สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
เรื่องน่ารู้ก่อนการจัดฟัน



ในปัจจุบันผู้คนให้ความสนใจเรื่องการจัดฟันมากขึ้น โดยเฉพาะ
ผู้ปกครองก็มักจะพาเด็กๆมารับคำปรึกษา กับทันตแพทย์ว่า
สมควรจะจัดฟันหรือไม่ ควรทำเลยไหม เราลองมาดูราย
ละเอียดต่างๆ เพื่อไขข้อข้องใจ


การจัดฟัน คือ อะไร


การจัดฟัน (Orthodontic Treatment)

เป็นการเคลี่อนฟันไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม โดยอาศัย
เครื่องมือบางชนิดซึ่งมีทั้งแบบถอดได้ และแบบที่ยึดติด
อยู่กับตัวฟัน แบบที่อยู่ในช่องปากและแบบที่อยู่นอก
ช่องปาก


นอกจากนี้การจัดฟันยังรวมไปถึงการแก้ไขลักษณะนิสัย
ที่ผิดปกติในการบดเคี้ยว การเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขการ
เจริญเติบโตที่ผิดปกติของขากรรไกร เพื่อให้ได้ประโยชน์
สูงสุดทั้งในด้านความสวยงาม และการทำหน้าที่


ทำไมต้องจัดฟัน


เหตุผลที่ผู้ป่วยมารับการจัดฟัน ที่พบบ่อยๆ คือ


1. ฟันเก เรียงตัวไม่ดีทำให้เคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียดหรือ
เคี้ยวได้ไม่ดี

2. ฟันซ้อนเกทำให้แปรงฟันหรือทำความสะอาดฟันได้ยาก
จะทำให้เกิดฟันผุและเหงือกอักเสบได้ง่าย

3. ฟันไม่สวยงาม เช่น ฟันซ้อนเก ฟันห่าง ฟันยื่น มีเขี้ยว
ฟันกระต่าย ฯลฯ

4. ขากรรไกรผิดรูปหรือฟันเกจากนิสัยที่ผิดปกติบางอย่าง
เช่น การดูดนิ้ว การกลืนที่ผิดปกติ

5. ฟันล้มเอียงหรือห่างจากกันเนื่องจากการถอนฟันแล้วทิ้ง
ไว้โดยไม่ได้ใส่ฟันปลอมนานเกินไป

6. ผู้ที่มีประวัติปากแหว่ง เพดานโหว่ หรืออุบัติเหตุ ทำให้ขา
กรรไกรและการเรียงตัวของฟันผิดรูปไป


ลักษณะการเรียงตัวของฟันที่ผิดปกติ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
ได้แก่

ประเภทที่ 1 มีการสบฟันกรามบนและล่างอย่างปกติ การ
สบฟันชนิดนี้จะมีปัญหาแค่ฟันซ้อนเกโดยเฉพาะในฟันหน้า
เมื่อมองใบหน้าด้านข้างจะพบว่าผู้ที่มีการสบฟันประเภทนี้ขา
กรรไกรบนและล่างจะมีความสัมพันธ์กันดี คือ อาจจะดูเป็นปกติ
หรือดูยื่นหรือดูยุบมากเกินไปทั้งขากรรไกรบนและล่าง

ประเภทที่ 2 มีการสบฟันที่ผิดปกติเนื่องจากขากรรไกรบน
ยื่นออกมามากกว่าขากรรไกรล่าง สาเหตุอาจจะเกิดจากการ
ที่ขากรรไกรบนมีการเจิญเติบโตมากกว่าปกติ หรือขากรรไกร
ล่างเจริญน้อยกว่าปกติ หรือทั้งสองสาเหตุร่วมกันก็ได้ ผู้ที่มีการ
สบฟันประเภทนี้เมื่อมองใบหน้าจากด้านข้างจะพบว่าฟันบนจะ
ยื่นออกมามากกว่าฟันล่าง

ประเภทที่ 3 มีการสบฟันที่ผิดปกติเนื่องจากขากรรไกรล่าง
ยื่นออกมามากกว่าขากรรไกรบน สาเหตุอาจจะเกิดจากการ
ที่ขากรรไกรล่างมีการเจิญเติบโตมากกว่าปกติ หรือขากรรไกร
บนเจริญน้อยกว่าปกติ หรือทั้งสองสาเหตุร่วมกันก็ได้ ผู้ที่มีการส
บฟันประเภทนี้เมื่อมองใบหน้าจากด้านข้างจะพบว่าฟันล่างจะ
ยื่นออกมามากกว่าฟันบน หรือฟันล่างอาจจะคร่อมฟันบนเลย
ก็ได้


อายุเท่าไรจึงจะจัดฟันได้

การจัดฟันสามารถกระทำได้ตั้งแต่ในเด็กที่ฟันน้ำแท้ยังขึ้นมา
ไม่หมด จนถึงในผู้ใหญ่ที่ฟันแท้ขึ้นมาครบแล้ว หรือมีฟันแท้
บางซี่ถูกถอนไปแล้ว หรือแม้แต่ในคนที่ใส่ฟันปลอมอยู่ ขึ้น
อยู่กับว่าสภาวะความผิดปกตินั้นสามารถแก้ไขได้โดยการ
จัดฟันหรือไม่

อย่างไรก็ตาม การพิจารณาว่าควรจะเริ่มจัดฟันเมื่อใดนั้น
ขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาที่มีอยู่และความจำเป็นที่จะต้องเร่งรีบ
ในการรักษาด้วย บางครั้งถ้าเด็กยังอายุน้อยและการรักษา
ยังไม่ต้องรีบเร่งมากนัก ทันตแพทย์อาจจะแนะนำให้รอ
อีกสักหน่อยแล้วค่อยมาจัดฟันก็ได้


ข้อดีของการจัดฟัน

1. การบดเคี้ยวอาหาร การจัดฟันจะทำให้บดเคี้ยวอาหาร
ได้ดียิ่งขึ้น และย่อยอาหารได้ดียิ่งขึ้น กระเพาะอาหารไม่ต้อง
ทำงานหนักจนเกินไป เนื่องจากการบดเคี้ยวเป็นขั้นแรกใน
การย่อยอาหาร

2. ทำให้ปัญหาต่างๆทางทันตกรรมลดลง

- ฟันซ้อนเกจะทำให้เราทำความสะอาดหรือแปรงฟันได้
ยากและไม่ทั่วถึง ส่งผลให้มีคราบอาหารและคราบจุลินทรีย์
รวมทั้งหินปูนมาเกาะจับที่ตัวฟันอยู่เยอะ ซึ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้
นานๆก็จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดฟันผุและโรคเหงือกได้

- ฟันซ้อนเกจะทำให้เมื่อเราใช้ฟันในการบดเคี้ยวอาหาร
ประจำวัน จะเกิดการสึกของฟันในตำแหน่งที่ไม่ควรจะเกิด
ทำให้การสบฟันผิดจากตำแหน่งปกติที่ควรจะเป็น จึงส่งผล
ให้ยิ่งนานไปยิ่งจะทำให้เกิดปัญหาต่อตัวฟัน เหงือกและ
ข้อต่อขากรรไกร

3. ความสวยงาม การจัดฟันจะทำให้ฟันเรียงตัวสวยงาม
เป็นการเสริมสร้างบุคลิกภาพและเพิ่มความมั่นใจให้แก่
ตัวเองอีกด้วย


ข้อเสียของการจัดฟัน

1. ฟันผุ เหงือกอักเสบ เนื่องจากการที่เรามีเครื่องมือจัด
ฟันอยู่ในช่องปาก จะทำให้การทำความสะอาดเป็นไปได้ยาก
ส่งผลให้เกิดฟันผุและเหงือกอักเสบได้ง่าย ผู้ที่จัดฟันจึงควร
แปรงฟันอย่างสะอาดทั่วถึงหลังจากมื้ออาหารทุกมื้อ

2. อาการแพ้สารที่เป็นส่วนประกอบในเครื่องมือจัดฟัน
บางคนแพ้สารพวกนิเกิลที่เป็นส่วนประกอบในเครื่องมือจัดฟัน
แต่พบได้น้อยมาก

3. อาการเจ็บ พบได้เกือบทุกคนที่จัดฟัน อาการเจ็บนี้มักเกิด
จากการเคลื่อนตัวของฟัน หรือเกิดจากเครื่องมือจัดฟันไป
ทิ่มกับเนื้อเยื่อภายในช่องปาก อาการเจ็บจะเป็นในบางช่วง
ของการจัดฟันเท่านั้น

4. อาการปวดข้อต่อขากรรไกร อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการ
จัดฟัน เนื่องจากฟันเคลื่อนตัวไปในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม
ต่อการบดเคี้ยว

5. ฟันตายหรือรากฟันมีการละลายตัว พบได้ไม่บ่อยนักใน
ผู้ที่มีการจัดฟัน อย่างไรก็ตามเราพบว่าในระหว่างการจัด
ฟันนั้น ฟันที่ตายไปแล้วอาจจะย้อนกลับมามีชีวิตดังเดิมได้
และในคนปกติที่ไม่ได้จัดฟันรากฟันก็มีการละลายตัว
ได้เองอยู่แล้ว


ข้อจำกัดในการจัดฟัน


การจัดฟันไม่สามารถทำได้ในผู้ป่วยทุกราย หรือแม้จะทำ
ได้ก็เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะจุดเท่านั้น ไม่สามารถทำให้
สมบูรณ์แบบได้ อย่างไรก็ตามก็ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ
ทันตแพทย์ผู้รักษาด้วยว่าสามารถทำได้หรือไม่ โดยทั่วไป
ผู้ที่ไม่สามารถจัดฟันได้ ได้แก่

1. ผู้ที่เป็นโรคเหงือก หรือคนที่มีการละลายตัวของกระดูก
ขากรรไกรที่รองรับรากฟันไปมาก ผู้ที่มีลักษณะนี้ทันตแพทย์
มักจะไม่สามารถเคลื่อนฟันได้มากนัก เนื่องจากกระดูกที่
รองรับฟันมีน้อย

2. ผู้ที่สูญเสียฟันแท้ไปหลายซี่มากเกินไป ทำให้ไม่มีหลัก
ยึดในการเคลื่อนที่ของฟัน โดยเฉพาะการสูญเสียฟันกราม
ไปหลายๆซี่ ดังนั้นการรักษาอาจต้องมีการฝังรากเทียมลงไป
เพื่อใช้เป็นหลักยึดในการเคลื่อนที่ของฟันด้วย

3. ผู้ที่มีสะพานฟันติดต่อกันหลายๆซี่ เนื่องจากฟันที่เป็น
สะพานฟันไม่สามารถเคลื่อนที่ให้ห่างจากกันได้ การรักษา
อาจจะต้องมีการตัดสะพานฟันออกไปบางส่วน

4. ผู้ที่มีความผิดปกติที่ขากรรไกรซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้
โดยการจัดฟันเพียงอย่างเดียว จำเป็นที่จะต้องใช้การ
ศัลยกรรมร่วมในการรักษาด้วย

นอกจากนี้ยังมีความผิดปกติบางอย่างที่ทำให้การจัดฟันยัง
ไม่สามารถกระทำได้ในทันที จำเป็นที่ต้องมีการรักษาอื่น
ก่อนที่จะมีการจัดฟัน เช่น การอุดฟัน การรักษารากฟัน
การครอบฟัน การใส่รากเทียม ฯลฯ เพื่อทำให้สามารถ
จัดฟันได้


ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดฟัน

ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดฟันนั้นจะแตกต่างกันไปใน
ผู้ป่วยแต่ละราย โดยเฉลี่ยการจัดฟันแบบติดแน่นนั้นจะ
ใช้เวลาประมาณ 1.5-2.5 ปี แต่ก็ยังมีปัจจัยหลายๆอย่าง
ที่ทำให้ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดฟันแตกต่างกันไปดังนี้

1. ผู้ใหญ่หรือผู้ที่มีอายุมากกว่ามักจะใช้ระยะเวลาในการ
จัดฟันมากกว่าผู้ที่มีอายุน้อยกว่า

2. การจัดฟันที่มีการถอนฟันร่วมด้วย มักจะใช้เวลาในการ
จัดฟันมากกว่าการจัดฟันที่ไม่มีการถอนฟันร่วมด้วย

3. การจัดฟันที่มีการผ่าตัดขากรรไกรร่วมด้วย มักจะใช้เวลา
มากกว่าการจัดฟันที่ไม่มีการผ่าตัดขากรรไกร

4. การผิดนัดบ่อยๆย่อมทำให้เวลาในการจัดฟันนานขึ้น

5. การไม่ปฏิบัติตามที่แพทย์สั่ง เช่น การใส่ยางหรือการ
ใส่เครื่องมือจัดฟันชนิดถอดได้ย่อมทำให้เวลาในการ
จัดฟันมากขึ้น

6. การรับประทานอาหารโดยไม่ระมัดระวังจะทำให้เหล็ก
ยางหรือลวดจัดฟันหลุด หรือเสียหาย ย่อมทำให้ระยะเวลา
ในการจัดฟันมากขึ้น


หลังจากจัดฟันแล้วฟันสามารถกลับไปเกเหมือนเดิมไหม

หลังจากการรักษาเสร็จสิ้น ทันตแพทย์จะถอดเครื่องมือ
จัดฟันออกทั้งหมด แล้วใส่เครื่องมือคงสภาพฟันหรือ
รีเทนเนอร์(Retainer)ให้กับผู้ป่วย เพื่อเป็นการคงสภาพฟัน
ไม่ให้กลับคืนสู่สภาพเดิมโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจาก
การถอดเครื่องมือจัดฟันออกใหม่ๆ

รีเทนเนอร์นั้นมีมากมายหลายชนิด ขึ้นอยู่กับว่าทันตแพทย์
จะเลือกชนิดไหนให้เหมาะสมกับสภาพฟันของผู้ป่วย การ
ใส่รีเทนเนอร์และการกลับมาตรวจตามระยะที่ทันตแพทย์
กำหนด จะเป็นการป้องกันฟันที่จัดเสร็จแล้วกลับคืนสู่
สภาพเดิมหรือกลับมาเกอีกครั้งหนึ่ง ระยะเวลาการใส่
รีเทนเนอร์นั้นแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ซึ่ง
ทันตแพทย์จัดฟันจะเป็นผู้กำหนดระยะเวลาการใส่
ให้แก่ผู้ป่วยเอง

การไม่ใส่รีเทนเนอร์และกลับมาให้ทันตแพทย์ตรวจตาม
ที่กำหนดจะส่งผลอย่างมากต่อการกลับสู่สภาพเดิมของฟัน
อย่างไรก็ตาม ในคนปกตินั้นฟันมีการเคลื่อนที่ไปมาตลอด
เวลาอยู่แล้ว ดังนั้นในคนที่ใส่รีเทนเนอร์ตามที่กำหนดแล้ว
ก็อาจพบได้ว่ามีการกลับคืนสภาพของฟัน แต่พบได้ไม่
บ่อยนักและรายที่พบมักจะไม่รุนแรงมากนัก


ใส่ฟันปลอมอยู่สามารถจัดฟันได้ไหม

โดยทั่วไปแล้วผู้ที่ใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้และผู้ที่ใส่ครอบ
ฟันนั้นยังสามารถจัดฟันได้อยู่ แต่ในผู้ป่วยที่ใส่สะพานฟัน
โดยเฉพาะสะพานฟันที่เป็นช่วงยาวๆหรือใส่หลายๆตำแหน่ง
อาจจะเป็นอุปสรรคในการจัดฟันเนื่องจากไม่สามารถ
เคลื่อนตัวฟันได้ การแก้ไขบางครั้งอาจต้องเอาสะพานฟัน
ออกไปก่อนแล้วค่อยใส่สะพานฟันใหม่หลังจากการจัดฟัน
จบสิ้นลง

อย่างไรก็ตามผู้ที่ใส่ฟันปลอมอยู่อาจจะไม่สามารถจัดฟัน
ได้เนื่องมาจากเหตุผลอื่นๆ เช่น ฟันหายไปมากไปจนไม่มี
ฟันที่สามารถเป็นหลักยึดได้เพียงพอในการจัดฟัน กระดูก
รองรับรากฟันไม่ดี ฟันที่รักษารากฟันและครอบฟันไว้มีสิ่ง
ผิดปกติ ฯลฯ ผู้ที่ใส่ฟันปลอมจึงควรไปให้ทันตแพทย์
ประเมินก่อนว่าสามารถจัดฟันได้หรือไม่


มีฟันรักษารากฟันสามารถจัดฟันได้ไหม

ฟันที่รักษารากฟันนั้นโดยทั่วไปจะยังสามารถทำการจัดฟัน
ได้อยู่ แต่ก็มีบางกรณีที่เป็นข้อจำกัดในการจัดฟัน คือในฟัน
บางซี่ที่รักษารากฟันมานานๆ รากฟันอาจจะเชื่อมเป็นเนื้อ
เดียวกับกระดูกที่รองรับรากฟัน ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนตัว
ฟันได้ อย่างไรก็ตามการจัดฟันก็อาจจะยังสามารถกระทำ
ได้อยู่ ถ้าทันตแพทย์สามารถวางแผนการรักษาที่หลีกเลี่ยง
การเคลื่อนฟันซี่นั้นๆได้


มีครอบฟันสามารถจัดฟันได้ไหม

ฟันที่ครอบฟันอยู่ไม่มีผลต่อการจัดฟันหรือการเคลื่อนที่ของ
ตัวฟัน ดังนั้นผู้ที่มีครอบฟันอยู่จึงยังสามารถจัดฟันได้อยู่
เพียงแต่ว่าในบางกรณีหลังจากการจัดฟันเสร็จสิ้นแล้ว อาจ
จำเป็นที่จะต้องทำครอบฟันอันใหม่

ฟันที่ครอบฟันอาจมีข้อจำกัดได้ในกรณีที่ฟันที่ครอบนั้น
ได้ผ่านการรักษารากฟันมาแล้ว ซึ่งข้อจำกัดอันนั้นมาจากการ
รักษารากฟัน ไม่ได้มาจากครอบฟัน


จัดฟันแล้วรูปหน้าจะเปลี่ยนไปไหม

ผู้ป่วยแต่ละคนย่อมมีปัญหาต่างๆกันไป บางคนมีปัญหาฟัน
ยื่นมากเกินไป บางคนน้อยเกินไป บางคนมีปัญหาฟันเก
อย่างเดียว หรือบางคนอาจจะมีความผิดปกติที่ตัวขากรรไกร
จนอาจจะต้องอาศัยการผ่าตัดเข้าช่วย ดังนั้นแผนการรักษา
ในการจัดฟันก็มีได้มากมายแตกต่างกันไปตามสภาพปัญหาที่มี

อย่างไรก็ตามจุดมุ่งหมายสุดท้ายของทุกการรักษาคือ เพื่อให้
เกิดความสมดุลย์ของใบหน้าและขากรรไกรบนและล่างมาก
ที่สุด ดังนั้นการจัดฟันหลายๆครั้งจะทำให้รูปหน้าเปลี่ยนแปลงไป
ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามแผนการรักษา และเป็นการแก้ปัญหา
ที่มีอยู่

โดยเฉพาะการจัดฟันในเด็กจนถึงวัยรุ่น จะมีผลทำให้รูปหน้า
เปลี่ยนแปลงไป โดยจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด
มากกว่าการจัดฟันในผู้ใหญ่


ทำไมบางคนต้องถอนฟันแต่บางคนไม่ต้องถอน

ในการจัดฟันนั้น บางคนจะพบว่าทันตแพทย์จะวางแผนการ
รักษาโดยการให้มีการถอนฟันก่อนการจัดฟัน ซึ่งอาจจะ
เป็นได้ทั้งฟันแท้และฟันน้ำนม แต่ในผู้ป่วยบางคนก็สามารถ
จัดฟันได้เลยโดยไม่มีการถอนฟัน สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็
เพราะความสัมพันธ์ของขนาดขากรรไกรของผู้ป่วยกับ
ขนาดของฟันของตัวผู้ป่วยมีความแตกต่างกันไป

แผนการรักษาดังกล่าวข้างต้นนั้นแปรเปลี่ยนไปตามลักษณะ
ฟันและขากรรไกรของผู้ป่วย ซึ่งบางครั้งไม่สามารถหลีกเลี่ยง
หรือเปลี่ยนได้โดยเฉพาะในผู้ใหญ่ที่หมดการเจริญเติบโตแล้ว
แต่ในเด็กที่ยังมีการเจริญเติบโตอยู่ในบางกรณีอาจจะมีการ
หลีกเลี่ยงการถอนฟันได้โดยอาศัยอุปกรณ์บางชนิดช่วยใน
การขยายขากรรไกรซึ่งต้องอาศัยความร่วมมืออย่างมาก
จากตัวผู้ป่วย

ดังนั้นในเด็กที่มีปัญหาฟันซ้อนเกก็ควรจะไปปรึกษาทันตแพทย์
จัดฟันเสียแต่เนิ่นๆเพื่อหลีกเลี่ยงการถอนฟันเพื่อการจัดฟัน


ทำไมบางคนต้องมีการผ่าตัดขากรรไกร

ความผิดปกติของผู้ป่วยในส่วนของโครงสร้างขากรรไกร
ฟัน และโครงสร้างใบหน้านั้นมีได้ตั้งแต่ระดับน้อยที่สุด ระดับ
ปานกลาง ไปจนถึงระดับที่มีความรุนแรงสูงสุด ซึ่งในกรณี
ที่มีความผิดปกติมาก การจัดฟันเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่
สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด จึงจำเป็นต้อง
อาศัยการรักษาอื่นเข้าช่วย หนึ่งในนั้นก็คือการผ่าตัดขา
กรรไกร

การผ่าตัดขากรรไกรจะมีทั้งการผ่าตัดขากรรไกรบนอย่างเดียว
การผ่าตัดขากรรไกรล่างอย่างเดียว หรือการผ่าตัดขากรรไกร
ทั้งบนและล่างร่วมกันก็ได้ โดยทั่วไปการรักษาจะแบ่งออก
ได้เป็น 5 ระยะ

1. การรักษาทางทันตกรรมทั่วไปก่อนการจัดฟัน
(Introductory treatment)
ได้แก่ การรักษาทางทันตกรรมต่างๆ เพื่อให้พร้อมต่อการ
รักษาในขั้นตอนต่อไป เช่น การทำความทำความสะอาดฟัน
โดยการขูดหินปูน การอุดฟัน การถอนฟันกรามที่คุดอยู่ การ
ถ่ายภาพรังสีเพื่อวางแผนการรักษา

2.การรักษาทางทันตกรรมจัดฟันก่อนการผ่าตัด
(Presurgical orthodontic treatment)
การรักษาในช่วงนี้ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความสวยงาม
ของใบหน้าแต่อย่างใดแต่เป็นการปรับตำแหน่งของฟันใน
กระดูกขากรรไกรเพื่อให้ตำแหน่งของฟันซี่ต่างๆอยู่ใน
ตำแหน่งที่ปกติ ในบางครั้งคนไข้จะรู้สึกว่าความผิดปกตินั้น
มีความรุนแรงมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในผู้ป่วยที่มีขา
กรรไกรล่างยื่นมักจะมีฟันหน้าบนยื่น และฟันหน้าล่างหุบ
มากกว่าปกติ

เนื่องจากฟันมีการปรับตัวให้เกิดความสมดุลจากการที่ขา
กรรไกรล่างยื่นไปข้างหน้ามากเกินไป เมื่อผู้ป่วยได้รับการ
จัดฟันในช่วงแรกนี้ จะต้องมีการปรับตำแหน่งของฟันหน้า
บนให้หุบเข้า และฟันหน้าล่างให้ยื่นออกเพื่อให้มีการเอียง
ตัวของฟันตามปกติ ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกว่าใบหน้าส่วนล่าง
จะยื่นมากกว่าก่อนการจัดฟันเสียอีก ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะแก้ไข
ในขั้นตอนการผ่าตัดโดยการเลื่อนขากรรไกรล่างเข้าไป
ทางด้านหลัง การจัดฟันในขั้นตอนนี้โดยส่วนใหญ่ใช้เวลา
ประมาณ 1 ปี

3.การผ่าตัดกระดูกขากรรไกร (Surgical procedure)

เป็นขั้นตอนการผ่าตัดภายหลังจากปรับตำแหน่งของฟันให้
อยู่ในระดับปกติแล้ว อาจเป็นการผ่าตัดเฉพาะขากรรไกรล่าง
หรือบนอย่างเดียวหรือทั้งบนและล่าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับ
ความรุนแรงของความผิดปกติ การผ่าตัดจะกระทำภายใต้
การดมยาสลบและผ่าจากในช่องปาก ดังนั้นจึงไม่ก่อให้
เกิดรอยแผลเป็นให้เห็นจากภายนอก แต่จะต้องใช้ลวดมัด
ฟันบนและล่างเพื่อให้ขากรรไกรเข้าที่ประมาณ 7-10 วัน
ผู้ป่วยต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลภายหลังจากการ
ผ่าตัดประมาณ 1 สัปดาห์ ซึ่งมักไม่มีปัญหาอะไรหาก
ผู้รับการรักษามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงดี

4.การรักษาทางทันตกรรมจัดฟันหลังการผ่าตัด
(Postsurgical orthodontic treatment)

เป็นการปรับตำแหน่งของฟันอีกครั้งเพื่อให้ฟันเข้าที่และปรับ
การสบฟันให้อยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุด ใช้เวลาประมาณ
4-6 เดือน หลังการถอดเครื่องมือจัดฟันออกแล้วจำเป็น
ต้องใส่เครื่องมือคงสภาพชนิดถอดได้ต่ออีกประมาณ
6 เดือนเพื่อให้การสบฟันถูกต้องและสมดุลย์

5.การรักษาทางทันตกรรมทั่วไปภายหลังการจัดฟัน
(Definitive treatment)

เป็นการรักษาเล็กๆ น้อยๆ ภายหลังจากจัดฟันเสร็จแล้ว
เช่นการอุดฟัน ใส่ฟัน รักษาโรคเหงือกรวมถึงการตรวจ
สุขภาพฟัน เคลือบฟลูออไรด์ประจำปี เป็นต้น

เท่านี้การตัดสินใจว่าจะจัดฟันดีหรือไม่ก็คงจะง่ายขึ้นค่ะ



































Create Date : 05 ตุลาคม 2551
Last Update : 5 ตุลาคม 2551 18:39:07 น. 0 comments
Counter : 56380 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2551
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
5 ตุลาคม 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.