จิตสำนึก ระบบฮอร์โมนและศูนย์รางวัลรับผิดชอบในสมองมนุษย์
 กระบวนการ Orgasm ซึ่งในหลายๆคนอาจถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของกามารมณ์ แท้จริงอาจไม่ใช่และอาจเป็นแค่องค์ประกอบเท่านั้นโดยที่กระบวนขั้นตอนวงจรของกามารมณ์จะมีความละเมียดละไม  น่าทะนุถนอม ทั้งนี้ ขึ้นกับความผูกพันทางอารมณ์ ทั้งขณะ ก่อน ระหว่างและหลัง ซึ่งถึงแม้ว่า ณ ขณะระหว่าง Orgasm ซึ่งไม่ปรากฏการทำงานของสมองหรือสมองจะนิ่งสนิทก็ตาม แต่ก็ยังคงมีสมองขั้นสูงและซับซ้อน ทำงานอย่างต่อเนื่องในการประเมินและเพื่อจะจรรโลงให้ความสัมพันธ์นั้นๆยืนยาวต่อไป จากผลสรุปงานวิจัยฯดังต่อไปนี้

1.ผลรวมของสิ่งเร้าทางร่างกายควบกับแรงผลักดันอันสลับซับซ้อนทางอารมณ์ และกระบวนการรับรู้และความคิด ซึ่งนักจิตวิทยา Kent Berridge (University of Michigan at Ann Arbor) ก็มีความเห็น
คล้ายกันโดยที่ Orgasm เป็นเครื่องสะท้อนถึงสภาวะของสมอง ณ จุดศูนย์กลางของอารมณ์ (Emotional hub) เช่น ระบบ Limbic ที่มีต่อสิ่งเร้า

2.วารสารประสาทวิทยาศาสตร์ในปี 2003 นอกจากสมองส่วนความสุขความพอใจ (ศูนย์รางวัล) ยังมีสมองส่วนหลังทางท้ายทอย  (Cerebellum) ทางด้านหน้าซึ่ง ปกติทำหน้าที่ในการควบคุม การ ทรงตัว การเคลื่อนไหว โดยพบว่ามีการกระตุ้นอย่างมากอีกด้วย สมอง ส่วนนี้ แท้ที่จริงแล้วยังทำหน้าที่ประดิษฐ์ภาพในความนึกคิด ในความทรงจำ และภาพที่เห็นได้จากคลองจักษุ นอกจากนั้นยังอาจมีส่วนใน
การช่วยปรับกระบวนการทางอารมณ์ สมองส่วนที่ 3 นอกจาก VTA และ Cerebellum ส่วนหน้ายังมีสมองส่วน Amygdala ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงโดยทำงานลดลงกว่าปกติ โดยที่ Amygdala ปกติจะทำหน้าที่ในการระแวดระวังภัยและการแสดงสีหน้า เวลาหวาดกลัว ดังนั้น จึงเป็นข้ออธิบายว่าในช่วงของที่สุดนี้จะขาดความระแวดระวัง และปราศจากความเกรงกลัวไปด้วย

3.จากการศึกษาสมองของฝ่ายหญิงทำให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่า การจะบรรลุถึง Orgasm นั้น ฝ่ายหญิงต้องปลดเปลื้องพันธนาการจากความกลัว ความกังวล ข้อกีดกั้นทางศีลธรรมทางสังคมทั้งหมดก่อน 
และ Holstege ประกาศในที่ประชุมภาคพื้นยุโรป Human  Reproduction and Development ว่า “...ณ ขณะที่สุดของที่สุด หญิงจะปราศจากซึ่งความรู้สึกและอารมณ์ใดๆทั้งสิ้น”

4.บทความของ Martin Portner ซึ่งเป็นหมอทางสมองและระบบประสาท (Neurologist) รวบรวมเนื้อหาสำคัญ ทางจิต อารมณ์ และกลไกทางสมองในเรื่องของ “ที่สุด” (หรือ Orgasm) (Scientific American Mind 2009)

5. ..เสี้ยววินาทีนั้นที่มีแต่ความมืดมิด ไม่มีข้อกังขา อยู่ที่ไหน จะเกิดอะไร หรือทำไม.....มีแต่ความว่างเปล่า แขน ขา ตัว เหมือนไม่มีอยู่ หัวใจจะเต้นหรือไม่ ไม่มีความหมาย เป็นที่สุดของที่สุด ที่ไม่มีขอบเขตไม่มีเวลา ไม่ใช่สวรรค์หรือนรก ไม่มีอะไรขวางกั้น...มนุษย์ทุกคนที่เริ่มเติบใหญ่ มีความสมบูรณ์พร้อมเป็นพ่อ...เป็นแม่ ต้องเคยผ่านประสบ
การณ์นี้มาบ้าง ไม่มากก็น้อยและเป็นช่วงเวลามหัศจรรย์ที่นักวิทยาศาสตร์พยายามหาคำตอบ ณ ห้วงเวลานั้น และก่อนหน้านั้น ว่าเกิดอะไรขึ้น (https://www.thairath.co.th/content/526408)

6.ในปี ค.ศ.1970 นักจิตวิทยา Helen Singer Kaplan ที่ Weill Medical College of Cornell University ในโครงการ Human Sexuality Program ได้เพิ่มเติมองค์สำคัญในวงจรของเซ็กซ์ นั่นคือ “ความ
อยากหรือปรารถนา” (Desire) ซึ่งในทฤษฎีประกอบด้วย 3 ขั้นตอน (3 stage model) กล่าวคือ เริ่มต้นจากความอยากปรารถนา ก่อนที่จะมีความตื่นตัวทางเพศ กามารมณ์ และจบที่ Orgasm ทั้งนี้ Kaplan ได้ย้ำถึงความสำคัญของ “ความอยาก” ซึ่งแทบจะเป็นกระบวนการทางจิตอารมณ์ทั้งหมด และทำให้สามารถอธิบายได้ถึงความล้มเหลวทางเพศ อันเนื่องมาจากกังวล ความที่ไม่สามารถสื่อสารให้เข้าใจกันได้ระหว่างกันและกัน หรือความรู้สึกต่อต้านที่อยู่ในใจ

credit://www.thairath.co.th/content/528039...กลไกความรู้สึกสู่จุดสุดยอด เกิดอะไรขึ้นตอนนั้น (1-2) บทความสุขภาพหรรษา 20,27 กันยายน 2558.







Create Date : 27 กันยายน 2558
Last Update : 27 กันยายน 2558 11:36:04 น.
Counter : 1054 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กันยายน 2558

 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
28
29
30
 
 
All Blog