นิคมอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนจากขยะในพื้นที่ป่าสงวนเขตเศรษฐกิจ 2014

  อปท.ทั่วประเทศไทย สามารถเพิ่มรายได้จากการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ปัจจุบันอปท. แต่ละแห่ง มักประสบปัญหารายได้ที่ได้จากการให้บริการจัดการขยะมูลฝอยต่ำกว่าค่าใช้จ่ายจริงมากทำให้เป็นอุปสรรคในการปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีนโยบายเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย โดยให้มีการรวมกลุ่มของท้องถิ่น (cluster) เพื่อสร้างระบบกำจัดขยะมูลฝอยแบบผสมผสานที่เน้นการนำขยะมูลฝอยมาใช้ ประโยชน์ในรูปของปุ๋ยและผลิตกระแสไฟฟ้า หรือเทคโนโลยีอื่นที่เหมาะสมการเพิ่มสมรรถนะในการบริหารจัดการ ขยะมูลฝอยในลักษณะรวมศูนย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือ อปท....

//www.uthaithani.go.th/MainMenu/km/KM55/knowlage1.pdf

กรณีศึกษา: ค่ากำจัดขยะมูลฝอย (Tipping Fee)...จากการประมาณการณ์งบประมาณค่ากำจัดขยะมูลฝอยตามสัดส่วนเทคโนโลยีใน ปี พ.ศ. 2554 ที่กรุงเทพมหานครต้องรับภาระจ่ายให้กับเอกชนซึ่งเป็นผู้ลงทุนและดำเนินงานระบบ พบว่า งบประมาณรวมที่กรุงเทพมหานครต้องใช้มีจำนวนประมาณ 6.49 ล้านบาท/วัน หรือคิดเป็น 2,370 ล้านบาท/ปี อย่างไรก็ตาม ค่ากำจัดขยะมูลฝอย (Tipping Fee) กรุงเทพมหานครอาจดำเนินการเปิดให้เอกชนประมูล... จะพบว่าขยะมูลฝอยส่วนใหญ่จะถูกนำไปฝั่งกลบแทนทีจะแปรรูปเป็นพลังงานทดแทนรูปแบบต่างๆโดย กทม.สมควรเพิ่มค่ากำจัดขยะมูลฝอยTipping Fee ให้คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์การลงทุน ก็จะช่วยเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานไม่น้อยกว่า100MW กทม.ควรเป็นแม่แบบการแปรรูปขยะเป็นพลังงานและสร้างศูนย์เรียนรู้ให้เทศบาล อบจ. อบต.นำไปขยายผลทุกจังหวัดก็จะสร้างผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐ
กิจสังคมและสิ่งแวดล้อมต่อไป
//203.155.220.174/modules.php?name=News&file=print&sid=112

ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการมีนิคมพลังงานทดแทนในเขตป่าสงวนแห่งชาติ

1. ประหยัดงบประมาณในการจัดการมูลฝอย ตัวอย่างเช่น ในปัจจุบันกทม.มีภาระในการกำจัดขยะถึงวันละ 8,700 ตัน/วัน หรือประมาณ 3.2 ล้านบาท เสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บและกำจัดโดยเฉลี่ยตันละ 1,000บาท คิดเป็นค่าใช้จ่ายวันละ 8,700,000 บาท คิดเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะปีละ 3,200 ล้านบาท หากเรานำขยะมูลฝอยกลับมารีไซเคิลก่อนทิ้งรวมกันเป็นขยะ เราจะสามารถลดปริมาณขยะได้อย่างน้อย 30% หรือประมาณ 2,700 ตัน/วัน สามารถประหยัดงบประมาณได้วันละ 2,700,000 บาท/วัน หรือปีละประมาณ 1,000 ล้านบาท นอกจากนี้หากมีการคัดแยกเศษอาหารทีเหลือจากการประกอบอาหารหรือการรับประ
ทานในแต่ละวันรวมถึงเศษกิ่งไม้ใบไม้ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักในขยะของบ้านเราถึง 50% คัดแยกออกมาใช้ประโยชน์ในรูปของปุ๋ยหมัก อาหารสัตว์หรือนำไปผลิตเป็นกาซหุงต้ม นอกจากจะเป็นการแปรรูปขยะกลับมาใช้เป็นทรัพยากรแล้วยังสามารถ ลดปริมาณขยะได้ถึงวันละ 4,000 ตัน/วัน ประหยัดงบประมาณได้วันละ 4 ล้านบาท หรือปีละประมาณ 1,600 ล้านบาท เพียงแค่นี้จะสามารถประหยัดงบประมาณไปได้ถึงปีละ 2,600 ล้านบาท

2. ประหยัดพื้นที่รองรับและกำจัดมูลฝอย การคัดแยกและนำขยะกลับมารีไซเคิล สามารถลดปริมาณขยะ ที่ต้องกำจัดโดยการฝังกลบถึง 2.6 ล้านตัน/ปี ประหยัดพื้นที่ฝังกลบได้อย่างน้อย ปีละกว่า 500 ไร่(ประเมินจากการ ฝังกลับอย่างถูกหลักสุขาภิบาล โดยการขุดหลุมลึกชั้นละ 3 เมตร สูง 3 ชั้น และใช้ความหนาแน่นขณะบดอัด 400กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร)

3. ประหยัดพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติในกระบวนการผลิต เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้วัตถุดิบใหม่ เช่น ลดพลังงานที่ใช้ในการตัดต้นไม้ เพื่อนำมาทำกระดาษหรือเชื้อเพลิง ลดการขุดทรายธรรมชาติขั้นมาในกระบวนการผลิตแก้วลดการขุดแร่ธาตุ เหล็ก ทองแดง อะลูมิเนียมหรือโลหะอื่นๆ

4. การนำวัสดุรีไซเคิลมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้า ช่วยผู้ประกอบการลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องเช่น ลดต้นทุนด้านพลังงานในการหลอมประมาณร้อยละ 15

5. ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เมื่อเปรียบเทียบกับการนำไปฝังกลบหรือเผาในเตาเผา

6. ก่อให้เกิดอาชีพและการจ้างงาน เช่นอาชีพการคัดแยกขยะ พ่อค้าคนกลางที่จะรวบรวมขยะ บรรจุภัณฑ์ ผู้ผลิตและแปรรูปสินค้าจากวัสดุรีไซเคิล มีการตั้งร้านรับซื้อของเก่าหรือโรงงานคัดแยกและแปรสภาพเพิ่ม
ขึ้น ก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นด้วย

การบริหารจัดการขยะในบ้านเราทุกกระทรวง ทบวงกรม ร่วมมือกันเถอะครับ




Create Date : 10 เมษายน 2557
Last Update : 10 เมษายน 2557 14:09:44 น.
Counter : 1570 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
เมษายน 2557

 
 
4
5
6
7
8
11
12
13
15
16
17
25
26
27
28
29
 
 
All Blog