เชื้้อเพลิงอัดแท่งจากขยะ Refuse-derived fuel (RDF)พลังงานทดแทนใหม่

เทคโนโลยีในการแปรรูปเปลี่ยนขยะเป็นพลังงานนั้นมีหลายรูปแบบเช่นเตาเผาขยะ, การหมักแบบไม่ใช้ออกซิเจนADสำหรับขยะอินทรีย์,การฝั่งกลบ landfill,โรงไฟฟ้าGasification,เทคโนโลยีPlasma และการทำเชื้อเพลิงอัดแท่งRefuse-derived fuel (RDF/SRF) แต่ขยะส่วนใหญ่ถูกนำไปฝั่งกลบแทนการผลิตพลังงานทดแทนเพราะการอุดหนุนในรูปadderต่ำเกินไป เกิดความเสี่ยงในการลงทุนและการยอมรับจากสถาบันการเงินในการปล่อยเงินกู้สมทบการลุงทุน...หลักการทำงานของการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งRDFจากขยะชุมชน เริ่มจากการคัดแยกขยะที่ไม่สามารถเผาไหม้ได้เช่นโลหะ แก้ว เศษหิน ขยะอันตราย และ ขยะรีไซเคิล ออกจากขยะรวม จากนั้นจึงป้อนขยะที่คัดแยกแล้วสู่เครื่อง สับ ย่อย เพื่อลดขนาดและส่งป้อนเข้าเตาอบเพื่อลดความชื้น โดยใช้ความร้อนจากไอน้ำหรือลมร้อนเพื่ออบขยะหรือใช้ระบบอบขยะBio-Dry ซึ่งจะทำให้ความชื้นเหลือไม่เกิน15%และน้ำหนักลดลง50% และสุดท้ายส่งเข้าเครื่องอัดเม็ด RDF-Pellets ทำให้ได้เชื้อเพลิงขยะอัดเม็ดที่มีขนาดและความหนาแน่นเหมาะสมต่อการขนส่งและจำหน่ายเป็นเชื้อเพลิงพลังงานทดแทนได้ทั่วไป...1ตันของRDFทดแทนถ่านหินได้0.8ตันของถ่านหิน หรือ 0.6ตันของpet coke หรือ 0.5ตันของน้ำมันเตา...สำหรับมลภาวะที่เกิดขึ้นจากการใช้RDFนั้นมีค่าco2 emissionประมาณ 0.64ต่อตัน ในขณะทีเชื้อเพลิงถ่านหินมีค่าco2 emissionเท่ากับ2.41ต่อตันหรือต่ำกว่าเกื่อบ4เท่าตัว

Municipal solid waste (MSW) is one of the wastes high potential to be used as fuel for energy production due to extremely large quantity with low cost. The production of densified refuse-derivedfuel (RDF) from MSW is an interesting alternative to the use of high calorific portion of MSW as fuel for energy production. It can be used as main fuel for electricity production, co-fuel for biomass power plant or as substitute fuel in industrial boiler. This helps to solve the problem of waste management and conserve energy, while reducing environmental impacts and greenhouse gas (GHG) emissions.

จุดอ่อนในการแปรรูปขยะเป็นพลังงานทดแทน
1.นโยบายรับซื้อเชื้อเพลิงและไฟฟ้าในรูปadder/Feed in Tariff ต่ำไปเกิดความเสียงในการพัฒนาโครงการฯเพราะผลตอบแทนการลงทุนต่ำ สถาบันการเงินไม่สนใจปล่อยกู้ ขยะจึงถูกทิ้งมากมายทุกชุมชน
2.ต้นทุนการคัดแยกสูงเพราะการรวบรวมขยะรวมกันมา ขยะมีองค์ประกอบหลากหลายสูง นำไปแปรรูปเป็นพลังงานยาก
3.ขยะมูลฝอยมีความชื้นสูง 40-60% มีค่าความร้อนไม่แน่นอน ผันแปรไปตามฤดูกาล การนำไปทำเป็นเชื้อเพลิงเผาตรงจะทำให้ได้ค่าพลังงานต่ำและมีต้นทุนสูง ปลดปล่อยมลภาวะสูง

นโยบายและเป้าหมายการผลิตพลังงานทดแทนจากขยะชุมชนมีมานานแล้ว แต่ขาดความจริงใจจากทุกรัฐบาล ขยะทุกกองจึงมีมาเฟียขยะครอบครองและปลดปล่อยมลภาวะต่อไป

การอุดหนุนadderจากรัฐบาลคือหัวใจสำคัญในการพัฒนาขยะชุมชนให้เป็นพลังงานทดแทน

มลภาวะจากขยะมูลฝอย
1.การจัดการขยะในไทยมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ7.8%(ปี2546)ส่วนใหญ่เป็นการฝั่งกลบ มีการปนเปื้อนน้ำผิวดินและใต้ดิน
2.การกำจัดขยะด้วยวิธีเผา Incineration ทำให้เกิดสารพิษไดออกซินและเถ้าหนัก จากกระบวนการเผาไหม้
3.ขยะถูกทิ้งเก็บกองนอกเขตควบคุมก่อให้เกิดการลักลอบเผา และ การปน เปื้อนสารพิษลงสู่น้ำใต้ดิน แม่น้ำลำคลอง เป็นแหล่งแพร่ขยายพันธ์ของโรค แมลงฯลฯ

สรุปว่าสิ่งดีในประเทศนี้สามารถเกิดเกิดขึ้นใด้อย่างแน่นอน ถ้ารัฐบาลให้ความสำคัญและอุดหนุนadderที่มากพอเช่นเดียวกันกับSOLAR CELLที่ผุดดังดอกเห็ดทั่วไทยเพราะได้adderสูงเหมือนเจตนาจงใจจะมีมากที่สุดในแผ่นดินไทย...ข่าวไฟไหม้ขยะที่สมุทรปราการและที่อื่นๆนำความเดือดร้อนมาสู่ชุมชน อีกไม่นานก็เงี่ยบหายไปเพราะคนไทยลืมง่าย

อ่านเพิ่มเติม //www.winlonginter.com/recycle.php

 

 

 




Create Date : 25 มีนาคม 2557
Last Update : 10 เมษายน 2557 14:38:10 น.
Counter : 5963 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
มีนาคม 2557

 
 
 
 
 
 
1
2
5
6
9
10
11
14
15
16
17
18
19
22
23
24
27
31
 
 
All Blog