สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
โรคไข้สมองอักเสบ เจอี






โรคไข้สมองอักเสบอาจเกิดจากเชื้อไวรัสได้หลายชนิด แต่ที่พบในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดจากเชื้อไวรัส Japanese encephalitis (JE) ซึ่งทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ อัตราป่วยตาย อยู่ระหว่างร้อยละ 20-30 ประมาณสองในสามของผู้รอดชีวิต จะมีความพิการเหลืออยู่ โรคนี้นำโดยยุง
คิวเล็กซ์


สาเหตุ

เกิดจาก Japanese encephalitis virus ซึ่งจัดอยู่ในตระกูล Flaviviridae และอยู่ในกลุ่มเดียวกับ dengue virus


ระบาดวิทยา

โรคนี้ติดต่อกันได้โดยมียุง Culex tritaeniorhynchus เป็นตัวนำที่สำคัญ ยุงนี้เพาะพันธุ์ในท้องนาที่มีน้ำขัง หมูเป็นรังโรคที่สำคัญ หมูที่ติดเชื้อ JE จะไม่มีอาการ แต่มีเชื้อ JE ในเลือดเมื่อยุงไปกัดหมูในระยะนี้ เชื้อจะเข้าไปเพิ่มจำนวนในยุง เมื่อมากัดคนจะแพร่เชื้อเข้าสู่คน สัตว์อื่นๆ ที่จะติดเชื้อ JE ได้แก่ ม้า วัว ควาย นก แต่สัตว์เหล่านี้จะไม่มีอาการมีแต่ม้าและคนเท่านั้น เมื่อได้รับเชื้อแล้วประมาณ 1 ใน 300-500 ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการสมองอักเสบ หมูมีความสำคัญในวงจรการแพร่กระจายของโรค เพราะจะมีเชื้ออยู่ในกระแสเลือดได้นานกว่าสัตว์อื่นๆ จึงจัดว่าเป็น amplifier ที่เป็นรังโรคที่สำคัญ
ส่วนใหญ่จะพบโรคนี้ได้ในเด็ก ช่วงอายุที่พบบ่อยคือ 5-10 ปี และพบโรคนี้ได้ชุกชุมในฤดูฝน ในประเทศไทยจะพบโรคนี้ได้ในภาคเหนือมากกว่าภาคอื่นๆ
ระยะฟักตัวของโรค 1-2 สัปดาห์ หลังจากถูกยุงที่มีเชื้อกัด


อาการและอาการแสดง

ส่วนใหญ่ของผู้ที่ติดเชื้อจะไม่มีอาการ มีเพียง 1 ใน 300-500 คนเท่านั้นที่จะมีอาการสมองอักเสบ ซึ่งจะเริ่มด้วยมีไข้ ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย ต่อไปอาการปวดศีรษะจะมากขึ้น มีอาการอาเจียน ง่วงซึมจนไม่รู้สึกตัว บางรายอาจมีอาการเกร็งชักกระตุกด้วย อาจมีอาการหายใจไม่สม่ำเสมอ ในรายที่เป็นรุนแรงมากจะถึงแก่กรรมประมาณวันที่ 7-9 ของโรค ถ้าพ้นระยะนี้แล้วจะผ่านเข้าระยะฟื้นตัว ระยะเวลาของโรคทั้งหมดประมาณ 4-7 สัปดาห์ เมื่อหายแล้วประมาณร้อยละ 60 ของผู้ป่วยจะมีความพิการเหลืออยู่ เช่น อัมพาตแบบแข็งเกร็ง (spastic) ของแขนขา มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง มีสติปัญญาเสื่อม จึงนับว่าเป็นโรคที่มีความสำคัญทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุขโรคหนึ่ง


การวินิจฉัยโรค

จากอาการทางคลินิกที่มีไข้และมีอาการซึม หมดสติ และมีชัก ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงในน้ำไขสันหลัง จะให้การวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคสมองอักเสบ แต่จะบอกสาเหตุได้แน่นอนจะต้องตรวจแยกเชื้อไวรัส เจอี จากเลือด หรือน้ำไขสันหลัง ซึ่งพบได้ยาก การวินิจฉัยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันคือตรวจหา IgM antibody เฉพาะต่อไวรัส เจอี ในน้ำไขสันหลังและในเลือด


การรักษา

ยังไม่มียาเฉพาะ เป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ ต้องให้การดูแลรักษาเฉพาะใน Intensive care unit บางครั้งจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ


การป้องกัน

1) หลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกยุงกัด ยุงนี้จะกัดเวลาพลบค่ำ
2) ไม่ควรเลี้ยงหมูในบริเวณใกล้บ้านที่อยู่อาศัย
3) ป้องกันโดยการฉีดวัคซีน 2 ครั้ง ห่างกัน 1 เดือน แล้วฉีดเพิ่มอีก 1 ครั้งหลังจากฉีดเข็มที่ 2 ได้ 1 ปี ควรจะเริ่มให้วัคซีนนี้เมื่ออายุ 1 ปีครึ่ง พร้อมกับการให้ booster dose DTP และ OPV


คำถามเกี่ยวกับโรคไข้สมองอักเสบ

1. สาเหตุเกิดขึ้นจากอะไรบ้าง

ตอบ เนื้อสมองอักเสบอาจเกิดขึ้นจากเชื้อหลายชนิด เชื้อไวรัสเองก็มีหลายตัว เช่น พิษสุนัขบ้า คางทูม ความผิดปกติของทางเดินอาหาร เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคต่างๆเหล่านี้ ก็จะทำให้เกิดเนื้อสมองอักเสบได้ แต่ไข้สมองอักเสบที่อันตรายร้ายแรงที่อาจจะเสียชีวิต เกิดจากเชื้อไวรัสเจอี ที่จะกล่าวในวันนี้ ซึ่งเชื้อเองตามธรรมชาติก็จะอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่น สุกร ยุงจะเป็นพาหะนำมาสู่คน ในตัวสุกรเองถ้าเป็นสัตว์ที่มีอายุ ตัวสัตว์เองก็จะมีภูมิต้านทานพอสมควร เพราะฉะนั้น ถ้ามีไวรัสอยู่ในตัวก็จะโดนควบคุมไม่ให้มีปริมาณมาก ส่วนสุกรที่เป็นลูกสุกร ภูมิต้านทานไม่ค่อยดี เมื่อโดนยุงกัด แล้วมีเชื้อไวรัส ไวรัสจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็จะเป็นแหล่งแพร่เชื้อมาสู่ยุงและไปสู่คน ในลำดับต่อไป ที่สำคัญ ในตัวมนุษย์เองหลังจากที่โดนยุงกัดมีเชื้อไวรัสอยู่ในตัวมีอาการเจ็บป่วย ปริมาณไวรัสในเลือดน้อยมากไม่สามารถเพาะเชื้อได้ ดังนั้น ถึงแม้จะเป็นโรคติดต่อก็จะไม่ติดต่อจากคนสู่คนโดยตรง เป็นโรคที่ต้องมีพาหะ เชื้อจะต้องมาจากสัตว์


2.ส่วนใหญ่มักจะระบาดในช่วงใดมากที่สุด

ตอบ เนื่องจากเป็นโรคที่มียุงเป็นพาหะ จึงมักพบผู้ป่วยมากในช่วงฤดูฝน ปริมาณ ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม แต่จริงๆแล้วโรคไข้สมองอักเสบสามารถพบได้ตลอดทั้งปี แต่พบมากในช่วงฤดูฝน


3. ในปัจจุบันพบผู้ป่วยบ่อยมากเพียงใด

ตอบ เนื่องจากผู้ป่วยที่โดนยุงกัดแล้วมีเชื้อไข้สมองอักเสบเข้าไปแล้ว ไม่ได้หมายความว่า จะป่วยทุกคน ขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของคนที่ถูกยุงกัด ด้วย คนที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการของโรค ก็คือ เด็กเล็กที่มีภูมิต้านทานน้อย ส่วนผู้ที่มีอายุมากขึ้น มักจะเคยเจอเชื้อมาแล้วจากการโดนยุงกัดในอดีตแล้วร่างกายกำจัดเชื้อไปได้ มีภูมิต้านทานเพราะฉะนั้นคนที่มีอายุมากขึ้นก็จะมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยน้อยลง และอาการของผู้ป่วยหลังจากที่ได้รับเชื้อเข้าไปก็มีความแตกต่างกันตั้งแต่ได้รับเชื้อแล้วไม่มีอาการเลย จนถึงมีอาการป่วยเล็กน้อย เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวแยกยากกว่าการติดเชื้อไวรัสตัวอื่นๆ จนมีอาการรุนแรง เช่น ซึมลง ไม่รู้สึกตัว หรือ เสียชีวิต เพราะฉะนั้นจำนวนผู้ป่วยการรายงานจากกระทรวง ถ้าเป็นผู้ป่วยทีมีอาการมาก ประมาณเดือนละ 20-50 ราย ซึ่งจะเห็นว่ามีจำนวนไม่มาก


4. วิธีสังเกตลักษณะอาการเบื้องต้น

ตอบ อาการระยะแรกหลังจากรับเชื้อ สำหรับผู้ที่มีภูมิต้านทานไม่ค่อยดี อาการแรกที่เจอ ก็มักจะมีไข้ ปวดศีรษะในรายที่ได้รับเชื้อเข้าไปในปริมาณมาก รับเชื้อเข้าไปในเด็กเล็ก โอกาสที่จะมีอาการทางสมองก็มากขึ้น เช่น มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ลุกลี้ลุกลน สับสน ถ้ามีอาการอักเสบของเนื้อสมองมากขึ้น การทำงานของสมอง อาจจะมีอาการชักได้ และอาจจะมีอาการซึมลงหรือไม่รู้สติ บางรายอาจจะมีความผิดปกติของการทำงานของระบบทางเดินหายใจ หายใจไม่พอ


5. วิธีการวินิจฉัยเบื้องต้นเป็นอย่างไร

ตอบ ในผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ มีอาการเล็กน้อย เช่น ไข้ ปวดศีรษะ มีสติดี แพทย์ก็จะให้การรักษาตามอาการ เนื่องจากไวรัสตัวนี้ ยังไม่มียาที่จะรักษษโดยเฉพาะ การรักษาส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาตามอาการ เพื่อลดอาการเจ็บป่วย อาการทุกข์ทรมานให้คนไข้ แต่ในรายที่มีอาการมากขึ้นโดยเฉพาะมีภาวะการรู้สติผิดปกติไป ซึ่งอาจจะมีโรคอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายๆกัน และเป็นโรคที่ให้การรักษาแทบทุกวัน เช่นมีอาการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองจากเชื้อแบคทีเรีย ก็มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจกันเพิ่มเติม การเอาตรวจจากคนไข้ คนไข้ที่มีอาการทางสมอง ก็คือ การเจาะเอาน้ำช่วงเยื่อหุ้มสมองมาตรวจ


6. โรคนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่

ตอบ อย่างที่กล่าวไปแล้วเบื้องต้น ผู้ป่วยสามารถหายขาดได้ แต่เป็นส่วนน้อย ถ้ามีอาการรุนแรงแล้ว โดยปกติเชื้อไวรัสกลุ่มนี้จะกำจัดได้ด้วยภูมิต้านทานของตัวเอง การรักษาในโรงพยาบาล ถ้าเป็นการรักษาแบบประคับประคอง ลดอาการที่จะทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นในขณะที่ผู้ป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการมากต้องเข้าห้อง ICU พวกนี้อาจจะต้องใช้เครื่องหายใจ มีการใส่ท่อ/สายยางในตัวผูป่วยหลายตำแหน่ง ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อแทรกซ้อนระหว่างอยู่ที่โรงพยาบาล เพราะฉะนั้น การรักษาของแพทย์ก็คือ การประคับประคองให้ผู้ป่วยมีการหายใจที่เพียงพอ เมื่อสมองฟื้นกลับคืนมา หายใจได้เองก็จะถอดเครื่องช่วยหายใจออก และป้องกัน.โรคแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างอยู่ที่โรงพยาบาล การให้ยากันชัก เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยชัก เพราะการชักแต่ละครั้งก็จะยิ่งทำให้เซลล์สมองตายเพิ่มขึ้น


7. เนื่องจากโรคนี้มักพบบ่อยในกลุ่มผู้ป่วยเด็ก จะมีผลต่อสมองและการรับรู้ของเด็กด้วยหรือไม่

ตอบ ถ้าในรายที่เป็นมากแล้วมีความพิการหลงเหลือก็จะทำให้ระดับสติปัญญาลดลง เช่น ระดับ IQ อาจจะลดลง เพราะฉะนั้น ถ้าป้องกันไม่ให้เป็นได้จะดีที่สุด


8. วิธีการป้องกันควรทำอย่างไร

ตอบ เนื่องจากเป็นโรคติดต่อสู่คน โดยมีพาหะ คือยุง ถ้าไม่โดนยุงกัดก็จะไม่เป็นโรคนี้ เพราะฉะนั้น ต้องตัดวงจรไม่ให้เชื้อมาสู่ตัวเราได้ ก็คือ ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงให้มากที่สุด เช่น อย่าให้มีน้ำท่วมขัง ป้องกันไม่ให้ยุงเข้ามาในที่ที่เรานอน เพราะยุงมักจะกัดในเวลากลางคืน ก็ควรนอนในที่มีมุ้งกาง มีมุ้งลวด นอกจากนั้นก็อาจจะมีสเปรย์ฉีดฆ่ายุง ก็จะเป็นวิธีป้องกันพาหะไม่ให้น้ำเชื้อเข้ามาสู่ตัวเรา ส่วนการป้องกันอีกวิธีหนึ่งก็คือ การเพิ่มภูมิต้านทานในตัวเราเอง อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วว่าผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อโรคไข้สมองอักเสบก็คือในเด็กเล็ก ซึ่งในปัจจุบันถึงแม้อาจจะไม่มียารักษาโรค แต่เราก็มีวัคซีนที่จะฉีดป้องกัน ซึ่งวัคซีนปัจจุบันจะต้องฉีด 3 เข็ม ปัจจุบันจะมีอยู่ในตารางหรือสมุดการฉีดวัคซีนของเด็ก


วัคซีนไข้สมองอักเสบ JE

นับว่าโรคติดเชื้อทางสมอง เป็นโรคที่น่ากลัวและอันตรายมาก เพราะเสี่ยงต่อการเสียชีวิต หรือหากรอดก็จะทุพพลภาพทางร่างกาย เช่น อัมพาต หรือมีปัญหาด้านสติปัญญา เนื่องจากเมื่อมีการทำลายเนื้อเยื่อของสมองแล้ว
มันไม่อาจจะฟื้นกลับสู่สภาพเดิมได้ เนื่องจากเป็นอวัยวะ ที่พัฒนาขั้นสูงไปแล้ว เช่นเดียวกับอวัยวะสำคัญอื่น ๆ ของร่ายกาย เช่น หัวใจ ตับ ไต ทั้งนี้ ลองนึกจำลองภาพดูว่า รุนแรงเพียงใด เพราะสมองเปรียบเสมือน
กองบัญชาการของชีวิตทีเดียว ในบรรดาสิ่งที่เป็นอันตราย และทำให้เกิดการอักเสบต่อสมอง หรือเยื่อหุ้มสมอง ไม่ว่าจะเป็นสารโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว หรือการติดเชื้อ ซึ่งมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัสไข้สมอง
อักเสบ JE นับว่าเป็นโรคที่น่ากลัวมากอย่างหนึ่ง


ไข้สมองอักเสบ JE เกิดจากเชื้อไวรัส Japanese Encephalitis (JE) GenusFlsvivirus ติดต่อโดยยุง Culex โดยมากเป็น lextritaeniorhynchus และมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยเฉพาะหมู เป็นตัวพาหะขยายพันธุ์
(amplifying host) อย่างดี และมีมนุษย์เป็นผู้รับเคราะห์ (accidental host) ในเขตติดต่อ มักเป็นในเด็กอายุ 3-15 ปี และมีโอกาสเกิดได้ตลอดปี ในเขตร้อน เป็นโรคระบาดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก เช่น
จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ไทย เป็นต้น ในไทยเริ่มระบาดจากภาคเหนือ และแพร่ออกไป ประมาณว่ามีอุบัติการณ์ทั่วโลกราว 40,000 รายต่อปี โดยมีอัตราตาย ค่อนข้างสูงราวร้อยละ 25 (บางแห่งว่า 7-33%) ซึ่งสองในสามของผู้ป่วยที่หาย จะมีความพิการทางร่างกายและสติปัญญา


ระยะฟักตัวของเชื้อราว 5-15 วัน อาการป่วยที่อาจพบคือ encephalitis, aseptic meningitis หรือ febrile headache อาการไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ และสูญเสียความรู้สึก จนกระทั่งหมดสติ ซึ่งสามในสี่ของผู้ป่วย
มักแสดงอาการในวันที่ 3-4 อาการชักมักพบมากในเด็ก ส่วนผู้ใหญ่พบเพียงร้อยละ 10 นอกจากนี้ ยังพบอาการหายใจเร็ว เหงื่อออก และมีเสมหะในหลอดลมมาก โอกาสการฟื้นตัวทางประสาทน้อยกว่าร้อยละ 80 โรคนี้ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน JE


วัคซีนที่ใช้เป็นไปตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก ซึ่งไม่ได้ระบุสายพันธุ์ไวรัสที่ใช้ผลิต เพียงแต่ให้เป็นสายพันธุ์ที่ทน ให้ไตเตอร์สูง มี antigenicity เหมือนไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในพื้นที่ และเป็นข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการผลิต และตรวจสอบคุณภาพ เพื่อให้ได้วัคซีนที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพป้องกันโรค ปัจจุบันสายพันธุ์ที่มีใช้ในการผลิตวัคซีนในตลาดมี 2 สายพันธุ์ คือ Nakayama strain และ Beijing strain เดิมสายพันธุ์แรกใช้เริ่มแรกในญี่ปุ่น ต่อมาญี่ปุ่นได้ใช้สายพันธุ์หลัง ผลิตวัคซีนใช้ในประเทศ โดยให้เหตุผลว่า Beijing Strain มีประสิทธิภาพสูงกว่า ในการกระตุ้นภูมิที่ครอบคลุมเชื้อ JE ที่ก่อโรคสายพันธุ์อื่น ๆ ได้มากกว่า และใช้ในขนาดที่ต่ำกว่าวัคซีนจาก Nakayama Starin ครึ่งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม มีการผลิตวัคซีน จากทั้ง 2 สายพันธุ์ในญี่ปุ่นเอง และมีการขึ้นทะเบียนวัคซีน JE ที่ผลิตจากสายพันธุ์ Nakayama ในสหรัฐอเมริกา และได้รับการขึ้นทะเบียนจาก US FDA แล้ว ในประเทศเกาหลี อินเดีย และไทย (โดยองค์การเภสัชกรรม)
ยังคงผลิตวัคซีนด้วยสายพันธุ์ Nakayama อยู่ โดยผลิตได้ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก และ Japanese Biological Product Minimum Requirement การใช้จะฉีดใต้ผิวหนัง ในเด็ก 3 ปีขึ้นไป ฉีดขนาดเท่าผู้ใหญ่
(Nakayama Strain 1 ml., Beijing Strain 0.5 ml.) ในเด็กต่ำกว่า 3 ปี ฉีดเป็นครึ่งหนึ่ง และฉีดรวม 3 เข็ม เข็มแรกและเข็มที่สองห่างกัน 1-2 สัปดาห์ เข็มที่สามเป็นเข็มกระตุ้น ห่างจากเข็มสอง 1 ปี


นอกจากนี้ ผลการศึกษาด้านคลินิกภาคสนามในประเทศไทยเอง ในปี 2528 ที่กำแพงเพชร ซึ่งฉีด 2 เข็ม พบว่า ในกลุ่มที่ฉีด Nakayama และ Nakayama+Beijing ให้ความคุ้มกันโรคร้อยละ 91 และการศึกษาอาการ
ไม่พึงประสงค์ไม่ใคร่มี (นอกจากไข้เล็กน้อย 1-2%, ปวดศีรษะ 1-2% ตามรายงาน) ปัจจุบัน การศึกษาวิจัยโดยมี clone technology, recombinant, subunit และ whole virus inactivated เป็นตัวให้เลือก (candidate
vaccine) สำหรับวัคซีนคุณภาพดีขึ้นในอนาคต ซึ่งอยู่ในความสนใจของคณะกรรมการพัฒนาและวิจัยวัคซีน (VRD) องค์การอนามัยโลก










Create Date : 18 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 18 กุมภาพันธ์ 2552 8:36:26 น. 7 comments
Counter : 3686 Pageviews.

 
ได้ความรู้ดีจังเลยค่ะ ขอบคุณสำหรับความรู้ และวิธีป้องกันนะคะ


โดย: กระแต (pp_parich ) วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:1:29:53 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับ







โดย: กะว่าก๋า วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:8:05:47 น.  

 


โดย: ขุนพลน้อยโค่วจง วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:11:41:58 น.  

 
ขอบคุณความรู้ดีๆนะค่ะ


โดย: ยายกุ๊กไ่ก่ วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:18:14:10 น.  

 
ขอบคุงที่แวะไปเยี่ยมจ้า


โดย: พลังชีวิต วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:20:38:53 น.  

 
หวัดดีค่ะคุณกบ...ทำอะไรอยู่เอ่ย นอกจากแวะมาทักทายคุณกบแล้ว นุชจะมาบอกว่าตอบ tag ของคุณกบเรียบร้อยแล้วนะคะ ไปตรวจดูได้ค่ะ


โดย: Vannessa วันที่: 20 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:21:44:21 น.  

 


โดย: ขุนพลน้อยโค่วจง วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:0:47:48 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
 
18 กุมภาพันธ์ 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.