"ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตย่อมไม่มี พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี....." "พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง, เป็นหูที่วิเศษยิ่ง, เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง, เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง, เป็นกายที่วิเศษยิ่ง, เป็นใจที่วิเศษยิ่ง, เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง, เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง, เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง, เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง, เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง"จากวัดสามแยก
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2555
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
 
16 กุมภาพันธ์ 2555
 
All Blogs
 

เรียนรู้เรื่องไตรสรณะคม จากพระไตรปิฏก 3

ตัวอย่างของผู้ถึงไตรสรณะ
2.การถึงสรณะของพระเจ้าอชาตศัตรู (อ.สามัญญผลสูตร) เล่ม11 หน้า 493
พระเจ้าอชาตศัตรูถึงสรณะด้วยการมอบคนอย่างนี้ว่า

ชีวิตของข้าพระองค์ยังเป็นไปอยู่ตราบใด ขอพระองค์โปรดทรงจำ คือทรงทราบ ข้าพระองค์ไว้ตราบนั้นเถิดว่า เข้าถึงแล้ว ไม่มีผู้อื่นเป็นศาสดา ถึงสรณะ เป็นด้วยสรณคมน์ทั้ง ๓ เป็นอุบาสก เป็นกัปปิยการก (ศิษย์รับใช้) ด้วยว่า แม้หากจะมีใครเอาดาบคมกริบตัดศีรษะของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ก็จะ ไม่พึงกล่าวพระพุทธเจ้าว่าไม่ใช่พระพุทธเจ้า ไม่พึงกล่าวพระธรรมว่าไม่
ใช่พระธรรม ไม่พึงกล่าวพระสงฆ์ว่าไม่ใช่พระสงฆ์ ดังนี้

3.การถึงสรณะของการณปาลีพราหมณ์ (การณปาลีสูตร) เล่ม36 หน้า 423
การณปาลีพราหมณ์ลุกจากที่นั่ง ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง คุกเข่าข้างขวาลงบนแผ่นดิน ประนมอัญชลี ไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ เปล่งอุทานสามครั้งว่า

ขอความนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอความนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอความนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ผลของการถึงสรณะ (อ.สรณคมนิยเถราปทาน) เล่ม 77หน้า 388
ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ได้ทรงบังเกิดความกรุณาในสัตว์เหล่านั้น จึงเสด็จไปยังสถานที่นั้นโดยทางอากาศ แล้วทรงแสดงธรรมให้แก่หมู่จอมเทพพร้อมด้วยบริวาร ในกาลนั้น หมู่จอมเทพทั้งปวงนั้น ต่างก็พากันทิ้งโล่และอาวุธ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วย
ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก แล้วได้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ.
หมู่จอมเทพเหล่านั้นได้ถึงสรณะที่ ๑ คือพระพุทธเจ้านี้แล. ด้วยบุญอันนั้น
เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลกหลายครั้ง ได้เสวยสมบัติ
ทั้งสองแล้ว ครั้นในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดมาในเรือนที่มีสกุล
เจริญวัยแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.

สาวกของพระุพุทธเจ้าควรคิดแบบ พระเจ้ามหานามศากยะ (โคธาสูตร) เล่ม31 หน้า332
[๑๕๒๓] ... ฝ่ายหนึ่งเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้า (ตรัส) และฝ่ายหนึ่ง
เป็นภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์ และอุบาสกทั้งหลาย (กล่าว) ฝ่ายใด พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัส หม่อมฉันเป็นฝ่ายนั้น ...

[๑๕๒๔] .. ฝ่ายหนึ่งเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้า (ตรัส) และฝ่ายหนึ่ง
เป็นภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์ อุบาสกทั้งหลาย และอุบาสิกาทั้งหลาย (กล่าว)
ฝ่ายใด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส หม่อมฉันเป็นฝ่ายนั้น ...

[๑๕๒๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความบังเกิดแห่งเหตุเฉพาะบาง
ประการ พึงบังเกิดขึ้นได้ในธรรมวินัยนี้ คือ ฝ่ายหนึ่งเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
(ตรัส) และฝ่ายหนึ่งเป็นภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์ อุบาสกทั้งหลาย และอุบาสิกาทั้งหลาย โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ (กล่าว) ฝ่ายใด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
หม่อมฉันพึงเป็นฝ่ายนั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำหม่อมฉันว่าเป็น
ผู้เลื่อมใสอย่างนี้.

[๑๕๒๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร
ผู้มีวาทะอย่างนี้ ย่อมตรัสอะไรกะพระเจ้ามหานามศากยราช เจ้าโคธาศากยะ
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันผู้มีวาทะอย่างนี้ มิได้พูดอะไร
กะพระเจ้ามหานามศากยราช นอกจากกัลยาณธรรม นอกจากกุศล.

จบโคธาสูตรที่ ๓

พึ่งพุทธ ธรรม สงฆ์ อย่างถูกต้องเจริญแน่ (สักกสูตร) เล่ม 29 หน้า 119
[๕๒๖] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๘๔,๐๐๐ องค์
เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะ
แล้ว ได้ไปประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระมหา-
โมคคัลลานะได้พูดกะท้าวสักกะจอมเทพว่า

ดูก่อนจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึง
พระพุทธเจ้าเป็นสรณะสัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป
ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก. . .
การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ
สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์
การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก...การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก
เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.....

ชะตากรรมในโลกหน้าของผู้ไม่มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง (อจุลลสีหนาทสูตร) เล่ม18หน้า 28-29
บทว่า โย สตฺถริ ปสาโท โส น สมฺมคฺคโต
ความว่า ก็ศาสดาในศาสนาที่ไม่เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ ทำกาละแล้วเป็นสีหะบ้าง เสือโคร่งบ้าง เสือเหลืองบ้าง หมีบ้าง เสือดาวบ้าง.

ส่วนสาวกทั้งหลายของศาสดานั้น เป็นเนื้อบ้าง สุกรบ้าง กระต่ายบ้าง. มันไม่ทำความอดทน หรือความหวังดี หรือความเอ็นดูว่า สัตว์เหล่านี้ เคยเป็น
อุปัฏฐาก ผู้ให้ปัจจัยแก่เรา ฆ่าสัตว์เหล่านั้นแล้ว ดูดเลือดบ้าง กินเนื้อสัน
ทั้งหลายบ้าง.

ก็อีกประการหนึ่ง ศาสดาเกิดเป็นแมว. สาวกทั้งหลายเป็นไก่ หรือหนู. ลำดับนั้น แมวก็จะไม่ทำความอนุเคราะห์ย่อมกินไก่หรือหนูเหล่านั้นโดยนัยกล่าวแล้วนั้นเทียว.

อนึ่ง ศาสดาเป็นนายนิรยบาล สาวกทั้งหลายเป็นสัตว์นรก. นายนิรยบาลนั้น จะไม่ทำความอนุเคราะห์ว่า สัตว์เหล่านี้ เคยให้ปัจจัยแก่เรา ย่อมทำกรรมกรณ์ต่าง ๆ ใส่ในรถที่ร้อนจัดบ้าง ให้ขึ้นภูเขาไฟบ้าง ทิ้งศีรษะลงในหม้อโลหะบ้าง ประกอบด้วยทุกขธรรมหลายอย่างบ้าง.

ก็หรือสาวกทั้งหลายตายไปเป็นสัตว์มีสีหะเป็นต้น. ศาสดาเป็นสัตว์อย่างใด
อย่างหนึ่งมีเนื้อเป็นต้น. สัตว์เหล่านั้นไม่ทำความอดทน หรือความหวังดี
หรือความเอ็นดูในสัตว์นั้นว่า เราเคยอุปัฏฐากสัตว์นี้ด้วยปัจจัยสี่ สัตว์นี้เคย
เป็นศาสดาของพวกเรา ดังนี้ ย่อมให้ถึงความพินาศ โดยนัยกล่าวแล้วนั้น
เทียว. ในศาสนาที่ไม่เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ด้วยประการฉะนี้ ความ
เลื่อมใสในศาสดาใด ความเลื่อมใสนั้นไม่ไปแล้วโดยชอบ แม้ไปสู่กาละอย่างไรแล้ว จะพินาศในภายหลังนั้นเทียว.

การเลื่อมใสในพระรัตนตรัยอันเลิศที่ไม่ใช่พุทธรูปและวัตถุทั้งหลาย(ปสาทสูตร)เล่ม45หน้า556-558
๑. ปสาทสูตร ว่าด้วยความเลื่อมใส ๓ ประการ

[๒๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ไม่มีเท้าก็ดี มี ๒ เท้าก็ดี
มี ๔ เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี มีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาก็ดี ไม่มีสัญญาก็ดี
มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ก็ดี มีประมาณเท่าใด พระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่าสัตว์ประมาณเท่านั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในบุคคลผู้เลิศ ก็และผลอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขตธรรมก็ดี อสังขตธรรมก็ดี มีประมาณ
เท่าใด วิราคะ คือ ธรรมเป็นที่บรรเทาความเมา นำเสียซึ่งความระหาย
ถอนขึ้นด้วยดีซึ่งอาลัย ตัดซึ่งวัฏฏะ สิ้นไปแห่งตัณหา สิ้นกำหนัด ดับ นิพพานบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าสังขตธรรมและอสังขตธรรมเหล่านั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในวิราคธรรม ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในธรรมอันเลิศ ก็ผลอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในธรรมอันเลิศ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขตธรรมมีประมาณเท่าใด อริยมรรคมีองค์
๘ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าสังขตธรรมเหล่านั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในธรรมคืออริยมรรค ชน
เหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในธรรมอันเลิศ ก็ผลอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใส
ในธรรมอันเลิศ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หมู่ก็ดี คณะก็ดี มีประมาณเท่าใด หมู่สาวก
ของพระตถาคต คือ คู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าหมู่และคณะเหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระสงฆ์ ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในหมู่ผู้เลิศ ก็ผลอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้เลิศ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสอันเลิศ ๓ ประการนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

เมื่อชนทั้งหลายเลื่อมใสแล้วใน พระรัตนตรัยที่เลิศ โดยความเป็นของเลิศ
รู้แจ้งธรรมอันเลิศ เลื่อมใสแล้วในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ซึ่งเป็นทักขิไณยบุคคลผู้ยอดเยี่ยม เลื่อมใสแล้วในธรรมอันเลิศ ซึ่งเป็นที่สิ้นกำหนัด และเป็นที่สงบ เป็นสุข เลื่อมใสแล้วในพระสงฆ์ผู้เลิศ ซึ่งเป็นบุญเขตอย่างยอดเยี่ยม ถวายทานในพระรัตนตรัย ที่เลิศ บุญที่เลิศย่อมเจริญ อายุ วรรณะ ยศ เกียรติคุณ สุขะและพละอันเลิศย่อมเจริญ นักปราชญ์ถวายไทยธรรมแก่พระรัตนตรัยที่เลิศ ตั้งมั่นอยู่ในธรรมอันเลิศแล้ว เป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์ก็ตาม เป็นผู้ถึงควานเป็นผู้เลิศบันเทิงอยู่.

จบปสาทสูตรที่ ๑

วัตถุทั้งหลายพระพุทธเจ้าไม่ให้เอาเป็นที่พึ่ง(อ.อัตตทีปสูตร)เล่ม 27หน้า 90
อรรถกถาอัตตทีปสูตรที่ ๑

อัตตทีปวรรค สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า อตฺตทีปา ความว่า ท่านทั้งหลายจงทำตนให้เป็นเกาะ
เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นคติ ที่ไปในเบื้องหน้า เป็นที่พึ่งอยู่เถิด.
บทว่า อตฺตสรณา นี้เป็นไวพจน์ของบทว่า อตฺตทีปา นั้นแล. บทว่า
อนญฺสรณา นี้ เป็นคำห้ามพึ่งผู้อื่น ด้วยว่าผู้อื่นเป็นที่พึ่งไม่ได้ เพราะ
คนหนึ่งจะพยายามทำอีกคนหนึ่งให้บริสุทธิ์หาได้ไม่ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า

ตนนั่นแลเป็นที่พึ่งของตน
คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อนญฺสรณา ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ.
ถามว่า ก็ในที่นี้ อะไรชื่อว่าตน ?
แก้ว่า ธรรมที่เป็นโลกิยะและเป็นโลกุตตระ (ชื่อว่าตน).
ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระองค์จึงตรัสว่า ธมฺมทีปา ธมฺมสรณา
อนญฺสรณา มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ
ดังนี้.

จบ อรรถกถาอัตตทีปสูตรที่ ๑

ข้ออุปมาคำว่าพระรัตนตรัย (พรรณนาพระสรณตรัย) เล่ม19หน้า19-21
ประกาศด้วยข้ออุปมา

บัดนี้ จะกล่าวอธิบายคำที่ว่าจะประกาศพระสรณตรัยนั้น ด้วยข้อ
อุปมาทั้งหลาย ก็ในคำนั้น พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนพระจันทร์เพ็ญ พระ-
ธรรมเปรียบเหมือนกลุ่มรัศมีของพระจันทร์ พระสงฆ์เปรียบเหมือนโลกที่
เอิบอิ่มด้วยรัศมีของพระจันทร์เพ็ญที่ทำให้เกิดขึ้น พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือน
ดวงอาทิตย์ทอแสงอ่อน ๆ พระธรรมดังกล่าวเปรียบเหมือนข่ายรัศมีของดวง
อาทิตย์นั้น พระสงฆ์เปรียบเหมือนโลกที่ดวงอาทิตย์นั้นกำจัดมืดแล้ว. พระ-
พุทธเจ้าเปรียบเหมือนคนเผาป่า พระธรรมเครื่องเผาป่าคือกิเลส เปรียบเหมือนไฟเผาป่า พระสงฆ์ที่เป็นบุญเขต เพราะเผากิเลสได้แล้ว เปรียบเหมือนภูมิภาคที่เป็นเขตนา เพราะเผาห่าเสียแล้ว. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนเมฆฝนใหญ่พระธรรมเปรียบเหมือนน้ำฝน พระสงฆ์ผู้ระงับละอองกิเลสเปรียบเหมือนชนบทที่ระงับละอองฝุ่นเพราะฝนตก. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนสารถีที่ดีพระธรรมเปรียบเหมือนอุบายฝึกม้าอาชาไนย พระสงฆ์เปรียบเหมือนฝูงม้าอาชาไนยที่ฝึกมาดีแล้ว. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนศัลยแพทย์ [หมอผ่าตัด]เพราะทรงถอนลูกศรคือทิฏฐิได้หมด พระธรรมเปรียบเหมือนอุบายที่ถอนลูกศรออกได้พระสงฆ์ผู้ถอนลูกศรคือทิฏฐิออกแล้ว เปรียบเหมือนชนที่ถูกถอนลูกศรออกแล้ว.

อีกนัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนจักษุแพทย์ เพราะทรงลอก
พื้นชั้นโมหะออกได้แล้ว พระธรรมเปรียบเหมือนอุบายเครื่องลอกพื้น [ตา]
พระสงฆ์ผู้มีพื้นชั้นตาอันลอกแล้ว ผู้มีดวงตาคือญาณอันสดใส เปรียบเหมือนชนที่ลอกพื้นตาแล้ว มีดวงตาสดใส. อีกนัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนแพทย์ผู้ฉลาด เพราะทรงสามารถกำจัด พยาธิคือกิเลสพร้อมทั้งอนุสัยออกได้ พระธรรมเปรียบเหมือนเภสัชยาที่ทรงปรุงถูกต้องแล้ว พระสงฆ์ผู้มีพยาธิคือกิเลสและอนุสัยอันระงับแล้ว เปรียบเหมือนหมู่ชนที่พยาธิระงับแล้ว เพราะประกอบยา.

อีกนัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ชี้ทาง พระธรรมเปรียบเหมือนทางดี หรือพื้นที่ที่ปลอดภัย พระสงฆ์เปรียบเหมือนผู้เดินทาง ถึงที่ที่ปลอดภัย พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนนายเรือที่ดี พระธรรมเปรียบเหมือนเรือพระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้เดินทางถึงฝั่ง. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนป่าหิมพานต์ พระธรรมเปรียบเหมือนโอสถยาที่เกิดแต่ป่าหิมพานต์นั้น พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้ไม่มีโรคเพราะใช้ยา. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ประทานทรัพย์ พระธรรมเปรียบเหมือนทรัพย์ พระสงฆ์ผู้ได้อริยทรัพย์มาโดยชอบเปรียบเหมือนชนผู้ได้ทรัพย์ตามที่ประสงค์. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ชี้ขุมทรัพย์ พระธรรมเปรียบเหมือนขุมทรัพย์ พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้ได้ขุมทรัพย์.

อีกนัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าผู้เป็นวีรบุรุษเปรียบเหมือนผู้ประทานความ
ไม่มีภัยพระธรรมเปรียบเหมือนไม่มีภัย พระสงฆ์ผู้ล่วงภัยทุกอย่าง เปรียบเหมือนชนผู้ถึงความไม่มีภัย พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ปลอบพระธรรมเปรียบเหมือนการปลอบ พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้ถูกปลอบ พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนมิตรดี พระธรรมเปรียบเหมือนคำสอนที่เป็นหิตประโยชน์ พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้ประสบประโยชน์ตน เพราะประกอบหิตประโยชน์. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนบ่อเกิดทรัพย์พระธรรมเปรียบเหมือนทรัพย์ที่เป็นสาระ พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้ใช้ทรัพย์ที่เป็นสาระ พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ทรงสรงสนานพระราชกุมาร พระธรรมเปรียบเหมือนน้ำที่สนานตลอดพระเศียร พระสงฆ์ผู้สรงสนานดีแล้วด้วยน้ำคือพระสัทธรรม เปรียบเหมือนหมู่พระราชกุมารที่สรงสนานดีแล้ว. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนช่างผู้ทำเครื่องประดับ พระธรรมเปรียบเหมือนเครื่องประดับ พระสงฆ์ผู้ประดับด้วยพระสัทธรรมเปรียบเหมือนหมู่พระราชโอรสที่ทรงประดับแล้ว. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนต้นจันทน์ พระธรรมเปรียบเหมือนกลิ่นอันเกิดแต่ต้นจันทน์นั้น พระสงฆ์ผู้ระงับความเร่าร้อนได้สิ้นเชิง เพราะอุปโภคใช้พระสัทธรรม เปรียบเหมือนชนผู้ระงับความร้อนเพราะใช้จันทน์ พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนบิดามอบมฤดกโดยธรรม พระธรรมเปรียบเหมือนมฤดก พระสงฆ์ผู้สืบมฤดกดือพระสัทธรรม เปรียบเหมือนพวกบุตรผู้สืบมฤดก. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนดอกปทุมที่ปาน พระธรรมเปรียบเหมือนน้ำอ้อยที่เกิดจากดอกปทุมที่บานนั้น พระสงฆ์เปรียบเหมือนหมู่ภมรที่ดูดกินน้ำอ้อยนั้น.

พึงประกาศพระสรณตรัยนั้น ด้วยข้ออุปมาทั้งหลายดังกล่าวมาฉะนี้.

หลวงปู่เกษม แสดงธรรม ชุด ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า DVDตอนที่ ๑-๒๕//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=budratsa&month=10-2011&date=18&group=2&gblog=134

เรียบเรียง ไตรสรณคมน์ //www.samyaek.com/board2/index.php?topic=2177.0

ศึกษาพระไตรปิฏกเวบวัดป่าสามแยก //www.samyaek.com




 

Create Date : 16 กุมภาพันธ์ 2555
1 comments
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2555 0:21:49 น.
Counter : 2042 Pageviews.

 

สนับสนุนการเรียนธรรม

 

โดย: วุฒิชัย IP: 125.26.20.8 14 มีนาคม 2559 18:12:55 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Budratsa
Location :
พิจิตร Switzerland

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกๆคนค่ะ
"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา" เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐
Friends' blogs
[Add Budratsa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.