จาก Adder---FiT โครงการวิสาหกิจชุมชนพลังงานสีเขียวจากพืชพลังงาน (ตอนที่2)
 

วันที่ 27 ก.พ.2013 นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน กล่าวว่า ขณะนี้ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า(พี ดีพี) ของประเทศที่อยู่ระหว่างการทบทวนแผนพีดีพี(2013 ) ครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นแผนระยะยาว(56- 73 ) ไปพิจารณากระจายความเสี่ยงการใช้เชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าในระยะยาวเพื่อลดผล กระทบค่าไฟฟ้าฐาน ที่มีแนวโน้มอีก 2 ปีข้างหน้าหรือปี 58 จะสูงขึ้นจากปัจจุบัน 3.71 บาทต่อหน่วย เป็น 4-5 บาทต่อหน่วยจากทิศทางราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น…


                “เราได้หารือกันว่าถ้าปล่อยไว้เช่นนี้จะมีปัญหาค่าไฟแพงแล้วยังมีปัญหาความมั่นคงที่เสี่ยงมากเพราะก๊าซมาตามท่อสำรองไม่ได้ ขณะที่ถ่านหินนั้นสต็อกไว้ที่โรงไฟฟ้าได้มากถึง100 วันหรือใช้ได้ 3-6 เดือนจึงเป็นสำรองที่มั่นคงและยังมีราคาต่ำและเทคโนโลยีขณะนี้ก็ก้าวหน้าไปมากจึงอยากเห็นเพิ่มสัดส่วนถ่านหินสะอาดที่ขณะนี้มีแผนผลิต 4,000เมกะวัตต์ให้เป็น 10,000 เมกะวัตต์ และพลังน้ำที่รวมซื้อจากต่างประเทศเป็น10,000 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าจากหญ้าเนเปียร์อีก 10,000เมกะวัตต์”

ข้อมูลจาก //www.dailynews.co.th/businesss/187326

การดำเนินโครงการข้างต้น เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า การพัฒนาพลังงานทดแทน สามารถสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แบบมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ควบคู่ไปกับการสร้างความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าในระยะยาวได้ด้วย

ปัจจุบัน ราคา NGV อยู่ที่ 10.5 บาท ขณะที่ต้นทุนผลิตก๊าซชีวภาพอยู่ที่ 14-15 บาท ซึ่งต่างกันเกือบ 5 บาทต่อกิโลกรัม รัฐอาจจะต้องเข้ามาชดเชยส่วนต่างนี้ โดยในเบื้องต้น กรมพัฒนาพลังงานและอนุรักษ์พลังงานกำหนดเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก 1 MW นี้ ในชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ ให้ได้ 10,000 ชุมชน ภายใน 10 ปี เพื่อให้เป็นไปตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2555-2564)

 

หมายเหตุ : ข้อคิดเห็นสำหรับนโยบายพลังงานทดแทนสีเขียวจากหญ้าเนเปียร์ของเกษตรกร10,000เมกะวัตต์

1…..ค่าไฟฟ้าฐานรวม3.71 บาทต่อหน่วย ในปัจจุบันคือ ค่าไฟฟ้าฐาน+ค่า Ft0.5204 บาทต่อหน่วย หรือเป็นค่าไฟฟ้าฐาน 3.1896 + 0.5204 = 3.71 บาทต่อหน่วย

2.....โรงไฟฟ้าจากวิสาหกิจชุมชนสีเขียวหญ้าเนเปียร์เพื่อเพิ่มรายใด้และการจ้างงานเกษตรที่ยั่งยืนมีค่าซื้อไฟฟ้ารวมจากรัฐบาลในรูป FiT 4.50 บาทต่อหน่วยจำนวน 10,000 MW นั้นไม่มีทางเกิดได้อย่างยั่งยืน เพราะค่าซื้อไฟฟ้ารวม 4.50บาทต่อหน่วยนั้นต่ำไป น่าจะมีการคำนวณค่าทางวิศวกรรมผิดพลาดดังต่อไปนี้

2.1คำนวณผลผลิต biogas จากหญ้าสดสูงเกินไป โดยใช้ข้อมูลจาก lab test หรือ labscale ว่าได้ผลผลิตbiogasที่ระดับ 100-120 ลมบ.ม ต่อหญ้า สด 1 ตัน (เหมือนการทดลองปลูกมันสำปะหลังอย่างดี20 ตร.ม แล้วไปคำนวณว่าจะได้ผลผลิต 16 ตันต่อไร่ แต่ค่าเฉลี่ยที่เกษตรกรทำได้เพียง 5-8 ตันต่อไร่เท่านั้นเอง) ดังนั้นการผลิต biogas จำนวน 4 ล้าน ลบ.ม เพื่อผลิตไฟฟ้า 8 ล้านหน่วยต่อ1 เมกกะวัตต์ นั้นจึงใช้หญ้าสดเพียง 40,000,000 กิโลกรัม( สีหมื่นตัน)หรือคำนวณกลับเป็นการผลิตไฟฟ้า1 หน่วย ใช้หญ้าสด 40 ล้าน กก. / 8 ล้านหน่วย = หญ้าสด 5 กก. ผลิตไฟฟ้าได้ 1 หน่วย ดังนั้น กรณี เราไม่คิดค่าลงทุนด้านโรงงาน biogasและค่าบริหารต่อเมกกะวัตต์   คิดเฉพาะค่าวัตถุดิบหญ้าสดในการผลิตไฟฟ้า 1 หน่วย ต้องใช้หญ้า 5 กก.ถ้าซื้อหญ้าสดจากเกษตรกร กก.ละ 0.30 บาทหรือตันละ300บาท ก็คือเงินอุดหนุน adderไฟฟ้า1.50บาทหรือ Fit =5.21บาทต่อหน่วย (3.71+1.50)จึงไม่น่าจะใช่ 4.50บาทต่อหน่วย แต่ถ้าซื้อหญ้าในราคาที่เป็นธรรมที่สุดคือ0.50 บาทต่อ กก. คำนวณเงินอุดหนุนในรูป adder ไฟฟ้า 2.50บาทต่อหน่วยหรือเป็นค่าซื้อไฟฟ้ารวมในรูป Fit =6.21 บาทต่อหน่วย(กรณีคำนวณหญ้าสด1ตันได้biogas 100 ลบ.ม) เป็นวิธีคิดที่เด็กๆก็คิดได้

2.2 กรณีคำนวณผลผลิต biogas จากหญ้าสดในเชิงอุตสาหกรรมหรือcommercial scale ขนาด 1 mw ที่เยอรมันใช้คือผลผลิต biogas ที่ระดับ 70 ลบ.ม ต่อหญ้าสด 1 ตัน ดังนั้นในการผลิต biogas 4 ล้าน ลบ.ม เพื่อผลิต ไฟฟ้า 1 mw จำนวน 8ล้านหน่วย ต้องซื้อหญ้าสดจากเกษตรกร=57,000,000 กก.หรือ( ห้าหมืนเจ็ดพันตัน)สรุปว่า การผลิตไฟฟ้า 1 หน่วยใช้หญ้าสด 7 กก. ถ้าซื้อหญ้า กก.ละ 0.30บาทคำนวณเป็น adder ไฟฟ้าได้ 2.10 บาทต่อหน่วย หรือเป็น Fit =5.81 บาทต่อหน่วย( 3.71+2.10) แต่ถ้าซือ้หญ้ากก.ละ 0.50 บาท หรือ 500 บาทต่อตัน คำนวณกลับเป็น adder =3.50 บาทต่อหน่วยไฟฟ้าหรือเป็นค่าซื้อไฟฟ้ารวม FiT = 7.21บาทต่อหน่วย

สรุปว่าถ้าถามผู้บริโภคไฟฟ้าพลังงานสีเขียวที่พวกเขามีโอกาสช่วยเหลือเกษตรกรยากจนผู้ปลูกหญ้าทั่วประเทศในรูปแบบไทยช่วยไทยเงินทองไม่รั่วไหลออกนอกประเทศ จ่ายค่าไฟฟ้าพลังงานสีเขียว FiT= 7.21 บาทต่อหน่วยไฟฟ้านั้นไม่แพงหรอกครับเพราะพลังงานลมนั้นได้ aader 4.50 บาทหรือได้ Fit =8.21 บาทต่อหน่วยและ แสงอาทิตย์ได้aader 8.0 บาทหรือได้ FiT=11.71 บาทต่อหน่วย( ขายไฟฟ้าในราคาดีช่วงpeak อีกด้วย )






Create Date : 28 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 13 มีนาคม 2556 11:40:40 น.
Counter : 3770 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กุมภาพันธ์ 2556

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
8
9
11
12
13
14
15
16
17
19
22
23
24
27
 
 
All Blog