หมู่บ้าน วิเภทะ-กุรุเกษตร ในจารึกปราสาทพระวิหาร น่าจะเป็น ทุ่งราษีไศล แถว กู่กาสิงห์และกู่พระโกนา ?

ในสงครามมหาภารตะ อินเดียโบราณ นั้นรบกันที่ทุ่งกุรุเกษตรหรือที่ราบและทุ่งนาข้าวขนาดใหญ่มาก ระดับมองสุดลายตาเลยทีเดียว ท้องทุ่งนาการเกษตรขนาดใหญ่ในภาคอีสานนั้นมี 3แห่ง เรียงตามลำดับจากจุดที่ไกล้ปราสาทเขาพระวิหาร คือ 1.ทุ่งราศีไศล ศรีสะเกษ2.ทุ่งกุลาร้องไห้ ร้อยเอ็ด 3.ทุ่งสัมฤทธิ พิมาย จากจารึกเขาพระวิหารนั้นได้กล่าวถึงเมืองสดุกอำพิลทีน่าจะเป็นเมืองอุทุมพรพิสัย ที่ตั้งปราสาทหินสระกำแพงใหญ่ประดิษฐานศิวลึงค์ศักดิ์สิทธิ์คู่กับปราสาทเขาพระวิหารชื่อ ศรีพฤทเธศวรซึ่งน่าจะเป็นชุมชนขนาดใหญ่และศูนย์กลางการค้าโดยเฉพาะเกลือและเหล็กและสินค้าอื่นๆจากลุ่มแม่น้ำมูล-ชี ส่งออกสู่ดินแดนเขมรต่ำ ดังนั้นทีนักโบราณคดีทั้งไทยและเทศสัณนิษฐานว่าน่าจะอยู่แถวกันทราลักษณ์หรือแถวเมืองจำปาศักดิ์ที่ตั้งปราสาทวัดภู นั้นน่าจะเป็นท้องทุ่งขนาดเล็กกว่าทุ่งราศีไศล และเมืองราศีไศลกับเมืองอุทุมพรนั้นอยู่ติดกันครับ

อ่านเพิ่มเติม  //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=mayom-the-cat&month=03-2013&group=5&date=03&gblog=4 กู่พระโกนา กู่กาสิงห์

“ศรีศิขเรศวร” –“ศรีพฤทเธศวร”
ความสัมพันธ์ของปราสาทพระวิหารกับศาสนสถานและชุมชนในย่านลุ่มน้ำมูล-ชีตอนล่าง

อาจกล่าวได้ว่าจารึกที่ให้ข้อมูลชัดเจนที่สุดโดยมีนัยบ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างเทวสถานเหนือยอดเขาพระวิหารแห่งนี้กับชุมชนใกล้เคียงบริเวณลุ่มน้ำมูล-ชีตอนล่าง ได้แก่ จารึกหลักที่ K 380 เนื้อความในจารึกหลักที่ K 380 และจารึกปราสาทพระวิหาร 4 ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ในช่วงพุทธศักราช 1580 โดยมีใจความสำคัญคือคุณงามความดีของศรีสุกรมา กัมเสตงิ ผู้ริเริ่มจัดทำรั้วทั้งหมดที่ พระกัมรเตงชะคัต ศรีศิขเรศวร(ศิวลึงค์ซึ่งประดิษฐาน ณ ปราสาทพระวิหาร) และพระกัมรเตงชะคัต ศรีพฤทเธศวร(ศิวลึงค์ซึ่งประดิษฐาน ณ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ 6) นอกจากการสร้างรั้วที่ปราสาทพระวิหาร(ซึ่งเป็นเทวสถานแห่งองค์ ศรีศิขเรศวร) กับที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่(ซึ่งเป็นเทวสถานแห่งองค์ ศรีพฤทเธศวร) แล้ว พระศรีราชปติวรมันยังกราบทูลเรื่องความดีอื่นๆ ที่ ศรีสุกรมา กัมเสตงิ ได้ดำเนินการ คือการพยายามจดบันทึกเวลาแสดงอภินิหาร (ศิวะเตชะ) ของ พระศรีศิขเรศวรทั้งให้ญาติเขียนลำดับประวัติราชวงศ์กัมพู และให้หน่วยราชการเขียนประวัติเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดินเริ่มตั้งแต่ พระเจ้าศรุตวรมเทวะ จนถึงพระศรีสูรยวรมเทวะ และให้เขียนประวัติของพระศรีศิขเรศวร กับ พระศรีพฤทเธศวร ลงบนแผ่นศิลามอบไว้ที่ปราสาทพระเจ้าศรีสูรยวรมเทวะ ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์และหมู่บ้าน วิเภทะแก่ ศรีสุกรมา กัมเสตงิ จึงได้ชื่อว่าหมู่บ้าน กุรุเกษตรกล่าวคือเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านซึ่งเดิมมีนามว่าหมู่บ้าน วิเภทะ เป็นหมู่บ้าน กุรุเกษตร

//www.sac.or.th/main/article_detail.php?article_id=92&category_id=18 web





Create Date : 16 มีนาคม 2556
Last Update : 16 มีนาคม 2556 14:09:28 น.
Counter : 2814 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
2
5
7
8
9
14
17
18
19
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog