ความหมายของ ธรรม
ความหมายของ “ธรรม”
คำว่า “ธรรม” คนทั่วไปยังคิดไปสิ้นสุดในคำว่า “ธรรมชาติ” ตัวอย่างเช่น คนทั่วไปแปลว่า ธรรมะ คือ ธรรมชาติ เราต้องแปลความหมายต้องลึกกว่านั้น คือ “ธรรม (Dhamma) คือ เป็นตัวขบวนการก่อเกิดให้เกิดธรรมชาติ”
ผู้เรียนวิชาจิตวิทยา (psychology) ก็คือเรียนรู้พฤติกรรมของมนุษย์นี่เอง วิชานี้ก็เป็นวิชาธรรมะอย่างหนึ่ง เราว่าเป็นเบื้องต้นก็ได้ คือ เห็นรูปแล้วเขาทำ แต่ส่วนลึกที่สุด แล้วเขาทำไมต้องทำ แล้วทำไมต้องเกิดต้องทำ
ทางจิตวิทยานี้ นักจิตวิทยาพอไปอ่านหนังสือพระพุทธเจ้า ศึกษาพระพุทธเจ้า แม้แต่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) เขายังยอมรับเลยว่า จิตวิทยานี้อ่อนมาก พระพุทธเจ้าสูงกว่าเยอะ ลึกกว่าเยอะ แม้แต่วิทยาศาสตร์ ยังยอมรับว่าแค่นิดเดียว แค่เป็นแขนงเดียวในของคำว่า “ธรรม” พระพุทธเจ้าเป็นนักวิทยาศาสตร์เลย มีหลายๆ ส่วน ท่านพูดก่อนตั้งสองพันกว่าปี วิทยาศาสตร์ยังหาไม่เจอ เพิ่งมาเจอเมื่อร้อยกว่าปีนี่เอง
^_^ ..._/_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
.
ธรรม ๑ ธรรม ธรรมะ
[ทํา ทํามะ] น. คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม คําสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม ความความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม ความยุติธรรม ความถูกต้อง เช่น เป็นธรรมในสังคม กฎ กฎเกณฑ์ เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ สิ่งทั้งหลาย สิ่งของ เช่น เครื่องไทยธรรม. (ส. ธรฺม ป. ธมฺม).คําประกอบท้ายคําที่เป็นนามธรรม เมื่อประกอบแล้วมีความหมายไม่ต่างไปจากคําศัพท์เดิม เช่น วัฒนธรรม อารยธรรม.น. สมณศักดิ์พระราชาคณะ สูงกว่าชั้นเทพ ตํ่ากว่าชั้นหิรัญบัฏ เรียกว่า ชั้นธรรม เช่น พระธรรมโกศาจารย์ พระธรรมเจดีย์.[ทํา ทํามะ] น. คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม