กลยุทธการออกจากปัญหาเพื่อรักษาชีวิต-Exit Strategy 2014
ในสหรัฐฯ ตอนที่เกิดวิกฤติซับไพร์ม รัฐบาลและธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟดฯ ทุ่มทุนมหาศาลเพื่อให้เศรษฐกิจพ้นจากปากเหวให้ได้  หลังจากนั้นเมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ความพยายามที่จะทำให้เศรษฐกิจพึ่งตัวเองได้ ลดการพึ่งพาการอุดหนุนของรัฐจึงถูกออกแบบขึ้นมา  ด้วยการลดขนาดงบดุลของตนเอง  ก็เรียกว่า  Exit Strategy สำหรับเมืองไทย ยุคหลังวิกฤตที่รุนแรงจากผลพวงของวิกฤติซับไพร์มสหรัฐฯ ก็มีการลอกเลียนแบบคำ Exit Strategy มาใช้ด้วยความหมายว่ารัฐบาลจะลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อป้องกันเงินเฟ้อ


ยุทธศาสตร์ดังกล่าว เริ่มใช้ครั้งแรกในปฏิบัติการพายุทะเลทราย อันเป็นยุทธการในสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งแรก ค.ศ. 2533  โดยถือเป็นแผนปฏิบัติการสงครามเต็มรูปครั้งแรกของสหรัฐฯหลังจากสงคราม เวียดนามเป็นต้นมา ในพื้นที่ซึ่งไม่คุ้นเคยอย่างยิ่งในทะเลทราย ซึ่งต้องทำให้กองกำลังที่ส่งออกไปแนวหน้า ต้องรับมือกับสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป ภายใต้สถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจเฉพาะหน้าค่อนข้างมาก แนวคิดในปฏิบัติการดังกล่าว กลายมาเป็นหลักสูตรการบริหารจัดการสถานการณ์ที่มีขีดจำกัดของสถานการณ์ทั้ง เวลา งบประมาณ และสภาพแวดล้อม ที่ต้องหาทางออกจากอุปสรรคกันเอาเองอย่างไร้รูปแบบตายตัว  ดังเช่นการเลือกใช้เครื่องมือ หรือยุทธวิธีเฉพาะหน้า

แนวคิดที่นักบริหารนำมาดัดแปลงจึงกลายเป็นนิยามใหม่ว่า หมายถึงปฏิบัติการที่ต้องหาทางถอนตัวออกจากสภาพปัญหาเฉพาะหน้าที่ไม่น่าพึง พอใจหรือมีโอกาสจะล้มเหลว เพื่อค้นหาทางเลือกใหม่ที่ดีกว่าเดิมและมีประสิทธิผลมากขึ้น แทนที่จะติดหล่มหรือจมปลักหาทางออกไม่เจอ...การเชือดแพะบูชาเวลาเกิดวิกฤติเป็นพลีบูชายัญจึงเปนทางออกในการแก้ปัญหาของสังคมโบราณ เข้าทำนองเดียวกันกับหลักการเรื่อง  The Feast of the Goat ของพวกยิวโบราณ (Credit : วิษณุ โชลิตกุล 2014)
เหรียญมี 2 ด้านเสมอ การทำ QE ถึงแม้จะช่วยให้เศรษฐกิจของอเมริกากลับมาเติบโตได้อีกครั้ง แต่มันส่งผลให้สินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น หรือสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงที่มีการทำ QE ซึ่งถ้า Fed หยุด QE อาจทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงมาแรงได้ ดังนั้น ความท้าทายที่สำคัญของ Fed คือ Exit Strategy ของการทำ QE หรือการหยุดทำ QE และดึงเงินกลับนั่นเอง กลยุทธ์ที่เฟดเลือกทำคือค่อยๆ ลดการอัดฉีด QE (QE Tapering ) ลงเดือนละ 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเดือนสุดท้ายที่ 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมทั้งมีการแถลงผลการประชุมเฟดให้นักลงทุน และผู้เกี่ยวข้องทราบทุกครั้งที่มีการประชุม เพื่อไม่ให้ตื่นตระหนก จากแนวทาง Exit Strategy ของเฟดดังกล่าว ทิสโก้เวลธ์เชื่อว่าการหยุด QE จะไม่กระทบต่อตลาดหุ้นมากนัก 

        คำว่า Exit Strategy อาจแปลได้ว่า “กลยุทธ์การถอนตัว” โดยอาจใช้กับการถอนกำลังทหารในการรบหรือเข้าไปดูแลบริเวณใดบริเวณหนึ่ง หรืออาจนำมาใช้กับการลงทุนและธุรกิจ เช่น ลงทุนซื้อหุ้นไปแล้ว จะขายออกอย่างไร โดยเฉพาะสำหรับหุ้นที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือทำธุรกิจไปแล้ว ไม่ว่าจะประสบความสำเร็จ หรือไม่ก็ตาม หากอยากจะเลิกทำ จะถอนตัวอย่างไร เหตุที่ต้องมีคำว่า “กลยุทธ์” หรือ “strategy” ด้วยก็เป็นเพราะว่า การถอนตัวต้องทำด้วยความระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดผลข้างเคียง หรือผลกระทบในทางลบ เพราะฉะนั้นจึงต้องวางแผนว่า จะถอนตัวอย่างไรจึงจะมีผลกระทบน้อยที่สุด

อีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ วาณิชธนกิจขนาดใหญ่อันดับสี่ของสหรัฐ คือ เลแมน บราเดอร์ส ยื่นเข้าสู่กระบวนการล้มละลายเมื่อ วันที่ 15 กันยายน 2551 และส่งผลให้สถาบันการเงินที่เป็นผู้ให้กู้แก่ เลแมน และสถาบันการเงินที่ทำธุรกิจใกล้เคียงกับเลแมน ต่างก็ต้องตั้งสำรองความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นเงินจำนวนมาก จนมีทีท่าว่าจะล้มตามกันไปด้วย
           สภาคองเกรสของสหรัฐ จึงอนุมัติให้รัฐบาลสหรัฐเข้าไปช่วยเหลือสถาบันการเงินเหล่านี้ เพื่อไม่ให้ระบบการเงินล่มสลาย และบรรเทาการเกิดปัญหาต่อเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจ และอนุมัติวงเงินให้รัฐบาลใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ให้ตกต่ำ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคมที่ผ่านมา รัฐมนตรีคลังของสหรัฐ คือ ทิมโมธี ไกท์เนอร์ ได้ออกมาแถลงว่า มาตรการช่วยเหลือภาคการเงินซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2008 และแต่เดิมจะครบกำหนดในสิ้นปีนี้ จะถูกต่อออกไปจนถึงเดือนตุลาคม ปี 2010 คือปีหน้า เนื่องจากแม้ว่าภาคการเงินจะมีเสถียรภาพแล้ว แต่ก็ยังต้องใช้เงินก้อนนี้เพื่อคงความมั่นใจอยู่ และเพื่อช่วยไม่ให้ผู้กู้ซื้อบ้านต้องถูกยึดบ้านมากเกินไป ประธานาธิบดี บารัก โอบามา ก็ได้ออกมาแถลงว่า เงินที่ใช้ในการช่วยเหลือภาคการเงินในวิกฤตการณ์ครั้งนี้รวมแล้วเพียง 141,000 ล้านดอลลาร์เท่านั้น น้อยกว่าที่คาดไว้ถึง 200,000 ล้านดอลลาร์ (เดิมคาดไว้ประมาณ 350,000 ล้านดอลลาร์ สำหรับการช่วยเหลือภาคการเงิน) เพราะเหตุว่าขณะนี้สถาบันการเงินบางแห่งได้คืนเงินมามากกว่าจำนวนที่คาดไว้แล้ว โดยจนถึงตอนนี้รับเงินคืนมาแล้วทั้งหมด 118,000 ล้านดอลลาร์ นอกจากการอุ้มภาคการเงินแล้ว รัฐบาลสหรัฐ ยังใช้เงินอัดฉีดเข้าไปให้เกิดการจ้างงานจำนวน 150,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง ซ้ำรอยปี 1929 ที่เรียกว่า The Great Depression (Credit : วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ)






Create Date : 08 ธันวาคม 2557
Last Update : 8 ธันวาคม 2557 15:04:21 น.
Counter : 1995 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
ธันวาคม 2557

 
3
4
5
7
9
10
11
12
13
14
15
16
18
19
21
22
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog