พระนิพพานดับอะไร
พระนิพพานดับอะไร

    อาจารย์วศิน อินทสระ https://www.facebook.com/W.Indhasara อัลบั้ม คติชีวิต กล่าวว่า

    พระนิพพานดับอะไร

    พระนิพพานที่ว่าดับนั้น 

    ดับอะไรได้บ้าง?

    (๑) ประการแรกทีเดียว น่าจะเป็นการดับอวิชชา คือ ความไม่รู้ ความเขลา ความโง่หรือมืดมน เอาอะไรมาดับอวิชชา ก็วิชชานั้นแหละ เหมือนเราดับความมืดด้วยความสว่าง 

    ในทางกลับกัน เมื่อแสงสว่างดับไปความมืดก็ปรากฏขึ้น 

    เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว

    ทรงแสดงธรรมจักรแก่ปัญจวัคคีย์ 

    ตรัสว่า ญาณ วิชชา ปัญญา แสงสว่าง (อาโลโภ) ได้เกิดขึ้นแล้วแก่พระองค์

    อวิชชานั้นเป็นมูลรากแห่งทุกข์

    นานาประการ กล่าวคือ เพราะความมืด ความไม่รู้แจ้งนั่นเอง ทำให้

    คนผิดพลาดนานาประการ เราจึงมักได้ยินคนพูดเสมอว่า ถ้ารู้อย่างนี้

    เสียแต่แรกก็จะไม่ทำอย่างนี้ และคงไม่เดือดร้อนเช่นนี้ เหมือนอย่างว่ากลางคืนมีความมืดปกคลุม มองอะไรเห็นไม่ถนัด บางคนเห็นงูเป็นเชือกจึงเหยียบเอา ย่อมถูกงูกัดถึงตายหรือเจียนตาย ถ้าเห็นเชือกเป็นงู ย่อมตกใจกลัวโดยไร้เหตุผล กลัวไปเปล่าๆ ก่อให้เกิดทุกข์จากความกลัวนั้น แต่ถ้าเป็นกลางวัน มีแสงสว่าง เพียงพอ เขามองเห็นงูเป็นงู เชือกเป็นเชือกจึงปฏิบัติตนได้ถูกต้อง ย่อมไม่ถูกงูกัด หรือไม่ต้องกลัว โดยไม่สมเหตุ ข้อนี้ฉันใด คนที่ยังมีอวิชชาและโมหะอยู่ก็ฉันนั้น ย่อมเห็นอะไรๆ ในชีวิตอย่างไม่ชัดเจน เข้าใจผิด ทำผิด พูดผิด ดำเนินชีวิตผิด ความทุกข์ก็ตามมา เพราะความผิดเหล่านั้น 

    เมื่อวิชชาเกิดขึ้น อวิชชาก็ดับไป การดับอวิชชาเสียได้เป็นนิพพานโดยนัยหนึ่ง...

    (๒) ความสิ้นราคะ โทสะ โมหะ เรียกว่า นิพพาน เช่นพระพุทธภาษิตที่ว่า ราคโทสโมหกฺขยา ปรินิพฺพุโต (มหาปรินิพพานสูตร) ราคะ โทสะ โมหะนั้น พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นไฟบ้าง เป็นลูกศรบ้าง เพราะเผาใจของเราให้ร้อนและเสียบแทงให้เจ็บ ผู้ที่ดับราคะ โทสะ โมหะได้แล้ว ย่อมไม่มีความร้อนใจหรือเจ็บใจ มีแต่ความเย็นใจ (นิพพาน)..

    (๓) การดับตัณหาเสียได้ เรียกว่า นิพพาน ดังพระบาลีในธรรมจักรกัปปวัตตนสูตรที่ว่า  ตณฺหาย อเสสวิราคนิโรโธ การคลายออกซึ่งตัณหา การดับซึ่งตัณหาโดยไม่เหลือ เรียกว่า นิโรธ หรือนิพพาน 
    อีกอย่างหนึ่ง นิพพาน หมายถึง ออกจากเครื่องเสียบแทงคือตัณหาออกไปหมด...

    (๔) การดับกองทุกข์โดยสิ้นเชิง เรียกว่านิพพาน ดังพระบาลีใน ปฏิจจสมุปบาทที่ว่า เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกขกฺ ขนฺธสฺส นิโรโธ โหติ ความดับกองทุกข์โดยสิ้นเชิง ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ กล่าวคือ ความดับทุกข์โดยสิ้นเชิงนี้ สืบเนื่องมาจากการดับอวิชชา ตัณหา อุปาทานนั่นเอง การดับกิเลส เป็นเหตุ การดับทุกข์เป็นผล  ในที่นี้เล็งถึงผล..

    รวมความว่า นิพพานคือการดับเพลิงกิเลสและเพลิงทุกข์ เมื่อดับเพลิงกิเลสและเพลิงทุกข์ ได้แล้วก็มีความสงบเย็น

    พระนิพพานดับอะไร

    ตอบว่า แค่คำพูดนี้ก็ผิดแล้ว เพราะว่านิพพานไม่ใช่เป็นตัวดับ เราจะต้องดับแล้วถึงจะเป็นนิพพาน ถึงจะเข้าสู่ภาวะนิพพาน ฉะนั้น นิพพานไม่ใช่เป็นตัว "ดับ" และนิพพานไม่ใช่เป็นตัวปัญญา เป็นสภาวะมีปัญญาที่ทำเรียบร้อยแล้ว

    (๑) ประการแรกทีเดียว น่าจะเป็นการดับอวิชชา คือ ความไม่รู้ ความเขลา ความโง่หรือมืดมน เอาอะไรมาดับอวิชชา ก็วิชชานั้นแหละ เหมือนเราดับความมืดด้วยความสว่าง 

    ตอบว่า    "นิพพาน" ไม่ใช่ปัญญา คือคุณจบปัญญา คุณทำได้ จึงจะเข้าสู่ภาวะนิพพาน นิพพานเป็นผลของปัญญา นิพพานไม่ใช่เป็นเหตุ

    แล้วอะไรที่เป็นเหตุ ก็คือ "ปัญญา" ปัญญาที่เรารู้ตรงนั้น รู้อวิชชาจึงดับอวิชชา จึงจะเกิดผลเป็นนิพพานได้ นี่แหละอย่ากระโดดเกินไป


    ปัญญามีวิชชา จึงดับอวิชชา จึงเข้าสู่นิพพานได้


    (๒) ความสิ้นราคะ โทสะ โมหะ เรียกว่า นิพพาน เช่นพระพุทธภาษิตที่ว่า ราคโทสโมหกฺขยา ปรินิพฺพุโต (มหาปรินิพพานสูตร) ราคะ โทสะ โมหะนั้น พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นไฟบ้าง เป็นลูกศรบ้าง เพราะเผาใจของเราให้ร้อนและเสียบแทงให้เจ็บ ผู้ที่ดับราคะ โทสะ โมหะได้แล้ว ย่อมไม่มีความร้อนใจหรือเจ็บใจ มีแต่ความเย็นใจ (นิพพาน)..

    ตอบว่า เราจะเรียกว่า "สิ้น" ไม่ได้ เพียงแต่ว่ามีราคะฯ แต่ว่าทำอะไรเราไม่ได้ เราควบคุมได้

    แต่ถ้าปรินิพพานแล้ว ตายแล้ว จะมีราคะ โทสะฯ ไหม?

    ก็จะต้องเข้าสู่ในธรรมต่อไป ตามภาวะต่อไป

    ใช้คำว่า "สิ้น" ไม่ได้ คือ เพียงแต่ว่าเขาทำอะไรเราไม่ได้ ไม่ข้องแวะกัน เขาเรียกว่า อุเบกขาต่อกัน ไม่ถูกครอบงำซึ่งกันและกัน


    (๓) การดับตัณหาเสียได้ เรียกว่า นิพพาน ดังพระบาลีในธรรมจักรกัปปวัตตนสูตรที่ว่า  ตณฺหาย อเสสวิราคนิโรโธ การคลายออกซึ่งตัณหา การดับซึ่งตัณหาโดยไม่เหลือ เรียกว่า นิโรธ หรือนิพพาน 
    อีกอย่างหนึ่ง นิพพาน หมายถึง ออกจากเครื่องเสียบแทงคือตัณหาออกไปหมด...

    ตอบว่า ตัณหาดับไม่ได้ เพราะว่าพวกนี้เป็นของธรรม เราดับเขาไม่ได้หรอก เราเพียงแต่ว่า เราควบคุมตัวเองไม่ไปข้องแวะกัน ไม่ต้องให้เขามาข้องแวะเรา

    ใช้คำว่า "คลายออกซึ่งตัณหา" คำนี้ใช้ได้

    อันนี้เป็นการกล่าวถึงบุคคล ไม่ใช่กล่าวถึงตัวตัณหา

    ตัณหายังอยู่ เพียงแต่ว่า เราคลายออก แต่ว่าตัณหาไม่ได้อยู่ในตัวเราแล้วนะ 

    คำว่า " การดับซึ่งตัณหาโดยไม่เหลือ" ไม่เหลือแล้วแสดงว่าอยู่ข้างนอก แม้ว่าเราเอาตัณหาออกจากตัวเราแล้ว ตัณหาก็ต้องอยู่ข้างนอก ไม่ใช่ว่าตัณหาหายไป เพราะว่าตัณหาอยู่ในธรรม

    คนทั่วไปตีความผิดอยู่เรื่อย คือ เอาจากตัวคุณออกไป แสดงว่าเขาเกี่ยวข้องเราไม่ได้ อาศัยเราไม่ได้ ครอบงำเราไม่ได้ เราจึงไม่มีตัณหา แต่ตัณหายังอยู่นะ แต่ถ้าเมื่อไหร่เราเผลอ เราก็จะโดนครอบงำทันที


    (๔) การดับกองทุกข์โดยสิ้นเชิง เรียกว่านิพพาน ดังพระบาลีใน ปฏิจจสมุปบาทที่ว่า เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกขกฺ ขนฺธสฺส นิโรโธ โหติ ความดับกองทุกข์โดยสิ้นเชิง ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ กล่าวคือ ความดับทุกข์โดยสิ้นเชิงนี้ สืบเนื่องมาจากการดับอวิชชา ตัณหา อุปาทานนั่นเอง การดับกิเลส เป็นเหตุ การดับทุกข์เป็นผล  ในที่นี้เล็งถึงผล..

    ตอบว่า ข้อนี้ยิ่งผิดไปใหญ่ การดับไม่ใช่ตัวนิพพาน แต่เป็นปัญญาไปดับ เสร็จแล้วมันพร้อมจึงจะเข้าสู่นิพพาน

    เหมือนกับ เราสอบได้ เราถึงจะได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย ไม่ใช่ว่ามหาวิทยาลัยทำให้เราสอบได้ ชัดเจนไหม? แต่เป็นเพราะปัญญาของเราทำให้เราสอบได้ต่างหาก ยกตัวอย่างนี้ทำให้เห็นชัดเจนที่สุดไหม?

    แสดงว่าอาจารย์วศินยังไม่ได้ข้ามฝั่งว่าฝั่งนั้นมีอะไร แต่อากงข้ามฝั่งแล้วไปรู้ว่าฝั่งนั้นมีอะไร แล้วกลับมาฝั่งนี้




 



Create Date : 03 มิถุนายน 2563
Last Update : 3 มิถุนายน 2563 16:33:36 น.
Counter : 240 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พรหมสิทธิ์
Location :
เชียงราย  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต

ศึกษาเรียนรู้ธรรมะโดยธรรม นำมาปฏิบัติ และเผยแผ่ธรรมะนั้น ให้คนรู้จักบริหารกรรม แก้กรรม พัฒนากรรม ให้เกิดสันติสุข
New Comments
Group Blog
มิถุนายน 2563

 
1
2
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog