สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
ความรู้เกี่ยวกับยาและการใช้ยาสำหรับเด็กและผู้สูงอายุ







อาการไม่พึงประสงค์จากยา (Adverse drug reaction; ADR)

หมายถึง การตอบสนองต่อยาที่เป็นอันตรายและไม่ได้จงใจให้เกิดขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นในการใช้ยาตามปกติ โดยไม่รวมถึงการได้รับยาเกินขนาดหรือการจงใจใช้ยาในทางผิด

ADR จะหมายความรวมถึงการแพ้ยา (Drug allergy) และอาการข้างเคียงจากการใช้ยา (Slide effect) พบได้ทั้งทาง skin และ non-skin

Drug allergy เป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อต้านยาที่ได้รับเข้าไป การแพ้ยาเกิดขึ้นเฉพาะตัวบุคคลจึงไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถป้องกันการแพ้ยาซ้ำได้

Side effect คือผลใดๆ ที่ไม่ได้จงใจให้เกิดขึ้นจาก Pharmaceutical product ซึ่งเกิดขึ้นในการใช้ยาตามปกติและสัมพันธ์กับคุณสมบัติทางเภสัชวิทยา อาการข้างเคียงจากการใช้ยาสามารถควบคุมหรือป้องกันได้หากมีการใช้ยาด้วยความระมัดระวัง

ADR นับเป็นปัญหาสำคัญมากในวงการสาธารณสุขและการใช้ยาเคมีบำบัด มีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วย เช่น

• เกิดความผิดปกติแต่กำเนิด
• ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลนานขึ้น
• พิการ • คุณภาพชีวิตต่ำลง
• เสียชีวิต/อันตรายถึงชีวิต

นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบทำให้ค่าใช้จ่ายทางสาธารณสุขที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมีรายงานเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายเนื่องจากปัญหา ADR เพิ่มขึ้น รวมทั้งสาเหตุของการถูกฟ้องร้องของบุคลากรสาธารณสุขเกี่ยวกับ ADR โดยมีรายงานสถิติว่า 30% ของผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้นจาก ADR, ผู้ป่วย “ต้องเข้าโรงพยาบาล” จากการเกิด ADR 3-15% ยิ่งไปกว่านั้น ADR ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้บุคลากรทางสาธารณสุข” ถูกฟ้องร้อง” ถึง 30-60%

ดังนั้น จึงต้องมีแนวทางเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยาทั้งในระดับการดูแลผู้ป่วย การเฝ้าระวังติดตามความปลอดภัยและป้องกันการเกิด ADR ซ้ำ

ตัวอย่าง ADR ที่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงแก่ผู้ป่วย

• กลุ่มอาการ Steven Johnson จากยา Co-trimoxazole
• Angioedema จากยา NSAIDs
• ภาวะเป็นพิษต่อไตจากยา Gentamicin
• กลุ่มอาการ Red man จากยา Vancomycin
• ภาวะสูญเสียกล้ามเนื้อ (Rhabdomyolysis) จากยา Simvastatin
• ภาวะเป็นพิษต่อไตจากยา Imipenem/cilastatin
• ภาวะเป็นพิษต่อตับจากยารักษาวัณโรค





ใช้ยาอย่างไรให้ถูกวิธี

ยาเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งยาแต่ละชนิดก็มีวิธีการใช้ที่แตกต่างกัน เช่น ยาทา ยาฉีด ยากิน เป็นต้น หากเราใช้ยาไม่ถูกต้อง หรือใช้โดยไม่ระมัดระวัง อาจทำให้เกิดโรคอื่นแทรกซ้อนและทำให้เกิดอันตรายได้ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยา เราจึงควรมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยา ทั้งในเรื่องของการใช้ยาที่ถูกต้อง รู้จักวิธีการเก็บรักษายาไม่ให้เสื่อมสภาพเร็ว และรู้จักสังเกตว่ายานั้นเสื่อมสภาพหรือยัง ดังนี้

1. ใช้ให้ถูกโรค คือ ใช้ยาให้ตรงกับโรคที่เป็น เราไม่ควรซื้อยาหรือใช้ยาตามคำบอกเล่าของคนอื่น หรือหลงเชื่อคำโฆษณา ควรจะให้แพทย์ หรือเภสัชกรเป็นคนจัดให้ เพราะหากใช้ยาไม่ถูกกับโรคอาจทำให้ได้รับอันตรายจากยานั้นได้ หรือไม่ได้ผลในการรักษา และยังอาจเกิดโรคอื่นแทรกซ้อนได้ เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะทั้งที่โรคที่เป็นไม่เกี่ยวกับการติดเชื้อเลย ซึ่งทำให้เชื้อโรคเกิดการดื้อต่อยาปฏิชีวนะได้ในภายหลัง

2. ใช้ยาให้ถูกกับคน คือ ต้องดูให้ละเอียดก่อนใช้ว่า ยาชนิดใดใช้กับใคร เพศใด และ อายุเท่าใด เพราะอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายของคนแต่ละเพศ แต่ละวัยมีความแตกต่างกัน เช่น ในเด็กการตอบสนองต่อยาจะเร็วกว่าผู้ใหญ่มาก ในสตรีมีครรภ์ยาหลายชนิดมีผลทำให้ทารกพิการได้ ในสตรีที่ให้นมบุตรก็ต้องระวังเพราะยาอาจถูกขับทางน้ำนมซึ่งจะส่งผลให้ทารกได้ ในผู้สูงอายุการทำลายยาโดยตับและไตจะช้ากว่าคนหนุ่มสาว

3. ใช้ยาให้ถูกเวลา ควรปฏิบัติดังนี้

การรับประทานยาก่อนอาหาร ต้องรับประทานยาก่อนอาหารอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง ถึงหนึ่งชั่วโมง เพื่อให้ยาถูกดูดซึมได้ดี ถ้าลืมกินยาในช่วงดังกล่าวก็ให้รับประทานเมื่ออาหารมื้อนั้นผ่านไปแล้วอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพราะจะทำให้ยาถูกดูดซึมได้ดี

การรับประทานยาหลังอาหาร โดยทั่วไปจะให้รับประทานยาหลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้วประมาณ 15 - 30 นาที

การรับประทานยาหลังอาหารทันที หรือพร้อมอาหาร ให้รับประทานยาทันทีหลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้ว หรือจะรับประทานยาในระหว่างที่รับประทานอาหารก็ได้ เพราะยาประเภทนี้จะระคายเคืองต่อกระเพาะมาก หากรับประทานยาในช่วงที่ท้องว่าง อาจทำให้กระเพาะเป็นแผลได้

การรับประทานยาก่อนนอน ให้รับประทานยาก่อนเข้านอนตอนกลางคืนประมาณ 15-30 นาที

การรับประทานยาเมื่อมีอาการ ให้รับประทานยาเมื่อมีอาการของโรค เช่น ยาลดน้ำมูก ยาแก้ไอ และยาลดไข้ แก้ปวด

4. ใช้ยาให้ถูกขนาด ควรรับประทานให้ถูกขนาดตามที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำ จึงจะให้ผลดีในการรักษา และควรใช้อุปกรณ์มาตรฐานในการตวงยาไม่ใช้ช้อนทานข้าวหรือช้อนชงกาแฟ เพราะจะทำให้ได้ปริมาณยาที่ไม่ถูกต้อง แต่หากต้อง สามารถเปรียบเทียบหน่วยมาตรฐานดังนี้

1 ช้อนชา (มาตรฐาน) = 5 มิลลิลิตร = 2 ช้อนกาแฟ (ในครัว) = 1 ช้อนกินข้าว
1 ช้อนโต๊ะ (มาตรฐาน) =15 มิลลิลิตร = 6 ช้อนกาแฟ (ในครัว) = 3 ช้อนกินข้าว

5. ใช้ยาให้ถูกวิธี มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ยาที่ใช้ภายนอกได้แก่ ขี้ผึ้ง ครีม ยาผง ยาเหน็บ ยาหยอด มีข้อดีคือมีผลเฉพาะบริเวณที่ให้ยาเท่านั้นและมีการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้น้อย จึงไม่ค่อยมีผลอื่นต่อระบบในร่างกาย ข้อเสียคือ ใช้ได้ดีกับโรคที่เกิดบริเวณพื้นผิวร่างกายเท่านั้น และฤทธิ์ของยาอยู่ได้ไม่นาน โดยมีวิธีการใช้ดังนี้

ยาใช้ทา ให้ทาเพียงบาง ๆ เฉพาะบริเวณที่เป็นหรือบริเวณที่มีอาการ ระวังอย่าให้ถูกน้ำล้างออกหรือถูกเสื้อผ้าเช็ดออก

ยาใช้ถูนวด ก็ให้ทาและถูบริเวณที่มีอาการเบา ๆ

ยาใช้โรย ก่อนที่จะโรยยาควรทำความสะอาดแผล และเช็ดบริเวณที่จะโรยให้แห้งเสียก่อน ไม่ควรโรยยาที่แผลสด หรือแผลมีน้ำเหลือง เพราะผงยาจะเกาะกันแข็งและปิดแผล อาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคภายใน แผลได้

ยาใช้หยอด จะมีทั้งยาหยอดตา หยอดหู หยอดจมูกหรือพ่นจมูก

ยาที่ใช้ภายใน ได้แก่ ยาเม็ดยาผง ยาน้ำ ข้อดี คือ สะดวก ปลอดภัย และใช้ได้กับยาส่วนใหญ่ แต่มีข้อเสียคือ ออกฤทธิ์ได้ช้าและปริมาณยาที่เข้าสู่กระแสเลือดอาจแตกต่างกันตามสภาพการดูดซึม โดยมีวิธีการใช้ดังนี้

ยาเม็ดที่ให้เคี้ยวก่อนรับประทาน ได้แก่ ยาลดกรดและยาขับลมชนิดเม็ดทั้งนี้เพื่อให้เม็ดยาแตกเป็นชิ้นเล็ก จะได้มีผิวสัมผัสกับกรดหรือฟองอากาศในกระเพาะอาหารได้มากขึ้น

ยาที่ห้ามเคี้ยวให้กลืนลงไปเลย ได้แก่ ยาชนิดที่เคลือบน้ำตาล และชนิดที่เคลือบฟิล์มบาง ๆ จับดูจะรู้สึกลื่น ยาดังกล่าวเป็นรูปแบบที่ออกฤทธิ์เนิ่นนาน ต้องการให้ยาเม็ดค่อยๆละลายทีละน้อย

ยาแคปซูล เป็นยาที่ห้ามเคี้ยวให้กลืนลงไปเลย ข้อดีคือรับประทานง่าย เพราะกลบรสและกลิ่นของยาได้ดี

ยาผง มีอยู่หลายชนิด และใช้แตกต่างกัน เช่น ตวงใส่ช้อนรับประทานแล้วดื่มน้ำตาม หรือชนิดตวงมาละลายน้ำก่อน และยาผงที่ต้องละลายน้ำในขวดให้ได้ปริมาตรที่กำหนดไว้ก่อนที่จะใช้รับประทาน เช่นยาปฏิชีวนะชนิดผงสำหรับเด็ก โดยน้ำที่นำมาผสมต้องเป็น น้ำดื่มที่ต้มสุกและทิ้งให้เย็น ต้องเก็บในตู้เย็นที่ไม่ใช่ช่องแช่แข็งและหากใช้ไม่หมดใน 7 วันหลังจากที่ผสมน้ำแล้วให้ทิ้งเสีย

ยาน้ำแขวนตะกอน (Suspension) เช่น ยาลดกรดต้องเขย่าขวดให้ ผงยาที่ตกตะกอนกระจายเป็นเนื้อเดียวกัน จึงรินยารับประทาน ถ้าเขย่าแล้วตะกอนยังไม่กระจายตัว แสดงว่ายานั้นเสื่อมคุณภาพแล้ว

ยาน้ำใส เช่น ยาน้ำเชื่อม ต้องเขย่าขวดก่อนใช้ ถ้าเกิดผลึกขึ้น หรือเขย่าแล้วไม่ละลาย ไม่ควรนำมารับประทาน

ยาน้ำแขวนละออง (Emulsion) เช่น น้ำมันตับปลา ยาอาจจะแยกออกให้เห็นเป็นของเหลว 2 ชั้น เวลาจะใช้ให้เขย่าจนของเหลวเป็นชั้นเดียวกันก่อน จึงรินมารับประทาน ถ้าเขย่าแล้วยาไม่รวมตัวกันแสดงว่ายานั้นเสื่อมคุณภาพแล้ว





การเก็บรักษายา

ควรตั้งให้พ้นจากมือเด็ก เพราะ ยาบางชนิดมีสีสวย เช่นยาบำรุงเลือดที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบ ไม่ตั้งตู้ยาในที่ชื้น ควรตั้งอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก ควรเก็บยาให้ห่างจาก ห้องครัว ห้องน้ำ และต้นไม้ ควรจัดตู้ยาให้เป็นระเบียบ โดยแยก ยาใช้ภายนอก ยาใช้ภายใน และเวชภัณฑ์ เพื่อป้องกันอันตรายจากการหยิบยาผิด

ยาใช้ภายใน ให้ใส่ขวดสีชามีฝาปิดสนิท เขียนฉลากว่า "ยารับประทาน" โดยใช้ฉลากสีน้ำเงิน หรือตัวอักษรสีน้ำเงิน หรือสีดำ พร้อมกับระบุชื่อยา สรรพคุณ ขนาด และวิธีรับประทาน ติดไว้ให้ เรียบร้อย ถ้าเป็นยาน้ำแขวนตะกอน ที่ฉลากจะต้องมี คำว่า "เขย่าขวดก่อนใช้ยา"

ยาใช้ภายนอก ให้ติดฉลากสีแดง มีข้อความว่า "ยาใช้ภายนอก ห้ามรับประทาน" ในฉลากต้อง ระบุชื่อยา สรรพคุณ ขนาดและวิธีใช้ให้เรียบร้อย

เก็บรักษายาไม่ให้ถูกแสงสว่าง เพราะยาบางชนิดหากถูกแสงแดดจะเสื่อมคุณภาพ จึงต้องเก็บในขวดทึบแสง มักเป็นขวดสีชา เช่น ยาหยอดตา ยาวิตามิน ยาปฏิชีวนะ และยาแอดรีนาลิน ที่สำคัญควรเก็บยาตามที่ฉลากกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด แต่ถ้าฉลากไม่ได้บ่งไว้ก็เป็นที่เข้าใจว่า ให้เก็บในที่ซึ่งป้องกันความชื้นได้ดี


วิธีสังเกตยาเสื่อมคุณภาพ

ยาเสื่อมคุณภาพ เป็นยาที่เปลี่ยนสภาพไป ทำให้ไม่ให้ผลในการรักษาหรืออาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ได้ การเปลี่ยนสภาพของยาอาจเปลี่ยนจากลักษณะภายนอก ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ชัด หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในของตัวยา ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น

ยาน้ำ จะมีการเปลี่ยนสี กลิ่น หรือมีตะกอนผิดไปจากเดิม
ยาหยอดตา จะมีลักษณะขุ่น หรือตกตะกอนของตัวยา เปลี่ยนสี
ยาเม็ด จะมีลักษณะเยิ้มเม็ดแตก ชื้น บิ่น แตก เปลี่ยนสี
ยาแคปซูล จะมีลักษณะแตกออกจากกัน บวม ชื้น หรือสีของยาที่อยู่ภายในแคปซูลเปลี่ยนไป หรือมีสีเข้มขึ้น
ยาขี้ผึ้ง ยาครีม จะมีลักษณะเนื้อยาเยิ้มเหลว แยกชั้น กลิ่น สีเปลี่ยนไปจากเดิม

สำหรับยาแผนปัจจุบันทุกชนิด กฎหมายกำหนดให้ระบุวันสิ้นอายุไว้ในฉลาก โดยผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำหรือสั่งยาแผนปัจจุบันเข้าในราชอาณาจักร ต้องแสดง วัน เดือน ปีที่ยาสิ้นอายุไว้ในฉลาก

สำหรับยาแผนโบราณ หากเป็นยาแผนโบราณที่เป็นยาสามัญประจำบ้าน ต้องระบุ วันสิ้นอายุของยาดังกล่าวด้วย โดยยาแผนโบราณที่เป็นยาสามัญประจำบ้านที่เป็นยาน้ำจะมีอายุการใช้ 2 ปีนับจากวันที่ผลิต หากอยู่ในรูปอื่นที่มิใช่ยาน้ำจะมีอายุการใช้ 3 ปีนับจากวันที่ผลิต ส่วนยาแผนโบราณที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน ฉลากยาจะต้องระบุวันที่ผลิต แต่จะกำหนดวันหมดอายุหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้เนื่องจากยาแผนโบราณส่วนใหญ่ได้จากสมุนไพรมักมี
การสลายตัวง่าย จึงควรเลือกที่ผลิตมาใหม่ๆ ทั้งนี้ยาทุกชนิด หากการเก็บรักษายาไม่ถูกต้องอาจทำให้ยาเสื่อมคุณภาพก่อนวันที่กำหนดไว้ได้





การใช้ยาในเด็ก

การใช้ยาในเด็กนั้นต้องเพิ่มความระมัดระวังให้มากกว่าปกติ เพราะเด็กจะมีความอดทนของร่างกายต่ำกว่าผู้ใหญ่ หากเกิดความผิดพลาดขึ้นแล้วผลเสียที่เกิดกับเด็กจะร้ายแรงกว่าที่เกิดกับผู้ใหญ่หลายเท่า


ข้อควรพิจารณาเบื้องต้นสำหรับการใช้ยาในเด็ก ได้แก่

- ไม่ควรใช้ยาโดยไม่จำเป็น หากหลีกเลี่ยงได้ควรหลีกเลี่ยง
- ควรเลือกยาที่คุ้นเคยหรือที่เคยใช้แล้วปลอดภัย และพยายามหลีกเลี่ยงการใช้ยาชนิดใหม่ๆโดยไม่จำเป็น
- ควรอ่านฉลากยาให้ถี่ถ้วนและสังเกตลักษณะของยาว่ามีลักษณะทางกายภาพเปลี่ยนแปลงจากที่เคยใช้หรือไม่ เช่น สี,กลิ่น,ลักษณะการตกตระกอน เนื่องจากยาประเภทน้ำเชื่อมมักจะหมดอายุเร็วกว่ายาประเภทยาเม็ด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของยาอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อเด็กได้
- หากเด็กโตพอที่จะกินยาเม็ดได้ ให้เลือกใช้ยาเม็ดดีกว่ายาน้ำ เพราะราคาถูก พกพาสะดวกและหมดอายุช้ากว่า ควรหลีกเลี่ยงยาฉีดมากที่สุด ยกเว้นในกรณีที่จำเป็นจริงๆ โดยแพทย์เป็นผู้สั่งให้ฉีดยาและฉีดโดยแพทย์หรือพยาบาลเท่านั้น เนื่องจากยาฉีดมีโอกาสแพ้แบบช็อค อย่างรุนแรงมากกว่ายาชนิดอื่น





การแบ่งช่วงอายุของเด็กเพื่อเลือกใช้ยาให้เหมาะสม

เด็กแรกเกิด หมายถึง เด็กแรกคลอดจนถึง 4 สัปดาห์

เด็กอ่อนหรือทารก หมายถึง เด็กแรกคลอดจนถึง 1 ขวบ

เด็กเล็ก หมายถึง เด็ก 1 ขวบถึง 6 ขวบ

เด็กโต หมายถึง เด็ก 6 ขวบ ถึง 12 ขวบ
สำหรับเด็กอายุ 12 ขวบขึ้นไป สามารถให้ยาได้เหมือนกับผู้ใหญ่


ข้อควรระวังในการใช้ยาชนิดต่างๆกับเด็ก

1. ยาปฏิชีวนะ
นิยมทำเป็นรูปผงแห้ง ก่อนผสมน้ำควรเคาะขวดยาให้ผงยากระจายตัวก่อน จึงผสมน้ำสุกต้มที่เย็นแล้วให้ได้ระดับที่กำหนด ยาบางชนิดเมื่อผสมน้ำแล้วต้องเก็บในตู้เย็นและต้องกินยาติดต่อกันจนหมด แม้ว่าอาการจะหายดีแล้ว ยกเว้นกรณีแพ้ยาให้หยุดยาทันทีและรีบไปพบแพทย์

2. ยาลดไข้
ที่นิยมให้เด็กกินก็คือ พาราเซตามอล (Paracetamol) โดยให้เด็กกินยาทุก 4-6 ชั่วโมงจนไข้ลด แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ภายใน 2 วัน หรือมีไข้สูงมาก ควรไปพบแพทย์ ห้ามเปลี่ยนไปใช้ยาแอสไพริน (Aspirin) หรือ ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) เพราะหาก เด็กเป็นไข้เลือดออกจะทำให้เกิดอันตรายได้ และยาพาราเซตามอล ไม่ควรกินยาติดต่อกันเกิน 5 วัน เพราะอาจมีผลเสียต่อตับได้ ส่วนกรณีจำเป็นเมื่อต้องใช้ยาลดไข้แอสไพริน หรือ ไอบูโปรเฟน ควรให้กินยาหลัง รับประทานอาหารทันที เนื่องจากยานี้ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร และนอกจากการให้ ยาลดไข้แล้ว ควรเสริมด้วยการเช็ดตัวเด็กด้วยผ้าชุบน้ำ หมาดๆ เช็ดตามข้อพับ ตามซอกต่างๆและลำตัว เพราะจะช่วยระบายความร้อนและลดไข้ได้ดีขึ้น

3. ยาแก้ไอ
ไม่ควรนำยาแก้ไอของผู้ใหญ่มาให้เด็กกิน เพราะยาบางชนิดอาจจะผสมแอลกอฮอล์ หรือยาบางตัวอาจมีฤทธิ์กดศูนย์กลางการหายใจ อาจทำให้เด็กหยุดหายใจจนเสียชีวิตได้

4. ยาแก้ท้องเสีย
ไม่ควรให้ยาที่มีความแรงมากในเด็กเล็ก เพราะอาจไปกดการหายใจได้ วิธีที่ดีที่สุดคือการให้น้ำและเกลือแร่ เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำ


กลเม็ดเคล็ดลับการให้ยาเด็ก

1.ต้องใจเย็นและมีความอดทน เพราะโดยธรรมชาติของเด็กมักไม่ชอบกินยา ควรพยายามหว่านล้อมและชักจูงเด็กมากกว่าที่จะใช้วิธีบังคับ เพราะยิ่งจะทำให้ให้เด็กกินยา ยากยิ่งขึ้น
2.ไม่ควรบีบจมูกแล้วกรอกยาใส่ปากเด็กและไม่ควรป้อนยาให้เด็กขณะที่เด็กกำลังร้องหรือดิ้น เพราะนอกจากจะทำให้เด็ก สำลักแล้ว ยังส่งผลทางด้านจิตใจต่อเด็กด้วย
3.หากยามีรสชาติไม่ดีหรือมีกลิ่นไม่น่าทาน ควรผสมน้ำเชื่อมเพื่อเพิ่มรสชาติที่ดี ทำให้เด็กกินยาได้ง่ายขึ้น
4.ไม่ควรใส่ยาลงไปในขวดนมเพื่อให้เด็กได้รับยาจากการดูดนม เพราะถ้าเด็กดูดนมไม่หมด จะทำให้เด็กได้รับยาไม่ครบตามจำนวนที่ควรจะเป็น นอกจากนั้นยาบางชนิดอาจทำให้รสชาดของนมเสียไป อาจส่งผลให้เด็กไม่อยากกินนมอีกด้วย
5.ไม่ควรให้ยาพร้อมกับอาหารที่จำเป็นต่อเด็ก เพราะจะทำให้เด็กปฏิเสธอาหารเหล่านั้นในภายหลัง
6.ใช้อุปกรณ์มาตรฐานในการตวงยาให้เด็ก ไม่ควรใช้ช้อนทานข้าวหรือช้อนชงกาแฟที่ใช้ในครัวเพราะจะทำให้ได้ปริมาณยาที่ไม่ถูกต้อง และขนาดมาตรฐานในการตวงยาที่ใช้กันอย่าง แพร่หลายคือ 1 ช้อนชา เท่ากับ 5 มิลลิลิตร และ 1 ช้อนโต๊ะ เท่ากับ 15 มิลลิลิตร





การใช้ยาในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุจัดได้ว่าเป็นผู้ที่มีความเสี่ยง หรือมีโอกาสที่จะได้รับอันตรายจากการใช้ยาได้มากกว่าบุคคลทั่วไป เพราะอายุที่มากขึ้นทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายเสื่อมลง ดังนั้นการใช้ยาจึงต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาในผู้สูงอายุ ปัจจัยที่อาจมีผลทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะได้รับอันตรายจากการใช้ยาเพิ่มขึ้น

การทำงานของไต เมื่ออายุมากขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานของไตจะลดลง ดังนั้น การขับถ่ายยาออกจากร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่ยาจะถูกขับถ่ายออกทางไตย่อมลดน้อยลง ทำให้มีโอกาสที่ยาจะสะสมในร่างกายสูงขึ้น จนเกิดเกิดอาการพิษได้

การทำงานของตับ ยาที่ให้โดยการรับประทานมักจะผ่านขบวนการเปลี่ยนแปลงขั้นแรกที่ตับ ถ้าขบวนการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เสื่อมประสิทธิภาพ จะทำให้มีระดับยาในเลือดสูง จนอาจเกิดอันตรายได้

ความไวต่อยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง และระบบการทำงานของหลอดเลือดและหัวใจ ผู้สูงอายุมักจะมีความไวต่อยาที่ออกฤทธิ์บริเวณดังกล่าว ทำให้เกิดอาการข้างเคียงของยาเพิ่มขึ้น

ความจำของผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้น ผู้สูงอายุอาจจะมีอาการหลงลืมได้ง่าย อาจเกิดปัญหาการใช้ยาไม่ครบตามที่กำหนด หรือการใช้ยาซ้ำซ้อน อาจทำให้เชื้อดื้อยา รักษาไม่หาย หรือเกิดอาการเป็นพิษเนื่องจากการใช้ยาเกินขนาดได้

น้ำหนักผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักน้อยหรือมากกว่าเกณฑ์ปกติ จำเป็นต้องพิจารณาขนาดยาให้เหมาะสม

โรคในผู้สูงอายุซึ่งมักเป็นหลายโรค ถ้าต้องพบแพทย์หลายคน มีโอกาสได้รับยาซ้ำซ้อน จึงอาจได้รับยาเกินขนาดได้


ข้อควรปฏิบัติในการใช้ยาของผู้สูงอายุเพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา ผู้สูงอายุและผู้ที่ดูแลผู้สูงอายุควรปฏิบัติดังนี้

1.แจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่ ยิ่งถ้าผู้สูงอายุนั้นไม่มีแพทย์ประจำตัวหรือเปลี่ยนแพทย์บ่อย ๆ จำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์แต่ละคนทราบถึงยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันหรือนำยาที่รับประทานอยู่ประจำไปด้วย เพื่อประกอบการพิจารณาการจ่ายยาของแพทย์

2.แจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น เพราะอาการนั้นอาจจะเป็นอาการที่เกิดจากยาที่ผู้สูงอายุใช้อยู่ เช่น ใช้ยาไปแล้วมีอาการหูตึง ได้ยินเสียงไม่ชัดเจน เป็นต้น

3.ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนยาควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อแพทย์จะได้เลือกชนิดยาที่เหมาะสม เช่น ให้ยาน้ำแทนยาเม็ด เป็นต้น
สอบถามแพทย์เกี่ยวกับข้อบ่งชี้และผลข้างเคียงของยาแต่ละชนิดให้ชัดเจน เช่น จะหยุดยานี้ได้เมื่อใด ขณะทำงานจะรับประทานยานี้ได้หรือไม่

4.สอบถามแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับอาหารที่รับประทานว่า มีผลต่อการใช้ยาหรือไม่ อย่างไร

5.อ่านฉลากยา และปฏิบัติตามคำแนะนำทุกขั้นตอน ก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
รับประทานยาตามที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำอย่างเคร่งครัด ในรายที่มีอาการหลงลืม ควรใช้สิ่งช่วยจดจำ เช่น ปฏิทิน หรือกล่องใส่ยาชนิดที่รับประทานช่องละหนึ่งครั้ง หรือให้ผู้ดูแลคอยจดจำแทนเพื่อจะได้ไม่ลืมรับประทานยา และป้องกันการรับประทานยาซ้ำซ้อน

ปัญหาสำหรับการใช้ยาในผู้สูงอายุนั้น นอกจากจะมาจากตัวยาแต่ละชนิดเองแล้ว ยังมาจากความเสื่อมของอวัยวะต่างๆในตัวผู้สูงอายุเองด้วย เช่น ปัญหาการหลงลืม ปัญหาการดูดซึมยา เป็นต้น ดังนั้นควรให้ความสนใจในการใช้ยาของผู้สูงอายุเป็นพิเศษ โดยตัวผู้สูงอายุก็ต้องศึกษาเกี่ยวกับยาที่ใช้ให้มากเช่นกัน เพื่อจะได้ใช้ยาได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยมากที่สุด




















Create Date : 17 มกราคม 2552
Last Update : 17 มกราคม 2552 20:38:59 น. 7 comments
Counter : 2143 Pageviews.

 
มาทักทายและส่งความสุขให้กันในวันอาทิตย์ด้วย และขอบคุณสำหรับข้อมูลเรื่องยา การใช้ยาด้วย


โดย: ถปรร วันที่: 18 มกราคม 2552 เวลา:12:34:06 น.  

 
สวัสดีครับุคณกบ

ขอบคุณมากครับที่อุดหนุนหมื่นตา
ผมเองยังไม่ได้สอบถามทางสำนักพิมพ์เลยครับว่าขายดีรึเปล่า

เล่มสองออกวางประมาณเดือนเมษายนนะครับ






โดย: กะก๋า (กะว่าก๋า ) วันที่: 18 มกราคม 2552 เวลา:20:44:29 น.  

 
หลับฝันดีมีสุขมากๆนะคะคุณกบ



โดย: ญามี่ วันที่: 18 มกราคม 2552 เวลา:23:55:53 น.  

 

ก็แวะมาทักทายยามดึกๆคะ


โดย: ดอกหญ้าเมืองเลย วันที่: 19 มกราคม 2552 เวลา:3:07:13 น.  

 
สวัสดีค่ะ แวะมาทักทายค่ะ ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมบล็อคน่ะค่ะ



โดย: มาเรีย ณ ไกลบ้าน วันที่: 19 มกราคม 2552 เวลา:5:33:48 น.  

 
สวัสดีค่ะ คุณกบ แวะมาเสริฟกาแฟค่ะ อิอิ



โดย: maew_kk วันที่: 19 มกราคม 2552 เวลา:10:11:35 น.  

 
ขอบคุณคะ มีประโยชน์มากๆ แต่จำไม่ค่อยได้


โดย: skylion วันที่: 21 มกราคม 2552 เวลา:16:16:54 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
มกราคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
17 มกราคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.