นวัตกรรมการเกษตรเพื่อให้ ชาวไร่-ชาวนา มีเงินเดือนประจำตลอดปี (ตอน4)
 เงินส่งเสริมพลังงานทดแทน adderไฟฟ้า4.50 บาทต่อหน่วย สำหรับเป็นค่าซื้อวัตถุดิบพืชพลังงานจากเกษตรกรมาผลิตพลังงานทดแทนนั้นถือว่าไม่แพงมากเพราะหญ้าพลังงานจากเกษตรกร 5กิโลกรัมนำมาหมักในถังไบโอแก็ซได้แก็ชมีเทนไปผลิตไฟฟ้าได้ 1หน่วย ถ้าซื้อหญ้าฯราคากิโลกรัมละ1บาทรัฐก็ต้องอุดหนุนaader5.00บาทต่อหน่วย รัฐบาลที่ผ่านมาให้เงินส่งเสริมพลังงานลมและแสงอาทิตย์ adder=4.50-8.00บาทต่อหน่วยรวมประมาณ3,000เมกกะวัตต์ นั้นไม่มีเงินค่าซื้อวัตถุดิบจากเกษตรกรเลยแม้แต่บาทเดียว ผู้บริโภคต้องรับภาระค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้น ทำให้เงินทุนไหลออกจากการนำเข้าเทคโนโลยีนับแสนล้านบาท และก่อให้เกิดการพํฒนาชนบทที่น้อยมาก


กรณีตัวอย่าง: เกษตรกรและการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนปลูกหญ้าพลังงานผลิตพลังงานทดแทนด้านไฟฟ้าและ CBG/NGV ดีอย่างไรและมีจุดแข็งของหญ้าพลังงานเนเปียร์ปากช่อง1 ทีจะแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรทั้ง5ประการ
1.หญ้าพลังงานมีต้นทุน supply chain & logistics ต่ำกว่าพืชเกษตรทั่วไปเพราะแหล่งปลูกหญ้าอยู่รอบโรงไฟฟ้าชีวภาพในรัศมี10กิโลเมตร
2.พลังงานไฟฟ้าทีผลิตในชุมชนมีความเสถียรเพราะเป็น local loop electricity ไม่สูญเสียพลังงานในสายส่งไปนอกเขตผลิตที่มีระยะทางไกล
3.เกษตรกรรวมตัวกันตั้งวิสาหกิจชุมชน ปลูก-เก็บเกี่ยว-ขนส่ง ตัดวงจรพ่อค้าคนกลางเอาเปรี่ยบ กำไรตกอยู่ในชุมชนเกิดวงจรเศรษฐกิจหมุนเวียน
4.หญ้าพลังงานมีต้นทุนต่ำ มีกำไรแน่นอน ความเสี่ยงต่ำ ใช้สารเคมีน้อย ไม่ต้องพึ่งปัจจัยการผลิตและกู้หนี้เพื่อลงทุนปลูกใหม่ทุกปี
5.เหมาะกับภาวะโลกร้อนและดินเสื่อม เพราะหญ้าพลังงานทนแล้งและปลูกได้ในดินเกื่อบทุกชนิด (ยกเว้นน้ำขัง) หญ้ามีระบบรากลึกช่วยยึดดินไม่ทำให้หน้าดินถูกกัดเซาะพังทะลาย
6.โรงไฟฟ้าชีวภาพขนาด1เมกกะวัตต์ มีปุ๋ยชีวภาพ10,000 ตัน/ปี ส่งกลับคืนไร่นาเกษตรกรเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและเพิ่มผลผลิตพืชผลทุกชนิด

นวัตกรรมการเกษตรที่มั่นคงนั้นจะต้องมีศักยภาพ 5 ประการคือ

1.สามารถสร้างรายได้ที่ดี และสร้างความมั่นคงทางรายได้ ( เกษตรกรมีรายได้วันละ300บาทหรือเที่ยบเท่าเงินเดือนประจำ)
2.มีภาคอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าชีวภาพรองรับผลผลิตภาคการเกษตร เกษตรกรไม่มีความเสี่ยงด้านการตลาด และราคาผลผลิต        
3.อุตสาหกรรมไฟฟ้านั้นเป็นตลาดที่มั่นคงเพราะบริโภค24ชั่วโมง 365วัน ไม่มีผลกระทบจากปัจจัยภายนอก
4.เป็นมิตรต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม สร้างงานสร้างอาชีพที่มั่นคง ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข
5.พัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เกิดผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
  อุตสาหกรรมพลังงานทดแทนนั้นจะมีศูนย์เรียนรู้พืชพลังงานทดแทนครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ถึงปลายน้ำ คือเริ่มจากการคัดเลือกที่ดิน คัดเลือกสายพันธุ์ การเตรียมดิน การเตรียมระบบน้ำการปลูก-ดูแล การเก็บเกี่ยว และการแปรูป การใช้ประโยชน์ผลิตภัณฑ์

แผนงานพัฒนาและยกระดับรายได้-คุณภาพชีวิตประชาชน
  โรงงานไฟฟ้าก๊าซชีวภาพขนาด 1เมกกะวัตต์ จะใช้เงินส่งเสริมเกษตรกรปลูกพืชพลังงาน 17.20 ล้านบาท ขอสนับสนุนจากภาครัฐหรือเป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำจาก ธกส เพื่อใช้เป็นงบส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรปลูกพืชพลังงาน จำนวน 50 ครัวเรือนพื้นที่ 1,000 ไร่ หญ้าพลังงานโตเร็วอายุ 50-60 วัน  สนับสนุนให้เกษตรกรไร่ละ 17,202  บาทประกอบด้วย  
    - ค่าเตรียมดินและระบบน้ำ 8,760 บาท/ไร่
     - ค่าท่อนพันธุ์ 3,542 บาท/ไร่
     - ค่าปุ๋ย 2,300 บาท/ไร่
     - ค่าฝึกอบรมพัฒนา 600 บาท/ไร่
     - การพัฒนาฟาร์ม 2,000 บาท/ไร่
               รวม 17,202,000 บาท/1000ไร่
    เป็นการสนับสนุนลงทุนในครั้งแรกเท่านั้นเช่นเดียวกับการส่งเสริมการปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมันของรัฐบาลที่ผ่านมา เงินกู้ส่วนนี้ไม่มี โอกาสเกิดNPLเพราะเกษตรกรมีสัญญาซื้อขายวัตถุดิบกับโรงงานไฟฟ้า-CBG หนึ่งครอบครัวหรือรวมตัวกันเป็นหนึ่งวิสาหกิจชุมชน กู้เงินไปลงทุน350,000บาทเพื่อปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์เนเปียร์20 ไร่ และขายเป็นวัตถุดิบให้โรงงานพลังงานในชุมชน พวกเขามีศักยภาพในการส่งคืนเดื่อนละ10,000บาท จำนวน 36 เดือนก็หมดเงินต้นแล้ว( ดีกว่านโยบายจำนำราคาข้าวและรถคันแรกเสียอีก )

ผลประโยชน์ทีเกิดขึ้นต่อชุมชนต่อโรงไฟฟ้าขนาด1MW

1)  ยกระดับรายได้เกษตรกรให้เที่ยบเท่าค่าแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท/วัน
2)  เพิ่มการมีงานทำในพื้นที่จากอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องด้านปุ๋ยชีวภาพไม่ต่ำกว่า 20 คน
3)  เพิ่มทักษะฝีมือแรงงงานในด้านการเพิ่มมูลค่าการเลี้ยงปศุสัตว์ในชุมชนอีกไม่ต่ำกว่า 50 คน
4) ประชาชนมีรายได้ที่มั่นคงไม่ต่ำกว่า 100 ครอบครัว
5) สร้างกระบวนการบูรณาการความร่วมมือของชุมชน  มีเงินหมุนเวียนในชุมชน 20-30ล้านบาทต่อชุมชน ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้และลดปัญหาความยากจน
6)ลดการเคลื่อนย้ายแรงงานเกษตรกร ในท้องถิ่นเข้าสู่เมืองหรือโรงงานอุตสาหกรรม

    เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปลูกพืชพลังงาน เนื้อที่ 20 ไร่  ปลูกหญ้าพลังงานโตเร็วอายุ 50-60 วัน เกษตรกรจะมีรายได้เฉลี่ยจากการปลูกพืชพลังงาน 280,000 บาท/ครัวเรือน/ปี (ผลผลิตหญ้า40ตันต่อไร่ต่อปี ราคา400บาทต่อตัน) หักต้นทุนแล้วมีกำไรขั้นต้นจากการปลูกพืชพลังงาน  140,000 บาท/ครัวเรือน/ปี  หรือมีรายได้จากการปลูกพืชพลังงาน 6,000 บาท/คน/เดือน  ซึ่งมีรายได้เทียบเท่ารายได้ขั้นต่ำวันละ 300 บาท ตามนโยบายของรัฐบาล  และเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯจะมีรายได้สูงกว่าการปลูกพืชไร่ชนิดอื่นๆ

สมมุติฐาน : วิสาหกิจชุมชนพืชพลังงานผลิตไฟฟ้า 10,000 เมกะวัตต์/5 ปี

1. โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงานขนาด 1 เมกะวัตต์
1)เวลาทำงาน 360 วัน
2)ผลิตก๊าซชีวภาพ(Biogas) 4.00 ล้าน ลบ.ม./ปี
3)ขายไฟฟ้าสู่ระบบจำหน่าย 7.00 ล้านหน่วย/ปี
4)ความต้องการหญ้าสดเข้าระบบ112 ตันสด/วัน(40,000 ตัน/ปี)
5)อัตราการผลิตก๊าซชีวภาพจากถังหมัก 100 ลบ.ม./ตันสดหญ้า
6)ปริมาณปุ๋ยอินทรีย์(Solid)ที่ได้จากระบบ 15.2 ตัน/วัน(5,500 ตัน/ปี)
2. รายได้เกษตรกรต่อครัวเรือน(2 แรงงาน)
1) พื้นที่ปลูกหญ้าพลังงาน 20 ไร่/ครอบครัว
2) ผลผลิตหญ้า 40 ตัน/ไร่/ปี
3) ราคาจำหน่ายหญ้าสด ณ ฟาร์ม400 บาท/ตัน
4) ต้นทุนการปลูกหญ้า 171 บาท/ตัน
5) รายได้รวม 320,000 บาท/ปี
6) ค่าใช้จ่ายรวม 137,200 บาท/ปี
7) กำไรสุทธิ 15,233 บาท/ครอบครัว
                                          @7,617 บาท/คน/เดือน
                                         @292 บาท/คน/วัน

3. ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ 10,000 เมกะวัตต์ (adder 4.50 บาท/หน่วย)

1)ภาคการเกษตรมีการส่งเสริมปลูกหญ้าพลังงาน 10 ล้านไร่ จะทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการจำหน่ายหญ้าพลังงาน 160,000 ล้านบาท/ปี ครัวเรือนเกษตรกรมีกำไรจากการปลูกพืชพลังงาน 3,500 บาท/ไร่/ปี (อ้อยกำไร 2,000 บาท/ไร่/ปี, มันสำปะหลัง กำไร 2,000 บาท/ไร่/ปี) การปลูกพืชพลังงานจะไม่มีความผันผวนด้านราคา  

2)ภาคอุตสาหกรรมเกิดการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมผลิตพลังงานทดแทนมูลค่าประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท เป็นโรงไฟฟ้าสีเขียวที่มีเสถียรภาพในด้านวัตถุดิบเป็นอย่างมาก และมีปุ๋ยอินทร์ที่เหลือจากกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพจำนวน  55 ล้านตัน/ปี คิดเป็นมูลค่าได้ 110,000 ล้านบาท/ปี 

3)ด้านพลังงาน  การผลิตก๊าซชีวภาพจะสามารถทดแทนการนำเข้าพลังงานและสร้างพลังงานเสรี ดังต่อไปนี้ : ก๊าซชีวภาพ 1 ลบ.ม. เทียบเท่าก๊าซหุงต้ม 0.46 กิโลกรัม, น้ำมันเบนซิน 0.67 ลิตร, น้ำมันดีเซล 0.60 ลิตร, น้ำมันเตา 0.55 ลิตร, ฟืนไม้ 1.50 กิโลกรัมและไฟฟ้า 2 หน่วย 

โอกาสดีมาถึงแล้ว ลุกขึ้นมาทำเถอะจะได้ไม่เสียของและเวลาทีผ่านไป ลูกหลานไทยจะจารึกว่าท่านเป็นผู้กล้าหาญในการทำคุณงามความดีเพื่อแผ่นดินนี้ครับ








Create Date : 03 ตุลาคม 2557
Last Update : 3 ตุลาคม 2557 15:37:53 น.
Counter : 1457 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
ตุลาคม 2557

 
 
 
1
2
4
7
8
9
11
12
13
15
18
21
22
27
 
 
All Blog