ให้ข้อสรุปเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า “Productivity = Broadband” ซึ่งได้อธิบายว่า ผลผลิตทางเกษตรกรรมของเกษตรกรบ้านเขาจะมากขึ้น เมื่อชาวไร่ชาวนาเข้าถึงบริการเครือข่ายโทรคมนาคมความเร็วสูง แต่ผมสรุปเองในใจให้โลกสวยงามมากขึ้นเป็น “More Productivities = More Broadband Access”

เป็นการบรรยายที่ยอดเยี่ยมที่ผมประทับใจมาก ผมเองก็เคยแอบคิดในใจมานานแล้วว่า ประเทศใดจะพัฒนาให้เจริญรุ่งเรื่องได้ จะต้องมีโครงข่ายโทรคมนาคมที่ความเร็วสูงและราคาถูก แต่ผมไม่สามารถเชื่อมโยงภาพลางๆ ในใจนั้นให้เป็นรูปธรรมชัดเจนได้ว่า สิ่งเหล่านั้นสัมพันธ์กันอย่างไร แต่ภาพในสมองของผมนั้นถูกตัดสัญญาณไปนึกถึงใครคนหนึ่งที่ผมเคยอ่านหนังสือขอ งเขาและหลายคนได้พูดถึงเขาไปทั่วโลกในกลุ่มคนชั้นนำโทรคมนาคมยุคปัจจุบัน

เรื่องมันมีอยู่ว่าใครคนหนึ่งแอบไปเห็นความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจข องชาติใดนั้นมีความสัมพันธ์กับเครือข่ายโทรคมนาคมที่มีประสิทธิภาพสูง ผมขอเล่าให้ฟังดังนี้ครับ

Alvin Toffler ผู้เขียนหนังสือ Third wave อันลือลั่น ได้ให้แนวความคิดเกี่ยวกับการปฏิวัติโลก ที่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของมนุษยชาติไว้ โดยเปรียบเป็นทฤษฎีคลื่นสามลูก

คลื่นลูกที่หนึ่ง (First Wave) เป็นช่วงเวลาที่สังคมมนุษย์ปฏิวัติระบบ เศรษฐกิจด้วยการรู้จักการทำ “เกษตรกรรม” ซึ่งการที่มนุษย์รู้จักการทำ กสิกรรม ปลูกพืชเป็นไร่ เลี้ยงสัตว์เป็นฟาร์ม สิ่งที่ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ ของประเทศนั้นๆ จะขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่แปลงเกษตร การครอบครองพื้นที่ การทำฟาร์ม ปริมาณผลผลิตที่ได้จากการปศุสัตว์และการเกษตรกรรม สิ่งเหล่านี้ ทำให้ระบบเศรษฐกิจของชาตินั้นๆ เติบโตแข็งแกร่ง

คลื่นลูกที่สอง (Second Wave) สังคมมนุษย์ปฏิวัติระบบเศรษฐกิจด้วย “อุตสาหกรรม” ในช่วงเวลาปี 1650-1750 มนุษย์รู้จักการใช้เครื่องมือ (Machines) การทำสายการผลิต (Production line) สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพเหมือนกันจำนวนมากๆ ได้และมีคุณภาพเหมือนกัน (Quality control) และสามารถผลิตจำหน่ายจำนวนมากๆ ได้ (Mass Production) สิ่งที่ขับเคลื่อนการเติบโต ของเศรษฐกิจประเทศใดๆ นั้น ขึ้นอยู่กับการทำ Mass Production ควบคุมมาตรฐานในการผลิตสินค้าจำนวนมากๆ ได้และผลิตจำนวนมากได้

คลื่นลูกที่สาม (Third Wave) เป็นการเปลี่ยนแปลงของสังคมมนุษย์ด้วยการปฏิวัติ ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งได้เริ่มต้นราวๆ ปี 1955 ด้วย เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายโทรคมนาคม จนกลายเป็นระบบเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ดังในโลกยุคปัจจุบันที่เรียกกันทั่วไปว่า เป็นคลื่นลูกที่สาม (Third Wave) หรือการปฏิวัติ “การสื่อสารโทรคมนาคม” หรือยุคโลกาภิวัฒน์ สิ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศใด ให้มีความมั่งคั่งเจริญรุ่งเรืองจะขึ้นอยู่กับการมี “เครือข่าย ที่มีประสิทธิภาพสูง” (High Performance Network) เครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงจะสร้างให้เกิดความเจริญก้าวหน้าของประเทศในทุ กด้าน

ซึ่งในแนวคิดคำว่า “Network” อันลึกซึ้งนี้ Toffler ยังได้ขยายความหมายถึงทั้งเครือข่ายแท้และเครือข่ายเทียม อาทิเช่น เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต เครือข่ายดาวเทียม เครือข่ายใยแก้วนำแสง ถนน สายการบิน รางรถไฟ เป็นต้น ถือเป็นเครือข่ายแท้ในการสร้างความเจริญให้บ้านเมือง เครือข่ายเทียม อาทิเช่น เครือข่ายลูกค้า เครือข่ายการค้าต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งเครือข่ายแท้จะช่วยสนับสนุนระบบเศรษฐกิจและส่งเสริมให้ครือข่ายเทียมเติ บโตขึ้น ตลอดจนสนับสนุนงานความมั่นคงของชาติให้มีศักยภาพสูงขึ้นโดยรวม กล่าวสรุปคือ “เครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูง” (High Performance Network) จะส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจและประเทศนั้นเจริญในทุกด้าน

Network ที่เป็น ถนน หรือระบบขนส่ง โดยเฉพาะการเดินทางหรือขนส่งสินค้ายังพอทำให้ผมเข้าใจได้ง่ายอยู่ว่าทำให้บ้ านเมืองเจริญได้อย่างไร หากการพัฒนาเครือข่ายโทรคมนาคมในประเทศให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดเป็นการพัฒนาความแข็งแกร่งของระบบเศรษฐกิจของประเทศได้จริงๆ หรือ แล้วจะทำให้บ้านเมืองเจริญได้ในทุกด้านอย่างไรผมก็ไม่ใช่คนที่สามารถจะเข้าใ จอะไรง่ายๆ ได้ด้วยจึงต้องค้นคว้าเพิ่มเติมต่อไป จะว่าไปแล้วการมีโครงข่ายโทรคมนาคมที่มีประสิทธิภาพสูงโดยเฉพาะบริการ อินเทอร์เน็ต ในปัจจุบันนี้ทำให้คนไม่ค่อยฉลาดอย่างผมสามารถค้นคว้าข้อมูลทั้งโลกได้เพียง ปลายนิ้วที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค เท่านั้นเอง ไม่ต้องเสียเวลาไปห้องสมุดไปรบกวนสอบถามคนที่เก่งๆ

คนไทยทั่วไปจะทราบได้อย่างไร ถึงความเชื่อมโยงระหว่างการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและความเจริญของชาติ กับการมีเครือข่ายโทรคมนาคมที่มีประสิทธิภาพสูงสัมพันธ์กันอย่างไร ทั้งๆที่ บ้านเราเป็นประเทศซื้อสินค้าเทคโนโลยีด้วยแล้ว จะสวนทางกับหลักการอยู่อย่างพอเพียงหรือไม่นะ หรือว่าทุกวันนี้โครงข่ายโทรคมนาคมของประเทศยังไม่ถึงขั้นคำว่าพอเพียง ไม่ใช่ว่ามีเกินความจำเป็น แต่เรา “ขาด” ขาดความพอดีที่พอเพียงจะทำให้บ้านเมืองเจริญขึ้นได้มากกว่านี้

คนไทยมีนิสัยมัธยัสถ์ที่ดี กลัวการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยและแน่นอนอาจเป็นกังวลกับการใช้จ่ายของประเทศในการม ีใช้เครือข่ายโทรคมนาคมที่มีประสิทธิภาพสูง แต่หากมองให้แคบลงจากระดับประเทศมาเหลือแค่มองตัวตนเราแล้ว อย่างเช่น การที่ผมลงทุนผ่อน โน้ตบุ๊ค ถือเป็นการมีเครื่องมืออันสำคัญในการเสริมประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น เพราะที่ทำงานผมไม่เคยมีคอมพิวเตอร์ให้ผมเลย จนต้องผ่อนซื้อเองไม่งั้นไม่ได้ทำงาน จึงนับได้ว่านอกจากเป็นเครื่องมือจำเป็นอันสำคัญทำให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพ ได้มากขึ้น และสามารถเขียนบทความให้ผู้อ่านเพลิดเพลินได้ด้วย และช่วยเพิ่มศักยภาพในการค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมพัฒนาตนเองอีกด้วย นอกจากทำให้สามารถพอเข้าใจเรื่องที่ผู้ชำนาญการคุยกันพอรู้เรื่องบ้างได้แล้ ว ยังส่งผลให้การมุงานหนักเงินเดือนผมก็เพิ่มขึ้นและมีรายได้จากงานพิเศษมากมา ย รวมถึงได้เป็นที่ปรึกษาหลายที่อันเป็นผลจากการเขียนบทความที่นี่เช่นกัน จึงสามารถมีรายได้ผ่อนโทรศัพท์มือถือที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเพื่อต่อยอดเพิ ่มศักยภาพตัวเองได้อีก การพัฒนาทรัพยากรในการเรียนรู้ของผมก็สะดวกขึ้นมากอีกเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันมือถือผมมี Windows explorer ด้วยแล้ว ทำให้ผมสามารถค้นหาข้อมูลได้ตลอดเวลาเพราะบ้านเรามีบริการ GPRS/EDGE ราคาถูกให้บริการอยู่แล้ว อะไรๆ ก็จะดีขึ้นตามมา แม้แต่งานอดิเรกเขียนหนังสือและค้นคว้าก็กระทำได้ทุกที่ทุกเวลา

มองในมุมกลับหากผมไม่มีเครื่องมือดังกล่าว อาจจะทำงานเช้าชามเย็นชาม กี่ปีผ่านไปก็มีความรู้เท่าเดิม รอต่อคิวใช้ คอมพิวเตอร์ แต่การมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงดังกล่าว นอกจากทำงานได้มีประสิทธิภาพแล้ว ผมอาจจะยังหาช่องทางพัฒนาตนเองจนจบปริญญาเอกก็เป็นได้

เมื่อมองกลับมาในระดับประเทศ เทคโนโลยีหรือเครือข่ายโทรคมนาคมที่มีประสิทธิภาพสูง ก็เป็นเพียงเครื่องมืออันหนึ่งที่จะเพิ่มศักยภาพให้ประเทศเราเช่นกัน หากช่างน้ำหนักแล้วพบว่าคุ้มค่าแก่การลงทุน

แต่การมีโครงข่ายโทรคมนาคมที่มีประสิทธิภาพสูง อาจจะทำให้หมายถึงต้องเสียเงินของชาติจำนวนมหาศาลออกนอกประเทศ จะคุ้มค่ากับสิ่งที่ลงทุนหรือไม่ จะทำให้ประเทศไทยเดินหน้าได้ถูกต้องชัดเจนแท้จริงอย่างพอเพียงหรือไม่? ต้องให้ผู้รู้ช่วยแนะนำ คนไทยและคนโทรคมนาคมไทยต้องเริ่มออกเดินทางสู่เส้นทางความคิดนั้น ออกจากมุมที่วงการโทรคมนาคมขีดเส้นแบ่งเราไว้ว่า คุณคือผู้ชำนาญสาขานั้น คุณคือผู้ชำนาญสาขานี้ การโทรคมนาคม คือ สหวิทยาการ การโทรคมนาคมคือเรื่องของคนไทยทุกคน และความคิดเห็นต่างๆ จะเกิดการแลกเปลี่ยนจนตกผลึกทางความคิด เราจะเห็นความจริงปรากฏขึ้นมา พร้อมกับ เส้นทางข้างหน้าที่จะเดินไปอย่างชัดเจน
โดย ปรเมศวร์ กุมารบุญ



โดย: คิดตามหนังสือเก่า “ทฤษฎีคลื่นลูกที่สาม” ของอัลวิน ทอฟเลอร์” (moonfleet ) วันที่: 4 มีนาคม 2551 เวลา:16:38:51 น.  

 
Resource://orawankung.spaces.live.com/blog/cns!E256F92AF59E0F40!116.entry

คลื่นลูกที่ 3 The Third Wave
คลื่นลูกที่หนึ่ง

ครอบครัวของยุคคลื่นลูกที่หนึ่งเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ประกอบไปด้วย พ่อ แม่ลูก และญาติพี่น้อง

เมื่อก่อนนั้นมนุษย์จะเก็บผลไม้ หาของป่าและล่าสัตว์เป็นการดำรงชีวิตแบบกินพื้นที่กว้างคือเป็นการดำรงชีพโดยการเคลื่อนย้ายที่อยู่จะครอบคลุมพื้นที่กว้างต่อมาการเกษตรได้เข้ามาแทนที่การล่าสัตว์การเพาะปลูกและอยู่ประจำที่เข้าแทนที่การเคลื่อนย้ายที่อยู่ตลอดชาวนากับครอบครัวไม่จำเป็นต้องอพยพไปที่อื่นอีก ผลผลิตของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นสินค้า อาหาร หรือบริการ จะถูกบริโภคโดยผู้ผลิตนั้นเองหรือไม่ก็โดยครอบครัวของเขาหรือไม่ก็โดยพวกเจ้าขุนมูลนายกลุ่มน้อยซึ่งมายื้อแย่งผลผลิตจากผู้ยากไร้เหล่านั้นไปในยุคคลื่นลูกที่หนึ่งการผลิตเพียงพอกับการบริโภคหรือความจำเป็นของพวกเขา

ในยุคแรกของคลื่นลูกที่หนึ่ง การแผ่ขยายสังคมเกษตรกรรมไปทั่วโลกทำให้เกิดการสร้างถิ่นฐานซึ่งมนุษย์เกิด – ทำงาน - ตาย อยู่ในวงสถานที่อันแคบ มนุษย์มีความคุ้นเคยอยู่แต่เพียงในหมู่บ้านของตนบางทีก็ไม่มีการติดต่อกับหมู่บ้านอื่นหรือถ้ามีการติดต่อก็เดินทางด้วยเท้าหรือไม่ก็ใช้สัตว์เป็นพาหนะในการเดินทาง ชนบทในอดีตเต็มไปด้วยความอบอุ่น เสรีภาพเงียบสงบ มีคุณค่าทางจิตใจแต่เป็นสังคมที่อยู่กันอย่างกระจัดกระจาย เช่น คนจนอาศัยอยู่กับญาติ อาชญากรถูกเฆี่ยนตีแล้วเนรเทศจากหมู่บ้านหนึ่งไปสู่ที่อื่น คนวิกลทางจิตถูกกักขังอยู่ในคุก

ชีวิตในยุคคลื่นลูกที่หนึ่งไม่มีไฟฟ้า เทคโนโลยีทันสมัย ซึ่งมีเพียงแต่พลังงานที่ได้จากมนุษย์และสัตว์ ลม น้ำ ฟืน กังหันลม สมัยก่อนไม่มีอุปกรณ์ใช้บอกเวลา เมื่อมนุษย์มีการทำการเกษตรเป็นหลัก มนุษย์ต้องการรู้ว่าเมื่อใดจะลงมือปลูกเมื่อใดจะลงมือเก็บเกี่ยว ช่วงเวลาที่พวกเขารู้จักจึงเป็นระยะเวลาที่ค่อนข้างยาวไม่จำเป็นต้องแบ่งเวลาให้สั้นลงเป็นชั่วโมงเพราะเวลาไม่ใช่สิ่งจำเป็นในสมัยนั้น เวลาในสมัยนั้นเคลื่อนไปพร้อมเพรียงกับธรรมชาตินักรบรวมพลังกันโจมตีข้าศึก ชาวประมงช่วยกันลากแหอวน คนงานเปล่งเสียงให้จังหวะการทำงาน เพื่อให้จังหวะพร้อมกัน

ความรักหรือการแต่งงานในยุคคลื่นลูกที่หนึ่งคือการหาคู่ครองที่แข็งแรงและขยันขันแข็ง เพื่อที่จะใช้ชีวิตร่วมกันและทำงานหาเลี้ยงครอบครัวร่วมกันได้ ความทรงจำของสังคมในยุคคลื่นลูกที่หนึ่งแบ่งสองเป็น 2 ประเภท คือความทรงจำส่วนตัว และความทรงจำของสังคม - ความทรงจำส่วนตัวเป็นความทรงจำเฉพาะตน ไม่ต้องแบ่งปันให้ใครและตายไปพร้อมกับเรา - ความทรงจำของสังคม ทุกคนมีส่วนร่วมและความทรงจำของสังคมนี้ไม่ตาย มนุษย์จะเก็บความทรงจำเป็น 2 ประเภทนี้ไว้ในสมองของคน ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้รู้ หัวหน้าเผ่า จะเก็บไว้ในรูปแบบของเรื่องเล่า ตำนาน ประวัติศาสตร์ ที่ถ่ายทอดปากต่อปาก ถ่ายทอดออกมาในรูปนิทาน เพลง บทกลอนหรือบทสวด ความทรงจำที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิต เช่น การก่อไฟ การวางกับดักสัตว์ การผูกแพ การเหลาไม้ ความทรงจำของมนุษย์มีจำกัด ถึงเรื่องจะน่าจดจำสักเท่าไรมนุษย์ก็สามารถจดจำไว้ได้ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะไม่มีเครื่องมือในการช่วยจดจำ

คลื่นลูกที่สอง

ครอบครัวในยุคคลื่นลูกที่ 2 ประกอบไปด้วย พ่อ แม่ ลูก ไม่มีญาติพี่น้อง ความหมายของคำว่ารักของบุคคลในคลื่นลูกที่ 2 ความรักเป็นเรื่องโรแมนติค ความรู้สึกทางจิตใจมีบทบาทสำคัญ การแต่งงานคือการมีเพื่อนชีวิต มีความสัมพันธ์ทางเพศ ความอบอุ่น และแรงสนับสนุนจากกันและกัน

ยุคคลื่นลูกที่สอง มีการรวมตัวเป็นหลักเป็นแหล่ง เช่นคนวิกลจริตรวมตัวกันอยู่ในโรงพยาบาลบ้า เด็กๆรวมกันอยู่ในโรงเรียน คนงานรวมกันอยู่ที่โรงงานซึ่งรวมตัวกันเป็นกระจุกอยู่ภายใต้หลังคาเดียวกันและมีการผลิตสินค้าและอาหารมีการสร้างบริการเพื่อการขายหรือการแลกเปลี่ยน สินค้าไม่ได้ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อสนองความต้องการส่วนตัวของคนอีกต่อไปทุกคนซื้อสินค้าอาหารและบริการซึ่งผลิตโดยผู้อื่น วัตถุประสงค์ของการผลิตเปลี่ยนจากเพื่อใช้เป็นเพื่อแลกเปลี่ยนโดยมีตลาดกลไก ประชาชนเริ่มเข้าสู่ระบบการเงินตราเพราะในยุคคลื่นลูกที่หนึ่งเราผลิตเพื่อบริโภคเอง เช่น เราปลูกผัก ปลูกข้าว พอเลี้ยงชีพ แต่ถ้าพวกผักข้าว มันมากเกินไปกินไม่หมดก็จะเกิดส่วนเกินที่ภาษาอังกฤษที่เรียกว่า SURPRUS เราก็เลยนำส่วนเกินตรงนี้มาแลกกัน เช่น เพื่อนๆปลูกฟังทองและพวกเราปลูกมะม่วงแล้วเพื่อนๆ อยากกินมะม่วง เพื่อนก็เอาฟักทอง1ลูกแลกกับมะม่วง1ลูก และถ้าเพื่อนๆ ปลูกฟังทองแล้วพวกเราทำพิซซ่าได้คนเดียวในประเทศไทยแล้วเพื่อนๆ อยากกินพิซซ่าขึ้นมาเพื่อนจะเอาฟังทอง 1 ลูกไปแลกกับพิซซ่า แต่พวกเราไม่ยอมกว่าจะคิดสูตรพิซซ่าได้มันยาก พวกเราก็เลยบอกว่าให้เอาฟังทองมา 10,000 ลูกถึงจะให้แลกกับพิซซ่า 1 ถาด เพื่อนๆ ลองคิดดูว่าจะยุ่งยากขนาดไหนจะหาที่ไหนมา 10,000 ลูกจะบรรทุกมายังไงมันเลยจำเป็นต้องมีสื่อในการแลกเปลี่ยนสื่อนั้นก็คือ เงินนั่นเอง และในสมัยนี้มีโรงงานและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรเลข พิมพ์ดีด ตู้เย็น หนังสือพิมพ์รถไฟใต้ดิน แทรกเตอร์ไถนา ไปรษณีย์ วิทยุ ภาพยนตร์ คลื่นลูกที่สองผ่าชีวิตมนุษย์ออกเป็น 2 ซีก คือ ผู้ผลิต-ผู้บริโภค การแบ่งแยกระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค ทำให้วิธีการที่คนใช้เวลาในแต่ละวันเปลี่ยนแปลงไป คลื่นลูกที่สอง เวลา = เงิน เครื่องจักรแพงๆ ไม่สามารถตั้งอยู่เฉยๆ โดยไม่ทำงาน มันทำงานให้จังหวะมันเอง เสียงร้องที่เคยได้ยินจากคนงานในคลื่นลูกที่หนึ่งหายไป จังหวะการเต้นของหัวใจมนุษย์เปลี่ยนเป็นการเต้นของเครื่องจักร ความตรงต่อเวลาจึงจำเป็นมากในโลกอุตสาหกรรมยิ่งกว่าโลกเกษตรกรรม นาฬิกา คือความสำคัญในชีวิตประจำวัน คลื่นลูกที่สองทำให้ชีวิตอันผูกพันกันของคนยุคก่อนต้องถูกกักขังอยู่ในระบบตัวโน้ตของลัทธิอุตสาหกรรม คนในทุกประเทศตื่นเวลาเดียวกัน กินเวลาเดียว ไปทำงาน กลับบ้าน นอนหลับ ในเวลาเดียวกัน ยุคคลื่นลูกที่สองวางมาตรฐานให้กับสินค้าทุกชนิด แม้การงานทั้งมวลก็ต้องเข้าไปสู่ระบบมาตรฐาน เช่น จำนวนเวลาทำงาน เงินเดือน แม้แต่ในโรงเรียนก็วางมาตรฐานการสอบจัดทำข้อสอบที่ใช้มาตรฐานอันเดียวกันเป็นตัววัด แม้ระบบการชั่ว ตวง วัด ยังถูกเปลี่ยนให้เหมือนกันทั่วโลกคนที่ใช้ชีวิตอยู่ภายใต้ระบบอุตสาหกรรมนั้นล้วนกลายเป็นทาสของกาลเวลาทุกคนคอยชำเลืองดูนาฬิกาอย่างกระสับกระส่ายอยู่ตลอดเวลา สังคมอุตสาหกรรมต้องการนับเวลาที่กระชับชัดเป็นชั่วโมง นาที กระทั่งวินาที และจะต้องทำให้หน่วยนับเปล่านี้เป็นมาตรฐาน

สิ่งแวดล้อมที่คนในยุคสมัยอุตสาหกรรมดำรงชีพอยู่นี้เป็นสิ่งแวดล้อมที่บรรพบุรุษของพวกเขาไม่อาจเข้าใจได้ เพราะแม้แต่สัญญาณรับความรู้สึกที่พื้นฐานที่สุดก็ยังต่างอารยธรรมคลื่นลูกที่สองเอาเสียงหวูดของโรงงานเข้าแทนที่เสียงไก่ขัน เสียงยางล้อรถที่บดถนนแทนเสียงกรีดร้องของจักจั่น ทำให้กลางคืนสว่างเหมือนกลางวัน นำภาพที่มนุษย์ในอดีตไม่เคยพบเห็นมาก่อน เช่น ภาพถ่ายของโลกอวกาศ ภาพจินตนาการที่เหนือความจริงพลังงานในคลื่นลูกที่สองได้จาก ก๊าซ น้ำมัน ถ่านหิน รถไฟ เครื่องทอผ้า เหล็กกล้า รถยนต์ ยาง คือ อุตสาหกรรมที่เป็นตัวแทนของคลื่นลูกที่สอง อุตสาหกรรมเหล่านี้ใช้หลักทฤษฎีเครื่องกลไฟฟ้าอย่างง่ายๆ ใช้พลังงานสูงแต่ก่อให้เกิดของเสียและมลภาวะมากมายลักษณะพิเศษของมันก็คือ เวลาการผลิตยาว มาตรฐานเทคโนโลยีต่ำ ลักษณะงานจำเจ คลื่นลูกที่สองได้ทำลายอุปสรรคในการจำของคลื่นลูกที่ 1 ไปแล้วโดยการรณรงค์ให้ประชากรโลกรู้หนังสือสร้างหอสมุดและพิพิธภัณฑ์ ได้มีการเก็บข้อมูลทางธุรกิจให้เป็นระบบ สรุปคือ มีการย้ายความทรงจำจากคลังสมองมนุษย์มาไว้ข้างนอกโดยการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เก็บความทรงจำโดยไม่ต้องจำกัดปริมาณเหมือนแต่ก่อน

ยุคคลื่นที่ 2 เราเก็บความทรงจำของเราไว้ในกระดาษ ภาพถ่าย และฟิล์ม สิ่งเปล่านี้ไม่มีชีวิต ไม่เคลื่อนไหว เราเก็บไว้ในรูปของสัญลักษณ์ ถึงแม้เราจะเก็บความทรงจำไว้ได้ในปริมาณที่ไม่จำกัดแต่เราก็เก็บเอาไว้ในรูปของการแช่เข็ง ในยุคคลื่นลูกที่สองผู้คนเคลื่อนย้ายเข้าสู่ตัวเมือง การเคลื่อนย้ายของประชากรเป็นไปอย่างอลหม่าน เมืองกลายเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งทุกอย่างมิใช่หมู่บ้านอีกต่อไป วัฒนธรรมแบบกินพื้นที่กว้างปรากฏขึ้นอีกครั้งหนึ่งแต่ครั้งนี้มีขอบเขตครอบคลุมไปทั่วโลกทีเดียว สินค้า ประชากร และความคิดต่างๆ ท่องออกไปในดินแดนนับพันไมล์ ผู้คนอพยพย้ายถิ่นหางานทำกันขนานใหญ่การผลิตที่เคยทำกันในทุ่งกว้างกลับมารวมศูนย์อยู่ในตัวเมือง คนจำนวนมากถูกบีบให้มาแออัดกันอยู่ในที่ศูนย์กลาง หมู่บ้านชนบทแบบเก่าเริ่มหดหายไป ศูนย์กลางอุตสาหกรรมพร้อมหมอกควันและปล่องไฟสะพรั่งขึ้นมาแทน โรงงานในยุคของคลื่นลูกที่สอง มุ่งผลิตสินค้าในปริมาณมาก สิ้นค้าที่ผลิตครั้งละหลายล้านชิ้น สินค้าเหล่านี้มักมีลักษณะเหมือนกันทุกชิ้น เรียกได้ว่าเป็นสินค้ามาตรฐาน ใช้เครื่องจักรผลิตและผลิตในปริมาณมาก ผลิตสำหรับทุกคน และเสื้อผ้าทุกตัวมีรูปลักษณ์ เหมือนกันหมด วิธีการผลิตให้ได้ปริมาณมากและออกมาในแบบเดียวกันนั้น เขาใช้ผ้าซ้อนทับกันหลายๆ ชิ้น วาดแบบบนผ้าชิ้นบนสุดและใช้ตัดด้วยกรรไกร หรือมีดไฟฟ้า เพราะฉะนั้นจึงออกมาเหมือนกันทุกตัว ไม่ว่าจะเป็นขนาด สี แบบและอื่นๆ งานที่สำคัญในสำนักงาน คือการโต้ตอบจดหมาย ในสมัยคลื่นลูกที่สอง เมื่อผู้บริหารต้องการส่งจดหมายหรือเขียนบันทึก สิ่งแรกที่เขาต้องทำคือ เรียกเลขานุการ เวลาจะเข้ามาจดโน๊ตตามคำบอกลงสมุดบันทึกหรือกระดาษร่าง จากนั้นจึงนำไปเขียนใหม่ ให้สละสลวยถูกต้อง อาจจะต้องพิมพ์จดหมายฉบับเดียวนี้อีก 2 หรือ 3 ครั้ง จนกว่าจะเป็นที่พอใจเมื่อได้ต้นฉบับจริงออกไปที่ห้องส่งจดหมายหรือที่ไปรษณีย์นี่เป็นเพียงการเขียนจดหมายฉบับเดียว แต่ก็ต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ ถึง 5 ขั้นตอนด้วยกันระบบไปรษณีย์นับเป็นหัวใจของการสื่อสารดำเนินธุรกิจของยุคคลื่นลูกที่สองเมื่อการส่งข่าวสารล่าช้าและมีอุปสรรคบ่อยครั้งจนทำให้เกิดภาวะวิกฤติที่ฝังรากลึกบริษัทต่างๆ ก็พยายามแสวงหาระบบการสื่อสารแบบอื่นที่มีประสิทธิภาพมากกว่ามา

คลื่นลูกที่สาม

ความสัมพันธ์ของคนยุคคลื่นลูกที่สามมีความแน่นแฟ้นมากกว่าในยุคคลื่นลูกที่สองเพราะจะมีการใช้ชีวิตอยู่ในบ้านมากกว่าข้างนอกบ้านความหมายของคำว่ารัก ในคลื่นลูกที่สาม มีนิยามคำว่าความรักหมายถึงความรักผนวก ไม่เพียงแต่ความพอใจผูกพันทางเพศเท่านั้น แต่ยังต้องรวม มันสมอง เข้าไปเป็นปัจจัยสำคัญอีกด้วย จึงต้องเรียกว่า ความรักผนวก คือ ผนวกเอาสติสัมปชัญญะ ความรับผิดชอบ ความมีวินัย และคุณธรรมในการทำงานเข้าไปด้วยเทคโนโลยีในยุคคลื่นลูกที่สามมีความทันสมัย เช่นเมื่อก่อนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในบ้านมีจำนวนน้อยมาก แต่ในปัจจุบันได้ขยายออกไปที่สำนักงาน โรงงานแม้แต่ในห้องนั่งเล่น ในครัว ในห้องทำงาน ของที่บ้านยังต้องมีการใช้คอมพิวเตอร์ในคลื่นลูกที่สาม เป็นธรรมดาไปแล้วในชีวิตประจำวันเปรียบคอมพิวเตอร์เหมือนกันห้องน้ำที่คนในคลื่นลูกที่สามขาดเสียไม่ได้ เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในชีวิตประจำวันที่แต่ละบ้านต้องมีอย่างน้อยหนึ่งเครื่อง คอมพิวเตอร์สามารถช่วยงานในบ้านได้ทุกอย่าง ตั้งแต่การคำนวณภาษีจนถึงตรวจตราการใช้พลังงานในบ้าน เป็นเพื่อนเล่นเกมเก็บตำราอาหาร เตือนเจ้าของเกี่ยวกับการนัดหมายต่างๆ รวมทั้งทำหน้าที่ เครื่องพิมพ์ดีดที่ฉลาดอีกด้วย ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเพียงความสามารถเสี้ยวเล็กๆ ของคอมพิวเตอร์เท่านั้นเองเครื่องเล่นวีดีโอเป็นอุปกรณ์ที่ไม่เพียงสามารถทำให้ดูรายการฟุตบอลที่แข่งกันเมื่อวันจันทร์ในวันหยุดสุดสัปดาห์ได้เท่านั้นยังทำให้สามารถบันทึกภาพยนตร์และ กีฬาบนเทปเพื่อจำหน่าย การบริการข่าวสารผ่านจอโทรทัศน์ไปถึงทุกบ้าน เริ่มเปิดบริการขึ้นแล้วในประเทศอังกฤษ เพียงแต่ติดตั้งอุปกรณ์คลื่นอีกชุดหนึ่ง ผู้ชมก็สามารถกดปุ่มเลือกหาข้อมูลตามต้องการ เช่น ข่าว รายงานอวกาศ การเงินการคลัง การกีฬา เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะเลื่อนขึ้นบนจอภาพ และอีกไม่นานผู้รับก็จะติดตั้งเครื่องถ่ายเอกสารไว้กับโทรทัศน์เพื่อบันทึกข้อมูลที่ต้องการเอาไว้ อุตสาหกรรมแบบที่เกิดขึ้นในยุคคลื่นลูกที่สามมีข้อแตกต่างจากเดิมมากที่สุดอยู่ประการหนึ่ง คือ มันไม่อาศัยเครื่องกลไฟฟ้าเป็นองค์ประกอบหลัก ไม่อาศัยทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ของคลื่นลูกที่สองอีกต่อไป แต่เกิดจากการผสมผสานวิธีการทางวิทยาศาสตร์แขนงเกิดใหม่มากมาย เช่น ศาสตร์เกี่ยวกับแควนตัมอิเล็กทอรนิกส์,ทฤษฎีสารสนเทศ,ชีววิทยาโมเลกุล,สมุทรศาสตร์วิทยา,นิวเคลียร์วิทยา,นิเวศวิทยาและวิทยาศาสตร์อวกาศซึ่งช่วยให้มนุษย์ก้าวล้ำมิติด้านกาลเวลาและสถานที่ของคลื่นลูกที่สองออกไปได้ วิทยาศาสตร์สาขาใหม่เหล่านี้บวกกับความสามารถในการควบคุมของคนเราที่สูงขึ้นทำให้เกิดวิทยาการด้านคอมพิวเตอร์ การจัดการข้อมูลอวกาศ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่สลับซับซ้อน วัตถุกึ่งตัวนำ และกิจการสื่อสารที่ก้าวหน้า เป็นต้นการผลิตสินค้าในคลื่นลูกที่สาม ถ้าจะกล่าวโดยสรุปก็คือ การผสมผสานวิธีการของคลื่นลูกที่หนึ่งและคลื่นลูกที่สองเข้าด้วยกันนั่นเอง คือ การผลิตสินค้าเฉพาะตัวและด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงที่ก้าวหน้าที่สุดนั่นเอง

อุตสาหกรรมคลื่นลูกที่สามจะเติบโตรวดเร็วยิ่งขึ้นท่ามกลางพลังงานวิกฤตเพราะว่าอุตสาหกรรมประเภทนี้ต้องการพลังน้อยมาก ยกตัวอย่างเช่น ระบบโทรทัศน์ของคลื่นลูกที่สองต้องฝังสายเคเบิลทองแดงเครื่องเชื่อมไฟและสวิตซ์เปิดปิดมากมายไว้ใต้ดิน แต่ปัจจุบันเรากำลังจะหันมาใช้ระบบสายใยแก้ว ซึ่งมีขนาดเล็กเท่าเส้นผมในการส่งข่าวสาร ระบบใหม่นี้ประหยัดพลังงานมากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ก็เช่นเดียวกันกำลังอยู่ในระยะพัฒนา ผู้บริโภคต้องเผชิญหน้ากับสินค้าที่ถาดโถมเข้ามาอย่างรวดเร็ว เช่น เครื่องคิดเลขขนาดเล็ก นาฬิกาอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องเล่นวิพีโอเกมส์ เป็นต้น ในเรื่องการเกษตรในไม่ช้าการเกษตรก็จะมีเครื่องวัดภูมิอากาศและสภาพของดินเครื่องเล็กๆ ราคาถูกไว้ใช้ เครื่องวัดหัวใจและความดันขนาดที่พกติดกระเป๋าเสื้อได้ก็จะเกิดขึ้นในวงการแพทย์เช่นกัน

คาดคะเน

แบ่งการคาดคะเนออกเป็น ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง

- ด้านสังคม อนาคตครอบครัวจะมีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นมากขึ้น เพราะคนในอนาคตจะทำงานอยู่ที่บ้าน บ้านจะเป็นเหมือนกระท่อมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆ มากมายรวมอยู่ในนั้นโดยที่คนไม่จำเป็นต้องย่างก้าวออกจากบ้านก็สามารถที่จะทำงานได้แต่โอกาสในการพบปะเห็นหน้าตาเพื่อนฝูงในสังคมจะลดน้อยลงเพราะต่างคนต่างก็จัดเวลาของตนทำให้เวลาไม่ตรงกันคุยกันแต่ในทางอินเตอร์เน็ททำให้ความสัมพันธ์ในสังคมลดลงทำให้คนในอนาคตไม่คอยช่วยเหลือสังคมและอาจเป็นไปได้ว่าคลื่นที่เกิดขึ้นลูกต่อไปนั้นคนในสังคมนั้นไม่รู้จักกันเลยจะรู้จักกันในครอบครัวหรือในวงแคบๆเท่านั้น และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นจนที่คนไม่ต้องทำอะไร เพียงแค่กดรีโมทเท่านั้น เช่นมีเครื่องทำความสะอาดบ้านไฮเทคเพียงแค่กดรีโมทเจ้าเครื่องทำความสะอาดบ้านก็จัดการทำความสะอาดบ้านให้เรียบร้อยแล้ว แต่ข้อเสียของเทคโนโลยีไฮเทคในคลื่นลูกต่อไปนั้นอาจทำให้มนุษย์บนโลกเหลือเพียงแค่หัวสมอง และนิ้วไว้กดรีโมทเท่านั้นและในคลื่นลูกที่สี่นั้นก็อาจเป็นไปได้ว่าผู้ชายอาจจะเป็นพ่อบ้านพ่อเรือนแทนผู้หญิงและผู้หญิงขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศ

- ด้านเศรษฐกิจ ในคลื่นลูกสี่นั้นการบริโภคทางด้านสารสนเทศจะมาขึ้น และมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นและเทคโนโลยีอาจจะก้าวหน้าจนไปถึงมีบริษัทจัดทัวร์อวกาศก็เป็นได้เพราะปัจจุบันยังมีมหาเศรษฐียอมเสียเงินอย่างมหาศาลขึ้นไปเที่ยวอวกาศและถนนที่มีอยู่อาจจะไม่สำคัญอีกต่อไปเพราะอาจจะมีบริษัทจัดทำรถที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ไม่มีล้อขับเคลื่อนบนอวกาศและยังสามารถขับบนฟ้าได้อีกด้วยและในคลื่นลูกที่ 4 นั้นก็จะมีบริษัทที่มีเทคโนโลยีชั้นสูงเกิดขึ้นอีกอย่างมากมาย

- ด้านการเมือง ในคลื่นลูกที่สี่คลื่นลูกต่อไปนั้น อาจจะไม่มีผู้นำประเทศก็ได้ ไม่มีอำนาจทางการเมือง ประชาชนทุกคนอยู่ในความปรกครองของตนเอง เพราะในปัจจุบันแถบยุโรปมีอัตราในการใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยลงเรื่อยๆ เพราะคนมีอิสระในความคิดมากขึ้นและรัฐบาลที่ถูกเลือกไปประชาชนจึงมีความศรัทธาในตัวรัฐบาลน้อยมาก จนเหมือนว่ารัฐสภานี้เป็นเหมือนสมบัติในพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุแม้แต่ประธานาธิบดีซึ่งน่าจะเป็นผู้มีอำนาจมากที่สุดก็จะรู้สึกหมดอำนาจ และชนกลุ่มน้อยจะเข้ามามีบทบาทขึ้นเพราะรัฐบาลต้องแบ่งอำนาจแก่ชนกลุ่มน้อยเอาจะเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงก็ได้


โดย: คลื่นลูกที่ 3 The Third Wave (moonfleet ) วันที่: 4 มีนาคม 2551 เวลา:16:46:41 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.