"ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตย่อมไม่มี พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี....." "พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง, เป็นหูที่วิเศษยิ่ง, เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง, เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง, เป็นกายที่วิเศษยิ่ง, เป็นใจที่วิเศษยิ่ง, เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง, เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง, เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง, เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง, เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง"จากวัดสามแยก
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
2425262728 
 
23 กุมภาพันธ์ 2556
 
All Blogs
 

ความจริง กรณีติดป้าย-เหยียบฐานพุทธรูป ของพระเกษม ให้สัมภาษณ์แก่ทีมงานเรื่องจริงผ่านจอ" (๘ ส.ค. ๒๕๕๑)

ความจริง กรณีติดป้าย-เหยียบฐาน ของพระเกษม อาจิณณสีโล (ความจริงอีกด้านที่สื่อเสนอไม่ครบ)

หลวงปู่เกษม ชุดที่ ๐๒๑ ความจริง กรณีติดป้ายฯ "ตอน ให้สัมภาษณ์แก่ทีมงานเรื่องจริงผ่านจอ" (๘ ส.ค. ๒๕๕๑)

เนื้อหา บางส่วนจากการให้สัมภาษณ์แก่ทีมงานเรื่องจริงผ่านจอ ชุดนี้
      ๑. ทรงตำหนิ หากผู้ใดไปติดอาลัยในรูป(แม้ในรูปของพระพุทธองค์เอง)
      ๒. พระธรรมวินัยคือตัวแทนพระพุทธเจ้า
      ๓. รูปเปรียบพระพุทธองค์...ไม่มี
      ๔. รูปทั้งหมดเป็นเหยื่อ เป็นบ่วงแห่งมาร
      ๕. พระภิกษุห้ามรับเงินและทองโดยประการทั้งปวง
     ฯลฯ

เรื่องพระพุทธรูป เล่ม52 หน้า115"ทรงตำหนิ หากผู้ใดไปติดอาลัยในรูป(แม้ในรูปของพระพุทธองค์เอง)“

เราก็ออกบวชเป็นบรรพชิต  เราเป็นผู้ไม่อิ่มด้วยการดูพระรูปอันประเสริฐเกิดเพราะบารมีทุกอย่าง มีดวงพระเนตรสีนิล ล้วนเกลื่อนกล่นไปด้วยวรรณสัณฐานอันงดงาม ครั้งนั้น พระศาสดาทรงทราบว่าเรายินดีในพระพุทธรูป จึงได้ตรัสสอนเราว่า  อย่าเลยวักกลิ ประโยชน์อะไรในรูปที่น่าเกลียด ซึ่งคนพาลชอบเล่า ก็บัณฑิตใดเห็นสัทธรรมบัณฑิตนั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ไม่เห็นสัทธรรม  ถึงจะเห็นเราก็ชื่อว่าไม่เห็น  กายมีโทษไม่สิ้นสุด เปรียบเสมอด้วยต้นไม้มีพิษ เป็นที่อยู่ของโรคทุกอย่างล้วนเป็นที่ประชุมของทุกข์เพราะฉะนั้น  ท่านจงเบื่อหน่ายในรูป  พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย  จักถึงที่สุดแห่งสรรพกิเลสได้โดยง่าย 

พระพุทธองค์ทรงตำหนิแม้ในรูปของพระองค์เองว่าต่ำทราม  เล่ม 54 หน้า 261

ครั้งนั้นพระปชาบดีโคตมีเถรีพร้อมด้วยภิกษุณีทั้งหมด ได้พากันหมอบลงแทบพระยุคลบาทของพระ
ศาสดาผู้เป็นพงศ์พันธุ์ ของโลกกราบทูลว่า  นี้เป็นการถวายบังคมพระยุคลบาทครั้งสุดท้ายของหม่อมฉันการได้เห็นพระองค์ผู้เป็นนาถะของโลกครั้งนี้ ก็เป็นครั้งสุดท้าย หม่อมฉันจักไม่ได้เห็นพระพักตร์ของพระองค์ซึ่งมีอาการดุจอมตะอีก ข้าแต่พระมหาวีระผู้เลิศของโลก การถวายบังคมของหม่อมฉันจักไม่สัมผัสพระยุคลบาทของพระองค์ ซึ่งละเอียดอ่อนดีวันนี้หม่อมฉันจะนิพพาน.

พระศาสดาตรัสว่า ประโยชน์อะไรของเธอ ด้วยรูปนี้ในปัจจุบัน รูปนี้ล้วนปัจจัยปรุงแต่ง  ไม่น่ายินดีเป็นของต่ำทราม.  พระมหาปชาบดีเถรีพร้อมด้วยภิกษุณีเหล่านั้น  ไปสำนักของภิกษุณีของตนแล้ว นั่งพับเพียบบนอาสนะอันประเสริฐ.

 เล่ม 32 หน้า 390
ประโยชน์อะไรด้วยมองรูปกายอันเปื่อยเน่านี้ที่ท่านเห็น วักกลิ
ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม
วักกลิ  เห็นธรรมจึงจะชื่อว่าเห็นเรา.

ผู้ถือร่างกายของพระพุทธองค์ทรงประเสริฐเหนือโลกเป็นผู้กล่าวตู่พระพุทธองค์  เล่ม 33 หน้า 346

สูตรที่  ๒ ว่าด้วยคน  ๒  จำพวก  กล่าวตู่พระตถาคต
 
[๒๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ย่อมกล่าวตู่ตถาคต ๒ จำพวกเป็นไฉน  คือ 
คนเจ้าโทสะซึ่งมีโทษอยู่ภายใน ๑
คนที่เชื่อโดยถือผิด  ๑   

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมกล่าวตู่ตถาคต.

อรรถกถาสูตรที่ ๒

บทว่า อพฺภาจิกฺขนฺติ  ได้แก่ กล่าวตู่  คือกล่าวด้วยเรื่องไม่จริง
บทว่า โทสนฺตโร แปลว่า มีโทสะตั้งอยู่ในภายใน.  จริงอยู่ คนแบบนี้ย่อมกล่าวตู่พระตถาคต  เช่น สุนักขัตตลิจฉวี  กล่าวว่า  อุตตริมนุสสธรรมของพระสมณโคดมหามีไม่. บทว่า สทฺโธ วา ทุคฺคหิเตน   ความว่าหรือว่า ผู้ที่มีศรัทธาแก่กล้า ด้วยศรัทธาที่เว้นจากญาณ มีความเลื่อมใสอ่อนนั้น ถือผิด  ๆ กล่าวตู่พระตถาคตโดยนัยเป็นต้นว่า ขึ้นชื่อว่า พระพุทธเจ้านั้น เป็นโลกุตระทั้งพระองค์   พระอาการ  ๓๒  มีพระเกสาเป็นต้นของพระองค์ล้วนเป็นโลกุตระทั้งนั้น  ดังนี้.

สูตรที่ ๓ ว่าด้วยคน ๒ จำพวกที่กล่าวตู่และไม่กล่าวตู่พระตถาคต

[๒๖๙]  ๒๓.  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมกล่าวตู่ตถาคต ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ
คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้ภาษิตไว้มิได้ตรัสไว้ว่า ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้ตรัสไว้ ๑
คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ว่า ตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้๑ 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล. ย่อมกล่าวตู่ตถาคต

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายคน ๒ จำพวกนี้  ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต ๒  จำพวกเป็นไฉน  คือ

คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้ภาษิตไว้  มิได้ตรัสไว้ว่า ตถาคตมิได้ภาษิตไว้  มิได้ตรัสไว้ ๑
คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ว่า ตถาคตภาษิตไว้ตรัสไว้ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต.

รูปเปรียบพระพุทธองค์...ไม่มี  เล่ม 32 หน้า 214

บทว่า อปฺปฎิโม  (ไม่มีผู้เปรียบ)  ความว่า อัตภาพเรียกว่า รูปเปรียบ.  ชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบ เพราะรูปเปรียบอื่นเช่นกับอัตภาพของท่านไม่มี. อีกอย่างหนึ่ง มนุษย์ทั้งหลายกระทำรูปเปรียบใดล้วนแล้วด้วยทองและเงินเป็นต้น ในบรรดารูปเปรียบเหล่านั้น ชื่อว่า ผู้สามารถกระทำโอกาสแม้สักเท่าปลายขนทรายให้เหมือนอัตภาพของพระตถาคต ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบแม้โดย ประการทั้งปวง.
บทว่า อปฺปฎิสโม (ไม่มีผู้เทียบ) ความว่า ชื่อว่า ไม่มีผู้เทียบ เพราะใคร ๆ  ชื่อว่าผู้จะเทียบกับอัตภาพของพระตถาคตนั้นไม่มี.

"รู้จักรูปตามความเป็นจริงว่า..."  เล่ม 76 หน้า 191

รูปวิภัตติ  เอกกนิเทศ

 รูปทั้งหมด ไม่ใช่เหตุทั้งนั้น ไม่มีเหตุทั้งนั้น วิปปยุตจากเหตุทั้งนั้น  เป็นไปกับด้วยปัจจัยทั้งนั้น เป็นสังขตธรรมทั้งนั้น เป็นรูปธรรมทั้งนั้น เป็นโลกิยธรรมทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของอาสวะทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของคันถะทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของโอฆะทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของโยคะทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของปรามาสทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของอุปาทานทั้งนั้น เป็นอารมณ์ของสังกิเลสทั้งนั้น เป็นอัพยากตธรรมทั้งนั้น ไม่มีอารมณ์ทั้งนั้น ไม่ใช่เจตสิกทั้งนั้น วิปปยุตจากจิตทั้งนั้น ไม่ใช่วิบาก และไม่ใช่เหตุแห่งวิบากทั้งนั้น ไม่เศร้าหมองแต่เป็นอารมณ์ของสังกิเลสทั้งนั้น ไม่ใช่ธรรมมีทั้งวิตกทั้งวิจารทั้งนั้น ไม่ใช่ธรรมไม่มีวิตกแต่มีวิจารทั้งนั้น ไม่มีทั้งวิตกทั้งวิจารทั้งนั้น ไม่ใช่ธรรมที่สหรคตด้วยปีติทั้งนั้น  ไม่ใช่ธรรมที่สหรคตด้วยสุขทั้งนั้น ไม่ใช่ธรรมที่สหรคตด้วยอุเบกขาทั้งนั้น อันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ไม่ประหาณทั้งนั้น ไม่มีสัมปยุตตเหตุ อันโสดาปัตติมรรคและมรรคเบื้องบน ๓ ประหาณทั้งนั้น ไม่เป็นเหตุ ให้จุติปฏิสนธิและไม่เป็นเหตุ ให้ถึงนิพพานทั้งนั้น เป็นของเสกขบุคคลและไม่เป็นของอเสกขบุคคลทั้งนั้น เป็นปริตตธรรมทั้งนั้น เป็นกามาวจรธรรมทั้งนั้น ไม่ใช่รูปาวจรธรรมทั้งนั้น ไม่ใช่อรูปาวจรธรรมทั้งนั้น เป็นปริยาปันนธรรมทั้งนั้น ไม่ใช่อปริยาปันนธรรมทั้งนั้น เป็นอนิยตธรรมทั้งนั้น เป็นนิยยานิกธรรมทั้งนั้น เป็นปัจจุบันธรรมอันวิญญาณ ๖ พึงรู้ทั้งนั้น ไม่เที่ยงทั้งนั้น  อันชราครอบงำแล้วทั้งนั้น สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ  ๑  อย่างนี้.

รูปทั้งหมดเป็นเหยื่อ เป็นบ่วงแห่งมาร  เล่ม 24 หน้า 401

๓๒๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี้เป็นมารตัวร้ายกาจ
จึงได้ตรัสคาถาตอบมารผู้มีบาปว่า

รูปใด ๆ จะอยู่ในโลกนี้หรือโลกอื่นและจะอยู่ในอากาศ
มีรัศมีรุ่งเรืองก็ตามที่รูปทั้งหมดเหล่านั้น อันมารสรรเสริญแล้ว
วางดักสัตว์ไว้แล้ว เหมือนเขาใส่เหยื่อล่อเพื่อฆ่าปลา ฉะนั้น.

ตกอยู่ใต้อำนาจมาร หากเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกหมุ่น พัวพันในรูป  เล่ม 28 หน้า 192

ปฐมมารปาสสูตร๑ ว่าด้วยอายนตะ ๖ เป็นบ่วงแห่งมาร

[๑๖๕]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลินสรรเสริญ หมกมุ่น พัวพันรูปนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่าไปสู่ที่อยู่ของมาร ตกอยู่ในอำนาจของมาร  ถูกมารคล้อง รัด มัดด้วยบ่วง ภิกษุนั้นพึงถูกมารผู้มีบาปใช้บ่วงทำได้ตามปรารถนา ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลินหมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ไปสู่ที่อยู่ของมารตกอยู่ในอำนาจของมาร ถูกมารคล้อง รัด มัดด้วยบ่วง ภิกษุนั้นพึงถูกมารผู้มีบาปใช้บ่วงทำได้ตามปรารถนา.

พระภิกษุห้ามรับเงินและทองโดยประการทั้งปวง   เล่ม3 หน้า 940

ทอง-เงิน ไม่ควรถวายภิกษุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
พระบัญญัติ :
 
"อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง-เงิน
 หรือ ยินดีทอง-เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ก็ดี เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.“
 (ต้องอาบัตินิสสัคคีย์ ต้องสละสิ่งของนั้นออกไป จึงจะพ้นโทษได้)

 
อ้างอิง : พระไตรปิฎก เล่ม 3 หน้า 940 จากพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
 
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ / 1 ตัว (โทษที่ทำความดีให้ตกไป ต้องสละ)
 ตกโรรุวนรก 1 ชั่วอายุคือ 4,000 ปีของชั้นนี้ 1 ปีในชั้นนี้ เท่ากับ 210,240 ล้านปีมนุษย์
 4,000 ปีในชั้นนี้ เท่ากับ 840,960,000 ล้านปีมนุษย์

โยมที่ร่วมทำผิดกับพระเพราะถวาย
สิ่งของที่ผิดพระวินัย เปรียบเหมือน การสนับสนุนโจรให้มีกำลัง ให้กระทำผิด
ก็มีโทษต้องตกนรกขุมเดียวกับพระ แต่จะได้รับโทษเบากว่า.

ทิ้งของโสโครกก็ได้บุญ เล่ม 34 หน้า 228

เราตถาคตกล่าวอย่างนี้ต่างหาก วัจฉะ ว่า แม้สัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในหลุมโสโครกหรือท่อโสโครก  ผู้ใดเทน้ำล้างหม้อก็ดี น้ำล้างชามก็ดี ลงไปในหลุมและท่อโสโครกนั้น  ด้วยเจตนาให้สัตว์ในนั้นได้เลี้ยงชีพ อย่างนี้เราตถาคตยังกล่าวการได้บุญอันมีกิริยาที่ทำอย่างนั้นเป็นมูล จะกล่าวอะไร (ถึงการให้ทาน)
ในผู้ที่เป็นมนุษย์เล่า.

มีบุญแล้วพึงอุทิศ เล่ม 43 หน้า328

แม้ท้าวสักกะ  ทรงสดับธรรมกถาของพระศาสดา ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ทูลว่า พระเจ้าข้า เพื่อประโยชน์อะไร พระองค์จึงไม่รับสั่งให้ให้ส่วนบุญแก่พวกข้าพระองค์ ในธรรมทานอันชื่อว่าเยี่ยมอย่างนี้ ?  จำเดิมแต่นี้ไป ขอพระองค์ได้โปรดตรัสบอกแก่ภิกษุสงฆ์แล้วรับสั่งให้ ๆ ส่วนบุญแก่พวกข้าพระองค์เถิด  พระเจ้าข้า."  พระศาสดา ทรงสดับคำของท้าวเธอแล้ว  รับสั่งให้ภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้ว ตรัสว่า  " ภิกษุทั้งหลายตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป พวกเธอทำการฟังธรรมใหญ่ก็ดี  การฟังธรรมตามปกติก็ดี กล่าวอุปนิสินนกถาก็ดี โดยที่สุดแม้การอนุโมทนา แล้วพึงให้ส่วนบุญแก่สัตว์ทั้งปวง."

มีสัตว์เล็กๆ(กิมิชาติ) ตายเกิดในร่างกายมนุษย์ เป็นจำนวนมหาศาล เล่ม 65 หน้า242

เหล่าสัตว์ต่าง ๆ ภายในจอมปลวก ย่อมเกิด ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะนอนเจ็บไข้ ตายตกไปในจอมปลวกนั้นเอง.  จอมปลวกนั้น เป็นเรือนตลอด เป็นส้วม เป็นโรงพยาบาล และเป็นสุสานของสัตว์เหล่านั้น
ด้วยประการฉะนี้  ฉันใด แม้ร่างกายของกษัตริย์มหาศาลเป็นต้นก็ฉันนั้นมีกิมิชาติประมาณแปดหมื่นเหล่า โดยการนับเหล่า อย่างนี้คือ เหล่าสัตว์ที่อาศัยผิว เหล่าสัตว์ที่อาศัยหนัง เหล่าสัตว์ที่อาศัยเนื้อ   เหล่าสัตว์ที่อาศัยเอ็น เหล่าสัตว์ที่อาศัยกระดูก เหล่าสัตว์ที่อาศัยเยื่อในกระดูก ย่อมเกิดถ่ายอุจจาระปัสสาวะ นอนกระสับกระส่ายด้วยความไข้ตายตกไปภายในกายนั่นแหละ โดยไม่คิดนึกว่า นี้เป็นกายของผู้มีอานุภาพมาก ที่คุ้มครองรักษาแล้ว ประดับตกแต่งแล้ว กายแม้นี้ย่อมเป็นเรือนตลอด เป็นส้วม
เป็นโรงพยาบาล และเป็นสุสานของสัตว์เหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้ดังนั้นจึงนับว่า  จอมปลวก.

ไม่ประสงค์จะสึก แต่พูดออกมาให้ได้ยิน ก็ไม่เป็นอันสึก...เล่ม 1 หน้า425

ลักษณะสิกขาที่ไม่เป็นอันบอกคืน

ภิกษุบอกคืนสิกขา โดยกล่าวพลาด สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
ภิกษุไม่ประสงค์จะประกาศ  แต่เปล่งเสียงให้ได้ยิน สิกขา ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
ภิกษุประสงค์ประกาศ  แต่ไม่เปล่งเสียงให้ได้ยิน  สิกขา  ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
ภิกษุประกาศแก่ผู้ไม่เข้าใจความ  สิกขา  ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
ภิกษุไม่ประกาศแก่ผู้เข้าใจความ  สิกขา  ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน
ก็หรือภิกษุไม่ประกาศโดยประการทั้งปวง สิกขา  ย่อมไม่เป็นอันบอกคืน 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิกขา  ย่อมไม่เป็นอันบอกคืนด้วยเหตุอย่างนี้แล.

เล่ม1 หน้า788 การบอกลาสิกขา  ย่อมถึงที่สุด  ก็ต่อเมื่อภิกษุผู้ลั่นวาจา  ซึ่งสัมปยุตด้วยจิตในสำนักของสัตว์เป็นชาติมนุษย์เท่านั้น.

การขาดความจากพระภิกษุไม่ได้ขึ้นอยู่กับคำพูดของผู้อื่น เล่ม 2 หน้า75

เรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพี

[๑๗๔]   ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุ ๒ รูป  ชื่อปัณฑกะ ๑  ชื่อกปีล ๑ เป็นสหายกัน  รูปหนึ่งอยู่ในหมู่บ้าน  อีกรูปหนึ่งอยู่ในเมืองโกสัมพี  ขณะเมื่อภิกษุนั้นเดินทางจากหมู่บ้านไปเมืองโกสัมพี  ข้ามแม่น้ำในระหว่างทาง เปลวมันข้นที่หลุดจากมือของพวกคนฆ่าหมูลอยติดอยู่ที่เท้า  ภิกษุนั้นได้เก็บไว้ด้วยตั้งใจว่า จักให้แก่พวกเจ้าของ ๆ โจทภิกษุนั้นว่า  ท่านไม่เป็นสมณะ  สตรีเลี้ยงโคคนหนึ่งเห็นภิกษุนั้นข้ามแม่น้ำขึ้นมาแล้ว  ได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเจ้าขานิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด  ภิกษุนั้นคิดว่า แม้โดยปกติ เราก็ไม่เป็นสมณะแล้ว จึงเสพเมถุนธรรมในสตรีเลี้ยงโคนั้น  ไปถึงเมืองโกสัมพีแล้ว แจ้งเรื่องนี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ จึงกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติปาราชิก เพราะอทินนาทาน แต่ต้องอาบัติปาราชิก  เพราะเสพเมถุนธรรม.

ภิกษุสามารถป้องกันตนเองจากอันตรายได้...ไม่เป็นอาบัติ เล่ม 4 หน้า766

[ว่าด้วยการให้ประหารด้วยฝ่ามือ]

ในคำว่า  ปหาร เทติ อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส  นี้ มีวินิจฉัยว่า
เมื่อภิกษุให้ประหารด้วยความเป็นผู้ประสงค์จะประหาร ถ้าแม้นผู้ถูกประหารตายก็เป็นเพียงปาจิตตีย์.  เพราะการประหาร (นั้น) มือหรือเท้าหัก หรือศีรษะแตกก็เป็นปาจิตตีย์เท่านั้น.  ตัดหู  หรือตัดจมูก  ด้วยความประสงค์จะทำให้เสียโฉมอย่างนี้ว่า เราจะทำเธอให้หมดสง่าในท่ามกลางสงฆ์   ก็เป็นทุกกฏ.

บทว่า อนุปสมฺปนฺนสฺส   มีความว่า   ภิกษุให้ประหารแก่คฤหัสถ์
หรือบรรพชิต แก่สตรีหรือบุรุษ โดยที่สุด แม้แก่สัตว์ดิรัจฉาน เป็นทุกกฏ.
แต่ถ้าว่า มีจิตกำหนัด ประหารหญิง เป็นสังฆาทิเสส.

สองบทว่า เกนจิ วิเหยมาโน ได้แก่ ถูกมนุษย์ หรือสัตว์ดิรัจฉานเบียดเบียนอยู่.

บทว่า โมกฺขาธิปฺปาโย  คือ ปรารถนาความพ้นแก่ตนเองจากมนุษย์เป็นต้น นั้น.

สองบทว่า  ปหาร เทติ มีความว่า ภิกษุให้ประหารด้วยกาย ของเนื่องด้วยกาย  และของที่ขว้างไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่เป็นอาบัติ. ถ้าแม้นภิกษุเห็นโจรก็ดี ข้าศึกก็ดี มุ่งจะเบียดเบียนในระหว่างทางกล่าวว่า    แน่ะอุบาสก ! เธอจงหยุดอยู่ในที่นั้นนั่นแหละ, อย่าเข้ามา แล้วประหารผู้ไม่เชื่อฟังคำกำลัง
เดินเข้ามาด้วยไม้ค้อน หรือด้วยศัสตราพร้อมกับพูดว่า ไปโว้ย แล้วไปเสีย.
ถ้าเขาตายเพราะการประหารนั้น ไม่เป็นอาบัติเหมือนกัน.แม้ในพวกเนื้อร้าย
ก็นัยนี้เหมือนกัน. คำที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.

ก็สมุฏฐานเป็นต้น ของสิกขาบทนั้น เป็นเช่นเดียวกับปฐมปาราชิก
แต่สิกขาบทนี้เป็นทุกขเวทนา  ดังนี้แล.

 เจดีย์มี 3อย่าง (ไม่มีมีพุทธรูป) เล่ม 30 หน้า267

พระอานนทเถระรับว่า  ดีละ แล้วทูลถามพระตถาคตว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เจดีย์มีกี่อย่าง. พระศาสดาตรัสตอบว่า มีสามอย่างอานนท์.พระอานนทเถระทูลถามว่า สามอย่างอะไรบ้างพระเจ้าข้า.
พระศาสดาตรัสว่า ธาตุเจดีย์ ๑  ปริโภคเจดีย์ ๑  อุทเทสิกเจดีย์ ๑. 
 พระอานนทเถระทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  เมื่อพระองค์เสด็จจาริกไป ข้าพระองค์อาจกระทำเจดีย์
ได้หรือ.  พระศาสดาตรัสว่า อานนท์  สำหรับธาตุเจดีย์ไม่อาจทำได้ เพราะธาตุเจดีย์นั้น  จะมีได้ในกาลที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว  สำหรับอุทเทสิกเจดีย์ก็ไม่มีวัตถุปรากฏ เป็นเพียงเนื่องด้วยตถาคตเท่านั้น ต้นมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าอาศัยเป็นที่ตรัสรู้  ถึงพระพุทธเจ้าจะยังทรงพระชนม์อยู่ก็ตาม   ปรินิพพานแล้วก็ตาม เป็นเจดีย์ได้เหมือนกัน.

 ธรรมเจดีย์=อุทเทสิกเจดีย์ เล่ม 21 หน้า202

ตรัสธรรมเจดีย์

[๕๗๐]  ครั้งนั้นแล เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าปเสนทิโกศลพระองค์นี้ ตรัสธรรมเจดีย์ คือพระวาจาเคารพธรรม ทรงลุกจากที่ประทับนั่งแล้วเสด็จหลีกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเรียนธรรมเจดีย์นี้ไว้ จงทรงจำธรรมเจดีย์นี้ไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเจดีย์ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นอาทิพรหมจรรย์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นพากันชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.

ถูปารหบุคคล4  เล่ม 13 หน้า320

ถูปารหบุคคล  ๔
 
[๑๓๔]  ดูก่อนอานนท์  ถูปารหบุคคล  ๔ เหล่านี้. ถูปารหบุคคล  ๔เป็นไฉน. 
คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ๑
สาวกของพระตถาคต ๑  
พระเจ้าจักรพรรดิ ๑.

มหาศึล (การปลุกเสก ฯลฯ)...ผิด เล่ม 11 หน้า315..

มหาศีล

(๑๑๔ )  ๑. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทายอวัยวะ ทายนิมิต  ทายฟ้าผ่าเป็นต้น  ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ ทำนายหนูกัดผ้า  ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ ทำพิธีซัดรำบูชาไฟ ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ  ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่าบูชาไฟ ทำพลีกรรมด้วยโลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ ดูลักษณะที่บ้าน ดูลักษณะที่นา เป็นหมอปลุกเสก เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน เป็นหมองูเป็นหมอยาพิษ เป็นหมอแมลงป่อง เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด เป็นหมอทายเสียงนก เป็นหมอทายเสียงกา เป็นหมอทายอายุ เป็นหมอเสกกันลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.....

พระธรรมวินัยคือตัวแทนพระพุทธเจ้า เล่ม ๑๓  หน้า๓๒๐

"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า
ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี
ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว
ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ
โดยกาลล่วงไปแห่งเรา"

เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค
เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐

-วัดป่าสามแยก ศึกษาพระธรรมวินัย เบิกบุญ โอนบุญ อกหัก โดนของ ธรรมะ ธรรมทาน คลายเครียด เจริญรุ่งเรือง //www.samyaek.com

-เวบพี่ดาบตำรวจต้น http://www.piyavat.com

-Facebook พุทธพจน์ //www.facebook.com/login.php?next=http%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fgroups%2FBuddhaspeech

-Download free พระไตรปิฏกพร้อมหัวข้อธรรมสำหรับ apple ipad & iphone ดูรายละเอียดได้ที่เวบ //www.tripitaka91.com ส่วนAndroid ประมาณเดือนมกราคมค่ะ

****หมายเหตุ "แสดงธรรมวันอาสาฬหบูชา ปี 2555" (//youtu.be/l52iDWt3V5Q ) นาทีที่ 6:01:55 ..เป็นต้นไป หลวงปู่ท่านได้พูดถึง ทนายชนอณุพงศ์ ชัยธนาวิรัตน์ ท่านใดมีปัญหาด้านกฏหมาย,คดีความต่างๆ ปรึกษาได้ที่ ทนายชนอณุพงศ์ ชัยธนาวิรัตน์ ที่เมล์ pasponglawyer@hotmail.com ,เบอร์โทรที่ 0818060981 , 0867809391 ****




 

Create Date : 23 กุมภาพันธ์ 2556
3 comments
Last Update : 23 กุมภาพันธ์ 2556 19:21:03 น.
Counter : 2306 Pageviews.

 

ทุกๆ วันเสาร์เวลาประเทศไทย โดยประมาณ 20:30 น.มีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก เทศน์โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล จากสำนักสงฆ์ป่าสามแยก

รับชมได้ที่
ดูวีดีโอช่องที่ 1 (สำหรับผู้ที่อินเตอร์เน็ทช้า: 56k)
www.samyaek.com

ดูวีดีโอช่องที่ 2 (สำหรับผู้ที่อินเตอร์เน็ทเร็ว: 212k)
www.samyaek.com/?channel=2

สำหรับท่านที่มีปัญหาดูถ่ายทอดสดไม่ได้
www.samyaek.com/board2/index.php?topic=2303.0

การใช้ iPad, iPhone, iPod touch ดูถ่ายทอดสด
www.samyaek.com/board2/index.php?topic=5531.0

วิธีใช้ Tablet ตระกูล Android ดูถ่ายทอดสด
www.samyaek.com/board2/index.php?topic=5512.0

สมาชิกท่านใดมีปัญหาในการรับชม
(ปัญหาอันเกิดจากคอมพิวเตอร์ของท่านเอง)

หากได้แก้ไขตามลิงค์ต่างๆ ข้างต้นแล้ว ก็ยังไม่สามารถรับชมได้
ให้ท่านติดต่อสอบถามได้ที่ คุณชัยณรงค์ รัตนเกษมสุข (เม้ง)
Dtac : 081-554-1699 , AIS 081-935-1651
e-mail : macmagic99@hotmail.com

 

โดย: Budratsa 23 กุมภาพันธ์ 2556 15:07:24 น.  

 

...แจกฟรี...CD พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด 91 เล่ม ของมหามกุฏราชวิทยาลัย และDVD จากการแสดงธรรมของหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล ได้ที่www.samyaek.com กระดาน "แจกสื่อธรรม" หากท่านใดยังไม่ได้สมัครสมาชิก ใช้
Username : Media
Password : 123456

 

โดย: Budratsa 23 กุมภาพันธ์ 2556 15:07:46 น.  

 

ท่านใดต้องการพระสูตรเสียงอ่านทั้งหมด
แบบถูกต้อง ไม่มีลิขสิทธิ์ เพราะรวบรวมจากเวปทั้งหมด ที่ให้ดาวน์โหลด

จำนวนไฟล์ เกือบ 7Gb ใช้แผ่น dvd 2แผ่น ติดต่อไปที่คุณสาธิต

ส่งที่อยู่ไปที่อีเมล tripitaka91@live.com

 

โดย: Budratsa 23 กุมภาพันธ์ 2556 15:08:13 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Budratsa
Location :
พิจิตร Switzerland

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกๆคนค่ะ
"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา" เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐
Friends' blogs
[Add Budratsa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.