สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
มะเร็งโคนลิ้น มะเร็งต่อมทอนซิล (มะเร็งออโรฟาริ้งค์)





โคนลิ้นและต่อมทอนซิลเป็นอวัยวะที่อยู่ในส่วนเรียกว่า ออโรฟาริ้งค์ (Oropharynx) ออโรฟาริ้งค์เป็นตำแหน่งที่เชื่อมต่อระหว่างช่องปากและช่องคอ อวัยวะที่อยู่ในบริเวณนี้มากหลากหลายอวัยวะที่รู้จักคุ้นเคยกัน คือ โคนลิ้น ต่อมทอนซิล เพดานอ่อนและลิ้นไก่ มะเร็งของอวัยวะต่างๆ ในบริเวณนี้จะมีสาเหตุ อาการ อาการแสดงระยะโรค ความรุนแรงและวิธีการดูแลรักษาเหมือนกัน

มะเร็งออโรฟาริ้งค์ มักพบในอายุ 50 ปีขึ้นไป พบในเพศชายบ่อยกว่าเพศหญิง


สาเหตุของการเกิดมะเร็งออโรฟาริ้งค์

สาเหตุที่แน่นอนของมะเร็งออโรฟาริ้งค์ยังไม่ทราบ แต่พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ

- การดื่มสุราจัด
- การสูบบุหรี่จัด
- ส่วนเรื่องอาหารและการติดเชื้อไวรัสยังอยู่ในการศึกษาวิจัยว่าจะมีความสัมพันธ์กับมะเร็งชนิดนี้หรือไม่?


อาการและอาการแสดงของมะเร็งออโรฟาริ้งค์ อาการที่พบได้บ่อยได้แก่

1.เจ็บคอเรื้อรัง
2.มีแผลเรื้อรังในบริเวณออโรฟาริ้งค์ เช่น ที่โคนลิ้น ที่ต่อมทอมซิลหรือในช่องปากข้างๆ ด้านในของลำคอ เป็นต้น
3.มีก้อนในบริเวณออโรฟาริ้งค์ตรงอวัยวะที่เป็นมะเร็ง เช่น มีต่อมทอนซิลโตผิดปกติ เป็นต้น และก้อนนี้จะโตขึ้นเรื่อยๆ โตเร็ว
4.อาจมีเลือดปนน้ำลายหรือเสลด
5.กลืนอาหารแล้วรู้สึกติดคอ ไม่คล่อง เจ็บ
6.ถ้าก้อนโตมากอาจมีอาการหายใจไม่ได้ หายใจไม่ออก เพราะก้อนจะโตไปอุดทางเดินหายใจได้
7.ถ้าเป็นระยะลุกลาม โรคจะกระจายมาต่อมน้ำเหลืองที่คอข้างเดียวหรือ 2 ข้างก็ได้ ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต คลำได้


การตรวจเพื่อวินิจฉัยและเพื่อหาระยะของโรค แพทย์จะตรวจวินิจฉัยโรคโดย

-ซักถามประวัติ อาการ อาการแสดงและการตรวจร่างกาย
-การตรวจทางหู คอ จมูก ในช่องปาก ช่วงออโรฟาริ้งค์และลำคอ
-การตรวจคลำต่อมน้ำเหลืองที่คอทั้ง 2 ข้าง
-ถ้าสงสัยแพทย์จะตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา


เมื่อผลการตรวจทางพยาธิวิทยา ระบุว่าเป็นมะเร็งแพทย์จะตรวจเพิ่มเติม เพื่อประเมินสุขภาพของผู้ป่วยและหาระยะของโรคได้แก่

-การตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการและตรวจปัสสาวะ
-การถ่ายภาพเอกซเรย์ปอดดูการทำงานของปอดและการแพร่กระจายของโรค
-อาจมีการตรวจทางเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อดูการลุกลามของโรค
-อาจมีการตรวจภาพอัลตราซาวด์ตับ ถ้าสงสัยว่ามีโรคกระจายไปตับ
-อาจมีการตรวจภาพสแกนกระดูก ถ้าสงสัยว่ามีโรคกระจายไปกระดูก

การตรวจเพิ่มเติมต่างๆ จะทำตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ซึ่งจะแต่กต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน ดังนั้นการตรวจต่างๆ ของผู้ป่วยแต่ละคนจะแตกต่างกันไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน


ระยะของโรคมะเร็ง มะเร็งออโรฟาริ้งค์ แบ่งเป็น 4 ระยะ

ระยะที่ 1 ก้อน / แผล มะเร็งมีขนาดเล็ก
ระยะที่ 2 ก้อน / แผล มะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น
ระยะที่ 3 โรคลุกลามเข้าอวัยวะใกล้เคียงและต่อมน้ำเหลืองที่คอโต คลำได้
ระยะที่ 4 ก้อน / แผล มะเร็งลุกลามเข้าอวัยวะใกล้เคียงมากขึ้น กระจายไปต่อมน้ำเหลืองมากขึ้น ต่อมน้ำเหลืองที่คอโตมาก และอาจโตทั้ง 2 ข่างของลำคอ หรือมีโรคแพร่กระจายไกลไปยังอวัยวะอื่นๆ ที่อยู่ไกลออกไป เช่น กระจายไปปอดหรือกระดูก เป็นต้น

ความรุนแรงของโรค ปัจจัยที่เสริมความรุนแรงของมะเร็งออร์โรฟาริ้งค์ มีหลายปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่

ระยะของโรค ยิ่งระยะสูงขึ้น โรคก็รุนแรงมากขึ้น
สภาพร่างกายทั่วไปของผู้ป่วย ถ้าแข็งแรงผลการรักษาก็ดีกว่า
โรคร่วมอื่นๆ ที่มีผลต่อสุขภาพของผู้ป่วย เช่น เบาหวาน ความดัน เป็นต้น ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการรักษา
อายุ ผู้ป่วยสูงอายุ มักทนการรักษาแบบหายขาดไม่ได้


วิธีการรักษามะเร็งออโรฟาริ้งค์ วิธีที่ใช้รักษามะเร็งออโรฟาริ้งค์ มี 3 วิธีคือ รังสีรักษา เคมีบำบัด และการผ่าตัด

รังสีรักษา เป็นวิธีการรักษาหลักในการรักษามะเร็งออโรฟาริ้งค์ ใช้รักษาทุกๆ ระยะของโรค โดยทั่วไปจะเป็นการฉายรังสี ครอบคลุมทั้งส่วนออโรฟาริ้งค์และต่อมน้ำเหลืองที่คอ จะฉายรังสีวันละ 1 ครั้ง ติดต่อกันทุกๆวัน ใน 1 สัปดาห์จะฉาย 5 วันติดต่อกัน หยุดพักสัปดาห์ละ 2 วัน ซึ่งถ้าเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลก็จะหยุดวันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดราชการใช้ระยะเวลารักษาทั้งหมดประมาณ 6-8 สัปดาห์ติดต่อกัน การฉายรังสีจะมีผลกระทบต่อช่องปากและฟัน ฟันจะผุเสื่อมสภาพได้ง่าย ดังนั้นก่อนการฉายรังสีผู้ป่วยจึงต้องได้รับการตรวจรักษาช่องปากและฟันจากทันตแพทย์ก่อน ทันตแพทย์จำเป็นต้องถอนฟันที่มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ออกให้หมดก่อน และจะเริ่มฉายรังสีหลังจากมีการดูแลช่องปากและฟันเรียบร้อยแล้ว แต่ถ้ามีการถอนฟันก็จะต้องรอจนกว่าแผลถอนฟันจะติดดีก่อน

เคมีบำบัด มักให้ร่วมกับรังสีรักษาเสมอจะให้ในผู้ป่วยที่มีโรคลุกลามแล้ว และมีสุขภาพแข็งแรง การให้เคมีบำบัดมักให้ไปพร้อมกับการฉายรังสีแต่ถ้าระหว่างรักษาผู้ป่วยทนการรักษาได้ไม่ดี แพทย์มักจะพักการให้เคมีบำบัดไว้ก่อนแต่จะยังฉายรังสีต่อจนครบแล้วจึงจะกลับมาให้เคมีบำบัดต่อ

การผ่าตัด การผ่าตัดรักษามะเร็งออโรฟาริ้งค์มีข้อจำกัดมาก มีผู้ป่วยน้อยรายที่จะใช้การผ่าตัดเพื่อการรักษาโรคนี้


การตรวจรักษาเพื่อติดตามผลการรักษา

ภายหลังครบการรักษาแล้ว แพทย์จะยังนัดตรวจรักษาผู้ป่วยต่อเนื่องเป็นระยะๆ ไป โดยใน 1-2 ปีแรก หลังการรักษามักนัดตรวจทุก 1-2 เดือน ภายหลัง 3-5 ปี มักนัดตรวจทุก 2-3 เดือน แต่ถ้าภายหลัง 5 ปีไปแล้วมักนัดทุก 6-12 เดือน ในการมาตรวจเพื่อติดตามโรคทุกครั้ง ควรนำญาติสายตรงหรือผู้ดูแลมาด้วย เพื่อจะได้ร่วมรักษา พูดคุยกับแพทย์โดยตรง และควรนำยาที่ รับประทานอยู่หรือถ้ามีการตรวจจากแพทย์ท่านอื่นๆ ด้วย ก็ควรนำผลการตรวจนั้นๆ มาแจ้งแพทย์ด้วย ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม










Create Date : 10 มกราคม 2552
Last Update : 10 มกราคม 2552 6:59:06 น. 3 comments
Counter : 28116 Pageviews.

 
สบายดีขอรับ

สวัสดีวันเด็กนะจ๊ะ


โดย: ขุนพลน้อยโค่วจง วันที่: 10 มกราคม 2552 เวลา:10:52:50 น.  

 





ปล. ไม่ค่อยสบาย นิดหน่อย ค่ะ ขอบคุณที่ถามไถ่


โดย: นู๋หญิงจ๋า วันที่: 10 มกราคม 2552 เวลา:18:31:48 น.  

 
Thank you for info ka.


โดย: CrackyDong วันที่: 12 มกราคม 2552 เวลา:6:42:49 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
มกราคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
10 มกราคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.