สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ

ความรู้เรื่องการบริจาคโลหิตเพื่อช่วยเพื่อนมนุษย์


ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโลหิต

โลหิตเป็นอวัยวะชนิดหนึ่ง เป็นของเหลวสีแดงที่ไหลเวียนอยู่ภายในหลอดโลหิตทั่วร่างกาย โดยมีหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดโลหิต อวัยวะสำคัญของร่างกายที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดโลหิต ได้แก่ ไขกระดูก เช่น กระดูกหน้าอก กระดูกแขน กระดูกซี่โครง กระดูกเชิงกราน กระดูกไขสันหลัง เป็นต้น ในร่างกายมนุษย์ (ผู้ใหญ่) จะมีโลหิตประมาณ 4,000 - 5,000 ซี.ซี. หรือ ปริมาณตามน้ำหนักของแต่ละคน คิดโดยประมาณคือ 80 ซี.ซี. ต่อน้ำหนัก 1
กิดลกรัม


เม็ดโลหิตที่สร้างจากไขกระดูก มี 3 ชนิด คือ

1. เม็ดโลหิตแดง
2. เม็ดโลหิตขาว
3. เกร็ดโลหิต


โลหิตแบ่งได้ 2 ส่วน คือ

1. ส่วนของเม็ดโลหิต
2. ส่วนพลาสม่า (Plasma)

1. ส่วนของเม็ดโลหิต มีประมาณ 45 เปอร์เซนต์ ของโลหิตทั้งหมด

เม็ดโลหิตแดง มีหน้าที่ในการลำเลียงอ๊อกซิเจนไปให้เซลส์อวัยวะต่าง ๆ ใช้สันดาบ อาหารเป็นพลังงาน อายุการทำงานของเม็ดโลหิตแดง ประมาณ 120 วัน

เม็ดโลหิตขาว มีหน้าที่ป้องกันและทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย

เกร็ดโลหิต มีหน้าที่ช่วยทำให้โลหิตแข็งตัว ตรงจุดที่มีการฉีดขาดของหลอดโลหิต


2. พลาสม่า (Plasma) เป็นส่วนของเหลวของโลหิตที่ทำให้เม็ดโลหิตลอยตัว มีลักษณะเป็นน้ำเหลืองมีอยู่ประมาณ 55 เปอร์เซนต์ ของโลหิตทั้งหมดในร่างกาย


หน้าที่ของพลาสม่า

- ควบคุมความดัน และปริมาตรของโลหิต

- ป้องกันเลือดออก

- เป็นภูมิคุ้มกันโรคติดต่อที่จะเข้าสู่ร่างกาย



ส่วนพลาสม่าประกอบด้วย

1. ส่วนน้ำ ประมาณ 92 เปอร์เซนต์

2. ส่วนโปรตีน มีประมาณ 8 เปอร์เซนต์ โปรตีนส่วนนี้จะมีความสำคัญคือ

2.1 แอลบูมิน มีหน้าที่รักษาความสมดุลของน้ำในหลอดเลือด และเนื้อเยื่อ

2.2 อินมูโนโกลบูลิน มีหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันโรคติดต่อต่าง ๆ ที่จะเข้าสู่ร่างกาย


ประเภทของโลหิต

โลหิตของมนุษย์สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้

1. หมู่โลหิตระบบ ABO
2. หมู่โลหิตระบบ Rh

1. หมู่โลหิตระบบ ABO

หมู่โลหิตเริ่มค้นพบใน คศ. 1900 โดย Karl Landsteiner พบหมู่โลหิต A, B, และ O ส่วนหมู่โลหิต AB พบโดย Von Decastello และ Sturli ในปี คศ. 1902




สถิติหมู่โลหิต ABO ของคนไทย มีดังนี้

หมู่โลหิต A 21.1 %
หมู่โลหิต B 34.0 %
หมู่โลหิต O 37.6 %
หมู่โลหิต AB 7.3 %

2. หมู่โลหิต ระบบ Rh

ปี คศ. 1939 Levine และ Stetson รายงานการค้นพบหมู่โลหิต ระบบ Rh ประกอบด้วยหมู่โลหิต 2 ชนิดคือ

2.1 หมู่โลหิต ระบบ Rh บวก พบในคนไทยประมาณ 99.7 %

2.2 หมู่โลหิต ระบบ Rh ลบ พบในคนไทยประมาณ 0.3 % หรือใน 100 คน จะพบเพียง 3 คนเท่านั้น




การถ่ายทอดหมู่โลหิต ระบบ ABO ของพ่อ - แม่ - ลูก ที่เป็นไปได้

หมู่โลหิตของพ่อ O หมู่โลหิตของแม่ O หมู่โลหิตของลูก O
หมู่โลหิตของพ่อ O หมู่โลหิตของแม่ A หมู่โลหิตของลูก O,A
หมู่โลหิตของพ่อ O หมู่โลหิตของแม่ B หมู่โลหิตของลูก O,B
หมู่โลหิตของพ่อ O หมู่โลหิตของแม่ AB หมู่โลหิตของลูก A,B
หมู่โลหิตของพ่อ A หมู่โลหิตของแม่ A หมู่โลหิตของลูก A,O
หมู่โลหิตของพ่อ A หมู่โลหิตของแม่ B หมู่โลหิตของลูก O,A,B,AB
หมู่โลหิตของพ่อ A หมู่โลหิตของแม่ AB หมู่โลหิตของลูก A,B,AB
หมู่โลหิตของพ่อ B หมู่โลหิตของแม่ B หมู่โลหิตของลูก B,O
หมู่โลหิตของพ่อ B หมู่โลหิตของแม่ AB หมู่โลหิตของลูก A,B,AB
หมู่โลหิตของพ่อ AB หมู่โลหิตของแม่ AB หมู่โลหิตของลูก A,B,AB


การบริจาคโลหิต

- ปกติแล้วมนุษย์จะมีโลหิตอยู่ประมาณ 4,000 - 5,000 ซี.ซี. และการบริจาคโลหิตแต่ละครั้งจะบริจาคเพียง 300

- 400 ซี.ซี. หรือ ประมาณ 6 - 7 % ของโลหิตทั้งหมดในร่างกาย การบริจาคโลหิตเท่ากับการกระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเม็ดโลหิตใหม่ ๆ ออกมาชดเชยให้มีระดับเท่าเดิม ภายใน 7 - 14 วัน

- การบริจาคสามารถบริจาคโลหิตได้ทุก ๆ 3 เดือน ไม่ควรบริจาคก่อนครบกำหนด จะทำให้ร่างกายขาดเหล็ก อาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง



คุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิต

- บริจาคได้ทั้งชาย และหญิง ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง

- อายุ 17 - 60 ปี

- น้ำหนัก 45 กิโลหรัม ขึ้นไป

- ฮีโมโกลบิน หญิงสูงกว่า 80% ชายกว่า 90% ของคนปกติ

- ความดันโลหิต ซีสโตริกไม่ต่ำกว่า 100 มม.ปรอท

- ไม่มีประวัติเป็นผู้เสพยาเสพติด (ชนิดฉีด)

- ต้องไม่เป็นโรคเอดส์, โรคไวรัสตับอักเสบ บี และซี

- ไม่เป็นบุคคลที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเอดส์

- ไม่มีประวัติเป็นมาเลเรียภายใน 3 ปี

- มีสุขภาพสมบูรณ์ ไม่เป็นโรคหัวใจ โรคปอด โรคไต และโรคติดต่ออื่น ๆ
ข้อควรปฏิบัติ ก่อนบริจาคโลหิต

- ควรนอนหลับพักผ่อนอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง

- ไม่ควรอยู่ระหว่างรับประทานยา ประเภทปฏิชีวนะ และฉีดยา

- สตรีต้องไม่อยู่ในระหว่างมีรอบเดือน

- ควรรับประทานอาหารมาให้เรียบร้อย ก่อนมาบริจาคโลหิต แต่อาหารนั้นไม่ควรมีไขมันมาก


ขั้นตอนการบริจาคโลหิต

ขั้นตอนที่ 1 สำหรับผู้บริจาคโลหิตครั้งแรก เขียนใบสมัครบริจาคโลหิต
กรอกข้อความ ตามแบบใบสมัครให้ชัดเจน เช่น ชื่อ - นามสกุล, วัน เดือน ปี เกิด สถานที่ทำงาน, สถานศึกษา, ที่อยู่ที่บ้าน เป็นต้น กรอกข้อความตามแบบสอบ-ถาม ลงในใบสมัครตามความเป็นจริง ลงนามผู้บริจาคโลหิต
สำหรับผู้บริจาคเดิม ให้ยื่นบัตรประจำตัวผู้บริจาคโลหิตกับเจ้าหน้าที่ได้ทันที

ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบความเข็มข้นของโลหิต

ขั้นตอนที่ 3 ตรวจร่างกายโดยแพทย์ และให้ความเห็นว่ามีสุขภาพแข็งแรง พร้อมบริจาคโลหิต

ขั้นตอนที่ 4 บริจาคโลหิต โดยพยาบาลทำหน้าที่เจาะเก็บโลหิต ซึ่งเป็นผู้มีความชำนาญ การเจาะโลหิตจะฉีดยาชาบริเวณผิวหนังที่เจาะโลหิตก่อนทำการเจาะเก็บโลหิต และอุปกรณ์ในการเจาะเก็บโลหิตเป็นของใหม่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว และจะใช้เพียงครั้งเดียว แล้วทิ้งไม่นำมาใช้อีก

ขั้นตอนที่ 5 พร้อมบริจาคโลหิต จะมีการกินอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม และทำแผลบริเวณเจาะโลหิต



ข้อความปฏิบัติหลังการรับบริจาคโลหิต

-ควรนอนพักบนเตียงสักครู ห้ามลุกจากเตียงทันทีเพราะอาจทำให้เวียนศีรษะเป็นลมได้

-ควรรับประทานอาหารว่าง และเครื่องดื่มที่จัดเตรียมไว้

-รับบริการทำแผลบริเวณเจาะเก็บโลหิต

-หากมีอาการวิงเวียศีรษะ หรือรู้สึกจะเป็นลม ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที หรือนอนลง เพื่อป้องกันการล้มศีรษะฟาดพื้น


บัตรประจำตัวผู้บริจาคโลหิต

-ผู้บริจาคโลหิตจะได้รับบัตรประจำตัวผู้บริจาคโลหิต ซึ่งภายในบัตรจะระบุรายละเอียด ดังนี้

-ชื่อ-นามสกุล พร้อมด้วยที่อยู่ของผู้บริจาคโลหิต

-เลขประจำตัวผู้บริจาคโลหิต

-หมู่โลหิต ระบบ เอบีโอ (ABO) และระบบ อาร์เอช (Rh)

-วัน เดือน ปี และจำนวนครั้งการบริจาคโลหิต

-บัตรประจำตัวสีเหลือง คือบัตรประจำตัวผู้บริจาคโลหิต หมู่ A

-บัตรประจำตัวสีชมพู คือบัตรประจำตัวผู้บริจาคโลหิต หมู่ B

-บัตรประจำตัวสีฟ้า คือบัตรประจำตัวผู้บริจาคโลหิต หมู่ O

-บัตรประจำตัวสีขาว คือบัตรประจำตัวผู้บริจาคโลหิต หมู่ AB



ผลที่ได้รับจากการบริจาคโลหิต

- ความภาคภูมิใจที่ได้เสียสละโลหิตในร่างกาย เพื่อเป็นสาธารณะประโยชน์ต่อผู้อื่น

- รับทราบหมู่โลหิตของตนเอง

- ได้รับการตรวจสุขภาพ ทุก 3 เดือน (กรณีมาบริจาคโลหิต)

- ได้รับการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ไวรัสตับอักเสบ ซี เชื้อไวรัสเอดส์ และเชื้อซิฟิลิส (กามโรค)


การตรวจคุณภาพโลหิต

โลหิตที่ได้รับจากการบริจาคโลหิต ก่อนนำไปให้กับผู้ป่วยเพื่อการรักษาทุกหน่วยต้องผ่านการตรวจจากห้องปฏิบัติการตามลำดับขั้นตอน เพื่อผู้ป่วยจะได้รับโลหิตที่ปลอดภัยตามมาตรฐาน การตรวจโลหิตทางห้องปฏิบัติการจะกระทำการตรวจดังนี้ คือ

1. ตรวจหาหมู่โลหิต ระบบ เอบีโอ และระบบ อาร์เอช

2. ตรวจหาเชื้อไวรัสเอดส์ (Anti HIV และ HIV Ag)

3. ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี (Abs Ag)

4. ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี (Anti Hbc)

5. ซิฟิลิส (VDRL)

6. ทดสอบความเข้ากันได้ของโลหิตครบทุกขั้นตอนตามมาตรฐาน

การบริจาคโลหิตนับว่าเป็นกุศลอันสูงสุดเพราะเป็นการให้ส่วนหนึ่งของชีวิตไปช่วยต่อชีวิตให้ผู้อื่น ผู้ให้ย่อมเกิดความปิติ บังเกิดความสุขใจจากผลบุญของการให้ ขณะนี้โลหิตที่ได้รับการบริจาคยังขาดแคลนไม่เพียงพอ ท่านผู้บริจาคโลหิตจึงนับว่าเป็นส่วนสำคัญในการบริจาคโลหิต เพื่อสำรองไว้ใช้กับเพื่อนมนุษย์ผู้เจ็บป่วย ท่านที่สนใจติดต่อขอรับบริจาคโลหิตได้ที่ กองบริการโลหิต รพ. ภูมิพลอดุลยเดช พอ. บนอ. สาขาบริการโลหิตของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย โทร. 531-1970-99 ต่อ 27651 ในวันเวลาราชการ

"บริจาคโลหิต ช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์"






 

Create Date : 03 มกราคม 2552
12 comments
Last Update : 15 เมษายน 2552 9:35:07 น.
Counter : 1425 Pageviews.

 

ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ


Mery X'mas & Happy new year นะคะ มีความสุขตลอดปีและตลอดไปเลยนะคะ

 

โดย: Michiru 3 มกราคม 2552 9:59:13 น.  

 


แวะมาสวัสดีปีใหม่ค่ะ สุขภาพแข็งแรงนะค่ะ Happy New Year จ้า

 

โดย: ดอกหญ้าเมืองเลย 3 มกราคม 2552 10:28:54 น.  

 

ตอนนี้เปลี่ยนมาบริจาคเกล็ดเลือแล้วรับ
สามารถบริจาคได้ทุกเดือน
ตอนนี้ครั้งที่ 26 แล้ว





ปล. แวะมาชวนไปเที่ยวโคราชด้วยกันครับ

 

โดย: มิสเตอร์ฮอง 3 มกราคม 2552 10:42:34 น.  

 

หวัดดีค่ะ

แอนยังไม่เคยไปบริจาคโลหิตเลยสักครั้งค่ะ

ปล.ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ

 

โดย: thattron 3 มกราคม 2552 12:29:12 น.  

 

ขอบคุณที่นำความรู้มาฝากกันนะคะ

 

โดย: บุปผามาลา 3 มกราคม 2552 12:55:28 น.  

 

ขอบคุณนะคะที่นำความรู้ดีๆๆมาฝาก

 

โดย: แดนนี่ บอย 3 มกราคม 2552 13:35:44 น.  

 



มีความสุขมากๆ นะคะ
เงินทองไหลมาเทมา
ก้าวหน้าเจริญรุ่งเรืองจ้า

ปล. มาช้าไปหน่อยเพราะรถมันติดค่า

 

โดย: KungGuenter 3 มกราคม 2552 17:07:32 น.  

 

ขอบคุณที่เอามาแบ่งปันนะคะ เพลงจังเลย ตอนนี้ฝนติดละครเรื่องนี้มากๆ ค่ะ พระเอกหล่อดี

 

โดย: N a m F o n.. (CeciLia_MaLee ) 3 มกราคม 2552 19:53:57 น.  

 

ขอบคุณสำหรับสาระดีๆที่นำมาแบ่งปันนะคะ

ได้ข้อมูลการเตรียมตัวบริจาคเลือดดีๆแบบนี้คราวหน้าคงผ่านฉลุยไม่เลือดลอยแบบคราวที่แล้วแน่ๆค่ะ ^^

 

โดย: hypnotizer 3 มกราคม 2552 21:16:15 น.  

 

แวะมาสวัสดีปีใหม่ค่ะ

ขอให้แข็งแรงทั้งสุขกายและสุขภาพใจนะคะ

คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ
[ของตกแต่งโดนๆคลิกเลย]

 

โดย: pinkyrose 3 มกราคม 2552 22:12:39 น.  

 

สวัสดีตอนหัวค่ำค่ะทานข้าวหรือยังคะ

ก๋วยเตี๋ยวผัด2รสหน่อยไหมคะคุณกบ

 

โดย: ญามี่ 4 มกราคม 2552 20:48:14 น.  

 

ขอบคุณที่แวะไปทักทายค่ะ ^_^

 

โดย: cera (เหมือนดอกไม้ ) 5 มกราคม 2552 11:21:41 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
มกราคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
3 มกราคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.