ภาวะหนี้สินเกษตรกร...ทุกข์ของแผ่นดินที่รอคอยการสร้างนวัตกรรมใหม่ที่มั่นคงและยั่งยืน
 นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ ธ.ก.ส.ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ ธ.ก.ส.ดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2555 ที่ให้ขยายโครงการพักชำระหนี้ ไปยังกลุ่มลูกหนี้ดี(สถานะหนี้ปกติ) ที่มีต้นเงินคงเป็นหนี้ไม่เกิน 500,000 บาท ก่อนวันที่ 24 เมษายน 2555 เนื่องจากเห็นว่าเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายและสร้างขวัญกำลังใจให้กับลูกหนี้ดี ช่วยกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจโดยรวม เนื่องจากลูกหนี้สามารถนำเงินที่ไม่ต้องส่งชำระหนี้ ซึ่งมีประมาณ 12,000 ล้านบาทต่อปี รวม 3 ปี ประมาณ 36,000 ล้านบาท พร้อมขอเพิ่มทุนอีก 10,000 ล้านบาทเพื่อรักษาความมั่นคงทางด้านการเงิน...การดำเนินโครงการพักชำระหนี้ในส่วนของ ธ.ก.ส.ครั้งนี้ มีจำนวนลูกหนี้ที่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการประมาณ 2,946,656 ราย ต้นเงินกู้คงเป็นหนี้ประมาณ 396,951 ล้านบาท (ประมาณว่าปี2557หนี้สินรวมเกษตรกรทั้ง 8สถาบันการเงินและนอกระบบน่าสูงกว่า1ล้านล้านบาท)

แหล่งเงินกู้ หรือสถาบันการเงินที่ชาวนากู้ยืมมีทั้งหมด 8 แหล่งด้วยกัน คือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กองทุนหมู่บ้าน สหกรณ์การเกษตร ธนาคารพาณิชย์เอกชน นายทุนหนี้นอกระบบ ร้านค้าปุ๋ยและสารเคมี ญาติพี่น้อง และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน โดย ธกส.คือแหล่งเงินกู้รายใหญ่สุด ดังที่ปัจจุบันมีเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้ ธกส.ทั้งสิ้น 5,473,804 ราย 

ปี 2014 เกษตรกรในจังหวัดชัยนาทในพื้นที่ศึกษาร้อยละ 54 มีหนี้สินกับ ธกส. เฉลี่ย 261,623 บาท ต่อครอบครัว จำนวนปีที่กู้ยืมมาแล้วเฉลี่ย 11 ปี รองลงมาร้อยละ 43 และร้อยละ 30 มีหนี้สินกับกองทุนหมู่บ้าน และธนาคารพาณิชย์เอกชน ในขณะที่เกษตรกรเป็นหนี้นอกระบบเฉลี่ยครอบครัวละ 191,916 บาท 

(ในงานศึกษาของกลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน พบว่าชาวนาในพื้นที่ชลประทาน จังหวัดชัยนาท มีหนี้สินเฉลี่ยสูงถึง 555,404 บาทต่อครัวเรือน หนี้สินของชาวนาในพื้นที่ชลประทาน จะสูงกว่าชาวนานอกเขตชลประทาน เนื่องจากเป็นพื้นที่ทำนาแบบเข้มข้น ชาวนาทำนามีเป้าหมายเพื่อขายและส่งออกเป็นหลัก จึงกู้หนี้เพื่อลงทุนทำนามากกว่าชาวนานอกเขตชลประทาน)

มูลเหตุแห่งหนี้ของเกษตรกร มาจากสาเหตุหลัก 4 ประการคือ
1.เกษตรกรไม่ได้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต หรือปัจจัยการเพาะปลูก ทำให้มีต้นทุนการผลิตสูงและต้องพึ่งพาปัจจัยจากภายนอกมาก ส่วนปัจจัยการเพาะปลูกอื่นที่ไม่สามารถพึ่งตนเองได้ แต่ต้องซื้อและพึ่งพาจากภายนอก คือ เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และการจ้างแรงงานต่างๆ

2.ผลกระทบจากภัยธรรมชาติ การกู้หนี้ของเกษตรกรจะเพิ่มปริมาณสูงขึ้นทันที เมื่อเกษตรกรประสบกับภาวะวิกฤตได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ อาทิ น้ำท่วม ภัยแล้ง โรคแมลงระบาด ส่งผลให้ผลผลิตข้าวเสียหายต่อเนื่องติดต่อกันหลายปี ทำให้ชาวนาต้องกู้ยืมหนี้เพิ่มขึ้น รวมไปถึงไม่สามารถชำระหนี้คงค้างที่มีอยู่

3. ความเปลี่ยนแปลงของสังคมเกษตรกร ที่กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ เกษตรกรในพื้นที่ศึกษาจังหวัดชัยนาทมีอายุเฉลี่ย 57 ปี ไม่สามารถปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลง ไม่รู้หนังสือ ถูกโกงและถูกเอาเปรียบจากนายทุนเงินกู้หนี้นอกระบบ ในขณะที่ลูกหลานไม่ต้องการสานต่ออาชีพชาวนา รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายในครอบครัวที่สูง คือเฉลี่ยเดือนละ 10,557 บาท ต่อครอบครัว ในจำนวนนี้ร้อยละ 41 เป็นค่าใช้จ่ายด้านอาหาร ในขณะที่ชาวนาร้อยละ 73 ตอบว่าต้องซื้อข้าวสารกินในปริมาณปานกลางถึงมาก

4. เกษตรกรไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนโยบายรัฐและสถาบันการเงิน มีหลายโครงการที่ภาครัฐสนับสนุนให้เกษตรกรเข้าร่วมโดยกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินเพื่อลงทุนการผลิต แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จ สุดท้ายเกษตรกรกลายเป็นผู้แบกรับความเสี่ยงและรับภาระหนี้จากความล้มเหลวในการผลิตในโครงการที่รัฐส่งเสริมเหล่านั้น เช่น โครงการส่งเสริมการเลี้ยงวัว โครงการส่งเสริมการปลูกไผ่ โครงการลดพื้นที่ทำนาหันมาทำไร่นาสวนผสม และอื่นๆ ที่มากกว่านั้นก็คืออัตราดอกเบี้ยสูงที่เกษตรกรต้องจ่าย หากผิดนัดชำระหนี้ หรือถูกปรับลดระดับชั้นลูกค้า ทำให้เกษตรกรแบกรับภาระหนี้และดอกเบี้ยไม่ไหว บางรายหันไปพึ่งเงินหมุนจากหนี้นอกระบบ และจบลงด้วยการขายที่ดินและทรัพย์สินเพื่อใช้หนี้

ภาวะหนี้สินและมูลเหตุหนี้ทั้งสี่ประการนี้ กำลังส่งผลให้ชาวนาสูญเสียที่ดินมากขึ้น ปัญหาการสูญเสียที่ดินของชาวนาเกี่ยวโยงอย่างสำคัญกับปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำ ความมั่นคงทางอาหารของคนในสังคม และทิศทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย (เกษตรกรในที่นี้คือ ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน ชาวประมงและคนเลี้ยงสัตว์น้ำ คนปลูกป่าไม้เศรษฐกิจ เลี้ยงปศุสัตว์และทำการเกษตรพอเพียงเพื่อเลี้ยงชีพ)

//www.landactionthai.org/land/index.php/content/kwan/476-570505famer.html




Create Date : 30 กรกฎาคม 2557
Last Update : 30 กรกฎาคม 2557 14:22:53 น.
Counter : 1526 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กรกฏาคม 2557

 
 
2
3
6
7
8
9
10
11
13
14
15
17
18
19
20
21
22
25
27
28
31
 
 
All Blog