สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
โรคเกี่ยวกับหัวใจ







หัวใจทำงานคล้ายปั๊มน้ำสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงทั่วร่างกาย การบีบตัวของหัวใจทำให้เลือดไหลผ่านลิ้นหัวใจ ซึ่งเหมือนวาล์วปิดเปิด โดยเมื่อเลือดไหลผ่านออกไป ลิ้นหัวใจจะปิดไม่ให้เลือดไหลย้อนทางกลับมา เมื่อมีปัญหาโรคของลิ้นหัวใจ ประตูปิดเปิดจะทำงานไม่ปกติ เลือดไหลเวียนไม่สะดวก หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้เหนื่อยง่าย


ลิ้นหัวใจ มี 4 ลิ้น

1) ลิ้นเอออร์ติค กั้นระหว่างหัวใจห้องซ้ายล่างกับหลอดเลือดแดงใหญ่

2) ลิ้นไมตรัล กั้นระหว่างหัวใจห้องซ้ายบนและล่าง

3) ลิ้นพัลโมนารี กั้นระหว่างหัวใจห้องขวาล่างกับหลอดเลือดที่ไปปอด

4) ลิ้นไตรคัสปิด กั้นระหว่างหัวใจห้องขวาบนและล่าง


สาเหตุของโรคลิ้นหัวใจ

1) โรคลิ้นหัวใจรูห็มาติค เกิดจากการติดเชื้อในวัยเด็ก มีอาการคออักเสบ แล้วเกิดการอักเสบของหัวใจ แต่จะเริ่มมีอาการตอนอายุมากขึ้น พบบ่อยมากในบ้านเรา โดยเฉพาะในต่างจังหวัด

2) โรคลิ้นหัวใจเสื่อมในคนสูงอายุ เป็นความเสื่อมของร่างกาย มักเป็นลิ้นหัวใจเอออร์ติคตีบ เกิดจากมีหินปูนเกาะที่ลิ้นหัวใจ

3) โรคลิ้นหัวใจพิการแต่กำเนิด อาจมีอาการตอนวัยเด็ก หรือมีตอนเป็นผู้ใหญ่ก็ได้ เด็กจะเหนื่อยง่าย ตัวไม่โต ตัวเขียว อาจพบร่วมกับผนังหัวใจรั่วด้วย

4) โรคลิ้นหัวใจอักเสบติดเชื้อ พบในคนไข้ที่ฉีดยาเสพติด หรือ คนไข้ที่มีโรคลิ้นหัวใจรั่วอยู่แล้วเกิดเชื้อโรคในเลือดไปทำลายลิ้นหัวใจ หลังจากการทำฟัน

5) โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ผนังหัวใจจะขยายตัวออกกว้างขึ้น เนื่องจากเลือดคั่งมาก แต่กล้ามเนื้อหัวใจไม่แข็งแรง ทำให้ลิ้นหัวใจโดนยืดขยายออกจนรั่ว หรือ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จนไม่สามารถยึดลิ้นหัวใจไว้ได้


อาการและอาการแสดง

เหนื่อยง่าย
ผนังหัวใจหนา
นอนราบไม่ได้ ขาบวม
ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ
เสียงฟู่ บริเวณลิ้นหัวใจ
เป็นลม หมดสติบ่อยๆ


การตรวจพิเศษ

1) เอกซเรย์ และ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ จะบอกได้ว่ามีหัวใจห้องใดโตผิดปกติ มีน้ำท่วมปอด หรือไม่ จังหวะการเต้นหัวใจปกติหรือไม่

2) คลื่นเสียงความถี่สูง (เอคโค่) คล้ายเครื่องอัลตราซาวน์ จะเห็นการปิดเปิดของลิ้นหัวใจ การบีบตัวของกล้าม เนื้อหัวใจ รวมทั้งความรุนแรงของการตีบ หรือรั่วของลิ้น หัวใจ

3) สวนหัวใจ,ฉีดสี บอกความรุนแรงของโรคได้ อาจทำร่วมกับการขยายลิ้นหัวใจ ด้วยบอลลูน


การรักษา

เลี่ยงการออกกำลังกายหักโหม
งดอาหารเค็ม บุหรี่ แอลกอฮอล์ อาหารมันจัด ถ้ากล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง ต้องจำกัดน้ำดื่ม
กินยา และไปพบแพทย์สม่ำเสมอ
ขยายลิ้นหัวใจด้วยบอลลูน
เปลี่ยนผ่าตัดลิ้นหัวใจเทียม
ถ้าต้องทำฟัน ผ่าตัด ต้องแจ้งแพทย์ว่ามีโรคลิ้นหัวใจอยู่


การป้องกัน

ตรวจสุขภาพประจำปี
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ถ้ามีคออักเสบ ไอ เจ็บคอ ต้องกินยาให้ครบขนาดยา จนหายขาด



โรคหัวใจขาดเลือดคืออะไร


หัวใจทำหน้าที่สูบฉีดโลหิต เลี้ยงร่างกาย โดยอาศัยการบีบตัว ของกล้ามเนื้อหัวใจ ตัวกล้ามเนื้อหัวใจ เองนั้นก็ต้องอาศัยเลือด ไปเลี้ยงเช่นกัน โดยผ่านทางหลอดเลือด ไปเลี้ยงเช่นกัน โดยผ่านทางหลอดเลี้ยงหัวใจ ที่มีชื่อว่า "โคโรนารี่" หลอดเลือดนี้มี 2 เส้น ขวาและซ้าย แตกแขนงออกไป เลี้ยงทุกส่วน ของกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด หมายถึง โรคที่เกิดขึ้นเนื่องจาก หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ หรือตัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจ มีเลือดไปเลี้ยงลดลง หรือไม่มีเลยเป็นผลให้ การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ผิดปกติ หากรุนแรง ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจ ตายบางส่วนได้

การที่หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ เกิดการตีบหรือตันนั้น ส่วนใหญ่แล้วเกิดจาก หลอดเลือดแข็งตัวขึ้น เนื่องจากมีไขมันสะสม ในผนังด้านในของหลอดเลือด เป็นผลให้ทางที่เลือดไหน ผ่านแคบลง เลือดไหลไม่สะดวก กล้ามเนื้อหัวใจ จึงได้รับเลือดน้อยกว่าปกติ นอกจากนั้น ยังอาจเกิดจากเกร็ดเลือด และลิ่มเลือดอุดตันอีกด้วย


มีอาการอย่างไร

อาการที่สำคัญ ของภาวะหัวใจขาดเลือด คือ อาการเจ็บ แน่นหน้าอก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขณะออกแรง พักแล้วดีขึ้น โดยจะรู้สึกแน่น ๆ อึดอัด บริเวณกลางหน้าอก หรือ ค่อนมาทางซ้าย เจ็บลึก ๆ หายใจไม่สะดวก อาจมีอาการ อื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อแตก ใจสั่น หน้ามืด บางรายนอกจาก แน่นบริเวณหน้าอกแล้ว ยังอาจเจ็บร้าว ไปที่หัวไหล่ แขน หรือ คอ


ตรวจอย่างไร ถึงจะทราบว่าเป็นโรคนี้

แพทย์จะซักประวัติ โดยละเอียด ตรวจร่างกาย ตรวจเลือด และดูดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ขณะพักนั้น บ่อยครั้ง ที่ให้ข้อมูลไม่เพียงพอ ที่จะวินิจฉัยโรค แพทย์ จะแนะนำให้ตรวจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ขณะออกกำลังเพิ่มเติม เรียกว่า "Exercise Stress Test" จากนั้น แพทย์จะนำข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ มาวิเคราะห์ดูว่า มีโอกาส เป็นโรคหัวใจขาดเลือด มากน้อยเพียงใด


ใครบ้างที่มีโอกาสเป็นโรคนี้

หากท่านมีสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เรียกว่าท่านมี "ปัจจัยเสี่ยง" ในการเกิดโรคนี้ ยิ่งมีมากข้อ โอกาสเกิดโรคก็มากขึ้นด้วย ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ได้แก่

เพศชาย หรือ เพศหญิงในวัยหมดประจำเดือน
ประวัติครอบครัวมีโรคนี้
ความดันโลหิตสูง
เบาหวาน
ไขมันในเลือดสูง (โคเลสเตอรอลรวม หรือ โคเลสเตอรอล แอล ดี แอล ชนิดร้าย)
ไขมันโคเลสเตอรอล เอช ดีแอล (ชนิดดี) ต่ำ
การสูบบุหรี่
ขาดการออกกำลังกายสม่ำเสมอ
บุคคลิกภาพชนิด เจ้าอารมณ์ โกรธ โมโห ง่าย เครียดเป็นประจำ
นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งเสริมโรคนี้ เช่นกัน เช่น ความอ้วน ไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง
รักษาอย่างไร

แนวทางการรักษาที่สำคัญมี 3 ประการ คือ รักษาด้วยยา รักษาโดยการ ขยายหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ เพื่อให้เลือดไหลผ่านได้มากขึ้น โดยอาจใช้ลูกโป่ง หรือ วิธีอื่น ๆ และสุดท้ายรักษา โดยการผ่าตัด ทำทางเบี่ยงให้เลือด ไปเลี้ยงหัวใจ เรียกว่าทำ "บายพาส" (Bypass Graft) โดยมากแล้วแพทย์ จะเริ่มต้นการรักษาด้วยยา ก่อนเสมอ เมื่อไม่ได้ผลดีด้วยยา แพทย์จะแนะนำให้ ตรวจดูหลอดเลือดโดยตรง โดยการเอกซเรย์ เรียกว่า "การฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ" (Angiogram) จะได้ทราบว่าตีบ หรือตันจุดใดบ้าง เพื่อเลือกวิธีรักษา ให้เหมาะสม ในผู้ป่วยแต่ละราย


จะป้องกันไม่ให้เป็นได้อย่างไร

ท่านสามารถลดโอกาสเสี่ยง ที่จะเป็นโรคนี้ โดยการหลีกเลี่ยงหรือ ลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น

ไม่สูบบุหรี่
ควบคุมความดันโลหิต และเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
บริโภคอาหารไขมันต่ำ หรือ รับประทานยาลดไขมันในรายที่จำเป็น
ควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ
ออกกำลังกายแบบ แอโรบิคอย่างสม่ำเสมอ
ฝึกสมาธิ ทำจิตใจให้ผ่องใส
หากท่านโชคร้าย เกิดโรคขึ้นมาแล้ว การปฎิบัติตัวดังกล่าว อย่างเคร่งครัด จะช่วยชลอการดำเนินโรค ให้รุนแรงช้าลงได้


โรคลิ้นหัวใจยาว

อาการ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติ อาจตรวจพบขณะตรวจสุขภาพทั่วไป ผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีอาการใจสั่น ซึ่งเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ และ พบว่าผู้ป่วย MVP ส่วนหนึ่งมีอาการของโรคแพนิคร่วมด้วย ซึ่งความสัมพันธ์นี้ ไม่สามารถอธิบายด้วยโรคหัวใจ ในกรณีที่ลิ้นหัวใจรั่วมาก ก็จะมีอาการของหัวใจล้มเหลว เช่น เหนื่อย หอบ ขาบวม แต่เดิมเชื่อว่าผู้ป่วย MVP นี้ยังเสี่ยงต่อการเกิดอัมพาตเนื่องจากหลอดเลือดเลี้ยงสมองอุดตัน เดี๋ยวนี้ไม่เชื่อแล้ว ข้อมูลปัจจุบันบ่งชี้ว่าผลแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากโรคลิ้นหัวใจยาว หรือ MVP นี้เกิดต่ำมาก ใกล้เคียงกับคนที่ไม่มีโรคนี้

ตรวจร่างกายฟังเสียงหัวใจ อาจได้ยินเสียงลิ้นหัวใจที่เรียกว่า Click และหากลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท จะได้ยินเสียงเลือดไหลย้อน ที่เรียกว่า เสียงฟู่ หรือ Murmur ปัญหาที่สำคัญคือ โรคนี้อาจจะไม่เป็นตลอดเวลา ดังนั้นการตรวจที่ปกติก็ไม่สามารถ ยืนยันว่าไม่เป็นร้อยเปอร์เซนต์

อัลตราซาวน์หัวใจ หรือ เรียกว่าเอคโคคาดิโอแกรม เป็นการตรวจที่สามารถเห็นลิ้นหัวใจได้ชัดเจน และให้การวินิจฉัย ได้ดีที่สุดวิธีหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามเป็นการตรวจที่ขึ้นกับแพทย์มาก เพราะไม่มีมาตรฐานว่าแค่ไหนถึงจะเรียกว่า “ลิ้นหัวใจยาวกว่าปกติ” หากเห็น ชัดเจนว่าลิ้นปิดเกยกันและมีลิ้นหัวใจรั่ว แพทย์โรคหัวใจทุกท่านก็คงเห็นพ้องกัน แต่ในรายที่เป็น น้อยๆ หรือเห็นเฉพาะบางมุม จะเป็นปัญหามาก เอาภาพนี้ให้แพทย์หลายท่านดูก็จะให้ความเห็นที่แตกต่างกันได้มากๆ ที่แย่คือโรคนี้อาจไม่เป็นตลอดเวลา ดังนั้นทำวันนี้เห็นชัด แต่วันหน้า อาจไม่ชัดเจนก็ได้ กระนั้นก็ตามการตรวจ Echocardiogram ก็ยังมีประโยชน์ในการดูขนาดห้องหัวใจ ดูว่าลิ้นหัวใจรั่วหรือไม่ มากน้อยเพียงไร เพื่อให้คำแนะนำต่อไป


การรักษา

ในกรณีที่ไม่มีอาการผิดปกติ ไม่จำเป็นต้องรักษา หากมีใจสั่นผิดปกติจากหัวใจเต้นผิดจังหวะก็รักษาเรื่องนั้น หากมีอาการของ โรคแพนิคก็รักษาโรคแพนิค การรักษาลิ้นหัวใจรั่วคือการผ่าตัดแก้ไข โดยอาจเป็นการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมลิ้น หรือการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ซึ่งจะทำในกรณีที่ลิ้นหัวใจรั่วมากเท่านั้น

เนื่องจากลิ้นหัวใจพวกนี้อ่อนแอ เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้ (ที่มีลิ้นหัวใจรั่ว) หากจะทำฟัน ถอนฟัน ผ่าตัดฟัน ขูดหินปูน หรือ ผ่าตัดใดๆก็ตาม (รวมทั้งการสัก เจาะหู เจาะลิ้นหรืออวัยวะต่างๆด้วย) จะต้องบอกแพทย์หรือทันตแพทย์ก่อนเสมอ เพื่อให้ยาฆ่าเชื้อก่อนทำ เป็นการลดโอกาสการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ เพราะหากเกิดขึ้นแล้วจะเป็นเรื่องใหญ่มาก

ที่จริงแล้ว แม้จะมีปัญหาลิ้นหัวใจยาวกว่าปกติ หรือ รั่วเล็กน้อยก็ตาม ผู้ป่วยกลุ่มนี้ก็ยังสามารถดำเนินชีวิต ได้อย่างเป็นปกติ ออกกำลังกายได้ตามปกติ เพียงแต่ควรได้รับคำแนะนำและการตรวจจากแพทย์บ้างเป็นครั้งคราว





Create Date : 25 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 25 กุมภาพันธ์ 2552 10:35:57 น. 3 comments
Counter : 8552 Pageviews.

 
ลุงกล้วยไปตรวจคลื่นหัวใจทุกการตรวจประจำปี คุณหมอบอกผ่านปกติดี แต่เวลาเจอจ๋าวๆจ๋วยๆนี่ลุงกล้วยหัวใจอ่อนแอทุกทีฮิฮิ(ออกแนวคนเกิดวันเสาร์ฮ่าๆ)


โดย: ลุงกล้วย วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:9:18:09 น.  

 
เอ๊ะ... เข้าบล๊อคผิดหรือเปล่านี่
สวยหยดย้อยไปเลย....



โดย: ยายเก๋า (ชมพร ) วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:10:27:01 น.  

 
อ้วน น้ำหนัก


โดย: mlmboy วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:2:51:33 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
 
25 กุมภาพันธ์ 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.