"ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตย่อมไม่มี พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี....." "พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง, เป็นหูที่วิเศษยิ่ง, เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง, เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง, เป็นกายที่วิเศษยิ่ง, เป็นใจที่วิเศษยิ่ง, เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง, เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง, เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง, เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง, เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง"จากวัดสามแยก
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2555
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
6 ตุลาคม 2555
 
All Blogs
 
พระเกษม เตะ พระพุทธเจ้าปลอม โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล 11ก.ค.2555

 เนื้อหา บางส่วนจากการแสดงธรรมชุดนี้
      ๑. ทุกๆคน ต้องเคยเป็นมาหมดทุกๆอย่าง
      ๒. พระอริยะผู้มักมาก
      ๓. คำสอนอาจารย์บางอย่างถือได้ บางอย่างถือไม่ได้
      ๔. ถ้าคำสั่งไม่ถูกต้อง สามารถคัดค้านหรือเห็นแย้งได้
      ๕. มารเนรมิตหลุมถ่านเพลิงเพื่อขัดขวางไม่ให้คนทำดี
     ฯลฯ

ทุกๆคน ต้องเคยเป็นมาหมดทุกๆอย่าง(ทุคตสูตร) เล่ม26หน้า524

ว่าด้วยสงสารกำหนดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เหมือนทุคตบุรุษ

  สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ เธอทั้งหลายเห็นทุคตบุรุษผู้มีมือและเท้าไม่สมประกอบ พึงลงสันนิษฐานในบุคคลนี้ว่า เราทั้งหลายก็เคยเสวยทุกข์เห็นปานนี้มาแล้ว โดยกาลนานนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.

พระอริยะผู้มักมาก (มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่8) เล่ม4หน้า199

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้กล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์เพราะเหตุแห่งต้องเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส  หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

  อนึ่ง ภิกษุใดบอกอุตริมนุสธรรมแก่อนุปสัมบันเป็นปาจิตตีย์  เพราะมีจริง

คำสอนอาจารย์บางอย่างถือได้ บางอย่างถือไม่ได้(ปุจฉาวิสัชนาวัตถุ ๑๐ประการ) เล่ม9หน้า543

  ครั้งนั้น ท่านพระสมภูตสาณวาสี  ได้กล่าวกะท่านพระยสกา.
กัณฑกบุตรว่า
ท่านพระเรวตะรูปนี้ เป็นพหูสูต ชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรมทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม เป็นนักปราชญ์ มีความละอาย  มีความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา ถ้าพวกเราจักถามปัญหากะท่านพระเรวตะท่านพระเรวตะสามารถจะยังราตรีทั้งสิ้น ให้ล่วงไป ด้วยปัญหาข้อเดียวเท่านั้นก็แลบัดนี้ ท่านพระเรวตะจักเชิญพระอันเตวาสิกให้สวดสรภัญญะ ท่านนั้นเมื่อภิกษุรูปนั้น สวดสรภัญญะจบ พึงเข้าไปหาท่านพระเรวตะ แล้วถามวัตถุ๑๐ ประการนี้  ท่านพระยสกากัณฑกบุตรรับคำของท่านพระสัมภูตสาณวาสีแล้วท่านพระเรวตะได้เชิญพระอันเตวาสิก ให้สวดสรภัญญะแล้ว ท่านพระยสกากัณฑกบุตร เมื่อภิกษุนั้นสวดสรภัญญะจบ ได้เข้าไปหาท่านพระเรวตะ อภิวาทนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วถามว่า สิงคิโสณกัปปะ ควรหรือ ขอรับ.

พระเรวตะย้อนถามว่า  สิงคิโลณกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ
ย.  คือการเก็บเกลือไว้ในเขนงโดยตั้งใจว่าจักปรุงในอาหารที่จืดฉันควรหรือไม่ ขอรับ.
ร.  ไม่ควร ขอรับ.
ย.  อาจิณณกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ
ร.  อาจิณณกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ
ย.   คือการประพฤติวัตรด้วยเข้าใจว่า นี้พระอุปัชฌาย์ของเราเคยประพฤติมา  นี้พระอาจารย์ของเราเคยประพฤติมา  ควรหรือไม่ ขอรับ
ร.  อาจิณณกัปปะ บางอย่างควร บางอย่างไม่ควร ขอรับ
ย.  อมถิตกัปปะ ควรหรือไม่ ขอรับ
ร.  อมถิตกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ
ย.  คือนมสดละความเป็นนมสดแล้ว ยังไม่ถึงความเป็นนมส้ม ภิกษุฉันเสร็จ ห้ามภัตรแล้ว จะดื่มนมนั้นอันเป็นอนติริตตะ ควรหรือไม่ ขอรับ
ร.  ไม่ควร ขอรับ
ย.  ดื่มชโลคิ ควรหรือไม่ ขอรับ
ร.  ชโลคินั้น  คืออะไร   ขอรับ
ย.  คือการดื่มสุราอย่างอ่อนที่ยังไม่ถึงความเป็นน้ำเมา ควรหรือไม่ขอรับ
ร.  ไม่ควร ขอรับ
ย.   ผ้าปูนั่งไม่มีชาย ควรหรือไม่ ขอรับ
ร.  ไม่ควร ขอรับ
ย.   ทองและเงิน  ควรหรือไม่ ขอรับ
ร.  ไม่ควร   ขอรับ
ย.   ท่านเจ้าข้า พวกพระวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลีนี้แสดงวัตถุ ๑๐ประการเหล่านี้ ในเมืองเวสาลี ท่านเจ้าข้า ถ้าเช่นนั้น พวกเราจงช่วยกันยกอธิกรณ์นี้ขึ้น ในภายหน้าสภาพที่มิใช่ธรรมจักรุ่งเรื่อง ธรรมจักเสื่อมถอย สภาพที่มิใช่วินัยจักรุ่งเรื่อง วินัยจักเสื่อมถอย ในภายหน้าพวกอธรรมวาทีจักมีกำลังพวกธรรมวาทีจักเสื่อมกำลัง พวกอวินัยวาที จักมีกำลัง พวกวินัยวาทีจักเสื่อมกำลัง ท่านพระเรวตะรับคำท่านพระยสกากัณฑกบุตรแล้ว.

ถ้าคำสั่งไม่ถูกต้อง สามารถคัดค้านหรือเห็นแย้งได้(คัดค้านเมื่อทำกรรมไม่เป็นธรรม)เล่ม6หน้า443

เรื่องห้ามทำกรรมไม่เป็นธรรม

   ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ทำกรรมไม่เป็นธรรมในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับ สั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุไม่พึงทำกรรมไม่เป็นธรรมในท่ามกลางสงฆ์   รูปใดทำต้องอาบัติทุกกฏ.

พระฉัพพัคคีย์ยังขืนทำกรรมไม่เป็นธรรมอยู่ตามเดิม ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เราอนุญาตให้คัดค้านในเมื่อภิกษุทำกรรมไม่เป็นธรรม.

สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รักพากันคัดค้านในเมื่อพระฉัพพัคคีย์ทำกรรมไม่เป็นธรรม พระฉัพพัคคีย์ได้อาฆาต  เคืองแค้น คุกคามจะฆ่าเสีย ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำความเห็นแย้งได้.

ภิกษุทั้งหลายทำความเห็นแย้งในสำนักพระฉัพพัคคีย์เหล่านั้นนั่นแหละพระฉัพพัคคีย์ได้อาฆาต เคืองแค้น คุกคามจะฆ่าเสีย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ภิกษุ ๔-๕ รูปคัดค้าน  ให้ภิกษุ ๒-๓ รูปทำความเห็นแย้ง ให้ภิกษุรูปเดียวนึกในใจว่า กรรมนั้นไม่ควรแก่เรา.

มารเนรมิตหลุมถ่านเพลิงเพื่อขัดขวางไม่ให้คนทำดี(อ.ขทิรังคารชาดก) เล่ม55หน้า374

        ทันใดนั้น มารผู้มีบาปสั้นสะท้านลุกขึ้นแล้วคิดว่า พระปัจเจกพุทธเจ้านี้  ไม่ได้อาหารมา ๗ วันแล้วจากวันนี้ไป วันนี้ เมื่อไม่ได้จักฉิบหาย เราจักทำพระปักเจกพุทธเจ้านี้ให้พินาศ และจักทำอันตรายแก่ทานของเศรษฐี จึงมาในขณะนั้นทันที  แล้วเนรมิตหลุมถ่านเพลิงประมาณ ๘๐ ศอก ในระหว่างวัตถุสถานที่ตั้ง หลุมถ่านเพลิงนั้นเต็มด้วยถ่านเพลิงไม้ตะเคียน ไฟลุกโพลงมีแสงโชติช่วงปรากฏเหมือนอเวจีมหานรก ก็ครั้นเนรมิตหลุมถ่านเพลิงนั้นแล้วตนเองได้ยืนอยู่ในอากาศ บุรุษผู้มาเพื่อจะรับบาตรเห็นดังนั้นได้รับความกลัวอย่างใหญ่หลวงจึงกลับไป.

ผู้ใดโกรธตอบบุคคลผู้โกรธ ผู้นั้นย่อมเลวกว่า(อักโกสกสูตร)เล่ม25หน้า203

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

  "ผู้ไม่โกรธ  ฝึกฝนตนแล้ว  มีความเป็นอยู่สม่ำเสมอ หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ตอบสงบ คงที่อยู่ ความโกรธแล้ว ผู้นั้นเป็นผู้ใดโกรธตอบบุคคลผู้โกรธ แล้วผู้นั้นเป็นผู้ลามก กว่าบุคคลนั้นแหละ เพราะการโกรธตอบนั้น บุคคลไม่โกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว ชื่อว่าย่อมชนะสงครามอันบุคคลชนะได้โดยยาก ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้วเป็นผู้มีสติสงบเสียได้ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือแก่ตนและแก่บุคคลอื่น เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์อยู่ทั้งสองฝ่าย คือของตนและของบุคคลอื่น ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรมย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่า เป็นคนเขลา ดังนี้".

การบัญญัติพระวินัย เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าเท่านั้น(ปัญหาของพระสารีบุตร) เล่ม1หน้า354-55

[พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามท่านพระสารีบุตร]

ลำดับนั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงประกาศแก่พระสารีบุตรนั้นว่า  เวลานี้  ยังไม่เป็นกาลแห่งอันบัญญัติสิกขาบทก่อน จึงตรัสว่า อาคเมหิตฺวสารีปุตฺต ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น  คำว่า  อาคเมหิ  ตฺวความว่า  เธอจงรอก่อน  มีคำอธิบายว่า  เธอจงยับยั้งก่อน. ก็คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสซ้ำสองครั้ง  ด้วยอำนาจความเอื้อเฟื้อ.  ด้วยคำว่า  อาคเมหิเป็นต้นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามความที่การบัญญัติสิกขาบท เป็นวิสัยของพระสาวก เมื่อจะทรงทำให้แจ้งว่า  การบัญญัติสิกขาบทเป็นพุทธวิสัย

  พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงบัญญัติสิกขาบทนั้น  พระตถาคตเท่านั้นจักรู้กาลแห่งอันบัญญัติสิกขาบทนั้น.พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เพื่อจะแสดงสมัยมิใช่กาลก่อน อาสวะทั้งหลายย่อมตั้งอยู่ในธรรมเหล่านี้เพราะเหตุนั้น  ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ, อีกอย่างหนึ่งธรรมทั้งหลายอันอาสวะพึงตั้งอยู่ คือไม่พึงผ่านเลยไป  เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ, อาสวะคือทุกข์ และอาสวะคือกิเลส  อันเป็นไปในทิฏฐธรรมและในสัมปรายภพ อาสวะมีการค่อนขอดของคนอื่น ความวิปฏิสาร การฆ่าและการจองจำเป็นต้น และอาสวะอันเป็นทุกข์พิเศษในอบาย ย่อมตั้งอยู่นั่นเทียว ในวิติกกมธรรมเหล่าใด เพราะวีติกกมธรรมเหล่านั้น เป็นเหตุแห่งอาสวะมีอาสวะอันเป็นไปในทิฏฐธรรมเป็นต้นเหล่านั้น.

เสียงเทศน์ของพะอภิภูดังไปหมื่นโลกธาตุ(อรุณวตีสูตร) เล่ม25หน้า183-185

  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ในกาลนั้น พรหม พรหมบริษัท และพรหมปาริสชัชะทั้งหลาย ได้มีจิตพิศวงเกิดแล้วว่า น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยมีมาเลย ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ความที่สมณะเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ภิกษุอภิภูได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนานว่าสิขีว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ย่อมทราบข้าพระองค์เป็นผู้กล่าววาจาเห็นปานนี้ ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เราอยู่ที่พรหมโลกสามารถยังหมื่นโลกธาตุให้รู้แจ่มแจ้งด้วยเสียงได้.

    พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขีตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ เป็นกาลของเธอที่เธอดำรงอยู่ที่พรหมโลก พึงยังหมื่นโลกธาตุให้รู้แจ่มแจ้งด้วยเสียงได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอภิภูทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขีว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้าดังนี้แล้ว ดำรงอยู่ในพรหมโลก ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ว่า:-
   "ท่านทั้งหลายจงริเริ่ม จงก้าวหน้าจงประกอบ (ความเพียร) ในพระพุทธศาสนา จงกำจัดเสนาแห่งมัจจุเหมือนช้างกำจัดเรือนไม้อ้อฉะนั้น ผู้ใดจักไม่ประมาทในพระธรรมวินัยนี้อยู่ ผู้นั้นจักละสงสารคือชาติ แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้".

ลักษณะการตายของพระพุทธเจ้า(มหาปรินิพานสูตร)เล่ม13หน้า322

ปรินิพพาน

     ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้ว เข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว เข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว เข้าจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานแล้ว ทรงเข้าอากาสานัญจายตนะ  ออกจากอากาสานัญจายตสมาบัติแล้ว  เข้าวิญญาณัญจายตนะ  ออกจากวิญญาณัญจายตนสมาบัติแล้ว เข้าอากิญจัญญายตนะ ออกจากอากิญจัญญายตนะสมาบัติแล้ว เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมบัติแล้ว ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ.

     ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วหรือ ท่านพระอนุรุทธะกล่าวว่า อานนท์ผู้มีอายุพระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่เสด็จปรินิพพานทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ.

      ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้วเข้าอากิญจัญญายตนะ ออกจาก อากิญจัญญายตนะสมาบัติแล้ว เข้าวิญญาณัญจายตนะ ออกจากวิญญาณัญจายตนสมาบัติแล้ว เข้าอากาสานัญจายตนะ ออกจากอากาสานัญจายตนสมาบัติแล้ว เข้าจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานแล้วเข้าตติยฌาน  ออกจากตติยฌานแล้ว เข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้วเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้ว เข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้วเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว เข้าจตุตถฌาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากจตุตถฌานแล้ว เสด็จปรินิพพานในลำดับ (แห่งการพิจารณาองค์จตุตถฌานนั้น).

[๑๘๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว พร้อมกับการปนิพานได้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่  เกิดความขนพองสยองเกล้าน่าพึงกลัว ทั้งกลองทิพย์ก็บันลือขึ้น.

พราหมณ์ผู้เห็นพระพุทธเจ้าเป็นลูกชาย(ประวัตินกุลบิดคฤหบดี) เล่ม33หน้า79-80

ประวัตินกุลบิดาคฤหบดี
 
  นกุลบิดาคฤหบดีเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้กล่าวถ้อยคำแสดงความคุ้นเคย.ดังได้สดับมา ท่านคฤหบดีนั้น ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปุทุมุตตระ  บังเกิดในเรือนสกุล  กรุงหังสวดี กำลังฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสกผู้หนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้คุ้นเคย ก็ทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไปปรารถนาตำแหน่งนั้น. ท่านเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัปในพุทธุปบาทกาลนี้ก็บังเกิดในสกุลเศรษฐี  นครสุงสุมารคิรี แคว้นภัคคะ.  แม้พระศาสดา  อันภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้วเสด็จจาริกไปถึงนครนั้นประทับอยู่ที่เภสกลาวัน .

   ครั้งนั้น นกุลบิดาคฤหบดีนี้ ก็ไปเฝ้าพระศาสดาพร้อมด้วยเหล่าชาวสุงสุมารคิรีนคร โดยการเฝ้าครั้งแรกเท่านั้น เขาและภริยาก็ตั้งความสำคัญว่า พระทศพลเป็นบุตรของตน จึงหมอบลงที่พระยุคลบาทของพระศาสดากราบทูลว่า ลูกเอ๋ย เจ้าทิ้งพ่อแม่ไปเสียตลอดเวลาเท่านี้  เที่ยวไปอยู่เสียทีไหน. นัยว่า นกุลบิดาคฤหบดีนี้ แม้ในชาติก่อน ๆ ก็ได้เป็นบิดาพระทศพล ๕๐๐ ชาติ เป็นอา ๕๐๐ ชาติเป็นปู่ ๕๐๐ ชาติ เป็นลุง ๕๐๐ ชาติ. นกุลมารดาก็ได้เป็นมารดา๕๐๐ ชาติ เป็นน้า ๕๐๐ ชาติ เป็นย่า ๕๐๐ ชาติ เป็นป้า ๕๐๐ ชาติ.

   ดังนั้น  เพราะมีความรักที่ติดตามมาตลอดกาลยาวนาน  พอเห็นพระทศพลก็สำคัญว่าบุตรจึงทนอยู่ไม่ได้. พระศาสดามิได้ตรัสว่า จงหลีกไปตราบเท่าที่จิตใจของคนทั้งสองนั้นยังไม่รู้สึกตัว. ครั้งนั้น พอคนทั้งสองนั้นกลับได้สติตามเดิมแล้ว พระศาสดาทรงทราบอาสยะ   คืออัธยาศัยของเหล่าสัตว์ผู้วางใจเป็นกลางแล้ว ทรงแสดงธรรม. เมื่อจบเทศนา  แม้ทั้งสองคนก็ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล

วิธีทำให้"สมปราถนา"ทุกๆอย่าง( สังขารูปปัตติสูตร) เล่ม22หน้า404..

ว่าด้วยปฏิปทาให้สำเร็จความปรารถนา

 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตจักแสดงความเกิดขึ้นแห่งสังขารแก่เธอทั้งหลาย. เธอทั้งหลายจงฟังความเกิดขึ้นแห่งสังขารนั้น จงใส่ใจให้ดี เราตถาคตจักกล่าวต่อไป. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า  ชอบแล้วพระพุทธเจ้าข้า.

-ปฏิปทาเพื่อเป็นกษัตริย์มหาศาล

       ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ  จาคะ  ปัญญาเธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ! เราเมื่อตายไปแล้วพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาลเถิด ดังนี้ก็มี เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้นดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  นี้มรรค  นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาล.

-ปฏิปทาเพื่อเป็นพราหมณ์มหาศาล

  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คือภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย  ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ !  เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพราหมณ์มหาศาลเถิด ดังนี้ก็มี. . . ว่า ไฉนหนอ !  เราเมื่อตายไปแล้วพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งคฤหบดีมหาศาลเถิด ดังนี้ก็มี เธอจึงตั้งจิตนั้นอธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น....    
 

-ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นดาวดึงส์
  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา.เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นดาวดึงส์ มีอายุยืน  มีวรรณะ  มากด้วยความสุข เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์เถิด. เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น....

-ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นยามา...
-ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นดุสิต...
-ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี...
-ปฏิปทาเพื่อเป็นสหัสสพรหม

  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย ศรัทธา  ศีล  สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า สหัสสพรหม มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสหัสสพรหม ย่อมน้อมจิตแผ่ไปตลอดโลกธาตุพันหนึ่งอยู่. แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วในสหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนบุรุษมีนัยน์ตาดี วางมะขามป้อมผลหนึ่งในมือแล้วพิจารณาได้ฉันใด  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  สหัสสพรหมก็ฉันนั้นเหมือนกันแล  ย่อมน้อมจิตแผ่ไปตลอดโลกธาตุพันหนึ่งอยู่.  แม้สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้วใน สหัสสพรหมนั้น ก็น้อมจิตแผ่ไปอยู่ได้. เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า  ไฉนหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้ว   พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งสหัสสพรหมเถิด เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น.....    

-ปฏิปทาเพื่อเป็นทวิสหัสสพรหม...ปัญจสหัสสพรหม..
-ปฏิปทาเพื่อเป็นทสสหัสพรหม...
-ปฏิปทาเพื่อเป็นสตสหัสสพรหม...
-ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นอาภา ๓ ชั้น...
-ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นสุภา ๓ ชั้น...
-ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นสุภกิณหา...
-ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นเวหัปผลา...
-ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นอวิหา...
-ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นอตัปปา...
-ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นสุทัสสี...
-ปฏิปทาเพื่อเป็นเทวดาชั้นอกนิฏฐา...
-ปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ..
-ปฏิปทาเพื่อเข้าถึงวิญญานัญจายตนภพ...
-ปฏิปทาเพื่อเข้าอากิญจัญญายตนภพ...
-ปฏิปทาเพื่อเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ...

-ปฏิปทาเพื่อให้บรรลุเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ

   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีกคือ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล  สุตะ จาคะ ปัญญา. เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ! เราพึงเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่. เธอจึงเข้าถึงเจโตวิมุตติ  ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ย่อมไม่เกิดในที่ไหนๆ.

-วัดป่าสามแยก ศึกษาพระธรรมวินัย เบิกบุญ โอนบุญ อกหัก โดนของ ธรรมะ ธรรมทาน คลายเครียด เจริญรุ่งเรือง //www.samyaek.com 

-เวบพี่ดาบต้น //www.piyavat.com

-Facebook พุทธพจน์ //www.facebook.com/login.php?next=http%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fgroups%2FBuddhaspeech




Create Date : 06 ตุลาคม 2555
Last Update : 19 มกราคม 2556 20:18:38 น. 5 comments
Counter : 4190 Pageviews.

 
วันนี้ วันเสาร์ ที่ 6 ตุลาคม 2555 ทุกๆ วันเสาร์เวลาประเทศไทย โดยประมาณ 20:30 น.มีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก เทศน์โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล จากสำนักสงฆ์ป่าสามแยก

รับชมได้ที่
ดูวีดีโอช่องที่ 1 (สำหรับผู้ที่อินเตอร์เน็ทช้า: 56k)
www.samyaek.com

ดูวีดีโอช่องที่ 2 (สำหรับผู้ที่อินเตอร์เน็ทเร็ว: 212k)
www.samyaek.com/?channel=2

สำหรับท่านที่มีปัญหาดูถ่ายทอดสดไม่ได้
www.samyaek.com/board2/index.php?topic=2303.0

การใช้ iPad, iPhone, iPod touch ดูถ่ายทอดสด
www.samyaek.com/board2/index.php?topic=5531.0

วิธีใช้ Tablet ตระกูล Android ดูถ่ายทอดสด
www.samyaek.com/board2/index.php?topic=5512.0

สมาชิกท่านใดมีปัญหาในการรับชม
(ปัญหาอันเกิดจากคอมพิวเตอร์ของท่านเอง)

หากได้แก้ไขตามลิงค์ต่างๆ ข้างต้นแล้ว ก็ยังไม่สามารถรับชมได้
ให้ท่านติดต่อสอบถามได้ที่ คุณชัยณรงค์ รัตนเกษมสุข (เม้ง)
Dtac : 081-554-1699 , AIS 081-935-1651
e-mail : macmagic99@hotmail.com


โดย: Budratsa วันที่: 6 ตุลาคม 2555 เวลา:17:33:08 น.  

 
เต๊ะพระพุทธรูป ตกนรกสถานเดียว เพราะแม้พระพุทธเจ้าตัวจริง ก็ไม่ใช่ของจริง เป็นสมมุติ แต่เป็นสัญญลักษณ์ ตายไปแล้วจะรู้


โดย: จนใจ IP: 58.9.52.28 วันที่: 6 ตุลาคม 2555 เวลา:23:22:58 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณจนใจ ลองศึกษาข้างนี้ดูน่ะค่ะ

-การเกิดขึ้นของพระพุทธรูปครั้งแรกในโลก
//www.samyaek.com/board2/index.php?topic=1326.msg11867#msg11867

-รู้เรื่องพระพุทธรูปตามความเป็นจริง , พระพุทธรูปไม่ใช่วัตถุในพุทธศานา
//www.samyaek.com/board2/index.php?topic=1175.msg12112#msg12112

-อันนี้เป็นยูทูป ว่าทำไมถึงห้ามกราบพุทธรูป (คำสั่งถึงศิษย์วัดสามแยกทุกคนให้ เลิกทุบเผาทำลายวัตถุอัปมงคล )
//youtu.be/huTHJXwyuI4


โดย: Budratsa วันที่: 7 ตุลาคม 2555 เวลา:16:35:22 น.  

 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ว่า ตาเถรใบลานเปล่า


โดย: baby IP: 171.101.6.48 วันที่: 27 ธันวาคม 2556 เวลา:15:07:53 น.  

 
สวัสดีค่ะคุณbaby IP: 171.101.6.48 เราเพิ่งเห็นคอมเม้นส์นี้ค่ะ หากกลับมากรุณาอ่านให้จบที่เราเอามาลงนี้น่ะค่ะ

เรื่องพระโปฐิลเถระ เล่ม43 หน้า 118

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระ นามว่าโปฐิละ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โยคา เว " เป็นต้น.

รู้มากแต่เอาตัวไม่รอด

ดังได้สดับมา พระโปฐิละนั้นเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกในศาสนาของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ บอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป.พระศาสดา
ทรงดำริว่า " ภิกษุนี้ ย่อมไม่มีแม้ความคิดว่า ' เราจักทำการสลัดออกจากทุกข์แก่ตน; เราจักยังเธอให้สังเวช."

จำเดิมแต่นั้นมา พระองค์ย่อมตรัสกะพระเถระนั้น ในเวลาที่พระเถระมาสู่ที่บำรุงของพระองค์ว่า " มาเถิด คุณใบลานเปล่า,นั่งเถิด คุณใบลานเปล่า,ไปเถิด คุณใบลานเปล่า, แม้ในเวลาที่พระเถระลุกไป ก็ตรัสว่า "คุณใบลานเปล่า ไปแล้ว." พระโปฐิละนั้นคิดว่า " เราย่อมทรงไว้ซึ่งพระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถา,บอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป ถึง ๑๘ คณะใหญ่,ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น พระศาสดายังตรัสเรียกเราเนืองๆ ว่า 'คุณใบลานเปล่า' พระศาสดาตรัสเรียกเราอย่างนี้ เพราะความไม่มีคุณวิเศษ มีฌานเป็นต้นแน่แท้." ท่านมีความสังเวชเกิดขึ้นแล้ว จึงคิดว่า

" บัดนี้ เราจักเข้าไปสู่ป่าแล้วทำสมณธรรม" จัดแจงบาตรและจีวรเอง ทีเดียว ได้ออกไปพร้อมด้วยภิกษุผู้เรียนธรรม แล้วออกไปภายหลังภิกษุทั้งหมดในเวลาใกล้รุ่ง.พวกภิกษุนั่งสาธยายอยู่ในบริเวณ ไม่ได้กำหนดท่านว่า " " อาจารย์." พระเถระไปสิ้นสองพันโยชน์แล้ว,เข้าไปหาภิกษุ๓๐ รูป ผู้อยู่ในอาวาสราวป่าแห่งหนึ่ง ไหว้พระสังฆเถระแล้ว กล่าวว่า " ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของกระผม."

พระสังฆเถระ." ผู้มีอายุ ท่านเป็นพระธรรมกถึก,สิ่งอะไรชื่อว่า อันพวกเราพึงทราบได้ ก็เพราะอาศัยท่าน, เหตุไฉนท่านจึงพูดอย่างนี้?
พระโปฐิละ. ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงอย่าทำอย่างนี้ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของกระผม.วิธีขจัดมานะของพระโปฐิละ

ก็พระเถระเหล่านั้นทั้งหมด ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งนั้น.ลำดับนั้นพระมหาเถระ ส่งพระโปฐิละนั้นไปสู่สำนักพระอนุเถระ ด้วยคิดว่า " ภิกษุนี้มีมานะ เพราะอาศัยการเรียนแท้." แม้พระอนุเถระนั้นก็กล่าวกะพระโปฐิละนั้น อย่างนั้นเหมือนกัน.ถึงพระเถระทั้งหมด เมื่อส่งท่านไปโดยทำนองนี้ ก็ส่งไปสู่สำนักของสามเณรผู้มีอายุ ๗ ขวบ ผู้ใหม่กว่าสามเณรทั้งหมด ซึ่งนั่งทำกรรมคือการเย็บผ้าอยู่ในที่พักกลางวัน.
พระเถระทั้งหลายนำมานะของท่านออกได้ ด้วยอุบายอย่างนี้.

พระโปฐิละหมดมานะ

พระโปฐิละนั้น มีมานะอันพระเถระทั้งหลายนำออกแล้ว จึงประคองอัญชลีในสำนักของสามเณรแล้วกล่าวว่า "ท่านสัตบุรุษ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของผม."
สามเณร.ตายจริง ท่านอาจารย์ ท่านพูดอะไรนั่น,ท่านเป็นคนแก่ เป็นพหูสูต,เหตุอะไรๆ พึงเป็นกิจอันผมควรรู้ในสำนักของท่าน
พระโปฐิละ. ท่านสัตบุรุษ ท่านอย่าทำอย่างนี้,ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของผมให้ได้.
สามเณร. ท่านขอรับ หากท่านจักเป็นผู้อดทนต่อโอวาทได้ไซร้,ผมจักเป็นที่พึ่งของท่าน.
พระโปฐิละ. ผมเป็นได้ ท่านสัตบุรุษ,เมื่อท่านกล่าวว่า ' จงเข้าไปสู่ไฟ,' ผมจักเข้าไปแม้สู่ไฟได้ทีเดียว.

พระโปฐิละปฏิบัติตามคำสั่งสอนของสามเณร

ลำดับนั้น สามเณรจึงแสดงสระๆ หนึ่งในที่ไม่ไกล แล้วกล่าวกะท่านว่า " ท่านขอรับ ท่านนุ่งห่มตามเดิมนั่นแหละ จงลงไปสู่สระนี้."

จริงอยู่ สามเณรนั้น แม้รู้ความที่จีวรสองชั้นซึ่งมีราคามาก อันพระเถระนั้นนุ่งห่มแล้ว เมื่อจะทดลองว่า "พระเถระจักเป็นผู้อดทนต่อโอวาทได้หรือไม่" จึงกล่าวอย่างนั้น.แม้พระเถระก็ลงไปด้วยคำๆ เดียวเท่านั้น.

ลำดับนั้น ในเวลาที่ชายจีวรเปียก สามเณรจึงกล่าวกะท่านว่า " มาเถิดท่านขอรับ" แล้วกล่าวกะท่านผู้มายืนอยู่ด้วยคำๆ เดียวเท่านั้นว่า" ท่านผู้เจริญ ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง มีช่องอยู่ ๖ ช่อง,ในช่องเหล่านั้น เหี้ยเข้าไปภายในโดยช่องๆ หนึ่ง บุคคลประสงค์จะจับมัน จึงอุดช่องทั้ง ๕ นอกนี้ ทำลายช่องที่ ๖ แล้ว จึงจับเอาโดยช่องที่มันเข้าไปนั่นเอง; บรรดาทวารทั้งหก แม้ท่านจงปิดทวารทั้ง ๕ อย่างนั้นแล้ว จงเริ่มตั้งกรรม๑นี้ไว้ในมโนทวาร." ด้วยนัยมีประมาณเท่านี้ ความแจ่มแจ้งได้มีแก่ภิกษุผู้เป็นพหูสูต ดุจการลุกโพลงขึ้นแห่งดวงประทีปฉะนั้น.พระโปฐิละนั้นกล่าวว่า " ท่านสัตบุรุษ คำมีประมาณเท่านี้แหละพอละ" แล้วจึงหยั่งลง ปรารภสมณะธรรม.

ทางเจริญและทางเสื่อมแห่งปัญญา

พระศาสดาประทับนั่งในที่สุดประมาณ ๑๒๐ โยชน์เทียว ทอดพระเนตรดูภิกษุนั้นแล้วดำริว่า " ภิกษุนั้นเป็นผู้มีปัญญา(กว้างขวาง)ดุจแผ่นดิน ด้วยประการใดแล;การที่เธอตั้งตนไว้ด้วยประการนั้นนั่นแลย่อมสมควร." แล้วทรงเปล่งพระรัศมีไป ประหนึ่งตรัสอยู่กับภิกษุนั้นตรัสพระคาถานี้ว่า :-

"ปัญญาย่อมเกิดเพราะการประกอบแล,ความ
สิ้นไปแห่งปัญญาเพราะการไม่ประกอบ,บัณฑิตรู้
ทาง ๒ แพร่ง แห่งความเจริญและความเสื่อมนั่น
แล้ว พึงตั้งตนไว้โดยประการที่ปัญญาจะเจริญขึ้นได้."

แก้อรรถ
บทว่า โยคา ความว่า เพราะการกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคายในอารมณ์ ๓๘.
คำว่า 'ภูริ' นั่น เป็นชื่อแห่งปัญญาอันกว้างขวาง เสมอด้วยแผ่นดิน. ความพินาศ ชื่อว่า ความสิ้นไป.
สองบทว่า เอตเทวฺธา ปถ คือ ซึ่งการประกอบและการไม่ประกอบนั่น.
บาทพระคาถาว่า ภวาย วิภวาย จ คือ แห่งความเจริญและความไม่เจริญ.
บทว่า ตถตฺตาน ความว่า บัณฑิตพึงตั้งตนไว้ โดยประการที่ปัญญากล่าวคือภูรินี้จะเจริญขึ้นได้.

ในกาลจบพระคาถา พระโปฐิลเถระตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว ดังนี้. .

เรื่องพระโปฐิลเถระ จบ.


โดย: Budratsa วันที่: 2 มีนาคม 2557 เวลา:20:01:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Budratsa
Location :
พิจิตร Switzerland

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกๆคนค่ะ
"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา" เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐
Friends' blogs
[Add Budratsa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.