"ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตย่อมไม่มี พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี....." "พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง, เป็นหูที่วิเศษยิ่ง, เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง, เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง, เป็นกายที่วิเศษยิ่ง, เป็นใจที่วิเศษยิ่ง, เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง, เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง, เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง, เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง, เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง"จากวัดสามแยก
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
2425262728 
 
18 กุมภาพันธ์ 2556
 
All Blogs
 
บรรลุอรหันต์แล้วต้องบวชเท่านั้น โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล 24 พ.ย. 2555

คฤหัสถ์ที่บรรลุอรหันต์ต้องบวชในวันนั้น(เรื่องพระนางเขมา) เล่ม43หน้า301

ในร่างกายนี้ไม่มีสาระ

พระศาสดาทรงทราบเนื้อความที่พระนางมีมานะจัดเกิดขึ้นในรูปนั้น เมื่อจะทรงแสดงรูปนั้นด้วยอำนาจวัยมีปฐมวัยเป็นต้น จึงทรงแสดงทำให้เหลือเพียงกระดูกในที่สุด โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลังนั้นแล. พระนางเขมาพอทอดพระเนตรเห็นรูปนั้น  จึงทรงดำริว่า "รูปนั้นแม้เห็นปานนี้ ก็ถึงความสิ้นความเสื่อมไปโดยครู่เดียวเท่านั้น, สาระในรูปนี้ ไม่มีหนอ ?"

พระศาสดาทรงตรวจดูวาระจิตของพระนางเขมานั้นแล้ว จึงตรัสว่า
" เขมา เธอคิดว่า 'สาระมีอยู่ในรูปนี้หรือ ?' เธอจงดูความที่รูปนั้นหาสาระมิได้ ในบัดนี้"  แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-

" เขมา  เธอจงดูร่างกายอันอาดูร ไม่สะอาดเน่า
เปื่อย ไหลออกทั้งข้างบน  ไหลออกทั้งข้างล่าง
อันคนพาลทั้งหลาย ปรารถนายิ่งนัก."

ในกาลจบพระคาถา พระนางดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพระนางว่า "เขมา สัตว์เหล่านี้ เยิ้มอยู่ด้วยราคะ ร้อนอยู่ด้วยโทสะ งงงวยอยู่ด้วยโมหะ จึงไม่อาจเพื่อก้าวล่วงกระแสตัณหาของตนไปได้ ต้องข้องอยู่ในกระแสตัณหานั้นนั่นเอง "
ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

" สัตว์ผู้กำหนัดแล้วด้วยราคะ ย่อมตกไปสู่กระ-
แสตัณหา เหมือนแมลงมุม ตกไปยังใยที่ตัวทำไว้
เองฉะนั้น. ธีรชนทั้งหลาย ตัดกระแสตัณหาแม้นั้น
แล้ว  เป็นผู้หมดห่วงใย ละเว้นทุกข์ทั้งปวงไป."

ในกาลจบเทศนา  พระนางเขมาทรงดำรงอยู่ในพระอรหัต.  เทศนา
ได้มีประโยชน์แม้แก่มหาชนแล้ว.  พระศาสดาตรัสกะพระราชาว่า
" มหาบพิตร พระนางเขมาจะบวชหรือปรินิพพาน จึงควร ?"
พระราชา. โปรดให้พระนางบวชเถิด  พระเจ้าข้า,   อย่าเลยด้วยการ
ปรินิพพาน.

พระนางบรรพชาแล้ว ก็ได้เป็นสาวิกาผู้เลิศ ดังนี้แล. 

เล่ม58หน้า117

พระศาสดาตรัสเรียกภัททิยเศรษฐีมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนมหาเศรษฐี บุตรของท่านประดับประดาตกแต่งแล้วฟังธรรมกถาได้ดำรงอยู่ในพระอรหัต  เพราะฉะนั้น  วันนี้  บุตรของท่านควรจะบรรพชา  หรือควรจะปรินิพพาน.
ภัททิยเศษฐีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กิจด้วยการปรินิพพานแห่งบุตรของข้าพระองค์ ย่อมไม่มี  ขอพระองค์จงให้บุตรของข้าพระองค์นั้นบรรพชาเถิด พระเจ้าข้า
 
ก็แหละครั้นให้บรรพชา ขอพระองค์
จงพาบุตรของข้าพระองค์นั้น เข้าไปยังเรือนข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้เถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว พากุลบุตรเสด็จไปยังพระวิหารให้บรรพชาอุปสมบท. บิดามารดาของพระภัททชินั้นกระทำ
มหาสักการะ  ๗ วัน  พระศาสดาประทับอยู่  ๗  วัน  ทรงพากุลบุตรเที่ยวจาริกไปถึงโกฏิคาม...

เล่ม20หน้า445
แม้บุคคลเหล่าใดดำรงเพศคฤหัสถ์คือ สันตติมหาอำมาตย์ อุคคเสนะ เศรษฐีบุตร วีตโสกธารกะ ก็บรรลุ
พระอรหัตได้. แม้บุคคลเหล่านั้น ก็ยังความใคร่ในสังขารทั้งปวงให้แห้งไปด้วยมรรคแล้วบรรลุได้.แต่เมื่อบรรลุแล้วก็ไม่ตั้งอยู่ด้วยเพศนั้น. ชื่อว่าเพศคฤหัสถ์นี้เลว ไม่สามารถทรงคุณอันสูงสุดไว้ได้. เพราะฉะนั้น ผู้ตั้งอยู่ในเพศคฤหัสถ์นั้นบรรลุพระอรหัตแล้วย่อมบวช หรือปรินิพพานในวันนั้นเอง.

ทักษิณาวิภังคสูตร ว่าด้วยลำดับและผลแห่งการให้ทาน  เล่ม23 หน้า393-394

[๗๑๐]  ดูก่อนอานนท์ ก็ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิกมี ๑๔ อย่าง คือ
ให้ทานในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑.
ให้ทานในพระปัจเจกสัมพุทธะ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๒.
ให้ทานในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๓.
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๔.
ให้ทานแก่พระอนาคามี  นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๕.
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๖.
ให้ทานแก่พระสาทกคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๗.
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่  ๘.
ให้ทานในพระโสดาบัน  นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๙.
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่  ๑๐.
ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๑.
ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๒.
ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๓
ให้ทานในสัตว์เดียรัจฉานนี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๔.

๗๑๑]  ดูก่อนอานนท์ ใน ๑๔ ประการนั้น
บุคคลให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ร้อยเท่า 
ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผลทักษิณาได้พันเท่า    
ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้แสนเท่า.
ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณาได้แสนโกฏิเท่า.   
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาจะนับไม่ได้    
จะประมาณไม่ได้ จะป่วยกล่าวไปไยในพระโสดาบัน
ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ในพระสกทาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติ
เพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ในพระอนาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง
ในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ในปัจเจกสัมพุทธะ และในตถาคตอรหันต์ สัมมาสัมพุทธเจ้า.

เวลามสูตร  ว่าด้วยการให้ทานที่มีผลมาก เล่ม 37หน้า775-778

[๒๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเครษฐี ใกล้ประนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดีในตระกูลของท่าน ยังให้ทานอยู่บ้างหรือหนอ.

ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญในตระกูลของข้าพระองค์ยังให้ทานอยู่   แต่ทานนั้นเป็นของเศร้าหมองเป็นปลายข้าว มีน้ำผักดองเป็นที่สอง.

พ. ดูก่อนคฤหบดี บุคคลให้ทานอันเศร้าหมองหรือประณีตก็ตามแต่ให้ทานนั้นโดยไม่เคารพ ไม่ทำความนอบน้อมให้ ไม่ให้ด้วยมือตนเอง ให้ของที่เหลือ ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมให้ทาน ทานนั้นๆ ย่อมบังเกิดผลในตระกูลใดๆ ในตระกูลนั้นๆ จิตของผู้ให้ทานย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคอาหารอย่างดี  ย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคผ้าอย่างดี ย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคยานอย่างดี ย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ อย่างดี แม้บริวารชนของผู้ให้ทานนั้น คือ บุตร ภรรยา ทาส คนใช้ คนทำงาน ก็ไม่เชื่อฟัง ไม่เงี่ยหูฟังส่งจิตไปที่อื่นเสีย ข้อนั้นเพราะเหตุไร ทั้งนี้เป็นเพราะผลแห่งกรรมที่ตนกระทำโดยไม่เคารพ.

ดูก่อนคฤหบดี  บุคคลให้ทานอันเศร้าหมองหรือประณีตก็ตามแต่ให้ทานนั้นโดยเคารพ ทำความนอบน้อมให้ ให้ด้วยมือตนเองให้ของที่ไม่เหลือ เชื่อกรรมและผลของกรรมให้ทาน ทานนั้นๆ บังเกิดผลในตระกูลใดๆ ในตระกูลนั้น ๆ จิตของให้ทานย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคอาหารอย่างดี ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคผ้าอย่างดีย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคยานอย่างดี  ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ อย่างดี แม้บริวารชนของผู้ให้ทานนั้น คือ บุตร ภรรยา ทาส คนใช้ คนทำงาน ก็เชื่อฟังดี เงี่ยหูฟัง ไม่ส่งจิตไปที่อื่น ข้อนั้นเพราะเหตุไร ทั้งนี้เป็นเพราะผลของกรรมที่ตนกระทำโดยเคารพ.

ดูก่อนคฤหบดี เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพราหมณ์ชื่อเวลามะพราหมณ์ผู้นั้นได้ให้ทานเป็นมหาทานอย่างนี้ คือ ได้ให้ถาดทองเต็มด้วยรูปิยะ ๘๔,๐๐๐  ถาด ถาดรูปิยเต็มด้วยทอง ๘๔,๐๐๐ ถาดถาดสำริดเต็มด้วยเงิน ๘๔,๐๐๐ ถาด ให้ช้าง ๘๔,๐๐๐๐ เชือกมีเครื่องประดับล้วนเป็นทอง มีธงทอง คลุมด้วยข่ายทอง ให้รถ ๘๔,๐๐๐ คัน หุ้มด้วยหนังราชสีห์ หนังเสือโคร่ง หนังเสือเหลือง ผ้ากัมพลเหลือง มีเครื่องประดับล้วนเป็นทอง มีธงทอง คุมด้วยข่ายทอง ให้แม่โคนม ๘๔,๐๐๐ ตัว มีน้ำนมไหลสะดวกใช้ภาชนะเงินรองน้ำนม  ให้หญิงสาว  ๘๔,๐๐๐ คน ประดับด้วยแก้วมณีและแก้วกุณฑล ให้บัลลังก์  ๘๔,๐๐๐ ที่ ลาดด้วยผ้าโกเชาว์ ลาดด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดมีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ มีเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชมด มีเครื่องลาดเพดาน มีหมอนข้างแดงทั้งสองให้ผ้า ๘๔,๐๐๐ โกฏิ เป็นผ้าเปลือกไม้ ผ้าแพร ผ้าฝ้าย เนื้อละเอียดจะป่วยกล่าวไปไยถึงข้าว น้ำ ของเคี้ยว ของบริโภค เครื่องลูบไล้ที่นอน ไหลไปเหมือนแม่น้ำ

ดูก่อนคฤหบดี ก็ท่านพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า สมัยนั้น ผู้อื่นไม่ใช่เวลามพราหมณ์ที่ให้ทานเป็นมหาทานนั้น ดูก่อนคฤหบดี แต่ท่านไม่ควรเห็นอย่างดี สมัยนั้นเราเป็นเวลาพราหมณ์ เราไปให้ทานนั้นเป็นมหาทาน ก็ในทานนั้น ไม่มีใครเป็นพระทักขิเณยยบุคคล ใคร ๆ ไม่ชำระทักขิณานั้นให้หมดจด ก่อนคฤหบดี ทานที่บุคคลเชื้อเชิญท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่เวลาพราหมณ์ให้แล้วทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิร้อยท่านบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิร้อยท่านบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิผู้เดียวบริโภค ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีเดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิร้อยท่านบริโภค ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีร้อยท่านบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีเดียวบริโภค ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระอนาคามีผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีร้อยท่านบริโภคทานที่บุคคลเชื้อเชิญพระอนาคามีร้อยท่านบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญพระอนาคามีเดียวบริโภค ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระอนาคามีร้อยท่านบริโภค ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ร้อยท่านบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ผู้เดียวบริโภค ทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธิเจ้ารูปเดียวบริโภค ผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ร้อยรูปบริโภค ทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้าร้อยรูปบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปเดียวบริโภค ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภคมีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้าร้อยรูปบริโภค ทานที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภค การที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์ผู้มาจากจาตุรทิศมีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภค การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ มีผลมากกว่าทานที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์อันมาจากจาตุรทิศ การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดย ที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม  มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบทคือ  งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ดูก่อนคฤหบดี ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่ามหาทานที่เวลามพราหมณ์ให้แล้ว...การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต...และการที่บุคคลเจริญอนิจจสัญญาแม้เพียงเวลาลัดนิ้วมือ มีผลมากกว่าการที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุด แม้เพียงเวลาสูดดมของหอม.

จบ  เวลามสูตรที่๑

-วัดป่าสามแยก ศึกษาพระธรรมวินัย เบิกบุญ โอนบุญ อกหัก โดนของ ธรรมะ ธรรมทาน คลายเครียด เจริญรุ่งเรือง //www.samyaek.com

-เวบพี่ดาบตำรวจต้น http://www.piyavat.com

-Facebook พุทธพจน์ //www.facebook.com/login.php?next=http%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fgroups%2FBuddhaspeech

-Download free พระไตรปิฏกพร้อมหัวข้อธรรมสำหรับ apple ipad & iphone ดูรายละเอียดได้ที่เวบ //www.tripitaka91.com 

****หมายเหตุ "แสดงธรรมวันอาสาฬหบูชา ปี 2555" (//youtu.be/l52iDWt3V5Q ) นาทีที่ 6:01:55 ..เป็นต้นไป หลวงปู่ท่านได้พูดถึง ทนายชนอณุพงศ์ ชัยธนาวิรัตน์ ท่านใดมีปัญหาด้านกฏหมาย,คดีความต่างๆ ปรึกษาได้ที่ ทนายชนอณุพงศ์ ชัยธนาวิรัตน์ ที่เมล์ pasponglawyer@hotmail.com ,เบอร์โทรที่ 0818060981 , 0867809391 ****




Create Date : 18 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 18 กุมภาพันธ์ 2556 0:11:22 น. 1 comments
Counter : 1410 Pageviews.

 
ทุกๆ วันเสาร์เวลาประเทศไทย โดยประมาณ 20:30 น.มีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก เทศน์โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล จากสำนักสงฆ์ป่าสามแยก

รับชมได้ที่
ดูวีดีโอช่องที่ 1 (สำหรับผู้ที่อินเตอร์เน็ทช้า: 56k)
www.samyaek.com

ดูวีดีโอช่องที่ 2 (สำหรับผู้ที่อินเตอร์เน็ทเร็ว: 212k)
www.samyaek.com/?channel=2

สำหรับท่านที่มีปัญหาดูถ่ายทอดสดไม่ได้
www.samyaek.com/board2/index.php?topic=2303.0

การใช้ iPad, iPhone, iPod touch ดูถ่ายทอดสด
www.samyaek.com/board2/index.php?topic=5531.0

วิธีใช้ Tablet ตระกูล Android ดูถ่ายทอดสด
www.samyaek.com/board2/index.php?topic=5512.0

สมาชิกท่านใดมีปัญหาในการรับชม
(ปัญหาอันเกิดจากคอมพิวเตอร์ของท่านเอง)

หากได้แก้ไขตามลิงค์ต่างๆ ข้างต้นแล้ว ก็ยังไม่สามารถรับชมได้
ให้ท่านติดต่อสอบถามได้ที่ คุณชัยณรงค์ รัตนเกษมสุข (เม้ง)
Dtac : 081-554-1699 , AIS 081-935-1651
e-mail : macmagic99@hotmail.com



โดย: Budratsa วันที่: 18 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:0:02:39 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Budratsa
Location :
พิจิตร Switzerland

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกๆคนค่ะ
"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา" เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐
Friends' blogs
[Add Budratsa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.