สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
โรคต้อหิน







หลายคนคุ้นเคยกับคำว่าต้อกระจกมากกว่าต้อหิน ต้อกระจกเป็นภาวะที่เลนส์ตาเราขุ่นมัวเหมือนกระจกฝ้าทำให้เห็นไม่ชัด ส่วนต้อหินไม่ได้หมายความว่าเลนส์ตาเราจะแข็งเหมือนหินแต่หมายถึงการเสื่อมของประสาทตาจากความดันในตาซึ่งสูงขึ้นหรือบางคนความดันตาก็ไม่ได้สูง


การทำงานของตา


การที่จะเข้าใจโรคต้อหินจะต้องเข้าใจถึงโครงสร้างของตา ตาของเรามีลักษณะกลม มีเปลือกตาขาว (sclera ) หุ้ม


น้ำตาและน้ำเลี้ยงตาเหมือนกันหรือไม่

น้ำตาเป็นน้ำที่สร้างจากต่อมน้ำตาและหล่อเลี้ยงภายนอก ส่วนน้ำเลี้ยงตาจะอยู่ในลูกตาไม่ออกสู่ภายนอก น้ำเลี้ยงตาจะหล่อเลี้ยง กระจกตา เลนส์และม่านตา
อยู่ภายนอก ส่วนหน้าของลูกตาซึ่งเป็นส่วนที่เรามองเห็นจะมีเยื่อบางๆหุ้มอยู่เรียกเยื่อนี้ว่า conjunctiva ถัดจากนั้นเป็นชั้นที่เรียกว่า กระจกตา (cornea) เป็นทางให้แสงผ่านชั้นนี้หากขุ่นมัวเราสามารถผ่าตัดเปลี่ยนได้ ถัดจากนั้นก็จะเป็นรูม่านตา pupil ซึ่งจะปรับปริมาณแสงที่ผ่านถ้าสว่างมากรูม่านตาก็จะเล็ก หากมือรูม่านตาก็จะกว้างเพื่อให้แสงผ่านเข้าตามากขึ้น แสงจะผ่านไปเลนส์ lens และไปที่จอรับภาพ retina ในตาจะมีน้ำเลี้ยงเรียก aqueous humor ซึ่งเหล่าเลี้ยงเลนส์ กระจกตา และจะถูกดูดซึมตามท่อข้าง iris muscle ทำให้มีความสมดุลของน้ำในตา


ต้อหินคืออะไร

ต้อหินเป็นภาวะที่เกิดจากความดันในลูกตาสูงขึ้นและมีการเสื่อมของประสาทตาและสูญเสียการมองเห็น ความดันในตาที่สูงจะกดดันเส้นประสาทตา(optic nerve)ให้เสื่อม ความดันสูงเป็นเวลานานประสาทตาก็จะเสื่อมทำให้สูญเสียการมองเห็น การสูญเสียการมองเห็นจะเริ่มที่ขอบนอกของลานสายตา ส่วนตรงกลางภาพยังเห็นชัด หากไม่ได้รักษาการมองเห็นจะจะได้ภาพเล็กลง การเปลี่ยนแปลงจะค่อยๆเป็นโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว โดยมากมักจะเป็นสองข้าง อาจจะเป็นข้างใดข้างหนึ่งก่อน


ผู้ที่มีความเสี่ยง

ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี
ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นต้อหิน
ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน
ผู้ที่มีสายตาสั้นมาก
ผู้ป่วยโรคต่อมธัยรอยด์
ผู้ที่ใช้ยา steroid

เนื่องจากโรคต้อหินมีการดำเนินอย่างช้าๆ ความดันในตาค่อยๆเพิ่มดังนั้นผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงไม่มีอาการ นอกจากผู้ป่วยบางรายที่เป็นแบบเฉียบพลันจะมีอาการเห็นไม่ชัดเมื่อมองแสงไฟจะเห็นรุ้งกินน้ำเป็นวงๆ ปวดตา ปวดศีรษะ โรคต้อหินเป็นได้ทุกอายุ คนที่มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้แก่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นต้อหิน ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ดังนั้นแพทย์แนะนำให้มีการตรวจตาเป็นประจำ แนะนำว่าผู้ที่อายุ 40 ปีควรได้รับการตรวจคัดกรองโรคต้อหิน หากปกติก็ให้ตรวจทุก 2-4 ปี สำหรับผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปีควรได้รับการตรวจคัดกรองทุก 2 ปี สำหรับท่านที่มีความเสี่ยงต่อโรคต้อหินควรได้รับการตรวจคัดกรองตั้งแต่อายุ 35 ปี


ชนิดของโรคต้อหิน


Open angle glaucoma

เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดของต้อหินเกิดจากการไหลเวียนของน้ำหล่อเลี้ยงตาอุดตันทำให้ความดันในลูกตาสูง (intraocular pressure IOP) ผู้ป่วยจะไม่มีอาการ ไม่มีสัญญาณเตือนหากไม่พบก็จะมีการเสื่อมของสายตา ต้อหินชนิดนี้ตอบสนองดีต่อการรักษาด้วยยา


Angle closure glaucoma

พบไม่บ่อย เกิดเมื่อมุมระหว่าง iris และ corneaแคบ ต้อหินชนิดนี้จะเกิดอาการอย่างเฉียบพลันเนื่องจากมีการอุดของระบบท่อระบายทำให้ความดันในลูกตาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ยาบางชนิดหรือการที่อยู่ในที่มืดจะทำให้รูม่านตาขยายก็จะทำให้เกิดต้อหินชนิดนี้ได้ อาการที่สำคัญคือปวดศีรษะ ปวดตา คลื่นไส้อาเจียน เห็นแสงเป็นสายรุ้งรอบดวงไฟและตามัวลง หากมีอาการนี้ต้องรีบพบแพทย์เพราะหากช้าจะทำให้เกิดการทำลายประสาทตา การรักษามักจะต้องผ่าตัด


ต้อหินที่เกิดจากสาเหตุอื่น

เช่นการอักเสบของตา การได้รับอุบัติเหตุ โรคเบาหวานหรือการใช้ยาเช่น steroid ต้อหินชนิดนี้จะมีอาการไม่รุนแรง การรักษาก็ขึ้นกับความรุนแรงและชนิดของต้อหิน

Normal tension glaucoma NTG

ต้อหินชนิดนี้จะมีความดันลูกในตาปกติแต่ประสาทตาก็ถูกทำลาย การรักษายังเป็นที่ถกเถียงกัน

Pigmentary glaucoma

เกิดเม็ดสีของตาหลุดไปอุดท่อระบาย การรักษาใช้ยาหรือ laser

การวินิจฉัย

หากแพทย์สงสัยว่าจะเป็นต้อหินแพทย์จะตรวจตาอย่างละเอียด


ตรวจความดันลูกตา Tonometry


เป็นการวัดความดันลูกตา แพทย์จะหยอดยาชาหลังจากนั้นก็จะวัดความดันลูกตา ค่าความดันของลูกตาปกติ 12-22 มม.ปรอทคนที่เป็นต้อหินมากจะมีความดันในลูกตามากกว่า 20 มม.ปรอท


วิธีการตรวจจอรับภาพตาด้วยกล้องส่อง

เป็นการใช้เครื่องมือส่องเข้าไปในตาเพื่อตรวจดูประสาทตา ผู้ป่วยบางคนอาจจะต้องหยอดยาขยายม่านตาเพื่อจะตรวจได้ง่ายขึ้น ผู้ป่วยที่เป็นต้อหินเรื้อรังเส้นประสาทจะซีดและมีขนาดใหญ่


การตรวจลานสายตา Perimetry


ลานสายตาของคนปกติจะเห็นได้กว้าง จุดดำๆที่เห็นเรียกจุดบอด
ลานสายตาของคนที่เป็นต้อหินจะแคบส่วนที่มองไม่เห็นคือส่วนดำๆในภาพ

เป็นการตรวจลานสายตาของผู้ป่วย กล่าวคือเวลาเรามองเราสามารถมองได้เป็นบริเวณกว้าง หากเป็นโรคต้อหินพื้นที่เรามองจะแคบลงดังแสดงในรูปข้างบน วิธีการตรวจผู้ป่วยจะมองตรงแล้วจะมีหลอดไฟหรือแสงวางตำแหน่งต่างๆกันหากเราเห็นก็บอก แพทย์จะจดตำแหน่งที่เห็นเพื่อจะตรวจสอบลานสายตาว่าแคบหรือปกติ


การตรวจ Gonioscopy

เป็นการตรวจมุมของกล้ามเนื้อ iris กับ cornea เป็นการตรวจเพื่อจะบอกว่าเป็นต้อหินชนิดมุมปิดหรือเปิด โดยแพทย์จะหยอดยาชาและเอาเครื่องมือติดตาซึ่งจะมีกระจกซึ่งแพทย์จะสามารถมองเห็นว่ามุมปิดหรือมุมเปิด


โรคต้อหินรักษาหายขาดหรือไม่

โรคต้อหินไม่สามารถรักษาให้หายขาดแต่สามารถควบคุมได้ เมื่อวินิจฉัยว่าเป็นโรคต้อหินแล้วต้องติดตามการรักษาต่อเนื่อง หลักการรักษาคือการลดความดันในลูกตา ป้องกันตาบอดโดยการใช้ยาหยอด ยารับประทาน การรับประทานยา การผ่าตัด


วิธีการรักษามีอย่างไรบ้าง

การใช้ยาหยอดตา

ยาหยอดตาที่ใช้รักษาต้อหินหากใช้ไม่ถูกต้องก็จะเกิดผลข้างเคียงและไม่มีประสิทธิภาพวิธีการใช้ยาที่ถูกต้องมีดังนี้

ตรวจชื่อยาว่าถูกต้องหรือไม่
ล้างมือให้สะอาด
เขย่ายาให้เข้ากัน
เอนตัวไปข้างหลัง
เหลือกตามองไปข้างบน
ดึงหนังตาล่างออกเพื่อเป็นแหล่งหยอดยา
หยอดยาลงบนหนังตาล่างแล้วปิดตา เอนนอน
อย่าให้ขวดยาถูกตา
กดที่หัวตาเบาๆ 2-3 นาที เพื่อมิให้ยาไหลลงในท่อน้ำตา
ใช้ผ้าเช็ดยาที่อยู่รอบตา
ล้างมืออีกครั้ง
หากต้องหยอดยาอีกชนิดหนึ่งให้รอ 5 นาทีค่อยหยอดชนิดใหม่


ชนิดของยาหยอดตา

timolol,Fortil
ลดการสร้างน้ำเลี้ยงตา ทำให้หัวใจเต้นช้า ความดันโลหิตลดลง หอยหืดมากขึ้นในคนที่เป็นหอบหืด

Carbonic anhydrase inhibitor Azopt,trusopt ลดการสร้างน้ำเลี้ยงตา ตามัว คันตา ตาแห้ง หากแพ้ยา sulfa ไม่ควรใช้Azopt

Miotic pilogel HS เพิ่มการไหลเวียนของน้ำเลี้ยงตา มองไม่ชัดในที่มืดเนื่องจากรูม่านตาเล็ก

Postaglandin xalatan เพิ่มการไหลเวียนของน้ำเลี้ยงตา มีการเปลี่ยนเป็นสีเป็นน้ำตาลของม่านตา

Alpha adrenergic agonist alphagan ลดการสร้างน้ำเลี้ยงตา อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ตามัว ปากแห้ง จมูกแห้ง

Sympathomimetic เพิ่มการไหลเวียนของน้ำเลี้ยงตา ปวดศีรษะ ตามัว


การรักษาโดยการผ่าตัด

การผ่าตัดทุกชนิดจะมีความเสี่ยงแพทย์จะเลี่ยงการผ่าตัด แต่การผ่าตัดปัจจุบันก็ประสบผลสำเร็จด้วยดี การผ่าตัดเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นต้อหินชนิดมุมปิดclose angle glaucoma หรือในรายที่ใช้ไม่ได้ผลหรือมีผลข้างเคียงของยา การผ่าตัดมักจะเลือกผ่าข้างใดข้างหนึ่ง การผ่าตัดมีสองชนิดใหญ่ๆคือ

Laser surgery

การผ่าตัดด้วยวิธี Laser แพทย์จะหยอดยาชาที่ตาหลังจากนั้นจะใช้พลังงานจากแสง laser เพื่อเปิดทางเดินน้ำเลี้ยงตา ขณะทำท่านอาจจะเห็นแสงเหมือนถ่ายรูป และมีอาการระคายเคืองตา การรักษาโดยวิธี laser จะลดความดันลูกตาเป็นการชะลอการผ่าตัด วิธีการผ่าตัก laser มีดังนี้

Laser peripheral iridotomy
Argon Laser Trabeculoplasty
Laser cyclophotocoagulation

หลังการผ่าตัดด้วย laser ผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องใช้ยา บางรายอาจจะต้องผ่าตัดซ้ำ

Microsurgery

การผ่าตัดวิธีนี้เหมาะสมกับต้อหินทุกชนิดทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง การผ่าตัดอาจจะใช้ยาชาเฉพาะที่หรือดมยาสลบ หลังผ่าตัดผู้ป่วยสามารถเดินและกลับบ้านได้โดยมีผ้าปิดตาและห้ามถูกน้ำ ห้ามออกกำลังกายอย่างหนัก ห้ามก้ม ดำน้ำ หรืออ่านหนังสือเป็นเวลา 1 สัปดาห์

หลังการผ่าตัดลูกตาท่านก็จะเหมือนปกติ จะมีรูเล็กๆที่ตาขาวซึ่งถูกหนังตาบนปิดบังอยู่


คำแนะนำสำหรับผู้ที่เป็นต้อหิน

จะต้องตรวจวัดความดันลูกตาทุกสัปดาห์ ทุกเดือนจนกระทั่งความดันในตากลับสู่ปกติ

ให้ใช้ยาอย่างสม่ำเสมอแม้ว่าความดันลูกตากลับสู่ปกติ จะหยุดเมื่อแพทย์สั่งให้หยุด

ให้ใช้ยาเวลาที่สะดวกที่สุด เช่นหลังตื่นนอน หรือก่อนนอน

หากท่านลืมหยอดยา ให้หยอดยาทันที่ที่นึกขึ้นได้

หากลืมรับประทานยา ให้รับประทานทันทีที่นึกขึ้นได้

เตรียมยาสำรองหากต้องเดินทาง

จดชื่อยาที่ใช้รวมทั้งขนาดที่ใช้ไว้กับตัว

ปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการหยอดยาที่ถูกต้อง

จดตารางการหยอดยา และยารับประทานไว้ที่ๆมองเห็นได้ง่าย

ต้องเฝ้าระวังผลข้างเคียง

เมื่อไปพบแพทย์ท่านอื่นต้องบอกว่าท่านเป็นต้อหินและกำลังใช้ยาอยู่

หากมีอาการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับตาต้องรายงานแพทย์

ไปตามแพทย์นัด และให้แพทย์นัดครั้งต่อไป

หากไม่ได้ใช้ยาต้องบอกแพทย์ทุกครั้ง


การดูและตา

สำหรับคุณผู้หญิงต้องใช้เครื่องสำอางที่ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้

ห้ามขยี้ตาแม้ว่าจะเคืองตา

หากท่านมีการผ่าตัดตา ให้สวมแว่นกันฝุ่นหรือกันน้ำเวลาทำงานหรือว่ายน้ำ

ดูแลสุขภาพทั่วไปให้แข็งแรง

รับประทานอาหารคุณภาพ ออกกำลังกาย งดบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา ลดปริมาณกาแฟ ควบคุมน้ำหนัก

ลดความเครียด

เมื่อดื่มน้ำให้ดื่มครั้งละไม่มากแต่บ่อยๆได้






Create Date : 16 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 16 กุมภาพันธ์ 2552 13:50:43 น. 4 comments
Counter : 1958 Pageviews.

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ นะค่ะ

มีความสุขมาก ๆ สุขภาพแข็งแรงๆ เช่นกันค่ะ


โดย: ความเจ็บปวด วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:19:57:57 น.  

 
ขอบคุณที่ไปแวะเยี่ยม
ยินดีมากที่ชอบรูป คอมเม้น ในโอกาสต่างๆ



โดย: ยายเก๋า (ชมพร ) วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:0:30:46 น.  

 
Photobucket

จำได้ว่าโรคนี้ยายเคยเป็นค่ะ

ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ


โดย: fleuri วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:11:11:31 น.  

 
สวัสดียามเช้าอีกวันที่เข้ามา
และเอาลูกชิ้นมาฝากค่ะ ไว้ทานเล่นหรือทานในมื้อกลางวันกันค่ะ




โดย: praewa cute วันที่: 17 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:22:04:55 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
 
16 กุมภาพันธ์ 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.