พลังงานทดแทนเพื่อการจ้างงาน และ เพิ่มรายได้ชุมชนทั่วประเทศ

Synergyพลังงานทดแทนเพื่อพัฒนาประเทศ=ขยะชุมชนxชีวมวลจากภาคเกษตรและไม้โตเร็วจากป่าเศรษฐกิจชุมชน... synergy แปลว่า การผนึกพลัง หรือ สนธิพลัง ก่อให้เกิดผลมากกว่าบวก(สมการของพลังผนึกก็คือ 1+1 > 2) synergy มาจากคำศัพท์ synแปลว่า ร่วม รวม และ energy แปลว่า พลัง...เช่น ถ้าเป็นธุรกิจ ความหมายก็คือการที่ธุรกิจสองธุรกิจรวมกันหรือในเครือมีหลายธุรกิจนั้น จักต้องก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าการที่แต่ละบริษัทหรือแต่ละธุรกิจแยกกันอยู่เดี่ยวๆ...เรื่องแบบนี้จะเกิดได้ง่ายถ้าเรามีรัฐบาลที่ชาญฉลาดและปราศจากการคอร์รั่ปชั่น







Nowadays the trend of "Green" is a breath of fresh air. Environmental concern is in everyone lifestyle. The Biogas power plant will not only solve the the environment ploblems and increase the power supply to the country but also help farmers to increase thier household.

หายนะสิ่งแวดล้อมกำลังมาเยือนบ้านเรา หากไม่รีบเพิ่มพลังงานและทุนรอบใหม่ให้แก่ชนบทไทยทั่วประทศ ทุกกระทรวง ทบวงกรม ร่วมมือกันเถอะครับ

กรณีศึกษา: 2รูปแบบการจัดการขยะชุมชนแบบครบวงจรเพื่อการจ้างงานและเพิ่มรายได้ชุมชน

1.) นายอโนทัย ศรีมาลานนท์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เกาะแก้ว กรีนเอ็นเนอร์ยี่ จำกัด กล่าวว่า บ.เกาะแก้ว-โรงไฟฟ้าชีวมวล ป้อนขยะวัสดุธรรมชาติวันละ 10 ตัน ผลิตกระแสไฟฟ้าขายที่สากเหล็ก กำลังผลิต 200 กิโลวัตต์ ดีเดย์เริ่มปี 54 ซึ่งโรงไฟฟ้าเกาะแก้วจะนำขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลหรือไม่
สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ มาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นการนำขยะที่ไร้ค่ามาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มรูปแบบ ตามแนวคิด “Zero Waste” หรือของเสียเหลือศูนย์...โรงงานคัดแยกขยะฯ จะเป็นผู้ซื้อขยะจากประชาชน เพื่อส่งให้กับโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โดยใช้เชื้อเพลิง
ชีวมวล ได้ทั้งผักตบชวา เศษใบไม้ กิ่งไม้ ซึ่งประชาชนสามารถนำมาขายให้กับโรงงานฯ เบื้องต้นได้ตั้งรับซื้อขยะเหล่านี้ในสภาพแห้ง กิโลกรัมละ 50 สตางค์... สำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวลแห่งนี้ นำแกลบ ซังข้าวโพด เหง้ามันสำปะหลัง เปลือกยูคาลิปตัส เศษไม้ เศษฟาง ผักตบชวา กาบมะพร้าวเป็น
วัตถุดิบและพัฒนามาใช้เชื้อเพลิงขยะร่วมด้วย นับว่าเป็นนวัตกรรมพลังงานทดแทนที่ดีที่สุดในขณะนี้

2.) สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาขยะล้นเมืองให้กับเทศบาลเมืองเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยกำหนดเป้าหมาย สามารถกำจัดขยะในปัจจุบันได้หมดและสามารถรองรับขยะที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยเสนอแนวทางการจัดการขยะแบบครบวงจรโดยคัดแยกแต่ต้นทาง ขยะเปียกอินทรีย์สารจะถูกคัดแยกนำไปผลิตแก๊ซชีวภาพ ส่วนขยะแห้งที่รีไซเคิลไม่ได้จะถูกส่งไปทำเชื้อเพลิงขยะอัดแท่งแข็งRDF และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงนำเสนอการสร้างโรงไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิง RDFจากขยะ ร่วมกับ โรงงานแก๊ซชีวภาพชุมชน ทั้งนี้หากประเมินจากปริ
มาณขยะปัจจุบันวันละ 168 ตัน จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้กำลังผลิต 1.5 MW และเพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวในอนาคตจึงเสนอสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 3.0MW ด้วยต้นทุนการก่อสร้างประมาณ 310ล้านบาท (ที่มา : โมเดลการจัดการขยะชุมชน อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฏร์ธานี โดย จุรีรัตน์ ไชยจิตร และ ดาวัลย์วิวรรธนะเดช)

3.) โรงเผาขยะมูลฝอย จังหวัดภูเก็ต มีความสามารถในการเผาขยะมูลฝอยได้250ตันต่อวัน มีระบบผลิตไฟฟ้าแบบกังหันไอน้ำซึ่งสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้2.5MW โดยมีค่าความร้อนของขยะเฉลี่ยอยู่ที่ 1500-1600กิโลแคลอรี่/กรัม หรือ 6.27-6.69เมกะจูลต่อกิโลกรัม  ไฟฟ้าที่ผลิตได้ถูกนำมาใช้
ในการดำเนินงานภายในโรงงานและปรับปรุงคุณภาพน้ำประมาณ1MW ส่วนที่เหลือขายให้กับการไฟฟ้าฯ ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างการติดตั้งเตาเผาตัวที่2เพื่อรองรับปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้น...วัตถุดิบทีมีในประเทศเรามีอยู่มากมายในการผลิตพลังงานทดแทน เช่น ชีวมวลbiomassในชุมชน วัสดุเหลือ
ทิ้งทางการเกษตร agricultural residues และ ขยะมูลฝอย municipal s0lid waste หรือ MSW)เป็นต้น...ปี2552ประเทศไทยมีขยะมูลฝอยเกิดขึ้น41,340ตันต่อวันหรือ14.5 ล้านตันต่อปี มีอัตราเพิ่มปีละ2% และมีขยะที่ถูกฝั่งกลบและ กองทิ้งในแหล่งต่างๆอีกจำนวนมหาศาล (ทีมา:วารสารสิ่งแวดล้อม ปีที่15เล่มที่3) 






Create Date : 12 มีนาคม 2557
Last Update : 1 กันยายน 2557 15:25:57 น.
Counter : 2901 Pageviews.

1 comments
  
1 like ค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 12 มีนาคม 2557 เวลา:21:41:42 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
มีนาคม 2557

 
 
 
 
 
 
1
2
5
6
9
10
11
14
15
16
17
18
19
22
23
24
27
31
 
 
All Blog