"ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตย่อมไม่มี พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี....." "พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง, เป็นหูที่วิเศษยิ่ง, เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง, เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง, เป็นกายที่วิเศษยิ่ง, เป็นใจที่วิเศษยิ่ง, เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง, เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง, เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง, เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง, เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง"จากวัดสามแยก
Group Blog
 
<<
เมษายน 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
20 เมษายน 2556
 
All Blogs
 
บรรยายคุณของพระรัตนตรัยฯ โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล 8 ธ.ค.2555

เนื้อหา บางส่วนจากการแสดงธรรมชุดนี้
     
๑. ควรเรียนพุทธศาสน์กับผู้แตกฉานไตรปิฏก
      ๒. จะมีพระพุทธเจ้าหรือไม่ ธรรมทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้นเอง
      ๓. พระพุทธเจ้าตรัสรู้เพื่อจำแนกธรรมให้เข้าใจง่าย
      ๔. ธรรมของพระพุทธเจ้า ต้องตั้งใจฟังให้ดี
      ๕. ผู้เห็นธรรมมีชีวิตวันเดียวประเสริฐกว่าผู้ไม่เห็นธรรม
     ฯลฯ

-"สัจจกนิครนถ์" ไปท้าโต้วาทะกับพระพุทธเจ้า(จูฬสัจจกสูตร) เล่ม19 หน้า76
-รูปร่างทั้งหมด ล้วนเป็นอันตรายต่อจิตใจของสัตว์โลกว่า (ด้วยมหาภูตรูป4) เล่ม66หน้า153
-คำถามของสาวกที่จัดว่าเป็นการเบียดเบียนพุทธเจ้า(มหาปรินิพพานสูตร) เล่ม13หน้า262-266
-จะมีพระพุทธเจ้าหรือไม่ ธรรมทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้นเอง(ปัจจยสูตร)เล่ม26หน้า96
-"นิครนก์นาฏบุตร"วางแผนทำลายลัทธิตนเอง(อ.ปาสาทิกสูตร)เล่ม15หน้า292
-พระพุทธเจ้าตรัสรู้เพื่อจำแนกธรรมให้เข้าใจง่าย(ปุปผสูตร)เล่ม27หน้า314
-ควรเรียนพุทธศาสน์กับผู้แตกฉานไตรปิฏก(อ.ตติยปาราชิกวรรณา)เล่ม2หน้า352
-ธรรมของพระพุทธเจ้า ต้องตั้งใจฟังให้ดี (อ.มูลปริยายสูตร)เล่ม17หน้า41-42
-ประวัติการ "ทำบาป" ของพระพุทธเจ้าโคดม(พรรณาพุทธาปทาน)เล่ม70หน้า213
-ผู้เห็นธรรมมีชีวิตวันเดียว ประเสริฐกว่าผู้ไม่เห็นธรรม(สหัสสวรรคที่8)เล่ม41หน้า417
-เทวดาบันดาลให้ฝนตก(อ.มัจฉชาดก)เล่ม56หน้า205
-ลักษณะช้างมงคล(อ.มหาสุทัสสนสูตร)เล่ม13หน้า512

ควรเรียนพุทธศาสน์กับผู้แตกฉานไตรปิฏก(อ.ตติยปาราชิกวรรณา)เล่ม2หน้า352

[ควรเรียนกรรมฐานในสำนักพุทธโอรสกระทั่งถึงท่านผู้ได้ฌาน]

อนึ่ง กุลบุตรผู้มีศีลบริสุทธิ์ และตัดปลิโพธได้แล้วอย่างนั้น เมื่อจะเรียนกรรมฐานนี้ ควรเรียนเอาในสำนักพุทธบุตร ผู้ให้จตุตถฌานเกิดขึ้นด้วยกรรมฐานนี้แล แล้วเจริญวิปัสสนา ได้บรรลุความเป็นพระอรหันต์. เมื่อไม่ได้พระขีณาสพนั้น ควรเรียนเอาในสำนักพระอนาคามี เมื่อไม่ได้แม้พระอนาคามีนั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักพระสกทาคามี เมื่อไม่ได้แม้พระสกทาคามีนั้น ก็ควรเรียนเอา ในสำนักพระโสดาบัน, เมื่อไม่ได้แม้พระโสดาบันนั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักของท่านผู้ได้จตุตถฌาน ซึ่งมีอานาปานะเป็นอารมณ์, เมื่อไม่ได้ท่านผู้ได้จตุตถฌานแม้นั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักของพระวินิจฉยาจารย์ ผู้ไม่เลอะเลือนทั้งในบาลีและอรรถกถา. 

จริงอยู่ พระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระอรหันต์เป็นต้น ย่อมบอกเฉพาะมรรคที่ตนได้บรรลุแล้วเท่านั้น.
ส่วนพระวินิจฉยาจารย์นี้เป็นผู้ไม่เลอะเลือน กำหนดอารมณ์เป็นที่สบายและไม่สบาย ในอารมณ์ทั้งปวงแล้วจึงบอกให้ เหมือนผู้นำไปสู่ทางช้างใหญ่ ในป่าที่รกชัฏฉะนั้น.

ธรรมของพระพุทธเจ้า ต้องตั้งใจฟังให้ดี (อ.มูลปริยายสูตร)เล่ม17หน้า41-42

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นให้หันหน้ามาหาพระองค์ด้วยพระดำรัสที่มีการทอดพระเนตรดูด้วยพระหฤทัยที่เยือกเยินด้วยกระแสแห่งพระกรุณาเป็นเบื้องหน้า ทรงให้ภิกษุเหล่านั้นเกิดความประสงค์จะฟังด้วยพระดำรัสที่แสดงความที่พระองค์ประสงค์จะตรัสสอนนั้นนั่นแล. และทรงประกอบภิกษุเหล่านั้นไว้ แม้ในการตั้งใจฟังด้วยดีด้วยพระดำรัสที่ทรงประสงค์จะเตือน ( ภิกษุทั้งหลาย) ให้รู้สึกนั้นนั่นแล เพราะคุณสมบัติแห่งหลักคำสอนเกี่ยวเนื่องอยู่กับการตั้งใจฟังด้วยดี. ถ้าหากจะมีคำถามสอดเข้ามาว่า เกราะเหตุไร เมื่อเทวดาและมนุษย์เหล่าอื่นมีอยู่ จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นมา. ตอบว่า เพราะภิกษุทั้งกลาย เป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุด อยู่ใกล้ อยู่พร้อมเพรียงกันตลอดเวลา.

อธิบายว่า พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทั่วไปแก่บริษัททุกเหล่า และภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าเจริญที่สุดในบริษัท เพราะเป็นผู้เกิดขึ้นก่อนบริษัทอื่น  ชื่อว่าประเสริฐที่สุด เพราะมุ่งความเป็นบรรพชิตเป็นเบื้องหน้า ประพฤติคล้อยตามอย่างพระศาสดา และรับเอาคำสั่งสอนทั้งสิ้น ชื่อว่าอยู่ใกล้ เพราะเมื่อนั่งอยู่ในที่นั้น ชื่อว่าอยู่ในสำนักของพระศาสดา ชื่อว่าพร้อมเพรียงกันอยู่ทุกเมื่อ เพราะเที่ยวไปใกล้สำนักพระศาสดา.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นภาชนะแห่งพระธรรมเทศนา เพราะให้เกิดการปฏิบัติตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพร่ำสอนและเพราะเป็นบุคคลพิเศษ อนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเฉพาะ  เจาะจง ภิกษุบางพวกเท่านั้น  เพราะฉะนั้น พระองค์จึงตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นมา ด้วยอาการอย่างนี้. ในข้อนั้น พึงมีคำถามสอดเข้ามาว่า ก็เพื่อประโยชน์อะไร พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงทรงเรียกภิกษุทั้งหลายมาก่อน ไม่ทรงอเสดงธรรมเลยทีเดียว ?

ตอบว่า  เพื่อให้เกิดสติ เพราะว่า ภิกษุทั้งหลายกำลังนั่งคิดเรื่องอื่นอยู่บ้าง นั่งใจลอยอยู่บ้าง นั่งพิจารณาธรรมอยู่บ้าง นั่งมนสิการกรรมฐานอยู่บ้าง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้น(ก่อนแล้ว ) แสดงธรรม ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจจะกำหนดได้ว่า พระธรรมเทศนานี้ มีอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย พระองค์ทรงแสดงเพราะเกิดเหตุอะไรขึ้น พึงรับเอาผิด หรือว่ารับเอาไม่ได้เลย เหตุนั้น เพื่อเป็นการเตือนสติภิกษุเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาก่อนแล้วแสดงธรรมในภายหลัง.

พระพุทธเจ้าตรัสรู้เพื่อจำแนกธรรมให้เข้าใจง่าย(ปุปผสูตร)เล่ม27หน้า314

 ว่าด้วยพระพุทธองค์ไม่ขัดแย้งกับโลก

[๒๓๙] กรุงสาวัตถี. ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตไม่กล่าวขัดแย้งกับโลก แต่ชาวโลกกล่าวขัดแย้งกับเราตถาคต.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้กล่าวเป็นธรรม จะไม่กล่าวขัดแย้งกับใคร ๆในโลก. สิ่งใดที่บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี แม้เราตถาคตก็กล่าวสิ่งนั้นว่าไม่มี. สิ่งใดที่บัณฑิตในโลกสมมติว่ามี แม้เราตถาคตก็กล่าวว่ามี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี ซึ่งเราก็กล่าวว่าไม่มี นั้นคืออะไร? คือรูปที่เที่ยงยั่งยืน สืบต่อกันไป มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา  บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี แม้เราตถาคตก็กล่าวรูปนั้นว่าไม่มี เวทนา... สัญญา...สังขาร...วิญญาณ เที่ยง ยั่งยืนสืบต่อกันไป มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา ที่บัณฑิตทั้งหลายในโลกสมมติว่าไม่มี แม้เราตถาคตก็กล่าววิญญาณนั้นว่า ไม่มี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือสิ่งที่บัณฑิตในโลกสมมติว่าไม่มี ซึ่งเราตถาคตก็กล่าวว่า ไม่มี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่บัณฑิตในโลกสมมติว่า มีซึ่งเราตถาคตกล่าวว่ามี คืออะไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คือ รูปไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ที่บัณฑิตทั้งหลายในโลกสมมติว่ามี แม้เราตถาคตก็กล่าวรูปนั้นว่ามี เวทนา...สัญญา...สังขาร..วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์  มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาที่บัณฑิตทั้งหลายในโลกสมมติว่ามี แม้เราตถาคตก็กล่าววิญญาณนั้นว่ามี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือสิ่งที่บัณฑิตทั้งหลายในโลกสมมติว่ามีซึ่งเราตถาคตกล่าวว่ามี.

[๒๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในโลก มีโลกธรรม  พระตถาคตย่อมตรัสรู้  ย่อมบรรลุ ครั้นแล้วก็บอก แสดง บัญญัติ  แต่งตั้ง เปิดเผยกระทำให้ตื้น. ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย โลกธรรมในโลกคืออะไร?
พระตถาคตเจ้า ตรัสรู้ บรรลุธรรมนั้น ครั้นแล้ว ก็บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกธรรมในโลกคือรูป พระตถาคตเจ้า ตรัสรู้ ทรงบรรลุ รูปนั้น ครั้นแล้วก็ทรงบอกแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเมื่อพระตถาคตเจ้าบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้นอยู่อย่างนี้ ผู้ใดไม่รู้ ไม่เห็น เราตถาคตจะทำอะไรเขา ผู้ซึ่งเป็นคนพาล เป็นปุถุชน เป็นคนบอด ไม่มีจักษุ ไม่รู้ไม่เห็นอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกธรรมในโลก คือ เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ พระตถาคตเจ้า ตรัสรู้ ทรงบรรลุวิญญาณนั้น ครั้นแล้วก็ทรงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อตถาคต บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผยกระทำให้ตื้นอยู่อย่างนี้ ผู้ใดไม่รู้ไม่เห็น เราจะไปว่าอะไรเขา ผู้เป็นคนโง่ เป็นปุถุชน เป็นคนบอด ไม่มีจักษุ ไม่รู้ไม่เห็นอยู่.

[๒๔๑]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดอกอุบลก็ดี ดอกปทุมก็ดีดอกบุณฑริกก็ดี  เกิดขึ้นแล้วในน้ำ ขึ้นพ้นน้ำ ตั้งอยู่ แต่ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคต ก็เช่นนั้นเหมือนกันแลเกิดแล้วในโลก เจริญแล้วในโลก  ครอบงำโลกอยู่ แต่โลกไม่แปดเปื้อนเราได้.

ผู้เห็นธรรมมีชีวิตวันเดียว ประเสริฐกว่าผู้ไม่เห็นธรรม(สหัสสวรรคที่8)เล่ม41หน้า417

ว่าด้วยสิ่งเดียวประเสริฐกว่าร้อยกว่าพัน

[๑๘] ๑.หากวาจาแม้ตั้งพัน ไม่ประกอบด้วยบทที่เป็นประโยชน์ไซร้  บทที่เป็นประโยชน์บทเดียว ซึ่งบุคคลฟังแล้วสงบระงับได้  ประเสริฐกว่า.

๒. หากว่า คาถาแม้พันหนึ่ง ไม่ประกอบด้วยบทเป็นประโยชน์  (ไม่ประเสริฐ ) บทแห่งคาถาบทเดียว ซึ่งบุคคลฟังแล้ว สงบระงับได้ประเสริฐกว่า.

๓. ก็ผู้ใดพึงกล่าวคาถาตั้งร้อย  ซึ่งไม่ประกอบด้วยบทเป็นประโยชน์  บทแห่งธรรมบทเดียวที่บุคคลฟังแล้วสงบระงับได้  ประเสริฐกว่า (การกล่าวคาถาตั้งร้อยของผู้นั้น) ผู้ใดพึงชนะมนุษย์พันหนึ่งคูณด้วยพันหนึ่ง  (คือ ๑ ล้าน) ในสงคราม ผู้นั้นหาชื่อว่าเป็นยอดแห่งชนผู้ชนะในสงครามไม่ ส่วนผู้ใดชนะตนคนเดียวได้ ผู้นั้นแลเป็นยอดแห่งผู้ชนะในสงคราม.

๔. ตนนั่นแล บุคคลชนะแล้วประเสริฐ  ส่วน๑. วรรคที่ ๘  มีอรรถกถา ๑๔ เรื่อง.
หมู่สัตว์นอกนี้ บุคคลชนะแล้วไม่ประเสริฐเลย(เพราะ) เมื่อบุรุษฝึกตนแล้ว ประพฤติสำรวมเป็นนิตย์ เทวดา คนธรรพ์  มาร พร้อมทั้งพรหมพึงทำความชนะของสัตว์เห็นปานนั้น ให้กลับแพ้ไม่ได้เลย.

๕. ผู้ใด พึงบูชาด้วยทรัพย์พันหนึ่งทุก ๆเดือนสิ้น  ๑๐๐ ปี ส่วนการบูชานั้นนั่นแลของผู้ที่พึงบูชา ท่านผู้มีตนอบรมแล้วคนเดียว แม้ครู่หนึ่งประเสริฐกว่าการบูชาของผู้นั้น การบูชาสิ้น ๑๐๐ ปี จะประเสริฐอะไรเล่า.

๖. ก็สัตว์ใด พึงบำเรอไฟในป่าตั้ง ๑๐๐ ปี ส่วนเขาพึงบูชาท่านผู้มีตนอบรมแล้วผู้เดียว แม้ครู่หนึ่ง การบูชานั้นนั่นแลประเสริฐกว่า (การบูชาไฟในป่าตั้ง ๑๐๐ ปี) การบูชา ๑๐๐ ปี จะประเสริฐอะไรเล่า.

๗. ผู้มุ่งบุญพึงบูชายัญและทำบำบวงอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกตลอดปี ทานนั้นแม้ทั้งหมดไม่ถึงส่วน ๔  การอภิวาทในท่านผู้ดำเนินตรงประเสริฐสุด.

๘. ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ  เจริญแก่บุคคลผู้กราบไหว้เป็นปกติผู้อ่อนน้อมต่อท่านผู้เจริญเป็นนิตย์.

๙. ก็ผู้ใดทุศีล มีใจไม่ตั้งมั่น พึงเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ความเป็นอยู่วันเดียวของผู้มีศีล มีฌานประเสริฐกว่า (ความเป็นอยู่ของผู้นั้น).

๑๐.  ก็ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจตั้งมั่น พึงเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ความเป็นอยู่วันเดียวของผู้มีปัญญา มีฌาน ประเสริฐกว่า (ความเป็นอยู่ของผู้นั้น).

๑๑. ก็ผู้ใดเกียจคร้านมีความเพียรอันทรามพึงเป็นอยู่  ๑๐๐ ปี ความเป็นอยู่วันเดียวของท่านผู้ปรารภความเพียรมั่น  ประเสริฐกว่าชีวิตของผู้นั้น.

๑๒. ก็ผู้ใดไม่เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมอยู่ พึงเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ความเป็นอยู่วันเดียวของผู้เห็นความเกิดและความเสื่อม ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ของผู้นั้น.

๑๓. ก็ผู้ใดไม่เห็นบทอันไม่ตาย พึงเป็นอยู่๑๐๐ ปี ความเป็นอยู่วันเดียวของผู้เห็นบทอันไม่ตาย ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ของผู้นั้น.

๑๔. ผู้ใดไม่เห็นธรรมอันยอดเยี่ยม พึงเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ความเป็นอยู่วันเดียวของผู้เห็นธรรมอันยอดเยี่ยม ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ของผู้นั้น.

จบสหัสสวรรคที่ ๘.

-วัดป่าสามแยก ศึกษาพระธรรมวินัย เบิกบุญ โอนบุญ อกหัก โดนของ ธรรมะ ธรรมทาน คลายเครียด เจริญรุ่งเรือง //www.samyaek.com

-Facebook พุทธพจน์ //www.facebook.com/login.php?next=http%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fgroups%2FBuddhaspeech

-Download free พระไตรปิฏกพร้อมหัวข้อธรรมสำหรับ apple ipad & iphone & Android ดูรายละเอียดได้ที่เวบ //www.tripitaka91.com

****หมายเหตุ "แสดงธรรมวันอาสาฬหบูชา ปี 2555" (//youtu.be/l52iDWt3V5Q ) นาทีที่ 6:01:55 ..เป็นต้นไป หลวงปู่ท่านได้พูดถึง ทนายชนอณุพงศ์ ชัยธนาวิรัตน์ ท่านใดมีปัญหาด้านกฏหมาย,คดีความต่างๆ ปรึกษาได้ที่ ทนายชนอณุพงศ์ ชัยธนาวิรัตน์ ที่เมล์ pasponglawyer@hotmail.com ,เบอร์โทรที่ 0818060981 , 0867809391 ****




Create Date : 20 เมษายน 2556
Last Update : 20 เมษายน 2556 18:06:22 น. 2 comments
Counter : 1084 Pageviews.

 
ทุกๆ วันเสาร์เวลาประเทศไทย โดยประมาณ 20:30 น.มีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก เทศน์โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล จากสำนักสงฆ์ป่าสามแยก

รับชมได้ที่
ดูวีดีโอช่องที่ 1 (สำหรับผู้ที่อินเตอร์เน็ทช้า: 56k)
www.samyaek.com

ดูวีดีโอช่องที่ 2 (สำหรับผู้ที่อินเตอร์เน็ทเร็ว: 212k)
www.samyaek.com/?channel=2

สำหรับท่านที่มีปัญหาดูถ่ายทอดสดไม่ได้
www.samyaek.com/board2/index.php?topic=2303.0

การใช้ iPad, iPhone, iPod touch ดูถ่ายทอดสด
www.samyaek.com/board2/index.php?topic=5531.0

วิธีใช้ Tablet ตระกูล Android ดูถ่ายทอดสด
www.samyaek.com/board2/index.php?topic=5512.0

สมาชิกท่านใดมีปัญหาในการรับชม
(ปัญหาอันเกิดจากคอมพิวเตอร์ของท่านเอง)

หากได้แก้ไขตามลิงค์ต่างๆ ข้างต้นแล้ว ก็ยังไม่สามารถรับชมได้
ให้ท่านติดต่อสอบถามได้ที่ คุณชัยณรงค์ รัตนเกษมสุข (เม้ง)
Dtac : 081-554-1699 , AIS 081-935-1651
e-mail : macmagic99@hotmail.com


โดย: Budratsa วันที่: 20 เมษายน 2556 เวลา:18:02:43 น.  

 
...แจกฟรี...CD พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด 91 เล่ม ของมหามกุฏราชวิทยาลัย และDVD จากการแสดงธรรมของหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล ได้ที่www.samyaek.com กระดาน "แจกสื่อธรรม" หากท่านใดยังไม่ได้สมัครสมาชิก ใช้
Username : Media
Password : 123456


โดย: Budratsa วันที่: 20 เมษายน 2556 เวลา:18:03:23 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Budratsa
Location :
พิจิตร Switzerland

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกๆคนค่ะ
"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา" เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐
Friends' blogs
[Add Budratsa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.