"ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตย่อมไม่มี พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี....." "พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง, เป็นหูที่วิเศษยิ่ง, เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง, เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง, เป็นกายที่วิเศษยิ่ง, เป็นใจที่วิเศษยิ่ง, เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง, เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง, เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง, เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง, เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง"จากวัดสามแยก
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2554
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
24 มิถุนายน 2554
 
All Blogs
 
หลวงปู่เกษม แสดงธรรม ตอบปัญหาชุด พื้นฐานผู้ศึกษาใหม่ๆในศาสนาพุทธ

ชุดที่ ๐๖๙ แสดงธรรมชุด "พื้นฐานผู้ศึกษาใหม่ๆ ในศาสนาพุทธ" (๓ มกราคม ๒๕๕๔)ตอน 1-4( จบ)
เนื้อหาบางส่วนจากการแสดงธรรมชุดนี้
     ๑. คบหาภิกษุทุศีลจะประสบทุกข์ตลอดกาลนาน
     ๒. ทองเหลือง อิฐ ปูนไม่ใช่ตัวแทนพระพุทธเจ้า
     ๓. วิธีป้องกันผีสิง และอมนุษย์เบียดเบียน
     ๔. อานุภาพพระรัตนตรัยมีอยู่ชั่วอนันตกาล
     ๕. สรณะ คือที่พึ่ง ที่ระลึกสามารถกำจัดภัยได้จริง

หลวงปู่เกษม พื้นฐานผู้ศึกษาใหม่ๆ 1/4

หลวงปู่เกษม พื้นฐานผู้ศึกษาใหม่ๆ 2/4

หลวงปู่เกษม พื้นฐานผู้ศึกษาใหม่ๆ 3/4

หลวงปู่เกษม พื้นฐานผู้ศึกษาใหม่ๆ 4/4


ความหมายของพุทธ ธรรม สงฆ์ (อภยเภรวสูตร)เล่ม17หน้า327บรรทัด3
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 327


ของบุคคลผู้ถึงสรณะให้พินาศไปด้วยการถึงสรณะนั้นแล.    คำว่า  สรณะ
นั่นเป็นชื่อเรียกพระรัตนตรัย.
อีกอย่างหนึ่ง   ที่ชื่อว่า  พุทธะ   เพราะหมายความว่า    ขจัดซึ่งภัย
ของสัตว์ทั้งหลายโดยทำสัตว์ทั้งหลายให้เป็นไปในประโยชน์เกื้อกูลและถอย
กลับจากสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล.
ที่ชื่อว่า  ธรรม     เพราะทำสัตว์ทั้งหลายให้ช่วยข้ามพ้นจากกันดาร
คือภพและเพราะให้ความเบาใจแก่สัตว์ทั้งหลาย      ที่ชื่อว่า   สงฆ์  เพราะ
ทำสักการะทั้งหลายแม้เป็นของน้อยค่าให้ได้รับผลอันไพบูลย์  เพราะฉะนั้น
พระรัตนตรัยจึงชื่อว่า  สรณะ  โดยบรรยายนี้ด้วย.
จิตตุปบาท  (ความเกิดความคิดขึ้น)  ที่มีกิเลสอันถูกขจัดแล้วด้วย
ความเป็นผู้เคารพเลื่อมใสในสรณะนั้น       อันเป็นไปโดยอาการที่มีความ
เคารพเลื่อมใสในพระรัตนตรัยนั้นเป็นเบื้องหน้า  ชื่อว่า  สรณคมน์.
สัตว์ผู้พรั่งพร้อมด้วยสรณคมน์นั้น     ชื่อว่า  ถึงสรณะ.  อธิบายว่า
ย่อมเข้าถึงรัตนะทั้ง ๓ เหล่านี้ว่าเป็นสรณะ     (ที่ระลึก  ที่พึ่ง)    ว่าเป็น
ปรายนะ (เครื่องนำทาง) ด้วยจิตตุปบาทมีประการดังกล่าวแล้ว. นักศึกษา
พึงทราบ  สรณะ  การถึงสรณะ  และผู้ถึงสรณะ  ทั้ง ๓ อย่างนี้ก่อน.


อานุภาพพระรัตนตรัยมีอยู่ชั่วอนันตกาล เป็นอานุภาพเหรือสิ่งใดๆ (วัฏฏกโปตกจริยา) เล่ม74หน้า474บรรทัด7
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 474


ก่อนเราสะดุ้งหวาดหวั่น   พึงเข้าไปซ่อนตัวอยู่
ในระหว่างปีของมารดาบิดา  บัดนี้   มารดาบิดา
ทิ้งเราหนีไปเสียแล้ว   วันนี้    เราจะทำอย่างไร
ศีลคุณ   ความสัตย์    พระสัพพัญญูพุทธเจ้าผู้
ประกอบด้วยความสัตย์     เอ็นดูกรุณามีอยู่ใน
โลก  ด้วยความสัตย์นั้น  เราจักกระทำสัจจกิริยา
อันสูงสุด  เราคำนึงถึงกำลังพระธรรม  ระลึกถึง
พระพุทธเจ้าผู้พิชิตมารอันมีในก่อน  ได้กระทำ
สัจจกิริยา  แสดงกำลังความสัตย์ว่า    ปีกของ
เรามีอยู่   แต่ยังบินไม่ได้   เท้าของเรามีอยู่  แต่
ยังเดินไม่ได้   มารดาบิดาก็พากันบินออกไปแล้ว
แน่ะไฟ    จงกลับไป ( จงดับเสีย)  พร้อมกับ
เมื่อเรากระทำสัจจกิริยา   ไฟที่ลุกรุ่งโรจน์ใหญ่
หลวงเว้นไว้  ๑๖  กรีส  ไฟดับ ณ ที่นั้นเหมือน
จุ่มลงในน้ำ   ผู้เสมอด้วยความสัตย์ของเราไม่มี
นี้เป็นสัจจบารมีของเรา  ฉะนี้แล.
จบ  วัฏฏกโปตกจริยาที่  ๙


ผู้ถูกอมนุษย์เบียดเบียน หรือถูกสิงให้ศึกษา(อาฏานาฏิยสูตร) เล่ม16หน้า123บรรทัด3
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 123


๙.  อาฏานาฏิยสูตร
เรื่องท้าวจาตุมหาราช
[๒๐๗]    ข้าพเจ้า   ( พระอานนทเถระเจ้า )   ได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคเจ้า   ประทับอยู่  ณ  ภูเขาคิชฌกูฏ  ใกล้
เมืองราชคฤห์.   ครั้งนั้น   ท้าวมหาราชทั้ง  ๔  ตั้งการคุ้มครองไว้ทั้ง  ๔  ทิศ
ตั้งกองทัพไว้ทั้ง  ๔  ทิศ  ตั้งการป้องกันไว้ทั้ง ๔ ทิศ  ด้วยเสนายักษ์กองใหญ่
ด้วยเสนาคนธรรพ์กองใหญ่   ด้วยเสนากุมภัณฑ์กองใหญ่และด้วยเสนานาค
กองใหญ่    เมื่อล่วงราตรีไปแล้ว    มีรัศมีงามยิ่ง    ยังภูเขาคิชฌกูฏทั้งสิ้นให้
สว่างไสว     แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า     ถึงที่ประทับ     ถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว    นั่ง  ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.     ฝ่ายยักษ์เหล่านั้น
บางพวก    ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว   นั่ง  ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
บางพวกได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า    ครั้นสัมโมทนียกถา  อันเป็นที่
ระลึกถึงกันผ่านไปแล้วจึงนั่ง ณ   ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประณมอัญชลี
ไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ  แล้วนั่ง ณ  ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวก
ประกาศชื่อและโคตรแล้วนั่ง   ณ  ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกนั่งนิ่งอยู่
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[๒๐๘]   ท้าวเวสวัณมหาราชประทับนั่ง   ณ  ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยักษ์ชั้นสูงบางพวก
มิได้เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี  ยักษ์ชั้นสูงบางพวกที่เลื่อมใสต่อ


ภิกษุเปรียบเหมือนผ้าเปลือกไม้(นวสูตร)เล่ม34หน้า489บรรทัด3
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 489


๘.  นวสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่เปรียบได้กับผ้าเปลือกไม้ ๓ ชนิด
[๕๓๙]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผ้าเปลือกไม้ แม้ใหม่ก็สีทราม  สัมผัส-
หยาบ   และราคาถูก   แม้กลางใหม่กลางเก่าก็สีทราม สัมผัสหยาบ  และราคาถูก
แม้เก่าแล้วก็สีทราม     สัมผัสหยาบ     และราคาถูก   ผ้าเปลือกไม้ที่คร่ำคร่าแล้ว
เขาก็ทำเป็นผ้าเช็ดหม้อข้าวบ้าง  ทิ้งเสียที่กองขยะบ้างฉันใด
ฉันนั้นนั่นแหละ   ภิกษุทั้งหลาย   ภิกษุนวกะก็ดี     ภิกษุมัชฌิมะก็ดี
ภิกษุเถระก็ดี    ถ้าเป็นผู้ทุศีลมีธรรมอันเลว    เรากล่าวความทุศีลมีธรรมเลวนี้
ในความมีสีทรามของภิกษุ  กล่าวบุคคลนี้ว่าเหมือนผ้าเปลือกไม้มีสีทรามฉะนั้น
อนึ่ง   ชนเหล่าใดคบหาสมาคม    ทำตามเยี่ยงอย่างภิกษุนั้น     ข้อนั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งอันไม่เกื้อกูลเพื่อทุกข์แก่ชนเหล่านั้น  ตลอดกาลนาน เรากล่าว
การคบหาสมาคมทำตามเยี่ยงอย่างที่เป็นเหตุให้เกิดสิ่งอันไม่เกื้อกูลเกิดทุกข์นี้
ในความมีสัมผัสหยาบของภิกษุ กล่าวบุคคลนี้ว่า  ดุจผ้าเปลือกไม้มีสัมผัสหยาบ
ฉะนั้น
อนึ่ง  ภิกษุนั้นรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ  คิลานปัจจัย ... ของ
ชนเหล่าใด  ข้อนั้น   ย่อมไม่เป็นการมีผลานิสงส์มากแก่ชนเหล่านั้น  เรากล่าว
การรับปัจจัยอันไม่เป็นการมีผลานิสงส์มากแก่ทายกนี้      ในความมีราคาถูกของ
ภิกษุ  กล่าวบุคคลนี้ว่าเป็นดังผ้าเปลือกไม้มีราคาถูกฉะนั้น
อนึ่ง  ภิกษุเถระชนิดนั้น   กล่าวอะไรในท่ามกลางสงฆ์  ภิกษุทั้งหลาย
ก็กล่าวเอาว่า    ประโยชน์อะไรด้วยถ้อยคำของท่านผู้โง่เขลาอย่างท่านก็เผยอจะ
พูดด้วย  ภิกษุเถระนั้นโกรธน้อยใจ ก็จะใช้ถ้อยคำชนิดที่เป็นเหตุให้สงฆ์ลงอุก-
เขปนียกรรม  (คือห้ามไม่ให้ติดต่อเกี่ยวข้องกับภิกษุทั้งหลาย) เหมือนเขาทิ้ง
ผ้าเปลือกไม้เก่าเสียที่กองขยะฉะนั้น


บทสวดประกาศพระปริตร ผู้ที่ฟังเทศน์แล้ว ต้องการสวดพระปริตรเพื่อให้ตนเองหรือคนที่ตนเองรักใคร่ผูกพันอยู่สุขสำราญ ปลอดโปร่งจากพวกอมนุษย์ที่ไม่หวังดี (สำคัญมากผู้สวดต้องถือพุทธ ธรรม สงฆ์ ให้ถูกต้องมิเช่นนั้นการกล่าวจะไม่บรรลุผล) //www.samyaek.com/fileload/samyaek/prarit%207.pdด


แผนที่ชีวิต (สิงคาลกสูตร)  //www.samyaek.com/mambo/index.php?option=com_content&task=view&id=158&Itemid=41


ชีวิตปลอดภัยในต่างแดนได้ด้วย★ อำนาจพุทธ ธรรม สงฆ์
//www.samyaek.com/board2/index.php?topic=4557.จ


เรื่องพระพุทธรูปตามความเป็นจริง
//www.samyaek.com/board2/index.php?topic=1175.0


ดาวน์โหลดไฟล์รวมข้อมูลเพื่อการศึกษาพระไตรปิฎก
//www.samyaek.com/board2/index.php?topic=3230.msg19459#msg19459


พระไตรปิฏกอรรถกถา ชุด91 เล่ม
www.samyaek.com/pratripidok


พระสูตรที่ควรศึกษา //www.samyaek.com/fileload/samyaek/formular001.pdf?r=002


ใครต้องการ แจกซีดีและหนังสือธรรมะฟรี เข้ากระทู้นี้น่ะค่ะ //www.samyaek.com/media/viewforum.php?f=2&sid=323aac435d3c892cf2154d07c40476df


ถ้ายังไม่ได้สมัครสมาชิกใช้ User: media , Password : 123456 ค่ะ


ที่มา: //www.samyaek.com




Create Date : 24 มิถุนายน 2554
Last Update : 6 เมษายน 2556 19:39:58 น. 1 comments
Counter : 964 Pageviews.

 
แวะมาทักทายค่ะ


โดย: นาฬิกาสีชมพู วันที่: 24 มิถุนายน 2554 เวลา:18:33:11 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Budratsa
Location :
พิจิตร Switzerland

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกๆคนค่ะ
"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา" เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐
Friends' blogs
[Add Budratsa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.