All Blog
หัวข้อ พระสูตรที่ควรศึกษา ในพระไตรปิฎก ฉบับภาษาไทย มหามกุฎฯ


๑ โสตานุคตสูตรเล่มที่ ๓๕/๔๗๐,๓๕/๔๙๐ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกายจตุกนิบาต เล่มที่ ๒ มหาวรรคที่ ๕
ว่าด้วยอานิสงส์การฟังธรรม ๔ ประการ

๒ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เล่มที่ ๖ ปกน้ำเงิน ๔๔ ปกแดง ๑๙ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาคที่ ๑ ปฐมเทศนา

๓ อนัตตลักขณสูตร เล่มที่ ๖/๕๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาคที่ ๑ เล่ม ๑๘/๓๑๔ พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๒

๔ สัมมาทิฏฐิสูตรเล่ม ๑๗/๕๒๐น้ำเงิน พระสุตตันตปิฎกมัชฌิมนิกายมูลปัณณาสก์ เล่มที่ ๑ ฉบับภาาาอังกฤษ เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๕๗

๕ สัจจบรรพ เล่มที่ ๑๗/๖๒๐น้ำเงิน พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกายมูลปัณณาสก์ เล่มที่ ๑

๖ ปฏิจจสมุปบาท น้ำเงิน ๒๒/๒๙๓พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกายอุปริปัณณาสก์ เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๑

๗ ธาตุวิภังคสูตรเล่มที่ ๒๓/๓๓๔ น้ำเงิน พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๒

๘ ปฐมสามัญญสูตร เล่มที่ ๓๐/๖๓ น้ำเงิน พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวาราวรรค เล่มที่ ๕ ภาคที่ ๑ ว่าด้วยสามัญญะและสามัญญผล

๙ สามัญญสูตร สูตรที่ ๘ เล่มที่ ๓๑/๔๙๒น้ำเงิน พระสุตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่มที่ ๕ ภาคที่ ๒ ว่าด้วยสัตว์ผู้เกื้อกูลสมณะมีน้อย

๑๐ สามัญญผลสูตรเล่มที่ ๑๑/๒๘๘น้ำเงิน พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่มที่ ๑

๑๑ เรื่องนางลูกสุกร [๒๔๑] พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๔๓/๒๘๑น้ำเงิน พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๒

๑๒ คุหัฏฐกสุตตนิทเทส ที่ ๒พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๖๕/๑๘๗น้ำเงิน พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่มที่ ๕ ภาคที่ ๑

๑๓ อายตนะภายใน ๖ เล่ม ๑๖/๒๑๓น้ำเงินพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่มที่ ๓ (ต่อ)ว่าด้วยสังคีติหมวด ๖

๑๔ อาทิตตปริยายสูตร น้ำเงินเล่มที่ ๖/๑๐๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาคที่ ๑

๑๕ อาทิตตปริยายสูตร สูตรที่ ๘.น้ำเงิน เล่ม ๒๘/๓๕๗พระสุตตันตปิฎกสังยุตตนิกายสฬายตนวรรคเล่มที่๔ภาคที๑

๑๖ โทษอย่างมากและโทษอย่างเบาในการผิดศิล เล่มที่ ๗๘/๕๐๘/๑ แดง๗๘/๔๔๗/๙

๑๗ พาลบัณฑิตสูตร ว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต นรกของคนพาล แดง๒๓/๑๓๖/๑

๑๘ คนพาลกินอาหารด้วยความติดใจในรสเป็นสัตว์เดรัจฉาน แดง ๒๓/๑๔๑-๑๔๓/๑๘ น้ำเงิน ๒๓/๑๕๓-๑๕๕/๑๖

๑๙ อรรถกถา อุตตราวิมาน น้ำเงินเล่ม ๔๘/๑๒๐/๓ แดง ๔๘/๑๐๗/๑๗

๒๐ อรรถกถาอัคคิสูตร น้ำเงิน เล่ม ๔๕/๕๘๕ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๔

๒๑ ใกล้ตายควรคิดถึงอะไร (นิทานสูตร) เล่ม 34 หน้า 118-141พระสุตตันตปิฎกอังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 122

๒๒ ความโกรธ เล่มที่ ๑๑/๑๐๖ น้ำเงิน พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่มที่ ๑



Create Date : 14 มกราคม 2555
Last Update : 14 มกราคม 2555 9:42:43 น.
Counter : 2302 Pageviews.

2 comment
Clip..Vdo รถคันนี้..ทำเพื่อพระพุทธศาสนาค่ะ

เจ้าของรถชื่อ ณัฐพงษ์ แววภักดี อยู่ที่อำเภอยะหริ่ง จ.ปัตตานี





Create Date : 18 กรกฎาคม 2554
Last Update : 18 กรกฎาคม 2554 18:11:12 น.
Counter : 562 Pageviews.

1 comment
แผนที่ชีวิต (สิงคาลกสูตร) เล่ม 16 หน้า 77-93
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 7
๘. สิงคาลกสูตร เรื่อง สิงคาลกคฤหบดีบุตร - ว่าด้วยคิหิปฏิบัติ

[๑๗๒] ข้าพเจ้า ได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต ใกล้กรุงราชคฤห์ สมัยนั้นสิงคาลกบุตรคฤหบดีลุกขึ้นแต่เช้า ออกจากกรุงราชคฤห์ มีผ้าเปียก มีผมเปียกประคองอัญชลีนอบน้อมทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องขวา ทิศเบื้องหลัง ทิศเบื้องซ้าย ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบน

[๑๗๓] ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองผ้า ถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ ได้ทอดพระเนตรเห็นสิงคาลกบุตรคฤหบดี ซึ่งลุกขึ้นแต่เช้า ออกจากกรุงราชคฤห์ มีผ้าเปียก มีผมเปียก ประคองอัญชลี นอบน้อมทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องขวา ทิศเบื้องซ้าย ทิศเบื้องหลัง ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบน ครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้ว ได้ตรัสถามว่า ดูก่อนบุตรคฤหบดี เธอลุกแต่เช้าออกจากกรุงราชคฤห์ มีผ้าเปียก มีผมเปียก ประคองอัญชลี นอบน้อมทิศทั้งหลาย อ ทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องขวา ทิศเบื้องซ้าย ทิศเบื้องหลัง ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบนอยู่ เพราะเหตุอะไร

สิงคาลกบุตรคฤหบดีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บิดาของข้าพระองค์ เมื่อจะทำกาลกิริยา ได้กล่าวไว้อย่างนี้ว่า นี่แน่ลูก เจ้าพึงนอบน้อมทิศทั้งหลาย ข้าพระองค์สักการะเคารพนับถือบูชาคำของบิดา

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 78

จึงลุกขึ้นแต่เช้าออกจากกรุงราชคฤห์ มีผ้าเปียก มีผมเปียก ประคองอัญชลี นอบน้อมทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องขวา ทิศเบื้องซ้าย ทิศเบื้องหลัง ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบนอยู่

ดูก่อนคฤหบดีบุตร ในวินัยของพระอริยเจ้า เขาไม่นอบน้อมทิศทั้ง ๖ กันอย่างนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในวินัยของพระอริยเจ้า ท่านนอบน้อมทิศ ๖ กันอย่างไร ขอประทานโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ตามที่ในวินัยของพระอริยเจ้า ท่านนอบน้อมทิศ ๖ กันนั้นเถิด พระเจ้าข้า.

กถาว่าด้วยอบายมุข ๔

[๑๗๔] ดูก่อนคฤหบดีบุตร ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงตั้งใจให้ดีเราจักกล่าว. สิงคาลกคฤหบดีบุตรกราบทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร อริยสาวกละกรรมกิเลส ๔ ได้แล้ว ไม่ทำบาปกรรมโดยฐานะ ๔ และไม่เสพทางเสื่อมแข็งโภคะ ๖ อริยสาวกนั้น เป็นผู้ปราศาจากกรรมอันลามก ๑๔ อย่างนี้แล้วย่อมเป็นผู้ปกปิดทิศ ๖ ย่อมปฏิบัติเพื่อชนะโลกทั้งสอง และเป็นอันอริยสาวกนั้นปรารภแล้วทั้งโลกนี้ และโลกหน้า. เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก อริยสาวกนั้นย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

กรรมกิเลส ๔ เป็นไฉน ที่อริยสาวกละได้แล้ว. ดูก่อนคฤบดีบุตร กรรมกิเลสคือปาณาติบาต ๑ อทินนาทาน ๑ กาเมสุมิจฉาจาร ๑

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 79

มุสาวาท ๑ กรรมกิเลส ๔ เหล่านี้ ที่อริยสาวกนั้นละได้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

[๑๗๕] ปาณาติบาต อทินนาทาน มุสาวาทและการคบหาภรรยาผู้อื่น เรากล่าวว่าเป็นกรรมกิเลส บัณฑิตทั้งหลายไม่สรรเสริญ

[๑๗๖] อริยสาวกไม่ทำบาปกรรมโดยฐานะ ๔ เป็นไฉน ปุถุชนถึงฉันทาคติ ย่อมทำกรรมลามก ถึงโทสาคติ ย่อมทำกรรมลามก ถึงโมหาคติ ย่อมทำกรรมลามก ถึงภยาคติ ย่อมทำกรรมลามก. ดูก่อนคฤหบดีบุตรส่วนอริยสาวก ไม่ถึงฉันทาติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถือโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ ท่านย่อมไม่ทำกรรมอันลามก โดยฐานะ ๔ เหล่านี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้เเล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

[๑๗๗] ผู้ใดประพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก ความชัง ความกลัว ความหลง ยศของผู้นั้นย่อมเสื่อมเหมือนดวงจันทร์ในข้างแรม ผู้ใดไม่ประพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก ความชัง ความกลัว ความหลง ยศย่อมเจริญแก่ผู้นั้น เหมือนดวงจันทร์ในข้างขึ้น.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 80

กถาว่าด้วยอบายมุข ๖

[๑๗๘] อริยสาวกไม่เสพทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลาย เป็นไฉน ดูก่อนคฤหบดีบุตร การเสพน้ำเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลายประการ ๑ การเที่ยวไปในตรอกต่าง ๆ ในเวลากลางคืน เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลายประการ การเที่ยวดูมหรสพเป็นทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลายประการ ๑ การเล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลายประการ ๑ การคบคนชั่วเป็นมิตร เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลายประการ ๑ ความเกียจคร้าน เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลายประการ ๑

[๑๗๙] ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษในการเสพน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๖ ประการ คือ ๒ ความเสื่อมทรัพย์อันผู้เสพพึงเห็นเอง ๑ ก่อการทะเลาะวิวาท ๑ เป็นบ่อเกิดแห่งโรค ๑ เป็นเหตุเสียชื่อเสียง ๑ เป็นเหตุไม่รู้จักอาย ๑ เป็นเหตุทอนกำลังปัญญา ๑ ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการเสพน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเหล่านี้แล

[๑๘๐] ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษในกามเที่ยวไปในตรอกต่าง ๆ ในเวลากลางคืน ๖ ประการ คือ ชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาตัว ๑ ชื่อว่า ไม่คุ้มครอง ไม่รักษาบุตรภรรยา ๑ ชื่อว่า ไม่คุ้มครอง ไม่รักษาทรัพย์สมบัติ ๑ เป็นที่ระแวงของคนอื่น ๑ คำพูดอันไม่เป็นจริงในที่นั้น ๆ ย่อมปรากฏในผู้นั้น ๑ ทำให้เกิดความลำบากมาก ๑ ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 81

๖ ประการในการเที่ยวไปในตรอกต่าง ๆ ในเวลากลางคืนเหล่านี้แล

[๑๘๑] ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษในการเที่ยวดูมหรสพ ๖ ประการ คือ รำที่ไหนไปที่นั่น ๑ ขับร้องที่ไหนไปที่นั้น ๑ ประโคมที่ไหนไปที่นั้น ๑ เสภาที่ไหนไปที่นั้น เพลงที่ไหนไปที่นั้น ๑ เถิดเทิงที่ไหนไปที่นั้น ๑ ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการเที่ยวดูมหรสพเหล่านี้แล

[๑๘๒] ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษในการเล่นการพนัน อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๖ ประการ คือ ผู้ชนะย่อมก่อเวร ๑ ผู้แพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป ๑ ความเสื่อมทรัพย์ในปัจจุบัน ๑ ถ้อยคำของคนเล่นการพนัน ซึ่งไปพูดที่ประชุมฟังไม่ขึ้น ๑ ถูกมิตรอำมาตย์หมิ่นประมาท ๑ ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย เพราะเห็นว่าชายนักเลงเล่นการพนันไม่สามารถจะเลี้ยงภรรยา ๑ ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการเล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเหล่านี้แล

[๑๘๓] ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษในการคบคนชั่วเป็นมิตร ๖ ประการ คือ นำให้เป็นนักเลงการพนัน นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้ ๑ นำให้เป็นนักเลงเหล้า ๑ นำให้เป็นคนลวงผู้อื่นด้วยของปลอม ๑ นำให้เป็นคนโกงเขาซึ่งหน้า ๑ นำให้เป็นคนหัวไม้ ๑ ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษ๖ ประการในการคบคนชั่วเป็นมิตรเหล่านี้แล

[๑๘๔] ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษในการเกียจคร้าน ๖ ประการ คือ มักให้อ้างว่าหนาวนักแล้วไม่ทำการงาน ๑ มักให้อ้างว่าร้อนนักแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 82

ไม่ทำการงาน ๑ มักให้อ้างว่าเย็นแล้ว แล้วไม่ทำการงาน ๑ มักให้อ้างว่า ยังเข้าอยู่ แล้วไม่ทำการงาน มักให้อ้างว่าหิวนักแล้วไม่ทำการงาน ๑ มักให้อ้างว่ากระหายนัก แล้วไม่ทำการงาน ๑ เมื่อเขามากไปด้วยการอ้างเลศผัดเพี้ยนการงานอยู่อย่างนี้ โภคะที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ถึงความเสื่อมสิ้นไป. ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการเกียจคร้านเหล่านี้แล. พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

[๑๘๕] เพื่อนในโรงสุราก็มี เพื่อนกล่าวแต่ปากว่าเพื่อน ๆ ก็มี ส่วนผู้ใดเป็นสหาย เมื่อความต้องการเกิดขึ้นแล้ว ผู้นั้นจัดว่าเป็นเพื่อนแท้. เหตุ ๖ ประการเหล่านี้คือ การนอนสาย ๑ การเสพภรรยาผู้อื่น ๑ การผูกเวร ๑ ความเป็นผู้ทำแต่สิ่งหาประโยชน์มิได้ ๑ มิตรชั่ว ๑ ความเป็นผู้ตระหนี่เหนี่ยวแน่น ๑ ย่อมกำจัดบุรุษ เสียจากประโยชน์สุขที่จะพึงได้ พึงถึง. คนมีมิตรชั่วมีมารยาทและโคจรชั่ว ย่อมเสื่อมจากโลกทั้งสอง คือ จากโลกนี้และจากโลกหน้า. เหตุ ๖ ประการ คือ การพนันและหญิง ๑

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 83

สุรา ๑ ฟ้อนรำขับร้อง ๑ นอนหลับในกลางวันบำเรอตนในสมัยมิใช่กาล ๑ มิตรชั่ว ๑ ความตระหนี่เหนียวแน่น ๑ เหล่านี้ย่อมกำจัดบุรุษเสียจากประโยชน์ที่จะพึงได้ พึงถึง. ชนเหล่าใดเล่นการพนัน ดื่มสุรา เสพหญิงภรรยาที่รักเสมอด้วยชีวิตของผู้อื่น คบแต่คนต่ำช้า และไม่คบหาคนที่มีความเจริญ ย่อมเสื่อมดุจดวงจันทร์ในข้างแรม ผู้ใดดื่มสุราไม่มีทรัพย์ หาการงานทำเลี้ยงชีวิตมิได้ เป็นคนขี้เมาปราศจากสิ่งเป็นประโยชน์ เขาจักจม ลงสู่หนี้เหมือนก้อนหินจมน้ำฉะนั้น จักทำความอากูลแก่ตนทันที. คนที่ปรกตินอนหลับในกลางวัน เกลียดชังการลุกขึ้นในกลางคืน เป็นนักเลงขี้เมาเป็นนิจไม่อาจครอบครองเรือนให้ดีได้ ประโยชน์ทั้งหลาย ย่อมล่วงเลย ชายหนุ่มที่ละทิ้งการงาน ด้วยอ้างว่าหนาวนัก ร้อนนัก เวลานี้เย็นเสียแล้วดังนี้เป็นต้น ส่วนผู้ใดไม่สำคัญความหนาว ความร้อน ยิ่งไปกว่าหญ้า ทำกิจของบุรุษอยู่ ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมจากความสุข ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 84

กถาว่าด้วยมิตรเทียม

[๑๘๖] ดูก่อนคฤหบดีบุตร คน ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ คนปอกลอก ๑ คนดีแต่พูด ๑ คนหัวประจบ ๑ คนชักชวนในทางฉิบหาย ๑ ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร.

[๑๘๗] ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนปอกลอกท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตรเป็นแต่คนเทียมมิตรโดยสถาน ๔ คือ เป็นคนติดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว ๑ เสียให้น้อยคิดเอาให้ได้มาก ๑ ไม่รับทำกิจของเพื่อนในคราวมีภัย ๑ คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว ๑. คฤหบดีบุตร คนปอกลอกท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล.

[๑๘๘] ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนดีแต่พูด ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตรแต่เป็นคนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ คือ เก็บเอาของล่วงแล้วมาปราศรัย ๑ อ้างเอาของที่ยังไม่มาถึงมาปราศรัย ๑ สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้ ๑ เมื่อกิจเกิดขึ้นแสดงความขัดข้อง ( ออกปากพึ่งมิได้ ) ๑. ดูก่อนคฤหบดีบุตรคนดีแต่พูดท่านพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล.

[๑๘๙] ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนหัวประจบ ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ คือ ตามใจเพื่อน ให้ทำความชั่ว (จะทำชั่วก็คล้อยตาม) ๑ ตามใจเพื่อนให้ทำความดี (จะทำดีก็คล้อยตาม) ต่อหน้าก็สรรเสริญ ๑ ลับหลังนินทา ๑. ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนหัวประจบท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 85

[๑๙๐] ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนชักชวนในทางฉิบหาย ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ คือ ชักชวนให้ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ชักชวนให้เที่ยวตามตรอกต่างๆ ในเวลากลางคืน ๑ ชักชวนให้ดูการมหรสพ ๑ ชักชวนให้เล่นการพนัน อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูก่อนคฤหบดีบุตรคนชักชวนในทางฉิบหาย ท่านพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตรโดยสถาน ๔ เหล่านี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้แล้วจึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

[๑๙๑] บัณฑิตผู้รู้แจ้งมิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ มิตรปอกลอก ๑ มิตรดีแต่พูด ๑ มิตรหัวประจบ ๑ มิตรชักชวนในทางฉิบหาย ว่าไม่ใช่มิตรแท้ พึงเว้นเสียให้ห่างไกล เหมือนคนเดินทาง เว้นทางที่มีภัยเฉพาะหน้า ฉะนั้น

[๑๙๒] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ มิตรมีอุปการะ ๑ มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ มิตรแนะประโยชน์ มิตรมีความรักใคร่ ๑ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรมีใจดี (เป็นมิตรแท้).

กถาว่าด้วยมิตรแท้

[๑๙๓] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรมีอุปการะ ท่านพึงทราบว่า เป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ คือ รักษาเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๑ รักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๑ เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งพำนักได้ ๑ เมื่อกิจที่

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 86

จำต้องทำเกิดขึ้น เพิ่มทรัพย์ให้สองเท่า ๑. ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรมีอุปการะท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล.

[๑๙๔] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ คือ บอกความลับแก่เพื่อน ๑ ปิดความลับของเพื่อน ๑ ไม่ละทิ้งในเหตุอันตราย ๑ แม้ชีวิตก็อาจสละเพื่อประโยชน์แก่เพื่อนได้ ๑. ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้โดยสถาน . เหล่านี้แล.

[๑๙๕] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรแนะประโยชน์ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ คือ ห้ามจากความชั่ว ๑ ให้ตั้งอยู่ในความ ดี ๑ ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑ บอกทางสวรรค์ให้ ๑. ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรแนะประโยชน์ ท่านพึงทราบว่า เป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล.

[๑๙๖] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรมีความรักใคร่ พึงทราบว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ คือ ไม่ยินดีด้วยความเสื่อมของเพื่อน ๑ ยินดีด้วยความเจริญของเพื่อน. ห้ามคนที่กล่าวโทษเพื่อน ๑ สรรเสริญคนที่ สรรเสริญเพื่อน ๑. ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรมีความรักใคร่ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

[๑๙๗] บัณฑิตรู้แจ้งมิตร ๔ จำพวก เหล่านี้ คือ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 87

มิตรมีอุปการะ ๑
มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑
มิตรแนะประโยชน์ ๑
มิตรมีความรักใคร่ ๑
ว่าเป็นมิตรแท้ฉะนี้แล้ว พึงเข้าไป คบหาโดยเคารพ เหมือนมารดากับบุตรฉะนั้น. บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองส่องสว่างเพียงดังไฟ เมื่อบุคคลสะสมโภคสมบัติ อยู่เหมือนแมลงผึ้งสร้างรัง โภคสมบัติย่อมถึง
ความเพิ่มพูนดุจจอมปลวกอันตัวปลวกก่อขึ้น ฉะนั้น คฤหัสถ์ในตระกูลผู้สามารถ ครั้นสะสม โภคสมบัติได้อย่างนี้ พึงแบ่งโภคสมบัติ ออกเป็น ๔ ส่วน เขาย่อมผูกมิตรไว้ได้ พึงใช้ สอยโภคทรัพย์ด้วยส่วนหนึ่ง พึงประกอบการ งานด้วยสองส่วน พึงเก็บส่วนที่สี่ไว้ด้วย หมายจักมีไว้ในยามมีอันตราย ดังนี้.

กถาว่าด้วยทิศ ๖

[๑๙๘] ดูก่อนคฤหบดีบุตร ก็อริยสาวกเป็นผู้ปกปิดทิศทั้ง ๖
อย่างไร. ท่านพึงทราบทิศ ๖ เหล่านี้คือ พึงทราบมารดาบิดาว่า เป็นทิศ
เบื้องหน้า อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา บุตรและภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง มิตร

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 88

และอำมาตย์เป็นทิศเบื้องซ้าย ทาสและกรรมกรเป็นทิศเบื้องต่ำ สมณ-
พราหมณ์ เป็นทิศเบื้องบน.
[๑๙๙] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มารดาบิดา เป็นทิศเบื้องหน้า อันบุตรธิดาพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ
ด้วยตั้งใจว่า ท่านเลี้ยงเรามา เราจักเลี้ยงท่านตอบ ๑
จักรับทำกิจของท่าน ๑
จักดำรงวงศ์ตระกูล ๑
จักปฏิบัติตนให้เป็นผู้สมควรรับทรัพย์มรดก ๑
เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มารดาบิดา ผู้เป็นทิศเบื้องหน้า อันบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้วย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๕ คือ
ห้ามจากความชั่ว ๑
ให้ตั้งอยู่ในความดี ๑
ให้ศึกษาศิลปวิทยา ๑
หาภรรยาที่สมควรให้ ๑
มอบทรัพย์ให้ในสมัย ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มารดาบิดา ผู้เป็นทิศเบื้องหน้า อันบุตรบำรุง
ด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้วย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๔ เหล่านี้ ทิศ
เบื้องหน้านั้น ชื่อว่า อันบุตรปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการ
ฉะนี้
[๒๐๐] ดูก่อนคฤหบดีบุตร อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวา อันศิษย์บำรุงด้วยสถาน ๕ คือ
ด้วยลุกขึ้นยืนรับ ๑
ด้วยเข้าไปยินคอยต้อนรับ .
ด้วยการเชื่อฟัง ๑
ด้วยการปรนนิบัติ ๑
ด้วยการเรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ ๑.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 89

ดูก่อนคฤหบดีบุตร อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวา อันศิษย์พึงบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว
ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยสถาน ๕ คือ
แนะนำดี ๑
ให้เรียนดี บอกศิษย์ด้วยดีในศิลปวิทยาทั้งหมด ๑
ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง ๑
ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย ๑
ดูก่อนคฤหบดีบุตร อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวา อันศิษย์บำรุงด้วย
สถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศ
เบื้องขวานั้น ชื่อว่า อันศิษย์ปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการ
ฉะนี้.
[๒๐๑] ดูก่อนคฤหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลัง อันสามีพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ
ด้วยยกย่องว่าเป็นภรรยา ๑
ด้วยไม่ดูหมิ่น ๑
ด้วยไม่ประพฤตินอกใจ ๑
ด้วยมอบความเป็นใหญ่ให้ ๑
ด้วยให้เครื่องแต่งตัว ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลัง อันสามีบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ แล้ว
ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕ คือ
จัดการงานดี ๑
สงเคราะห์คนข้างเคียงสามีดี ๑
ไม่ประพฤตินอกใจสามี ๑
รักษาทรัพย์ที่สามีหามาให้ ๑
ขยันไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลังอันสามีบำรุงด้วยสถานเหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศเบื้องหลังนั้นชื่อว่า อันสามีปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการฉะนี้ .
[๒๐๒] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้าย อันกุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ
ด้วยการให้ปัน ๑
ด้วยเจรจาถ้อยคำเป็นที่รัก ๑

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 90

ด้วยประพฤติประโยชน์ ๑
ด้วยความเป็นผู้มีตนเสมอ ๑
ด้วยไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความเป็นจริง ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้าย อันกุลบุตรบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๕ คือ
รักษามิตรผู้ประมาทแล้ว ๑
รักษาทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว ๑
เมื่อมิตรมีภัย เอาเป็นที่พึงพำนักได้ ๑
ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ ๑
นับถือตลอดถึงวงศ์ตระกูลของมิตร ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้ายอันกุลบุตรบำรุงด้วย
สถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศ
เบื้องซ้ายนั้นชื่อว่าอันกุลบุตรปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการ
ฉะนี้.
[๒๐๓] ดูก่อนคฤหบดีบุตร ทาสกรรมกร ผู้เป็นทิศเบื้องต่ำ อันนายพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ
ด้วยจัดการงานให้ทำตามสมควรแก่กำลัง ๑
ด้วยให้อาหารและรางวัล ๑
ด้วยรักษาในคราวเจ็บไข้ ๑
ด้วยแจกของมีรสแปลกประหลาดให้ ๑
ด้วยปล่อยให้ในสมัย ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร ทาสกรรมกรผู้เป็นทิศเบื้องต่ำ อันนายบำรุง
ด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ แล้ว ย่อมอนุเคราะห์นายด้วยสถาน ๕ คือ
ลุกขึ้นทำการงานก่อนนาย ๑
เลิกการงานทีหลังนาย ๑
ถือเอาแต่ของที่นายให้ ๑
ทำการงานให้ดีขึ้น ๑
นำคุณของนายไปสรรเสริญ ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร ทาสกรรมกรผู้เป็นทิศเบื้องต่ำ อันนายบำรุง
ด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ แล้ว ย่อมอนุเคราะห์นายด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 91

เบื้องต่ำนั้น ชื่อว่า อันนายปกปิดให้เกษมสำราญไม่ให้มีภัยด้วยประการ
ฉะนี้.
[๒๐๔] ดูก่อนคฤหบดีบุตร สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน อันกุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ
ด้วยกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ๑
ด้วยวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ๑
ด้วยมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ๑
ด้วยความเป็นผู้ไม่ปิดประตู ๑
ด้วยให้อามิสทานเนือง ๆ ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน อันกุลบุตรบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว
ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๖ เหล่านี้ คือ
ห้ามจากความชั่ว ๑
ให้ตั้งอยู่ในความดี
อนุเคราะห์ด้วยใจงาม ๑
ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑
ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง ๑
บอกทางสวรรค์ให้ ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน อันกุลบุตรบำรุงแล้วด้วยสถาน ๕ เหล่านี้
ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๖ เหล่านี้ ทิศเบื้องบนนั้นชื่อว่า อันกุลบุตรปกปิดให้เกษมสำราญให้ไม่มีภัย ด้วยประการฉะนี้. .
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้
แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[๒๐๕ ] มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา บุตรภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง มิตร อำมาตย์เป็นทิศเบื้องซ้าย ทาสกรรมกรเป็นทิศเบื้องต่ำ สมณพราหมณ์เป็นทิศเบื้องบน คฤหัสถ์

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 92

ในตระกูล ผู้สามารถพึงนอบน้อมทิศเหล่านี้.บัณฑิตผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นคนละเอียด และมีไหวพริบ มีความประพฤติเจียมตน ไม่ ดื้อกระด้าง ผู้เช่นนั้นย่อมได้ยศ คนหมั่นไม่ เกียจคร้าน ย่อมไม่หวั่นไหว ในอันตราย
ทั้งหลาย คนมีความประพฤติไม่ขาดสาย มี ปัญญา ผู้เช่นนั้นย่อมได้ยศ คนผู้สงเคราะห์ แสวงหามิตรที่ดี รู้เท่าถ้อยคำที่เขากล่าวปราศจากตระหนี่เป็นผู้แนะนำ ชี้แจง ตามแนะนำ ผู้เช่นนั้นย่อมได้ยศ.การให้ ๑ เจรจาไพเราะ ๑ การประพฤติให้เป็นประโยชน์ ๑ ความเป็นผู้มีตนเสมอใน
ธรรมทั้งหลายในคนนั้น ๆ ตามควร ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจในโลกเหล่านี้แล เป็นเหมือนเพลารถอันแล่นไปอยู่ จากธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวเหล่านี้ ไม่พึงมีไซร้มารดาบิดาไม่พึงได้ความนับถือ หรือความบูชา เพราะเหตุแห่ง
บุตร. เพราะบัณฑิตทั้งหลายพิจารณาเห็นธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวเหล่านี้โดยชอบ ฉะนั้น บัณฑิตเหล่านั้น จึงถึงความเป็นใหญ่และเป็น
ผู้อันหมู่ชนสรรเสริญทั่วหน้าดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 93

[๒๐๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว สิงคาลกคฤหบดีบุตร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูปฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทาน ธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้น เหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฉะนี้แล. จบ สิงคาลกสูตรที่ ๘








Create Date : 19 มิถุนายน 2554
Last Update : 19 มิถุนายน 2554 3:36:46 น.
Counter : 1317 Pageviews.

2 comment
ห้ามถวายของที่ผิดวินัยพระ (สังคีติสูตร) เล่ม 16 หน้า 301-303 หน้า 307-308
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 301

คำว่า อรกฺเขยฺยานิ แปลว่า ไม่ต้องรักษาไว้. ท่านแสดงความหมาย
ว่า ไม่มีหน้าที่จะต้องรักษาเป็นอย่าง ๆ ไป ในทวารทั้ง ๓ ทุกอย่างรักษา
ไว้แล้วด้วยสติอย่างเดียว. คำว่า ปฏิจฺฉาเทมิ ความว่า กายทุจริต

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 302

ข้อนี้เกิดขึ้นเพราะความไม่รอบคอบของเรา, เราจะรักษาไว้มิให้คนอื่นรู้.
คำว่า นตฺถิ ตถาคตสฺส ความว่า กายทุจริตที่จะต้องรักษาอย่างนั้น ไม่มีแก่
พระตถาคต. แม้ในส่วนที่เหลือก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้. ถามว่า พระขีณาสพ
อื่น ๆ มีกายสมาจารเป็นต้น ไม่บริสุทธิ์กระนั้นหรือ ตอบว่า ไม่ใช่ไม่
บริสุทธิ์ เพียงแต่ว่าบริสุทธิ์ไม่เท่ากับพระตถาคต. พระขีณาสพที่ฟังมา
น้อย ย่อมไม่ต้องอาบัติที่เป็นโลกวัชชะ ก็จริงอยู่, แต่เพราะไม่ฉลาดใน
พุทธบัญญัติ ก็ย่อมจะต้องอาบัติในกายทวาร ประเภททำวิหาร ทำกุฏิ
( คลาดเคลื่อนไปจากพุทธบัญญัติ ) อยู่ร่วมเรือน นอนร่วมกัน ( กับอนุป-
สัมบัน เป็นต้น ). ย่อมต้องอาบัติในวจีทวารประเภทชักสื่อ กล่าวธรรม
โดยบท พูดเกินกว่า ๕-๖ คำ บอกอาบัติที่เป็นจริง ( เป็นต้น ). ย่อม
ต้องอาบัติเพราะรับเงินรับทอง ในทางมโนทวารด้วยอำนาจยินดีเงินทองที่
เขาเก็บไว้เพื่อตน. แม้พระขีณาสพ ขนาดพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรก็ยัง
เกิดมโนทุจริตขึ้นได้ ด้วยอำนาจที่นึกตำหนิ ในมโนทวาร. เมื่อศากยะ-
ปาตุเมยยกะ ขอขมาพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อประโยชน์แก่พระสารีบุตร และ
พระโมคคัลลานะ ในคราวที่ทรงประณาม พระเถระทั้งสองนั้น พร้อมกับ
ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป ในเรื่องปาตุมะ พระเถระ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสถามว่า." เธอคิดอย่างไร สารีบุตร เมื่อภิกษุสงฆ์ถูกเราประณามแล้ว".
ดังนี้ ก็ให้เกิดความคิดขึ้นว่า "เราถูกพระศาสดาประณาม เพราะไม่ฉลาด
เรื่องบริษัท. ตั้งแต่บัดนี้ไป เราจะไม่สอนคนอื่นละ" จึงได้กราบทูลว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้ามีความคิดอย่างนี้ว่า " ภิกษุสงฆ์
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประณามแล้ว, บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จักทรง
ขวนขวายน้อย ประกอบทิฐธรรมสุขวิหารธรรมอยู่ แม้เราทั้งสองก็จัก

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 303

ขวนขวายน้อย ประกอบทิฐธรรมสุขวิหารธรรมอยู่. ลำดับนั้น พระศาสดา
เมื่อจะทรงยกข้อตำหนิ เพราะมโนทุจริตนั้น ของพระเถระ จึงตรัสว่า
"เธอจงรอก่อนสารีบุตร. ความคิดอย่างนี้ไม่ควรที่เธอจะให้เกิดขึ้นอีกเลย
สารีบุตร". แม้เพียงความคิดว่า "เราจะไม่ว่ากล่าวสั่งสอนคนอื่น อย่างนี้"
ก็ชื่อว่าเป็นมโนทุจริต ของพระเถระ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมไม่มีพระ
ดำริเช่นนั้น และการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ
แล้ว จะไม่พึงมีทุจริตนั้น ไม่ใช่ของน่าอัศจรรย์. แม้แต่ดำรงอยู่ในภูมิ
แห่งพระโพธิสัตว์ ทรงประกอบความเพียรอยู่ ๖ ปี พระองค์ก็มิได้มีทุจริต.
แม้เมื่อเหล่าเทวดาเกิดความสงสัยขึ้นอย่างนี้ว่า "หนังท้องติดกระดูกสันหลัง
(อย่างนี้) พระสมณโคดม ถึงแก่การดับสูญ ( เสียละกระมัง )" เมื่อถูก
มารใจบาป กล่าวอยู่ว่า " สิทธัตถะ ท่านจะต้องมาลำบากลำบนทำไม
ท่านสามารถที่จะเสวยโภคสมบัติไปด้วย สร้างบุญกุศลไปด้วยได้" ดังนี้
แม้เพียงความคิดว่า "เราจัก ( กลับไป ) เสวยโภคสมบัติ" ก็ไม่เกิด.
ครั้นแล้ว มารก็ติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าในเวลาที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์
อยู่ถึง ๖ ปี ในเวลาที่ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว อีก ๑ ปี ก็มิได้เห็น
โทษผิดอันหนึ่งอันใด จึงกล่าวความข้อนี้ไว้ แล้วหลบไป ว่า-
" เราติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไปทุกย่างก้าว
ตลอดเวลา ๗ ปี ก็มิได้เห็นข้อบกพร่องใด ๆ ของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระสติไพบูลย์นั้นเลย"

-----------------------------------------------------------------------------

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 307

" ได้สี่แล้วอยากได้แปด ได้แปดแล้วอยากได้สิบหก
ได้สิบหกแล้วอยากได้สามสิบสอง จึงต้องมาทูนจักรไว้
คนที่ถูกความอยากเล่นงานเอา จักรกำลังหมุนอยู่บนหัว".
เจ้าของเรือน ท่านเรียกว่า คฤหบดี คฤหบดีนั้น ชื่อว่า มีอุปการะ
มาก แก่มาตุคาม ด้วยการเพิ่มให้ซึ่งสิ่งของเช่นที่นอน, ผ้าผ่อนเครื่องแต่งตัว
เป็นต้น. มาตุคาม นอกใจคฤหบดี ย่อมไปเกิดในอบายมีนรกเป็นต้น ดังนั้น
คฤหบดีนั้น ท่านจึงเรียกว่า คหปตัคคิ ด้วยอรรถว่า ตามเผาไหม้โดย
นัยก่อนเช่นกัน. ในกรณีนั้น มีเรื่อง ( นี้เป็นตัวอย่าง )-
ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า ภริยาของอุบาสกผู้เป็นโสดาบัน
ประพฤตินอกใจ. อุบาสกเห็นเหตุนั้นโดยประจักษ์ จึงกล่าวว่า "เหตุไร
เธอจึงทำอย่างนั้น. ภริยาตอบว่า " ถ้าดิฉันทำเห็นปานนั้น ( จริงอย่างที่ท่าน
ว่า ), ขอให้สุนัขตัวนี้ ทิ้งกัดดิฉันเถิด" ดังนี้แล้ว ตายไปเกิดเป็นเวมานิกเปรตที่สระกัณณเมุณฑกะ. กลางวันเสวยสมบัติ กลางคืนเสวยทุกข์. คราว
นั้น พระเจ้าพาราณสี เสด็จล่าเนื้อ เข้าไปในป่า เสด็จไปถึงสระกัณณ-
มุณฑกะ โดยลำดับ ได้เสวยสมบัติอยู่กับนาง. นางเปรตลวงท้าวเธอไป
เสวยทุกข์ในตอนกลางคืน. พระราชาทรงทราบความแล้ว ทรงสงสัยว่า
" นางไปที่ไหนหนอ " จึงเสด็จตามไปข้างหลัง ทรงหยุดอยู่ไม่ห่างนัก
ทอดพระเนตรเห็นสุนัขตัวหนึ่งออกมาจากสระกัณณมุณฑกะ กัดกินนาง
เสียงดังกรุบ ๆ กรับ ๆ อยู่ จึงทรงฟันด้วยพระแสงดาบ ขาดสองท่อน. สุนัข
กลับเพิ่มขึ้นเป็น ๒. เมื่อถูกฟันขาดอีก ก็เป็น. เมื่อถูกฟันขาดอีก ก็เพิ่ม
เป็น ๘. เมื่อถูกฟันขาดอีก ก็เพิ่มขึ้นเป็น ๑๖. นางทูลว่า "สวามี พระองค์

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 308

ทรงทำอะไร". ท้าวเธอตรัสว่า "นี้อะไรกัน". นางทูลว่า พระองค์
อย่าทำอย่างนั้น จงทรงถ่มก้อนเขฬะลงบนพื้นแล้วขยี้ด้วยพระบาท".
ท้าวเธอทรงทำตามที่นางทูลบอก. สุนัขทั้งหลายก็หายไป. วันนั้นพอดีนาง
สิ้นกรรม พระราชาไม่ทรงสบายพระทัย จึงทรงเริ่มจะเสด็จกลับ. นาง
ทูลว่า " สวามี กรรมของหม่อมฉันสิ้นแล้ว อย่าเสด็จไปเลย". พระราชา
ไม่ทรงฟัง เสด็จไปจนได้. ส่วนในคำว่า ทกฺขิเณยฺยคฺคิ นี้ คำว่า ทกฺขิณา
คือปัจจัย ๔. ภิกษุสงฆ์ ชื่อว่า ทักขิไณยบุคคล. ภิกษุสงฆ์ ชื่อว่า มีอุปการะ
มากเเก่คฤหัสถ์ ด้วยการชักนำ ให้ประพฤติในกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นต้นว่า สรณะ ๓ ศีล ๕ ศีล . การเลี้ยงดูมารดาบิดา การบำรุง
สมณพราหมณ์ผู้มีธรรม. คฤหัสถ์ที่ปฏิบัติผิดในภิกษุสงฆ์ บริภาษด่าทอ
ภิกษุสงฆ์ ย่อมไปเกิดในอบายมีนรกเป็นต้น ดังนั้น แม้ภิกษุสงฆ์ท่านก็
เรียกว่า ทักขิเณยยัคคิ ด้วยอรรถว่า ตามเผาไหม้โดยนัยก่อนเช่นกัน.
และเพื่อจะให้ความข้อนี้กระจ่าง ควรจะแถลงเรื่องเวมานิกเปรตโดยละเอียด
ด้วย.



Create Date : 15 มิถุนายน 2554
Last Update : 15 มิถุนายน 2554 23:44:54 น.
Counter : 885 Pageviews.

1 comment
พระพุทธเจ้าสอนเรื่องการให้ทาน
" พืชแม้มาก อันบุคคลหว่านแล้วในนาดอน ผลย่อมไม่ไพบูลย์ ทั้งไม่ยัง

ชาวนาให้ยินดี ฉันใด,ทานมากมาย อันบุคคลตั้งไว้ในหมู่ชนผู้ทุศีล

ผลย่อมไม่ไพบูลย์ ทั้งไม่ยังทายกให้ยินดี ฉันนั้นเหมือนกัน "

พระไตรปิฎกเล่ม ๔๒ หน้า ๓๑๒



Create Date : 14 มิถุนายน 2554
Last Update : 14 มิถุนายน 2554 20:57:50 น.
Counter : 1134 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  

shada
Location :
น้ำหนาว เพชรบูรณ์ , เกาะพงัน สุราษฯ  Ghana

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]



พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นหูที่วิเศษยิ่ง พระไตรปิฏก เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง พระไตรปิฏก เป็นกายที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นใจที่วิเศษยิ่ง พระไตรปิฏก เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง พระไตรปิฏก เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฏก เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง

ธรรมวินัยอันพระตถาคตเจ้าประกาศแล้วเปิดเผย ไม่กำบังจึงรุ่งเรือง (เล่ม ๑๐ หน้า ๔๖๕_ปกน้ำเงิน)
บัญญัติของพระพุทธเจ้า จากพระไตรปิฎกชุด 91 เล่ม ของมหามกุฎราชวิทยาลัย เล่ม 3
(ปกสีแดง หน้า 887 ปกสีน้ำเงิน หน้า 940)
พระบัญญัติ อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่ง ทอง-เงิน หรือยินดี ทอง-เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ก็ดี เป็นนิสสัคคียปาจิตตีย์(นิสสัคคียปาจิตตีย์ 1 ตัว ต้องตกโรรุวนรก 1 ชั่วอายุ คือ 4,000 ปีของนรกขุมนี้ เท่ากับ 840,960,000 ล้านปีมนุษย์)

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.ให้ไว้ ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535
เป็นปีที่ 47 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภาดังต่อไปนี้ มาตรา 15 ตรี มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
...(4)รักษาหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา
**หยุดทำร้ายพระพุทธศาสนา(โยมควรเรียนรู้) ทำบุญแล้วเป็นบาป ตกนรกทั้งพระและโยม
1.ตักบาตรด้วยเงินและทอง
2.ตักบาตรด้วยสิ่งของที่ต้องห้าม ข้าวสารอาหารแห้ง-ดิบ
3.ทำบุญกับพระทุศีล(ผิดศีลธรรมและไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย)รับเงิน รับทอง มีบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นของตนเอง มีบัตรเอทีเอ็ม มีบัตรเครดิต
4.ฯลฯ
จากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปลไทยฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย 91 เล่ม
**ชาวพุทธทั้งหลาย ขอให้อธิษฐานเพื่อถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้
"ขออำนาจพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงบันดาลบุญของข้าพระพุทธเจ้าให้เข้าไปรวมเป็นพระราชกุศลของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พลังบุญทั้งหลาย ที่พระองค์ได้ทรงกระทำต่อพสกนิกรและราชอาณาจักร ขอบุญนั้นทั้งหมด จงเป็นพลังขับดันโรคภัยทั้งหลายที่กำลังเกิดในพระวรกายของพระองค์ให้อันตรธานไป"

จากหลักฐานเทียบเคียงของการใช้สัจอธิษฐาน ในพระไตรปิฎก 91 เล่ม ฉบับมหามกฎราชวิทยาลัย เล่ม 74 หน้า 447-479 ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 มาตรา 1, 3, 341, 342 และ 343 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักสงฆ์ป่าสามแยก ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ (www.samyaek.com) ผู้มีปัญญาทั้งหลาย ขอจงพิจารณาเอาเถิด เพราะไม่บังคับให้ใครมาเชื่อหรือทำตาม เพียงแต่นำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเปิดเผย เพื่อให้ชาวพุทธปฏิบัติได้ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
ยินดีในบุญกับทุกท่านที่รวมใจกันเปิดเผยพระธรรมวินัยให้รุ่งเรือง ค่ะ

ชฎา มีโครงการ จะเปิด บ้านพักตากอากาศ ติดถนน ติดทะเล ไม่ไกลจาก ท่าเรือ ท้องศาลา บรรยากาศ เหงียบ สงบ เป็นธรรมชาติ ให้เช่าที่เกาะพงัน

"สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 ห้ามผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อความใน blog แห่งนี้ไปใช้ ทั้งโดยเผยแพร่และเพื่อการอ้างอิง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด"