สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
กรดไหลย้อยมาฝากตามคำขอคุณเกศสุริยงค่ะ

โรคนี้เป็นโรคฮิตอีกโรคหนึ่งของสาวๆ ออฟฟิตเคยนำมาลงแล้วครั้งหนึ่ง
แต่เมื่อคุณเกศขอมาอีกก็เลยจัดให้นะค่ะ

โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) หมายถึงโรคที่มีอาการซึ่งเกิดจากการไหลย้อนกลับของกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารขึ้นไปในหลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในเวลากลางวัน หรือกลางคืน หรือแม้แต่ผู้ป่วยไม่ได้รับประทานอาหารก็ตาม ทำให้เกิดอาการจากการระคายเคืองของกรด เช่น อาจทำให้เกิดหลอดอาหารอักเสบและมีแผล หรือ หลอดอาหารอักเสบโดยไม่เกิดแผล หรือถ้ากรดไหลย้อนขึ้นมาเหนือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบน อาจทำให้เกิดอาการนอกหลอดอาหาร (atypical or extraesophageal GERD) เช่น อาการทางปอด หรือ อาการทางคอและกล่องเสียง (laryngopharyngeal reflux : LPR)

โดยปกติร่างกายจะมีกลไกป้องกันไม่ให้เกิดภาวะไหลย้อนกลับของกรดในกระเพาะอาหารขึ้นไป ในระบบทางเดินอาหารส่วนบน เช่น การบีบตัวของหลอดอาหาร การทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบน และส่วนล่าง เยื่อบุของหลอดอาหารมีกลไกป้องกันการทำลายจากกรด การที่เกิดโรคกรดไหลย้อนนั้นเชื่อว่าเกิดจากกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่าง มีการคลายตัวอย่างผิดปกติ ทำให้มีการไหลย้อนกลับของกรดขึ้นไปในหลอดอาหารได้ง่าย โดยปกติถ้ากรดไหลย้อนขึ้นไปในคอหอยจะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบนหดตัว ป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนขึ้นไป ผู้ป่วยที่เป็น โรคกรดไหลย้อนนั้นเชื่อว่ามีการทำงานของระบบป้องกันดังกล่าวเสียไป จึงมีกรดไหลย้อนขึ้นไปในคอหอย, กล่องเสียง และปอดได้

อาการของผู้ป่วยนั้นขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ถูกระคายเคืองโดยกรด เช่น
1. อาการทางคอหอยและหลอดอาหาร
อาการปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอก และลิ้นปี่ บางครั้งอาจร้าวไปที่บริเวณคอได้
รู้สึกคล้ายมีก้อนอยู่ในคอ
กลืนลำบาก หรือกลืนเจ็บ
เจ็บคอ หรือแสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้า
รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี หรือรสเปรี้ยวของกรดในคอหรือปาก
มีเสมหะอยู่ในลำคอ หรือระคายคอตลอดเวลา
เรอบ่อย คลื่นไส้
รู้สึกจุกแน่นอยู่ในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย

2. อาการทางกล่องเสียง และปอด
เสียงแหบเรื้อรัง หรือ แหบเฉพาะตอนเช้า หรือมีเสียงผิดปกติไปจากเดิม
ไอเรื้อรัง
ไอ หรือ รู้สึกสำลักในเวลากลางคืน
กระแอมไอบ่อย
อาการหอบหืดที่เคยเป็นอยู่ (ถ้ามี) แย่ลง
เจ็บหน้าอก
เป็นโรคปอดอักเสบ เป็นๆ หายๆ


การรักษา
1. การปรับเปลี่ยนนิสัย และการดำเนินชีวิตประจำวัน การรักษาวิธีนี้มีความสำคัญมากในการทำให้ผู้ป่วยมีอาการน้อยลง ป้องกันไม่ให้เกิดอาการ และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร และป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนกลับขึ้นไปในระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจส่วนบนมากขึ้น การรักษาโดยวิธีนี้ควรปฏิบัติไปตลอดชีวิต แม้ว่าผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นแล้วก็ตาม หรือแม้ว่าผู้ป่วยจะหายดีแล้วโดยไม่ต้องกินยาแล้วก็ตาม
ผู้ป่วยควรปฏิบัติตนดังนี้

• นิสัยส่วนตัว
- ถ้าเป็นไปได้ ควรพยายามลดน้ำหนัก ถ้าน้ำหนักเกิน เนื่องจากภาวะน้ำหนักเกินจะทำให้ความดันในช่องท้องมากขึ้น ทำให้กรดไหลย้อนได้มากขึ้น
- พยายามหลีกเลี่ยงอย่าให้เครียด และถ้าสูบบุหรี่อยู่ ควรเลิก เพราะความเครียดและการสูบบุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดมากขึ้น ถ้าไม่เคยสูบบุหรี่ ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือควันบุหรี่
- หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่คับเกินไป โดยเฉพาะบริเวณรอบเอว

• นิสัยในการรับประทานอาหาร
- หลังจากรับประทานอาหารทันที พยายามหลีกเลี่ยงการนอนราบ, การออกกำลัง, การยกของหนัก, การเอี้ยวหรือก้มตัว
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อดึกและไม่ควรรับประทานอาหารใดๆ อย่างน้อยภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมงก่อนนอน
- พยายามรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ และพยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยการทอด, อาหารมัน, พืชผักบางชนิด เช่น หัวหอม, กระเทียม, มะเขือเทศ, ฟาสท์ฟูด, ช็อกโกแลต, ถั่ว, ลูกอม, peppermints, เนย, ไข่, นม หรืออาหารที่มีรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด หวานจัด
- รับประทานอาหารปริมาณพอดีในแต่ละมื้อ ไม่ควรรับประทานอาหารมากเกินไป ควรรับประทานอาหารปริมาณทีละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มบางประเภท เช่น กาแฟ (แม้ว่าเป็นกาแฟที่ไม่มีคาเฟอีนก็ไม่ควรดื่ม) ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ วิสกี้ ไวน์ โดยเฉพาะในตอนเย็น

• นิสัยในการนอน
- ถ้าจะนอนหลังรับประทานอาหาร ควรรอประมาณ 3 ชั่วโมง
- เวลานอน ควรหนุนหัวเตียงให้สูงขึ้น ประมาณ 6-10 นิ้วจากพื้นราบ โดยใช้วัสดุรองขาเตียง เช่น ไม้ อิฐ อย่ายกศีรษะให้สูงขึ้นโดยการใช้หมอนรองศีรษะ เพราะจะทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น

2. รับประทานยา เพื่อลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร และ/หรือ เพิ่มการเคลื่อนตัวของระบบทางเดินอาหารในการกำจัดกรด ปัจจุบันยาลดกรดกลุ่ม proton pump inhibitor เป็นยาที่สามารถยับยั้งการหลั่งกรดได้ดี สามารถเห็นผลการรักษาเร็ว ควรรับประทานยาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ไม่ควรลดขนาดยา หรือ หยุดยาเอง และควรมาพบแพทย์ตามแพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ผู้ป่วยบางรายอาจใช้เวลานานประมาณ 1-3 เดือน กว่าที่อาการต่างๆ จะดีขึ้น ดังนั้นอาการต่างๆ อาจไม่ดีขึ้นเร็ว ต้องใช้เวลาในการหาย เมื่ออาการต่างๆ ดีขึ้น และผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนนิสัย และการดำเนินชีวิตประจำวันในข้อ 1 ได้ และได้รับประทานยาต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2-3 เดือนแล้ว แพทย์จะปรับลดขนาดยาลงเรื่อยๆ ทีละน้อย ไม่ควรซื้อยารับประทานเองเวลาป่วย เนื่องจากยาบางชนิดจะทำให้กระเพาะอาหารมีการหลั่งกรดเพิ่มขึ้น หรือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัวมากขึ้น จึงควรหลีกเลี่ยงยาบางชนิด ถ้าเป็นไปได้ เช่น progesterone, theophyllin, anticholinergics, beta-blockers, alpha-blockers, calcium channel blockers, aspirin, NSAID, vitamin C, benzodiazepines พบว่าประมาณร้อยละ 90 ของผู้ป่วยที่มีอาการของโรคกรดไหลย้อน สามารถควบคุมอาการได้ด้วยยา


3. การผ่าตัด เพื่อป้องกันไม่ให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินอาหารส่วนบน การรักษาวิธีนี้จะทำในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ซึ่งให้การรักษาโดยการใช้ยาอย่างเต็มที่แล้วไม่ดีขึ้น หรือไม่สามารถรับประทานยาที่ใช้ในการรักษาภาวะนี้ได้ หรือผู้ป่วยที่ดีขึ้นหลังจากการใช้ยาแต่ไม่ต้องการที่จะกินยาต่อ ซึ่งผู้ป่วยที่ต้องทำการผ่าตัดมีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น การรักษาโดยการผ่าตัดมีหลายวิธี เช่น endoscopic fundoplication, radiofrequency therapy, injection / implantation therapy


สิ่งที่ผู้ป่วยควรทราบเกี่ยวกับโรคกรดไหลย้อน


1. โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาด (ยกเว้นจะผ่าตัดแก้ไข) จะเป็นๆ หายๆ อาการจะดีขึ้นหรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่ยา อยู่ที่การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเป็นสำคัญ

2. อาการปวดแสบร้อน บริเวณหน้าอก, ลิ้นปี่ และคอ เกิดจากกรดที่ไหลขึ้นมาจากกระเพาะผ่านบริเวณหน้าอก, ลิ้นปี่และคอ ทำให้เกิดอาการปวดแสบร้อนบริเวณดังกล่าว

3. การที่เรอ คลื่นไส้ หรือมีน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาที่อก หรือคอ เกิดจากการที่ความดันช่องท้องเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจเกิดจาก

3.1) รับประทานอาหารมากเกินไปในแต่ละมื้อ

3.2) รับประทานอาหารที่ไม่แนะนำให้รับประทานโดยเฉพาะอาหารมันๆ อาหารที่ปรุงด้วย การผัด และการทอดทุกชนิด (อาหารมัน จะย่อยยาก ทำให้ท้องอืดได้ง่าย), นม (รับประทานได้เฉพาะนมไร้ไขมัน คือ FAT=0%), น้ำเต้าหู้ (ทำจากถั่ว จะทำให้เกิดแก๊สในช่องท้องมาก), ชา และกาแฟ (ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดระหว่างกระเพาะและหลอดอาหารส่วนปลายหย่อน), ไข่ (รับประทานได้เฉพาะไข่ขาว), น้ำอัดลม (ทำให้เกิดแก๊สในช่องท้องมาก)

3.3) น้ำหนักตัวที่เพิ่ม หรือ เกินค่าปกติ (การที่มีน้ำหนักตัวมากจะทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น)

3.4) ท้องผูก (ทำให้ต้องเบ่ง เวลาถ่าย ทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น) อาจต้องรับประทานยาถ่าย อย่างไรก็ตามการรับประทานยาถ่าย เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ ควรแก้ที่ต้นเหตุโดยดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น (ดื่มน้อยๆแต่บ่อยๆ), รับประทานผัก ผลไม้ที่มีกากให้มากขึ้น, ออกกำลังกายแบบแอโรบิก [การออกกำลังกายแบบแอโรบิก คือการออกกำลังกายที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น หายใจเร็วขึ้นต่อเนื่องกันอย่างน้อยวันละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน เช่น วิ่ง, เดินเร็ว, ขึ้นลงบันได, ว่ายน้ำ, ขี่จักรยานฝืด (แบบปรับน้ำหนักได้เช่น ใน FITNESS), เตะฟุตบอล, เล่นเทนนิส, แบดมินตัน หรือบาสเกตบอล]

3.5) ขาดการออกกำลังกาย (การออกกำลังกายแบบแอโรบิก จะทำให้กระเพาะ และลำไส้ เคลื่อนตัวได้ดี และลดอาการท้องอืด จุก เสียด แน่นท้อง)

4. รสเปรี้ยว ในปากหรือลำคอ เกินจากกรดที่ไหลย้อนขึ้นมา ส่วนรสขม ในปากหรือลำคอ เกิดจากน้ำดีที่ไหลย้อนขึ้นมา

5. เสียงแหบ เกิดจากกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาไปโดนสายเสียงที่อยู่ทางด้านหน้า ทำให้สายเสียงบวม ปิดไม่

สนิท เกิดลมรั่ว ทำให้มีเสียงแหบได้ ที่มีเสียงแหบตอนเช้า เกิดจากเวลาเรานอน กรดจะไหลได้ง่ายกว่าเวลาที่

เรานั่งหรือยืน สายเสียงจึงถูกกรดสัมผัสมากกว่าช่วงอื่นๆของวัน ทำให้ขณะตื่นมาตอนเช้า มีเสียงแหบได้

6. ไอเรื้อรังเกิดจากกรดไหลย้อนลงไปในหลอดลม ทำให้เกิดภาวะหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โดยหลอดลมจะมีความไว ต่อสิ่งกระตุ้น เช่น ของฉุน, ฝุ่น, ควัน, อากาศที่เปลี่ยนแปลงมากผิดปกติ การที่มีอาการมากหลังรับประทานอาหาร มักเกิดจากรับประทานอาหารที่ไม่ควรรับประทาน (ดูข้อ 3.2) ทำให้มีความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น ทำให้กรดไหลลงไปในหลอดลม ทำให้ไอหลังรับประทานอาหาร ส่วนการที่ไอตอนกลางคืน หรือก่อนนอนมักเกิดจาก

6.1) ห้องนอนอาจรก มีฝุ่นมาก เวลาสูดหายใจเข้าไป จะไปกระตุ้นภาวะหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ทำให้ไอกลางคืน หรือไอช่วงเช้า จึงควรจัดห้องนอน ตามคำแนะนำของแพทย์

6.2) อากาศในห้องนอนอาจเย็นเกินไป ควรพยายามหลีกเลี่ยงอากาศเย็น โดยเฉพาะแอร์ พัดลมเป่า ถ้าต้องการเปิดแอร์ ควรตั้งอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศให้สูงกว่า 25 องศาเซลเซียสเพื่อไม่ให้อากาศเย็นจนเกินไป ในกรณีที่ใช้พัดลมไม่ควรเปิดเบอร์แรงสุด และควรให้พัดลมส่ายไปมา ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสอากาศจากเครื่องปรับอากาศหรือพัดลมโดยตรง ควรนอนอยู่ห่างจากเครื่องปรับอากาศ หรือพัดลมพอสมควร ไม่ควรเปิดแอร์หรือพัดลมจ่อ ควรให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายให้เพียงพอ เช่น นอนห่มผ้า ถ้าจะให้ดี ควรใส่ถุงเท้า หรือผ้าพันคอ เวลานอนด้วย ในกรณีที่ไม่ชอบห่มผ้าหรือห่มแล้วชอบสะบัดหลุดโดยไม่รู้ตัว ควรใส่เสื้อหนาๆ หรือใส่เสื้อ 2 ชั้น และกางเกงขายาวเข้านอน

6.3) เวลานอน กรดจะไหลได้ง่ายกว่าเวลานั่งหรือยืน

7. อาการจุกแน่นอยู่ในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย มักเกิดจาก สาเหตุเดียวกับข้อ 3

8. อาการหอบหืด (ถ้ามี) แย่ลง หรือไม่ดีขึ้นนั้น เกิดจากกรดไหลลงไปในหลอดลม ทำให้มีภาวะหลอดลมอักเสบเพิ่มมากขึ้น

9. อาการที่รู้สึกคล้ายมีก้อนในคอ หรือแน่นคอ หรือกลืนติดๆ ขัดๆ หรือกลืนลำบาก คล้ายมีสิ่งแปลกปลอมในคอ เกิดจากกรดไหลย้อนไปสัมผัสกับกล้ามเนื้อคอ ทำให้กล้ามเนื้อหดตัว ทำให้มีความรู้สึกดังกล่าว การรับประทานยาคลายกล้ามเนื้อก่อนนอน อาจช่วยให้อาการดังกล่าวลดน้อยลง นอกจากนั้นการที่กรดไหลขึ้นไปสัมผัสกับกล้ามเนื้อคอ หรือลิ้นทำให้กล้ามเนื้อคออักเสบ หรือลิ้นอักเสบ ทำให้มีอาการ กลืนเจ็บ, เจ็บคอ, แสบคอหรือปาก หรือแสบลิ้นได้ ที่มีอาการมากช่วงเช้า ก็เนื่องจากเหตุผลเดียวกับข้อ 5

10. การที่มีเสมหะอยู่ในคอตลอด เกิดจากการที่กรดไหลขึ้นมา สัมผัสกับต่อมสร้างเสมหะในลำคอ และกระตุ้นทำให้ต่อมดังกล่าวทำงานมากขึ้น นอกจากนั้นการที่กรดไปกระตุ้นเส้นประสาทในคอ อาจทำให้มีอาการคันคอ หรือระคายคอได้ และเมื่อกรดไหลลงไปในหลอดลม ทำให้มีอาการกระแอมไอได้

11. อาการเจ็บหน้าอก เกิดจากกรดไหลย้อนขึ้นมาผ่านหลอดอาหาร ที่อยู่ในช่องอก ทำให้มีอาการดังกล่าวได้ และเมื่อกรดไหลลงไปในหลอดลม และปอด ทำให้มีอาการอักเสบของปอดเป็นๆ หายๆได้

12. อาการไอ, สำลักน้ำลาย หรือหายใจไม่ออกในเวลากลางคืน เกิดจากกรดไหลลงไปในหลอดลม ทำให้หลอดลมอักเสบ และมีการหดตัวของหลอดลม ที่มักเป็นในเวลากลางคืน เนื่องจากเหตุผลข้อเดียวกับข้อ 5 เวลานอน จึงควรหนุนหัวเตียงให้สูงขึ้น เริ่มประมาณ 1/2-1 นิ้วจากพื้นราบก่อน โดยใช้วัสดุรองขาเตียง เช่น ไม้ อิฐ แล้วค่อยๆเพิ่มขึ้น อย่ายกศีรษะให้สูงขึ้นโดยการใช้หมอนรองศีรษะ เพราะจะทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น ถ้านอนพื้น หรือไม่สามารถยกเตียงได้ ให้หาแผ่นไม้ขนาดเท่าฟูก รองใต้ฟูก แล้วใช้ ไม้ หรืออิฐ ยกแผ่นไม้ดังกล่าวขึ้น

13. การที่กรดไหลย้อนออกไปนอกหลอดอาหาร อาจไปถึง

13.1) เยื่อบุจมูกทางด้านบน ทำให้มีอาการคัน, จาม, คัดจมูก, น้ำมูกไหล หรือมีเสมหะไหลลงคอได้ หรือทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ของจมูกอยู่แล้ว มีอาการแย่ลงได้

13.2) ถ้ากรดขึ้นไปสูงถึงรูเปิดของหูชั้นกลางที่อยู่ที่โพรงหลังจมูก อาจทำให้รูเปิดดังกล่าวบวม ทำให้ท่อยูสเตเชียนที่เชื่อมต่อระหว่าง หูชั้นกลางและโพรงหลังจมูกทำหน้าที่ผิดปกติไป ทำให้เกิดหูอื้อ เป็นๆ หายๆ หรือมีอาการปวดหูได้

13.3) ถ้ากรดไหลเข้าไปในช่องปาก อาจกระตุ้นต่อมสร้างน้ำลาย ทำให้มีน้ำลายมากผิดปกติ หรือกรดไปกัดกร่อนฟัน ทำให้เกิดฟันผุ หรือเสียวฟันได้ การที่กรดไหลย้อนขึ้นมา ทำให้พาเอากลิ่นอาหารในกระเพาะอาหารขึ้นมาด้วย จึงอาจเป็นสาเหตุของการมีกลิ่นปากได้

14. โรคนี้ แพทย์มิได้ให้ผู้ป่วยรับประทานยาไปตลอดชีวิต เมื่อผู้ป่วยปรับเปลี่ยนนิสัย และการดำเนินชีวิตประจำวันได้ ทั้งนิสัยส่วนตัว, นิสัยในการรับประทานอาหาร และนิสัยการนอน แพทย์จะค่อยๆลดขนาดยาลงเรื่อยๆ จนกระทั่งหยุดยาได้

15. ไม่ควรปรับยารับประทานเอง ในระยะแรก นอกจากแพทย์อนุญาต ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นหลังให้การรักษาประมาณ 1 – 3 เดือน ซึ่งจะดีขึ้น เร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยว่า จะลดเหตุ (ข้อ 14) ได้มากน้อยเพียงใด

16. โรคนี้ถึงแม้ว่าแพทย์จะให้หยุดยาแล้ว ไม่ได้หมายความว่าโรคนี้หายขาด ผู้ป่วยมีโอกาสกลับมามีอาการใหม่ได้ ถ้าปฏิบัติตนออกนอกคำแนะนำที่ให้ไว้ เช่น ไปรับประทานอาหารที่แนะนำให้หลีกเลี่ยง เป็นต้น จะทำให้มีอาการกลับมาเป็นอีกได้ ซึ่งเมื่อมีอาการกลับมาใหม่ ให้รับประทานยาที่แพทย์ให้ไว้ รับประทานเวลามีอาการ ได้ เมื่อใดก็ตามที่มีอาการดีขึ้น หรืออาการน้อยลง สามารถจะหยุดยาดังกล่าวได้



ขอบคุณข้อมูลจาก//www.si.mahidol.ac.th


Create Date : 03 ตุลาคม 2552
Last Update : 3 ตุลาคม 2552 8:27:21 น. 5 comments
Counter : 1827 Pageviews.

 
__000000___00000
_00000000_0000000
_0000000000000000
__00000.ญามี่.00000
____00000000000
_______00000
_________0
________*__000000___00000
_______*__00000000_0000000
______*___0000000000000000
______*____00000.ญามี่.00000
_______*_____00000000000
________*_______00000
_________*________0
_000000___00000___*
00000000_0000000___*
0000000000000000____*
_00000.ญามี่.00000_____*
___00000000000_____*
______00000_______*
________0________*
________*__000000___00000
_______*__00000000_0000000
______*___0000000000000000
______*____00000.ญามี่.00000
______*______00000000000
_______*________00000
________*_________0
_________*________*
___________________*
____________________*
`.¸.♥´
¸.♥´¸.♥´¨) ¸.♥*¨)
(¸.♥´ (¸.♥´ (¸.♥´¯`***ღ
..+ '. ญามี่..มาเจิม Commentค่ะ.. + '.。
♥〃´`) '.+。 *:.+。 '.+'.+。 *:.+。
....... '.+。 *:.+。'.+。 *:.+


โดย: ญามี่ วันที่: 4 ตุลาคม 2552 เวลา:14:37:25 น.  

 
สวัสดีวันหยุด มีความสุขมากๆนะคะคุณกบ




โดย: ญามี่ วันที่: 4 ตุลาคม 2552 เวลา:14:42:02 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


แวะมาทักทายกันวันจันทร์หลังวันออกพรรษาจ้า
ความไม่มีดรคเป็นลาภอันประเสริฐจ้ากบ



โดย: หอมกร วันที่: 5 ตุลาคม 2552 เวลา:7:25:56 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณกบ...สบายดีนะคะ ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยเป็นหวัดกันง่าย คุณกบอย่าลืมรักษาสุขภาพด้วยนะคะ โรคกรดไหลย้อนมีคนเป็นเยอะเหมือนกันนะ ราวกับเป็นโรคฮิตน้องที่สนิทกันก็เป็นโรคนี้เหมือนกันค่ะ คิดถึงคุณกบนะคะ


Photobucket


โดย: Vannessa วันที่: 5 ตุลาคม 2552 เวลา:13:23:41 น.  

 
ขอบคุณค่ะคุณกบ โล่งอกไปทีดิฉันอ่านแล้วไม่น่าจะใช่โรคนี้ น่าจะเป็นโรควิตกจริตมากกว่า555555ขอบคุณมากๆค่ะคุณกบ


โดย: เกศสุริยง วันที่: 5 ตุลาคม 2552 เวลา:22:20:45 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
3 ตุลาคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.