สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
วัยทองไม่ได้ถามหา แต่สักวัน......ต้องมาเอง



มักจะเป็นคำเรียกผู้ที่ก้าวเข้าสู่ช่วงความเปลี่ยนแปลง
ของชีวิตจากวัยผู้ใหญ่ ไปเป็นผู้สูงอายุ โดยทั่ว ๆ
ไปวัยทองจะเริ่มขึ้นเมื่อคนเรามีอายุ 40 ปีขึ้นไป
หลาย ๆ คนไม่อยากจะก้าวเข้าสู่ช่วงของวัยทอง
เพราะได้ยินได้ฟังมาว่า คนในวัยนี้จะเกิดความ
เปลี่ยนแปลงของร่างกายและอารมณ์ เกิดความ
หงุดหงิด ไม่สบายเนื้อสบายตัว จนทำให้คนรอบข้าง
ต้องได้รับผลกระทบไปด้วย

แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้เราไม่สามารถหลีกเลี่ยง
วัยทองได้ แต่เราก็สามารถที่จะอยู่ได้อย่างสุขสบาย
ในวัยทอง ถ้ามีการปฏิบัติตัวและดูแลสุขภาพอย่าง
สม่ำเสมอ และถูกต้อง นพ.สมนิมิตร มีคำแนะนำ
สำหรับการก้าวเข้าสู่วัยทองอย่างมีคุณภาพ

หลาย ๆ มีความเข้าใจว่า วัยทองคือวัยหมดประจำเดือน
แต่จริง ๆ แล้ววัยทองจะเริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงก่อนหมด
ประจำเดือน โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะอยู่ในช่วงระหว่างอายุ
40-45 ปี และจะเกิดขึ้นกับทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แต่ผู้หญิง
จะกลัวและวิตกกังวลกับการก้าวเข้าสู่วัยทองมากกว่า
เพราะจะได้ยินได้ฟังคำบอกเล่าต่อ ๆ กันมา เช่น
เข้าวัยทองแล้วจะเร็ว ผิวพรรณจะหมองคล้ำ ไม่เต็งตึง
พฤติกรรม อารมณ์เปลี่ยนแปลง อีกทั้งยังมีโรคร้ายต่าง ๆ
เข้ามารุมเร้า ซึ่งสิ่งที่ได้ยินต่อ ๆ กันมานี้ มีทั้งจริงและไม่จริง
กรณีที่บางอย่างเป็นจริง ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะเกิดขึ้น
กับวัยทองทุก ๆ คน

อาการ
ในระยะแรก ๆ ที่คนเราจะเข้าสู่วัยทอง จะมีอาการต่าง ๆ
ที่สามารถสังเกตุเห็นได้ชัด เช่น มีอาการหงุดหงิดง่าย
นอนไม่ค่อยหลับ ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกผิดปกติทั้ง ๆ
ที่อากาศไม่ร้อน นอกจากนี้บางคนจะหลงลืมง่าย ทำให้
การทำงานมีประสิทธิภาพต่ำลง ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจาก
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงอายุนั้น แต่บางคน
ก็เข้าสู่วัยทองโดยไม่มีอาการต่าง ๆ เหล่านี้เลย แต่พบน้อย

การเปลี่ยนแปลง
สำหรับสิ่งที่เราพบได้บ่อยในความเปลี่ยนแปลงของหญิง
วัยทองก็คือ ความเปลี่ยนแปลงของรอบประจำเดือน
โดยจะแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ

ช่วงแรก
อายุ 40-45 ปี ประจำเดือนจะมาเร็วขึ้น เช่นจากที่เคยมาทุกเดือน
จะมาทุก ๆ 3 อาทิตย์
ช่วงที่ 2
อายุประมาณ 45-50 ปี ระยะนี้ประจำเดือนจะเริ่มห่าง เช่นว่า
บางคนเดือนครึ่งมาทีหนึ่ง บางคนอาจเป็น 2 เดือน 3 เดือน
มาครั้งหนึ่ง
ช่วงที่ 3
เป็นช่วงที่หมดประจำเดือนจริง ๆ อายุประมาณ 50 ปี ขึ้นไป
ประจำเดือนจะหายไปเป็นระยะเวลานาน ซึ่งเราจะตัดสินว่าคน ๆ
นั้นหมดประจำเดือนแล้วจริง ๆ ก็ต่อเมื่อประจำเดือนหายไป
ครบ 12 เดือน หรือ 1 ปี

ปัญหาทางร่างกายที่จะเกิดกับวัยทองจะมี 2 ระยะด้วยกันคือ
ผลระยะสั้น
เริ่มตั้งแต่ช่วงก้าวเข้าสู่วัยทอง จนกระทั่งหมดประจำเดือนไปแล้ว
ช่วงนี้จะมีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมากผิดปกติ มักเป็นตอน
กลางคืน อ่อนเพลีย เหนื่อยหน่าย หงุดหงิดง่าย ขี้กังวล นอน
ไม่หลับ หลงลืม
ผลระยะยาว
จะมี 3 ระบบใหญ่ ๆ คือ เกี่ยวกับระบบอวัยวะสืบพันธุ์และ
ทางเดินปัสสาวะ โดยบางคนเมื่อหมดประจำเดือนไปนานแล้ว
จะพบอาการต่าง ๆ เช่น ช่องคลอดแห้ง เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์
ปัสสาวะขัด อีกระบบหนึ่งเป็นระบบหัวใจและหลอดเลือด
โดยจะมีความเสี่ยงเพิ่มที่จะเป็นโรคดังกล่าว และระบบที่ 3
เกี่ยวกับภาวะกระดูกบาง หรือกระดูกพรุน จะพบบ่อยกับ
ผู้ที่หมดประจำเดือนแล้ว 5 ปีขึ้นไป

ปัจจัยเสี่ยง
แต่อย่างไรก็ตาม การเกิดโรคเหล่านี้ ไม่ได้เป็นกับทุกคน
แต่จะเป็นกับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น คนที่มีความดันโลหิตสูง
สูบบุหรี่ ไขมันในเลือดสูง รวมทั้งผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
ก็จะเสี่ยงกับโรคหัวใจและหลอดเลือด มากขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยทอง
ซึ่งเสมือนเป็นปัจจัยเร่งนั่นเอง ส่วนภาวะกระดูกบางกระดูกพรุน
ก็จะเสี่ยงในกลุ่มคนที่มีพันธุกรรมดังกล่าว ตลอดจนผู้ที่ทาน
อาหารแคลเซี่ยมน้อยมาเป็นเวลานาน เป็นต้น

การป้องกัน

เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดอาการต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้น
ได้หรือไม่นั้น เป็นคำถามที่มีผู้ถามกันบ่อยมาก จุดนี้ คำตอบคือ
เราสามารถทำได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงที่กล่าวมาแล้ว รวมไปถึง
การพยายามรับประทานแคลเซี่ยมตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยการรับประทาน
แคลเซี่ยมนี้ เป็นเหมือนกับการฝากธนาคารไว้ก่อน เพราะเมื่อ
คนเราอายุ 35 ปีแล้ว แคลเซี่ยมในกระดูกจะเริ่มลดต่ำลง ถ้าเรา
ฝากไว้เยอะ เวลาแคลเซี่ยมลดลงก็จะเหลือต้นทุนไว้เยอะ นอก
จากนี้ พยายามดูแลตัวเองอย่าให้เป็นเบาหวาน ความดันสูง
ด้วยการพยายามลดอาหารไขมันสูง ลดความอ้วน หรือ
ถ้าใครเป็นโรคนี้อยู่ก็พยายามปรึกษาแพทย์สม่ำเสมอ
เพื่อลดปัญหาลง

การดูแลรักษาอาการของคนวัยทอง

หลาย ๆ คนจะมีอาการทางด้านอารมณ์ในวัยทอง ซึ่งจริง ๆ แล้ว
การที่มีอารมณ์เปลี่ยนแปลง เป็นผลกระทบมาจากการที่ร่างกาย
มีความเปลี่ยนแปลง ยิ่งถ้าหากคนรอบข้างไม่เข้าใจ ก็จะยิ่ง
ทำให้ผู้ที่อยู่ในวัยทองมีความแปรปรวนทางด้านอารมณ์
มากขึ้นไปอีก

ส่วนทางด้านร่างกายนั้น จะเป็นไปในรูปของการส่งเสริมสุขภาพ
มากกว่า อาจจะเข้าปรึกษาแพทย์ตามคลินิควัยทอง เพื่อรับ
คำแนะนำ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ไม่จำเป็นต้องเป็น
การให้ยารักษาเสมอไป ส่วนใหญ่เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์
จะซักประวัติ ตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจภายในเพื่อเช็คมะเร็ง
ปากมดลูก ตรวจเลือดเบาหวาน ไขมันในเส้นเลือด การ
ทำงานของตับไต การทำงานของหัวใจ เพื่อหาความผิดปกติ
ถ้าหากพบก็ต้องดูแลรักษาอาการเหล่านั้นต่อไป

การรับประทานฮอร์โมน

การเสริมฮอร์โมนนี้ จะเป็นฮอร์โมนที่เลียนแบบฮอร์โมนที่
ผลิตมาจากรังไข่ เพราะวัยทองนี้เป็นวัยที่รังไข่ทำงานน้อยลง
จนกระทั่งหยุดทำงานไป ไม่สร้างฮอร์โมนอีก เราจะใช้ฮอร์โมน
จากภายนอนเข้าไปทำงานแทน โดยจะต้องอยู่ในความ
ดูแลของแพทย์



Create Date : 17 สิงหาคม 2551
Last Update : 18 สิงหาคม 2551 8:02:39 น. 0 comments
Counter : 1429 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
17 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.