สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
โรคเกี่ยวกับการนอน

โรคเกี่ยวกับการนอนมีหลายชนิดวันนี้จะพาไปรู้จักกันคะ
และวิธีการป้องกันผลเสียที่อาจเกิดจากการนอนในแบบต่างๆ





โรคนอนไม่หลับแบบต่างๆ

หากคุณมีปัญหาเรื่องนอนไม่หลับหรือหลับยากต้องใช้เวลามากกว่า 30 นาทีหรือตื่นเร็วทำให้ไม่สดชื่นหลังจากตื่นนอน เราเรียกนอนไม่หลับ นอนไม่หลับไม่ใช่โรคแต่เป็นอาการเนื่องจากสาเหตุต่างๆที่กระตุ้น เช่น ความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า โรคต่างๆ รวมทั้งพฤติกรรมในการนอน ยาบางชนิดก็ทำให้นอนไม่หลับเช่น ยาลดน้ำมูกยาแก้แพ้ ยารักษาโรคหัวใจ ยาลดความดันโลหิตสูง ยารักษาโรคหอบหืด


ชนิดของโรคนอนไม่หลับ

ชนิดของโรคนอนไม่หลับ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ
1. โรคนอนไม่หลับชั่วคราว หมายถึง การนอนไม่หลับในช่วงระยะสั้นไม่เกิน 3 สัปดาห์
2. โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง หมายถึง การนอนไม่หลับติดต่อกันนานเกิน 3 สัปดาห์





สาเหตุการนอนไม่หลับ

1. โรคนอนไม่หลับชั่วคราว มักมีสาเหตุมาจากเมื่อมีปัญหา หรือสิ่งกระตุ้นทางจิตใจ หรือสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดนอนไม่หลับชั่วคราวขึ้น เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล เป็นต้น เมื่อหมดปัญหาหรือสิ่งกระตุ้นนั้นๆ ก็จะกลับมานอนหลับได้ปกติเหมือนเดิม
2. โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง อาจมีสาเหตุจากมีโรคประจำตัว เช่น ภาวะซึมเศร้า ควรใช้ยาต้านอาการซึมเศร้าที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วง การใช้ยาโดยตรงจะทำให้เกิดอาการสับสนมากขึ้น
3. ส่วนกลุ่มที่นอนไม่หลับโดยไม่มีสาเหตุ ต้องให้การรักษาทางจิตเวช และเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนเป็นหลัก โดยใช้ยานอนหลับระยะสั้นๆ เท่านั้น
ในผู้สูงอายุ การนอนโดยทั่วไปมักจะเข้านอนเร็วแต่นอนไม่หลับหรือไม่สามารถหลับรวดเดียวถึงเช้าได้ มักจะตื่นเช้าหรือไม่ก็สายมาก ซึ่งถือเป็นสิ่งปกติในคนสูงอายุ

วิธีการรักษาโรคโดยไม่ใช้ยา

โดยการปรับพฤติกรรมการนอนดังต่อไปนี้จะช่วยลดอาการนอนกลางคืนไม่หลับได้เป็นอย่างดี
1. ลงนอนเมื่อรู้สึกง่วง
2.ถ้าไม่สามารถหลับได้ในเวลาอันสมควร ให้ลุกขึ้น อาจจะอ่านหนังสือ ฟังเพลงเบาๆ จนรู้สึกง่วงจึงกลับไปนอนใหม่
3. ควรตื่นนอนเวลาเดียวกันทุกวัน ไม่ว่าจะนอนได้มาก หรือน้อยแค่ไหน
4. หลีกเลี่ยงการนอนในช่วงกลางวัน เพราะยิ่งนอนกลางวันมากเท่าใดก็จะทำให้นอนไม่หลับเวลากลางคืนมากขึ้นเท่านั้น
5. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทุกวันจะทำให้หลับดีขึ้น
6.ควรงดดื่มน้ำชา กาแฟ ในตอนเย็นและก่อนนอน
7. ก่อนนอนไม่ควรรับประทานอาหารมากเกินไป จะทำให้อึดอัด ควรใช้อาหารอ่อนหรือนมอุ่นๆ จะช่วยให้หลับดีขึ้น
8.ปรับสภาพในห้องนอนให้เหมาะสม ไม่ควรมีเสียงรบกวนอากาศถ่ายเทได้ดี แม้แต่ที่นอนที่อ่อนเกินไปจะทำให้นอนไม่สบายและเกิดปวดหลังได้
ถ้าเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนแล้วยังไม่ได้ผล อาจใช้ยาช่วยหลับได้เป็นบางคืน การใช้ยาควรอยู่ในความดูแลของแพทย์และขอคำแนะนำจากเภสัชกร ไม่ควรซื้อยากินเองเพราะอาจเกิดอันตราย ดื้อยาหรือติดยาในที่สุด




นอกจากภาวะต่างดังกล่าวก็ยังมีโรคที่ทำให้นอนไม่หลับ sleep disorder โรคดังกล่าวได้แก่

Narcolepsy
Sleep Apnea
Periodic Leg Movements in Sleep (PLMS)
Restless Legs Syndrome (RLS)
Circadian Rhythm Disorder

การวินิจฉัย

ท่าอาจจะกรอกตารางตรวจหาสาเหตุการนอนไม่หลับก่อนไปพบแพทย์แพทย์จะถามคำถาม เพื่อหาสาเหตุของการนอนไม่หลับ

ให้อธิบายว่ามีปัญหานอนไม่หลับเป็นอย่างไร เช่นหลับยากหรือตื่นเร็วหรือตื่นบ่อย ตื่นเพราะอะไร มีโรคประจำตัวอะไรบ้าง ใช้ยาอะไรบ้าง ดื่มกาแฟหรือดื่มสุราบ้างหรือไม่
มีภาวะเครียด หรือวิตกกังวล หรือโรคซึมเศร้าหรือไม่
นอนไม่หลับเป็นมานานเท่าใด
เป็นทุกทุกคืนหรือไม่
สามารถทำงานตอนกลางวันได้หรือไม่อารมณ์แกว่งหรือไม่
ผลกระทบจากการนอนไม่หลับ

ผลกระทบจาการนอนไม่หลับกระทบกับคุณภาพชีวิต คุณภาพการทำงาน และความปลอดภัย

ผู้ที่นอนไม่หลับจะมีอัตราการเกิดโรคซึมเศร้า 4 เท่า
การนอนไม่หลับเป็นความเครียดอาจจะทำให้เกิดโรคหัวใจ
อาจจะเกิดอันตราขณะทำงาน ขับรถ
ขาดงานบ่อย ไม่ก้าวหน้าในการทำงาน
การรักษา





ข้อบ่งชี้ในการใช้ยารักษานอนไม่หลับ

ต้องหาสาเหตุว่านอนไม่หลับเกิดจากโรคอะไร และโรคนั้นรักษาด้วยยานอนหลับได้ผล
นอนไม่หลับก่อให้เกิดผลเสียต่อชีวิตประจำวัน
ใช้การรักษาวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล
ภาวะนอนไม่หลับเป็นภาวะชั่วคราว
ภาวะนอนไม่หลับเป็นอาการแสดงของโรคอื่น เช่น Alzheimer, dementia

หลักการให้ยารักษาภาวะนอนไม่หลับ

ให้ยาขนาดน้อยที่สุด
ควรจะใช้ระยะสั้น
หากใช้ระยะยาวให้หยุดใช้ยาเป็นช่วงๆ
ควรใช้ยาร่วมกับวิธีการอื่นร่วมด้วย
ยานอนหลับ

ยานอนหลับเป็นยาที่ทำให้หลับง่าย ยานอนหลับที่ดีต้องให้ผลคือ นอนหลับเร็ว นอนหลับนานขึ้น ตื่นกลางคืนน้อยลง และสดชื่นหลังจากตื่น ยาที่ใช้แบ่งเป็น

Benzodiazepines ยานี้เป็นยาที่ใช้บ่อย ยานี้ลดการกระตุ้นของเซลล์สมอง ผลข้างเคียงไม่มากและอัตราการติดยาไม่มาก ยาที่นิยมใช้ได้แก่ lorazepam , alprazolam , triazolam , flurazepam , temazepam , oxazepam , prazepam , quazepam , estazolam , flunitrazepam เนื่องจากยากลุ่มนี้มีผลต่อจิตประสาทและเป็นยาที่ทางอาหารและยาควบคุม การจ่ายยาจะต้องมีใบสั่งแพทย์ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง
ยากลุ่มนี้แบ่งตามการออกฤทธิ์เป็นสองแบบคือออกฤทธิ์ระยะสั้นได้แก่ยา lorazepam , alprazolam , triazolam ยากลุ่มนี้จะอยู่ในกระแสเลือดระยะสั้น ไม่ทำให้เกิดอาการง่วงนอนในเวลากลางวัน ส่วนอีกกลุ่มคือออกฤทธิ์ระยะยาว ยาจะอยู่ในกระแสเลือดเป็นเวลานานได้แก่ยา flurazepam,quazepam ยากลุ่มนี้จะทำให้ง่วงนอนในตอนกลางวัน และเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ

การให้ยากลุ่มนี้ต้องระวังในผู้สูงอายุ ควรจะได้ในขนาดครึ่งหนึ่งของคนปกติและควรจะได้ยาที่ออกฤทธิ์ระยะสั้น ยานี้ไม่ควรให้ในคนท้องและเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่เพราะยาจะผ่านไปสู่ลูกได้





หากได้ยาเกิดขนาดมักไม่ถึงกับเสียชีวิต ผู้ป่วยที่รับประทานยาเป็นเวลานานและหยุดยาอาจจะมีอาการนอนไม่หลับและเกิดร่วมกับอาการอย่างอื่น เช่นอาหารไม่ย่อย เหงื่อออก ใจสั่น ในรายที่เป็นรุนแรงอาจจะมีภาพหลอน อาการหยุดยาจะเป็นประมาณ 1-3 สัปดาห์ สำหรับอาการหยุดยาที่ไม่รุนแรงอาจจะเป็นแค่ 1-2 วัน การที่จะหยุดยาควรจะค่อยลดขนาดยาลงไม่ควรหยุดยาทันทีเพราะจะเกิดผลข้างเคียง

ควรจะรับประทานยานานแค่ไหน ยานอนหลับควรใช้ระยะสั้นไม่ควรให้ระยะยาวแต่บางรายก็มีความจำเป็นต้องให้ระยะยาวโดยมากไม่ควรให้เกิน 4 สัปดาห์

ข้อควรระวังในการใช้ยา ไม่ควรดื่มสุราขณะใช้ยานี้เพราะจะทำให้ยาออกฤทธิ์นาน ไม่ควรใช้ยานี้ในผู้สูงอายุที่ต้องตื่นบ่อบเนื่องจากอาจจะเกิดหกล้ม ไม่ควรใช้ยานี้ในผู้ที่ต้องทำงานกับเครื่องจักร และไม่ควรให้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีโรค sleep apnea syndrome

Non-Benzodiazepine Hypnotics เป็นยานอนหลับอีกชนิดหนึ่งที่ได้ผลค่อนข้างดีได้แก่ Zolpidem,Zopiclone ไม่ค่อยมีอาการดื้อยา และไม่ค่อยมีอาการติดยา ผลข้างเคียงของยาไม่มากเป็นยาที่เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง
Antidepressants ยาแก้โรคซึมเศร้าเหมาสำหรับอาการนอนไม่หลับที่พบร่วมกับภาวะซึมเศร้า ยาใหม่ที่ได้ผลดีควรออกฤทธิ์ต่อ serotonin เช่น trazodone,nefazodone,paroxetine ยาอื่นได้แก่ ยาแก้แพ้เช่น chlorpheniramine,diphenhydramine,hydroxyzine อาจจะทำให้นอนหลับได้ Barbiturates เป็นยานอนหลับใช้สมัยก่อน เนื่องจากยานี้หากได้เกินขนาดอาจจะเป็นอันตรายต่อชีวิต และอัตราการติดยาสูง ปัจจุบันไม่ควรใช้ในภาวะนอนไม่หลับ

สำหรับภาวะที่นอนไม่หลับเกิดจากวัยทองการให้ฮอร์โมน Estrogen Replacement Therapy จะช่วยให้หลับดีขึ้น





นอนกัดฟัน

การนอนกัดฟัน (Bruxism) คือ การขบเคี้ยวฟันที่ไม่ใช่การทำงานตามหน้าที่ที่ถูกต้อง อาจเกิดขึ้นในขณะนอนหลับ หรืออาจเกิดขึ้นได้ในเวลากลางวัน ขณะที่นั่งทำงานเผลอๆ หรือในขณะที่มีความเครียด

การใช้ฟันขบเขี้ยวเคี้ยวกันในเวลาที่ไม่ได้กินอาหาร เชื่อว่าเป็นการ ทำงานที่ไม่ถูกต้องทั้งสิ้น และไม่เกิดผลดีใดๆ มีแต่ผลเสียต่างๆ ดังนี้

๑. กล้ามเนื้อทำงานมากกว่าปกติ
๒. ฟันสึก
๓. อาจทำให้ปวดที่ข้อต่อขากรรไกรได้

สาเหตุที่สำคัญ เช่น

ก. อาจมีสิ่งกีดขวางการทำงาน ของฟันในขณะบดเคี้ยว สิ่งกีดขวางเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการกัดฟันหรือขบเขี้ยวเคี้ยวฟันขึ้น นอก จากสิ่งกีดขวางการบดเคี้ยวแล้ว อาจเกิดจากโรคปริทันต์ที่มีการเจ็บปวดพื้นผิวของริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เป็นต้น
วิธีแก้ไข พบทันตแพทย์เพื่อตรวจสภาพการทำงานของฟันขณะบดเคี้ยว เมื่อทันตแพทย์ปรับการ สบของฟันให้ถูกต้องแล้ว การนอนกัดฟันอาจจะลดน้อยลงหรือหายไป หรือทันตแพทย์จะต้องแก้ไขโรค ปริทันต์ พื้นผิวของริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม ที่มีการระคายเคืองออกให้หมด จะช่วยลดการนอนกัดฟันได้
ข. ความเครียดทางจิตใจ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการขบเขี้ยวเคี้ยวฟันได้ในขณะที่อยู่เฉยๆ หรืออาจจะ เกิดในขณะนอนหลับได้ ความเครียด ทางจิตใจที่เกิดจากการข่มระงับ อารมณ์ไว้ ไม่ให้แสดงความก้าวร้าว ดุดัน อารมณ์เคร่งเครียดเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการนอนกัดฟัน
วิธีแก้ไข แก้สาเหตุของความ เครียด แต่ในขณะที่ยังแก้สาเหตุความเครียดไม่ได้ ให้พบทันตแพทย์เพื่อทำเครื่องมือไปใช้ใส่ขณะนอน เพื่อป้องกันไม่ให้กัดลงบนฟันแต่ให้กัดลงบนเครื่องมือแทน ฟันจะได้ไม่สึก

นอกจากนั้น การใส่เครื่องมือนี้จะช่วยเปลี่ยนแปลงอุปนิสัยหรือความเคยชินในการขบเขี้ยวเคี้ยวลักษณะเดิมได้ ซึ่งต่อไปสักระยะหนึ่งจะทำให้เลิกนอนกัดฟันได้





โรคนอนกรน

ในผู้ใหญ่ อาการนอนกรน มักมีสาเหตุมาจาก

ขาดความตึงตัว ลิ้นไก่ยาวและเพดานอ่อนห้อยต่ำลง กล้ามเนื้อต่างๆ หย่อนยาน รวมทั้งกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ขยายช่องทางเดินหายใจบริเวณลำคอ ทำให้ลิ้นไก่และลิ้นตกไปบังทางเดินหายใจได้ง่าย

อายุ เมื่ออายุมากขึ้น เนื้อเยื่อต่างๆ จะขาดความตึงตัว ลิ้นไก่ยาวและเพดานอ่อนห้อยต่ำลง กล้ามเนื้อต่างๆ หย่อนยาน รวมทั้งกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ขยายช่องทางเดินหายใจบริเวณลำคอ ทำให้ลิ้นไก่และลิ้นตกไปบังทางเดินหายใจได้ง่าย

เพศ ประมาณร้อยละ 85 ของผู้ป่วยเป็นเพศชาย ทั้งจากการศึกษาทางระบาดวิทยาและการศึกษาผู้ป่วยเฉพาะกลุ่ม พบว่าเพศชายมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศหญิง ด้วยอัตราส่วน 7:1 แต่เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนพบว่าเพศหญิงมีโอกาสเป็นมากขึ้น อาจเป็นไปได้ว่าฮอร์โมนเพศจะมีผลต่อโรคนี้ได้ เชื่อว่าอิทธิพลของฮอร์โมนส่งผลที่โครงสร้างบริเวณศีรษะและลำคอของเพศชาย เนื้อเยื่อบริเวณคอหนาขึ้นทำให้มีช่องคอแคบกว่าผู้หญิง ฮอร์โมนของเพศหญิงมีส่วนทำให้กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ขยายช่องทางเดินหายใจ มีความตึงตัวที่ดี

ลักษณะโครงสร้างของกะโหลกศีรษะและกระดูกใบหน้าผิดปกติ เช่น คางเล็ก คางเลื่อนไปด้านหลัง ลักษณะคอยาว หน้าแบน ล้วนทำให้ทางเดินหายใจช่วงบนแคบลงเกิดการอุดตัน และทำให้เกิดการหยุดหายใจได้ โรคที่มีความผิดปกติบริเวณนี้ได้แก่ Down's syndrome , Prader Willi syndrome , Crouzon's syndrome เป็นต้น


กรรมพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่ไม่อ้วน แต่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ปัจจัยทางพันธุกรรมน่าจะเป็นสาเหตุหลักของผู้ป่วยกลุ่มนี้ ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากกว่าคนปกติ 1.5 เท่า

โรคอ้วน พบว่าประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ป่วย OSAS มี Body Mass Index (BMI) > 28 กิโลกรัมต่อตารางเมตร หรือมีน้ำหนักมากกว่าร้อยละ 20 ของน้ำหนักมาตรฐาน เมื่อลดน้ำหนักได้ 5-10 กิโลกรัมจะทำให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นได้ ผู้ป่วยที่อ้วนมีโอกาสเกิดการหยุดหายใจขณะหลับมากกว่าคนทั่วไป เนื่องจากไขมันนอกจากจะกระจาย อยู่ตามเนื้อเยื่อต่างๆทั่วร่างกาย เช่น ที่สะโพก หน้าท้อง น่อง ต้นขา ยังพบว่ามีเนื้อเยื่อไขมันกระจายอยู่รอบๆทางเดินหายใจช่วงบนมากขึ้น ไขมันที่พอกบริเวณคอจะทำให้เวลาที่ผู้ป่วยนอนลง เกิดน้ำหนักกดทับ ทำให้ช่องคอแคบลงได้ หน้าท้องที่มีไขมันเกาะอยู่มากทำให้กระบังลมทำงานได้ไม่เต็มที่ ความจุของปอดลดลง ล้วนเป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้เกิดการหยุดหายใจได้โดยง่ายขึ้น

แน่นจมูกเรื้อรัง จมูกเป็นต้นทางของทางเดินหายใจ ถ้ามีภาวะใดก็ตามที่ทำให้แน่นจมูกเรื้อรัง เช่นมีผนังกั้นจมูกคด เยื่อบุจมูกอักเสบเรื้อรัง หรือเนื้องอกในจมูก ย่อมจะทำให้การหายใจลำบากขึ้น

ดื่มสุรา หรือการใช้ยาบางชนิด จะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง รวมทั้งกล้ามเนื้อที่คอยพยุงช่องทางเดินหายใจให้เปิด หมดแรงไป เกิดภาวะทางเดินหายใจอุดตันได้ง่ายขึ้น นอนจากนี้จะกดการทำงานของสมอง ทำให้สมองตื่นขึ้นมาเมื่อมีภาวะการขาดออกซิเจนได้ช้า ซึ่งอาจส่งผลเสียอย่างร้ายแรงต่อหัวใจและสมองได้

การสูบบุหรี่ ทำให้ประสิทธิภาพของระบบทางเดินหายใจแย่ลง ทำให้คอหอยอักเสบจากการระคายเคือง มีการหนาบวมของเนื้อเยื่อ ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง เกิดการอุดตันได้ง่าย และยังส่งผลเสียต่อหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ

โรคต่อมไร้ท่อต่างๆ ได้แก่ Hypothyroidism, Acromegaly พบว่าทำให้เกิดทางเดินหายใจอุดตันได้มากกว่าคนทั่วไป





การรักษาโรคนอนกรน

ควบคุมน้ำหนักไม่ให้น้ำหนักเกินกณฑ์
ออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง และกล้ามเนื้อแข็งแรงตื่นตัว
หลีกเลี่ยงการนอนหงาย โดยพยายามนอนในท่าตะแคงและ นอนศรีษะสูงเล็กน้อย
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือยานอนหลับ หรือยากล่อมประสาทก่อนนอน


กรณีที่เป็นการนอนกรนชนิดอันตราย ที่มีการหยุดหายใจร่วมด้วย อาจใช้เครื่องที่เรียกว่า Nasal CPAP. (nasal continuous positive airway pressure) ใส่ครอบจมูกขณะหลับ เครื่องนี้จะอัดอากาศที่มีแรงดันเข้าไปในทางเดินหายใจ เพื่อทำให้ช่องทางเดินหายใจที่แคบกว้างขึ้น เนื่องจากเครื่องจะสร้างความดันในทางเดินหายใจให้เป็นบวก ตลอดเวลา เป็นการป้องกันการยุบตัวของทางเดินหายใจ จึงทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น และหลับสบายขึ้น วิธีนี้ปลอดภัย และได้ผลดีในผู้ป่วยเกือบทุกราย


โรคนอนละเมอ

เคยสะดุ้งตื่นกลางดึก พูดเป็นเรื่องเป็นราวในขณะที่นอนหลับ หรือเดินออกมานอกบ้านโดยที่ตื่นเช้ามาก็ไม่รู้ว่าทำอะไรลงไปไหม อาการแบบนี้เรียกกันว่า ‘ละเมอ’

ละเมอ เกิดมาจาก 2 สาเหตุใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ

1. สิ่งกระตุ้นจากภายนอก เช่น หนังเขย่าขวัญ ภาพน่ากลัว หรือกิจกรรมในตอนกลางวันอันชวนตื่นเต้น ทำให้ฝังใจ แม้ยามหลับก็ยังนึกถึงอยู่

2. สิ่งกระตุ้นจากภายใน ความเครียด ความเหนื่อยล้า การปรับเปลี่ยนเวลานอน กรรมพันธุ์ เช่น การทำงานทั้งวันทั้งคืนโดยไม่ได้พักผ่อน การคิดเรื่องโน้นเรื่องนี้ก่อนนอน

การละเมอในตอนดึก จะส่งผลทำให้ ในวันรุ่งขึ้นคุณจะทำงานได้ไม่ดี ไม่สดชื่นหลังจากตื่นนอน คุยกับเพื่อนก็ไม่สนุก หลับในที่ทำงาน เอาง่ายๆ คือประสิทธิภาพในด้านต่างๆ ของคุณจะลดลง ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข

สมาคมแพทย์ประสาทวิทยาของสหรัฐฯ ได้เปิดเผยผลการศึกษาว่า ได้มีผู้เกิดอาการละเมอเดินระหว่างการนอนมากขึ้น และมีผู้ละเมอเดินแล้วเกิดอุบัติเหตุมากถึง 32% และที่รุนแรงถึงกับได้รับบาดเจ็บเลือดตกยางออกมี 19%

สำหรับวิธีแก้ไขนั้น ควรจัดที่จัดทางในห้องนอนให้ดี เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการละเมอ ทำใจให้สงบ นั่งสมาธิก่อนนอน ทำจิตใจให้สบาย พักผ่อนให้เพียงพอ และตรงเวลา

ไม่ควรทานยานอนหลับ แต่หากปฏิบัติตามนี้แล้วยังคงมีอาการละเมอที่หนักยิ่งๆ ขึ้นไปอยู่ ก็ควรที่จะเข้าไปปรึกษาแพทย์เพื่อรักษา











ขอขอบคุณข้อมูลจาก //www.siamhealth.net
สำนักอนามัย,หมอชาวบ้าน,//www.tlcthai.com
//www.saintmedical.com
//www.pr-ddc.com


Create Date : 17 เมษายน 2552
Last Update : 17 เมษายน 2552 9:53:44 น. 6 comments
Counter : 3919 Pageviews.

 
ผมนอนกรนครับ
ผมก็อยากหายนะ
ผมไม่รู้ว่าจะทำยังไง
ผมเป็นมานานแล้วครับ
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ


โดย: rugby34 วันที่: 17 เมษายน 2552 เวลา:14:36:10 น.  

 
สวัสดีครับ


โดย: หนูมี่บ๊อง วันที่: 17 เมษายน 2552 เวลา:18:18:07 น.  

 
โรคนอนไม่หลับนี่ถ้าเป็นจริงๆ ก็เอาเรื่องเหมือนกันนะครับ แต่ไม่เป็นซะจะดีกว่า เพราะร่างกายจะได้พักผ่อนได้อย่างเต็มที่


โดย: ถปรร วันที่: 17 เมษายน 2552 เวลา:21:30:05 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะ
เพื่อนๆในบล็อคนี้หาคนที่เป็นพวกคิดเห็นแบบเราน้อยมากค่ะ มีคนเขียนมาว่าเราด้วยนะคะ
ตอนนี้เค้าคงเริ่มเข้าใจสถานการณืแล้วว่าใครเป็นโจร
ยินดีที่ได้รุ็จักค่ะ
ไผ่


โดย: chabori วันที่: 18 เมษายน 2552 เวลา:11:21:45 น.  

 
เป็นโรคนอนคนเดียวมะหลับ

Photobucket


โดย: hiansoon วันที่: 18 เมษายน 2552 เวลา:18:52:40 น.  

 
click to comment


โดย: ============> (seasiri ) วันที่: 18 เมษายน 2552 เวลา:21:27:01 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
เมษายน 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
17 เมษายน 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.