นิพพานใช้คำว่า "บรรลุ" ได้ไหม?
นิพพานใช้คำว่า "บรรลุ" ได้ไหม?
ใช้คำว่าบรรลุได้ แต่ไม่สมบูรณ์ เพราะว่าบรรลุแล้วยังมีขั้น
บรรลุ แปลว่า ถึง ถึงแล้วเราจะรักษาได้ไหม? เข้าใจได้ไหม? ยังเป็นขั้นๆ เช่น ที่เข้าไปแล้วสามารถดำรงอยู่ตรงนั้นได้ ดำรงอยู่ในนิพพาน ได้ ๕ ขัั้นตอน
บรรลุ แปลว่า ถึงแล้ว เราก็ต้อง ซึ้ง ประจักษ์ ถ่องแท้ ดำรงสภาวะนั้นๆ
ส่วนพระพรหมคุณาภรณ์ได้อธิบายไว้ดังนี้ (พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตโต). ๒๕๕๗. พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ ๓๙. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๔๘๑.)
คำว่า “บรรลุนิพพาน” นี้ ใช้ตามที่เห็นว่าเป็นคำคุ้นหูหรือฟังง่ายสำหรับคนทั่วไป แต่ความจริง คำที่ถูกต้องตรงกว่าหรือถือได้ว่าเป็นศัพท์เฉพาะสำหรับกล่าวถึงการบรรลุนิพพาน ได้แก่คำว่า “สจฺฉิกิริยา” (คัมภีร์รุ่นหลังใช้ สจฺฉิกรณ บ้าง; รูปกริยาเป็น สจฺฉิกโรติ เป็นต้น ซึ่งแปลตามแบบว่า “การทำให้แจ้ง” แปลตามอรรถกถาว่า การทำให้ประจักษ์ หมายถึงประสบเอง; คำว่า “การทำนิพพานให้แจ้ง” ฟังดูไม่สู้สะดวกสำหรับคนทั่วไป จึงเลี่ยงมาใช้คำว่า “บรรลุนิพพาน แต่ต่อนี้ไป บางทีจะใช้คำว่า
“การประจักษ์แจ้งนิพพาน” แทรกไปบ้าง เพราะดูเหมือนจะหลีกความเข้าใจผิดได้ดีกว่าคำว่า บรรลุนิพพาน
ส่วนคำว่าบรรลุนั้น ตรงกับบาลีว่า “อธิคม” (รูปกริยาเป็น อธิคจฺฉติ เป็นต้น) และ “ปตฺติ” (รูปกริยาและคุณนามที่ใช้กับนิพพาน คือ ปตฺต) ทั้งสองคำนี้ พบที่ใช้กับนิพพานหลายแห่ง แต่ก็รองลงมา และส่วนมากใช้ในคำร้อยกรอง คือ คาถา