สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ

การนอนในวัยต่างๆ

ปัจจัยที่สำคัญอันหนึ่งของการนอนในคนเรา คือ ปัจจัยทางกรรมพันธุ์ ยกตัวอย่างเข่น แฝดแท้ หรือ แฝดเหมือน (identical twins) จะมีลักษณะหรือรูปแบบของการนอนที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันมากกว่าในแฝดเทียม หรือ แฝดต่าง (nonidentical twins) หรือในเครือญาติ

ความแตกต่างของรูปแบบการนอนและการตื่น ดูเหมือนจะเป็นสมบัติติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด มีการจัดแบ่งลักษณะอย่างไม่เป็นทางการ เช่น พวกที่เป็นนกฮูก (night owls) หรือคนที่ชอบนอนดึก และพวกที่เป็นนกกระจาบ (larks) หรือคนที่ชอบตื่นเช้า นอกจากนี้ก็ยังมีการแยกประเภทคนและการนอนตามคุณภาพของการนอน คือ พวกที่นอนหลับลึก (deep sleepers) และพวกที่นอนหลับตื้น (light sleepers) หรือแบ่งตามชั่วโมงของการนนอน คือ พวกที่นอนสั้น คือ น้อยกว่า 6 ชั่วโมง (short sleeperes) และ พวกที่นอนยาว คือมากากว่า 8 ชั่วโมง (long sleepers)

นอกจากปัจจัยทางกรรมพันธุ์แล้ว ยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่มีผลต่อการนอนของเรา ปัจจัยของอายุก็นับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอันหนึ่ง เนื่องจากอายุมีผลต่อจำนวนชั่วโมงการนอนในแต่ละคืน

ในเด็กแรกเกิด จะมีการนอนหลับแบบหลับๆ ตื่นๆ ตลอดทั้งวัน นับเป็นชั่วโมงโดยประมาณ 18 ชั่วโมง โดยที่ครึ่งหนึ่งของกานนอนจะเป็นการนอนแบบที่มีการกรอกของลูกตาแบบเร็ว หรือที่เรียกว่า REM sleep (rapid eyes movement sleep) นอกจากนี้วงจรของการนอน (sleep cycle) 1 รอบ โดยนับจากการนอนที่ไม่มีการกรอกลูกตาแบบเร็ว (non-REM sleep) ไปยัง REM sleep จะสั้น คือน้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงโดยประมาณ พออายุประมาณ 4 สัปดาห์ การนอนหลับแบบหลับๆ ตื่นๆ จะลดลง คือมีการนอนในแต่ละครั้งนานขึ้น ประมาณ 6 เดือน จะมีการนอนในช่วง non-REM sleep มากขึ้น เริ่มมีพฤติกรรมการนอนที่มีรูปแบบมากขึ้น คือนอนได้ยาวนานขึ้นในตอนกลางคืน และมีการนอนช่วงสั้นๆ ในเวลากลางวัน ช่วงเช้าและช่วงบ่าย (napping)

พอโตขึ้นอีกหน่อย ในวัยก่อนเข้าโรงเรียน ช่วงเวลาของการนอนตอนกลางวันจะสั้นลง สั้นลงเรื่อยๆ ในช่วงอายุประมาณ 6 ขวบ เด็กส่วนใหญ่จะตื่นตลอดวัน และนอนประมาณ 10 ชั่วโมง ในตอนกลางคืน

ระหว่างอายุ 7 ขวบ ถึง วัยเริ่มหนุ่มสาว (puberty) การสร้างสารเมลาโทนิน (melatonin, สารสื่อประสาทที่มีความสำคัญต่อขบวนการนอนหลับ) จะมีการหลั่งมากที่สุดเมื่อเทียบกับอายุช่วงอื่น ทำให้การนอนของเด็กในวัยนี้เป็นการนอนที่ลึก (deep sleep) และมีคุณภาพ (restorative sleep) ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างการและสมอง จะเห็นได้ว่าเด็กในวัยนี้มีความสดชื่น แจ่มใส ไม่มีอาการง่วงหวาวหาวนอนในเวลากลางวัน ดังนั้น ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ ถ้าลูกหรือญาติของท่านซึ่งอยู่ในวัยนี้มีอาการง่วงหวาวหาวนอนในเวลากลางวัน ควรหาสาเหตุของการเกิด หรือพาไปพบแพทย์แต่เนิ่นๆ

วัยรุ่น (adolescence) เป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการทั้งทางร่างกายและสมองมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับวัยอื่นๆ ยกเว้นวัยแรกเกิด จริงๆ แล้ว คนในวัยนี้ต้องการการนอนมากกว่าเด็กๆ หรือวัยเริ่มหนุ่มสาว (puberty) ประมาณ 1 ชั่วโมง แต่ในความเป็นจริงแล้วพบว่า คนส่วนใหญ่ในวัยนี้นอนน้อยกว่าความต้องการจริง ประมาณ 1 ชั่วโมง และเป็นความเข้าใจที่ผิดๆ ที่พบเจออยู่เสมอว่า พ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะคิดว่ากิจกรรมต่างๆ ที่มีมากมายของลูกๆ ที่อยู่ในวัยนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกๆ ของตนเหนื่อยล้า มีอาการขี้เซา ปลุกให้ตื่นยากและท่าทางงงงวยไม่สดชื่นหลังตื่นนอน แต่แท้ที่จริงแล้วอาการต่างๆ เหล่านั้นเกิดขึ้นจากการที่นอนไม่พอนั้นเอง

อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวอาจเกิดจากความผิดปกติของจังหวะวงจรชีวิต (circadian rhythm) ยกตัวอย่างเช่น delayed sleep phase syndrome (DSPS) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในวัยรุ่น ประมาณร้อยละ 5 – 10 เป็นความผิดปกติของการนอนที่เกิดจากการมี circadian rhythm ยาวกว่าปกติ ทำให้ไม่รู้สึกง่วงนอนและนอนไม่หลับเมื่อถึงเวลาที่เคยนอน แม้ว่าจะต้องการนอนก็ตาม ทำให้ไม่เข้านอนในเวลานอนปกติของคนทั่วไปในวัยเดียวกัน (ช่วงเวลาประมาณ 3-5 ทุ่ม) แต่จะเริ่มรู้สึกง่วงและสามารถนอนหลับได้ไม่ยากในเวลาที่ช้ากว่าเดิมประมาณ 60 – 90 นาที ซึ่งเป็นในเวลาที่ดึกกว่าปกติของคนทั่วไปในวัยเดียวกัน (เที่ยงคืน หรืออาจจะดึกกว่านั้นคือ ตี 2 ตี 3 ตี 4...) และไม่สามารถตื่นได้ในเวลาที่ควรตื่นเพื่อไปโรงเรียน (ช่วงเวลาประมาณ 6-7 โมงเช้า) หรือตื่นยาก และมักตื่นสายกว่าเวลาที่ควรจะตื่น หากปลุกให้ตื่นตามเวลาก็จะทำให้มีอาการง่วงนอนมากในตอนกลางวัน ทำให้รบกวนต่อกิจวัตรประจำวันอย่างมากโดยเฉพาะด้านการเรียนและสังคม อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นระหว่างพ่อแม่และลูกๆ ในหลายครอบครัว นอกจากนี้แล้ว ยังอาจมีผลต่อเนื่องไปยังโรงเรียนของเด็กได้ ในกรณีที่โรงเรียนมีความเข้มงวดเรื่องกฎระเบียบของการมาโรงเรียนให้ตรงเวลา

ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น (young adulthood) รูปแบบของการนอน ถ้าดูแบบผิวเผิ่นจะค่อนข้างคงที่ แต่จริงๆ แล้ว มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ในช่วงอายุระหว่าง 20 ถึง 30 ปี ช่วงเวลาของการนอนลึก (deep sleep) จะลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง และจำนวนครั้งของการตื่นระหว่างกลางคืนจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า เมื่ออายุย่างเข้า 40 ปี โดยทั่วไปจะพบว่าไม่มีการนอนลึกหรือการนอนในช่วง stage 4 แล้ว แต่อาจจะพบการนอนลึกในช่วง stage 3 อยู่บ้าง

สำหรับผู้หญิงในวัยนี้ที่มีการตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกายมีผลต่อการนอน คือในระหว่างตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสแรก หญิงมีครรภ์บางคนจะมีอาการง่วงอยู่ตลอดเวลา และถ้าโอกาสเอื้ออำนวย อาจจะนอนได้ยาวขึ้น 1-2 ชั่วโมงต่อคืน แต่เมื่อเข้าไตรมาสที่ 2 และ 3 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและระดับฮอร์โมนมากขึ้น ทำให้การนอนมีคุณภาพ (sleep efficiency) ลดลง ส่งผลให้มีอาการอ่อนเพลีย ซึ่งอาการอ่อนเพลียและง่วงนอนจะเพิ่มมากขึ้นในช่วงหลังคลอด เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับบุตร ทำให้หลับๆ ตื่นๆ ตลอดคืน และยังรวมถึงการให้นมบุตรในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งในปัจจุบันนี้นักวิจัยกำลังให้ความสนใจเกี่ยวกับกรณีการนอนของหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีคุณภาพ อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังตั้งครรภ์ (post-partum depression)

สำหรับผู้หญิงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ ก็อาจจะมีประสปการณ์ของการนอนที่เปลี่ยนแปลงในรอบเดือนได้ ซึ่งก็เป็นเหตุจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายในรอบเดือน กล่าวคือ ในระหว่างไข่ตก (ovulation) และการมีประจำเดือน (menses) รอบถัดไป ผู้หญิงบางคนจะง่วงหลับได้เร็วขึ้นและมีการนอนในช่วง REM ได้เร็วกว่าปกติ

เมื่อเข้าวัยกลางคน (middle age) การนอนลึกในช่วง stage 3 เริ่มที่จะลดลง การตื่นกลางดึกอาจเกิดได้บ่อยครั้งขึ้นและการตื่นมีเวลานานขึ้น พบได้บ่อยครั้งที่มักจะตื่นหลังจากนอนได้ 3-4 ชั่วโมง ในผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน (menopause) อาการร้อนวูบวาบ (Hot flashes) เป็นต้นเหตุสำคัญของการตื่นขึ้นมากลางดึก และอาจนำไปสู่โรคนอนไม่หลับ (insomnia) ได้




ขอบคุณข้อมูลจาก
อ.ดร.ปุณฑริกา สุวรรณประเทศ
ภาควิชาสรีรวิทยา ศูนย์นิทรรักษ์ศิริราช
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล




 

Create Date : 20 พฤศจิกายน 2553
17 comments
Last Update : 20 พฤศจิกายน 2553 7:18:16 น.
Counter : 5936 Pageviews.

 

สุขสันต์กับเทศกาลลอยกระทงครับ
มีความสุข สนุกสนานครับ

 

โดย: ถปรร 20 พฤศจิกายน 2553 10:31:27 น.  

 

..สวัสดีค่ะพี่กบ..ปีนึงผ่านไปเร็วจริงๆด้วย..อาทิตย์ที่แล้วคุณป้าอ๋อป่วยเข้าโรง'บาล .. อายุ 81 แล้ว..เลือดออกที่กระเพาะอาหาร..ต้องนอน ICU ..ทำเอาเราใจหายใจคว่ำ..ตอนนี้สบายดี ปลอดภัยแล้วค่ะ..พี่กบก็อย่าลืมดูแลสุขภาพตนเองนะคะ

 

โดย: อ๋อซ่าส์ 20 พฤศจิกายน 2553 12:23:14 น.  

 

มาเยี่ยมครับ

 

โดย: nuyect 20 พฤศจิกายน 2553 19:02:59 น.  

 


นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ

ความสุขที่ยิ่งกว่าความสงบย่อมไม่มี

มีความสุขกับความสงบกายเย็นใจ ตลอดไป..นะคะ



ใกล้งานวันแต่งลูกสาวแล้ว..ค่ะ

ปอป้า ก็เลยต้องห่างหายไปจากบล็อกบ้าง

แต่ก็ยังคิดถึงเพื่อน ๆ ทุกท่านเสมอ..นะคะ

.....................

ปอป้า เป็น สอวอ มีปัญหาในการนอนไม่หลับมาก..ค่ะ



 

โดย: พรหมญาณี 20 พฤศจิกายน 2553 19:26:45 น.  

 

สวัสดีครับน้องกบ

ในวัย 40 ตอนปลาย รู้สึกว่าจะนอนน้อยลง แต่พอหัวถึงหมอนมักจะหลับไว ถ้าตื่นตอนตี 4 แล้วก็จะตื่นเลย ตามันจะค้างแข็ง ไม่สามารถหลับต่อได้ เข้ามาอ่านวันนี้ได้ประโยชน์อย่างยิ่งเลยครับ

 

โดย: ปลายแป้นพิมพ์ 20 พฤศจิกายน 2553 22:15:17 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับคุณกบ






 

โดย: กะว่าก๋า 21 พฤศจิกายน 2553 4:52:40 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

เช่นเดียวกันนะครับ น้องกบ

 

โดย: ปลายแป้นพิมพ์ 21 พฤศจิกายน 2553 10:32:26 น.  

 

สุขสันต์วันลอยกระทงครับ

 

โดย: ถปรร 21 พฤศจิกายน 2553 12:32:35 น.  

 

สุขสันต์วันลอยกระทงนะคะ

 

โดย: jamaica 21 พฤศจิกายน 2553 14:02:31 น.  

 

อายุมากขึ้นรู้สึกว่าหลับไม่ค่อยสนิท แต่ไหงสามีว่าเรากรน สงสัยเขาจะฝันเนาะ

 

โดย: tuk-tuk@korat 21 พฤศจิกายน 2553 14:23:40 น.  

 

ยามปวดหัวตัวร้อนนอนไม่หลับ
จริงไหมครับมิใครปลื้มดื่มยาขม
รีบปรึกษา"หมอกบ"(kopnon) สบอารมณ์
ผมนิยมว่าเขาดีมีหยูกยา

 

โดย: panwat 21 พฤศจิกายน 2553 16:00:37 น.  

 

ขอทุกท่าน สุข,รวยทรัพย์

นับไม่สุด ตลอดไปค่ะ

ปรารถนาแค่ขอก็ได้จริง
.............................................


แล้วคลื่นหมอกลอยเย้ากระเซ้าหญ้า
วิกฤติภัยไล่ล่าเบาบ่าคลั่ง
ขมขื่นปวดร้าวหยุดผ่าวประดัง
กรีดร้องสะอื้นรั้ง...ดุจสั่งรู้

น้ำคืนคลอง,ทะเลมาเห่กล่อม
ประคองถนอมวาดหวานประสานหรู
หมื่นปรารถนาดั่งให้ชนได้ชู
กระทงน้อยลอยอยู่ตรงประตูรวย

รวยเวิ้งวาดหาดสมระดมสุข
ประสานร้าวทุกดวงพานล่วงห้วย
แว่วระฆังกังสดาลสมานระรวย
ระทดระทวยเหือดแห้งชัดแจ้งงาม

ค่ำสู่ดึกลมเร่งบรรเลงชื่น
ชนยืนดูชลาลัยส่งนัยถาม
กระซิบขอหวังฉ่ำทุกค่ำยาม
หวานหวามไหวสราญสู่บ้านเรือน
 
สัมผัสรสราตรีทิวาสงบ
ภาพที่พบมีสิทธิ์ประดิษฐ์เสมือน
ดื่มด่ำสุขกับยามดาวตามเดือน
ขอได้ไหมยามเยือนขอเหมือนคิด
 
ระบายพรรจนาทาบทาสี
พรดีดลทุกท่านเบิกบานสนิท
เสียงหัวเราะอรรถรสสะกดชิด
ม่านวิจิตรคลี่ห่มดับลมปลิว

 

โดย: ญามี่ 21 พฤศจิกายน 2553 16:06:17 น.  

 



สุขสันต์วันลอยกระทงค่ะ

 

โดย: nootikky 21 พฤศจิกายน 2553 16:13:30 น.  

 

สุขสันต์วันลอยกระทงค่ะ ^^


 

โดย: โสดในซอย 21 พฤศจิกายน 2553 20:32:57 น.  

 

สุขสันต์วันลอยกระทงค่าคุณกบ

 

โดย: น้ำฝน ❤ (CeciLia_MaLee ) 22 พฤศจิกายน 2553 1:53:52 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


สวัสดียามเช้าวันจันทร์
เริ่มเช้าวันใหม่ของสัปดาห์ด้วยความสุขค่ะคุณกบ

 

โดย: ดอกฝิ่นในสายลมหนาว 22 พฤศจิกายน 2553 6:31:20 น.  

 

 

โดย: น้องเมย์น่ารัก 5 ตุลาคม 2557 0:40:09 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
20 พฤศจิกายน 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.