All Blog
หลวงปู่เทศ ๕ มี.ค ๕๔ กับการให้ทานที่มี อนิสงค์มาก


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ -พระไตรปิฎกเล่มที่14

หน้าที่ 399

ไฉนจะนุ่งห่มได้เล่า ก็ท่านพระยาเป็นที่รักที่พึงใจของพวกเรา พวกเราจะ

ช่วยท่านพระยาผู้น่ารักน่าพึงใจ โดยอาการที่ไม่น่าพึงใจอย่างไรได้.

ท่านพระยา-ปายาสิกล่าวว่า พ่ออุตตระ ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงจัดโภชนะ

อย่างที่ข้าบริโภคจงจัดผ้าผ่อนอย่างที่ข้านุ่งห่ม. อุตตรมาณพ รับคำของ

พระยาปายาสิแล้วจัดโภชนะอย่างที่ท่านพระยาปายาสิบริโภคจัดผ้าผ่อน

อย่างที่ท่านพระยาปายาสินุ่งห่ม. ครั้งนั้น พระยาปายาสิ ให้ทานโดยไม่

เคารพ ให้ทานไม่ใช่ให้ด้วยมือของตนเอง ให้ทานโดยไม่นอบน้อม

ให้ทานแบบทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ ครั้นตายแล้ว ก็เข้าถึง ความเป็นสหายของเหล่า

เทพชั้นจาตุมหาราช มีเสรีสกวิมานอันว่างเปล่า. ส่วนอุตตรมาณพผู้จัดการ

ในทานของพระยาปายาสินั้น ให้ทานโดยเคารพให้ทานด้วยมือของตนเอง

ให้ทานโดยนอบน้อมให้ทานไม่ใช่ทิ้ง ๆขว้างๆ ครั้นตายแล้วก็เข้าถึงสุคติโลก

สวรรค์ เป็นสหายของเหล่าเทพชั้นดาวดึงส์.

เรื่องพระควัมปติเถระ - เทพบุตรปายาสิ

[๓๓๐] สมัยนั้น ท่านพระควัมปติ ไปพักกลางวัน ณ เสรีสกวิมาน

อันว่างเปล่าเนือง ๆ. ครั้งนั้น ปายาสิเทพบุตร เข้าไปหาท่านพระควัมปติ

กราบแล้วยืน ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. ท่านพระควัมปติจึงถามปายาสิ

เทพบุตรว่า ผู้มีอายุ ท่านเป็นใคร. ปายาสิเทพบุตร ตอบว่า ท่านเจ้า

ข้า ข้าพเจ้าคือพระยาปายาสิ. ถามว่า ผู้มีอายุ ท่านที่ได้มีความเห็นอย่าง

นี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกอื่นไม่มี สัตว์ผุดเกิดไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์

ทำดีทำชั่วไม่มีดังนี้นะหรือ. ตอบว่า จริงเจ้าข้า แต่ข้าพเจ้าถูกพระผู้เป็น

เจ้ากุมารกัสสปเปลื้องเสียจากความเห็นอันชั่วนั้นแล้ว. ถามว่า ผู้มีอายุ

ท่านอุตตรมาณพผู้จัดการในทานของท่านแล้ว เขาไปเกิดเสียที่ไหน. ตอบ

ว่า ท่านเจ้าข้า

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 400

อุตตรมาณพผู้จัดการทานของข้าพเจ้าให้ทานโดยเคารพ ให้ทานด้วยมือ

ของ-ตนเอง ให้ทานโดยนอบน้อม ให้ทานโดยไม่ทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ ครั้นตาย

แล้วก็เข้า

ถึงสุคติโลกสวรรค์ เป็นสหายของเหล่าเทพชั้นดาวดึงส์ ท่านเจ้าข้า ส่วน

ข้าพเจ้าให้ทานโดยไม่เคารพ ให้ทานโดยมิใช่โดยมือของตนเองให้ทานโดย

ไม่นอบน้อม ให้ทานทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ ครั้นตายแล้ว เข้าถึงความเป็นสหายของ

เหล่าเทพชั้นจาตุเสรีสกวิมานอันว่างเปล่า ท่านพระควัมปติ เจ้าข้าถ้าอย่างนั้น

พระคุณเจ้ากลับมนุษยโลกแล้วโปรดบอกกล่าวคนทั้งหลายอย่างนี้ว่าพวก

ท่านจงให้ทานโดยเคารพ จงให้ทานโดยมือของตนเอง จงให้ทานโดย

นอบน้อมจงให้ทานอย่าทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ พระยาปายาสิให้ทานโดยไม่เคารพให้

ทานไม่ใช้

ด้วยมือของตนเอง ให้ทานโดยไม่นอบน้อม ให้ทานทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ ตายแล้ว

ก็เข้าถึง ความเป็นสหายของเหล่าเทพชั้นจาตุมหาราช มีเสรีสกวิมานอันว่าง

เปล่าส่วนอุตตรมาณพผู้จัดการทานของพระยาปายาสินั้น ให้ทานโดยเคารพ

ให้ทานด้วยมือของตนเอง ให้ทานโดยนอบน้อม ให้ทานไม่ทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ

ตายแล้วก็เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เป็นสหายของเหล่าเทพชั้นดาวดึงส์. ครั้ง

นั้น ท่านควัมปติกลับมนุษยโลกแล้วก็บอกกล่าวแก่คนทั้งหลาย อย่างที่ปา

ยาสิเทพบุตรส่งเสียทุกประการแล.จบปายาสิราชัญญสูตร ที่ ๑๐





Create Date : 29 เมษายน 2554
Last Update : 29 เมษายน 2554 18:03:30 น.
Counter : 746 Pageviews.

2 comments
  
สาธุจ่ะ สวัสดียามค่ำๆๆนะจ่ะ อิอิ ซ: D
โดย: ตะวันเจ้าเอย วันที่: 29 เมษายน 2554 เวลา:18:59:59 น.
  
อนุโมทนาสาธุครับ
โดย: shadee829 วันที่: 1 พฤษภาคม 2554 เวลา:21:20:18 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

shada
Location :
น้ำหนาว เพชรบูรณ์ , เกาะพงัน สุราษฯ  Ghana

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]



พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นหูที่วิเศษยิ่ง พระไตรปิฏก เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง พระไตรปิฏก เป็นกายที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นใจที่วิเศษยิ่ง พระไตรปิฏก เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง พระไตรปิฏก เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฏก เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง

ธรรมวินัยอันพระตถาคตเจ้าประกาศแล้วเปิดเผย ไม่กำบังจึงรุ่งเรือง (เล่ม ๑๐ หน้า ๔๖๕_ปกน้ำเงิน)
บัญญัติของพระพุทธเจ้า จากพระไตรปิฎกชุด 91 เล่ม ของมหามกุฎราชวิทยาลัย เล่ม 3
(ปกสีแดง หน้า 887 ปกสีน้ำเงิน หน้า 940)
พระบัญญัติ อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่ง ทอง-เงิน หรือยินดี ทอง-เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ก็ดี เป็นนิสสัคคียปาจิตตีย์(นิสสัคคียปาจิตตีย์ 1 ตัว ต้องตกโรรุวนรก 1 ชั่วอายุ คือ 4,000 ปีของนรกขุมนี้ เท่ากับ 840,960,000 ล้านปีมนุษย์)

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.ให้ไว้ ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535
เป็นปีที่ 47 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภาดังต่อไปนี้ มาตรา 15 ตรี มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
...(4)รักษาหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา
**หยุดทำร้ายพระพุทธศาสนา(โยมควรเรียนรู้) ทำบุญแล้วเป็นบาป ตกนรกทั้งพระและโยม
1.ตักบาตรด้วยเงินและทอง
2.ตักบาตรด้วยสิ่งของที่ต้องห้าม ข้าวสารอาหารแห้ง-ดิบ
3.ทำบุญกับพระทุศีล(ผิดศีลธรรมและไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย)รับเงิน รับทอง มีบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นของตนเอง มีบัตรเอทีเอ็ม มีบัตรเครดิต
4.ฯลฯ
จากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปลไทยฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย 91 เล่ม
**ชาวพุทธทั้งหลาย ขอให้อธิษฐานเพื่อถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้
"ขออำนาจพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงบันดาลบุญของข้าพระพุทธเจ้าให้เข้าไปรวมเป็นพระราชกุศลของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พลังบุญทั้งหลาย ที่พระองค์ได้ทรงกระทำต่อพสกนิกรและราชอาณาจักร ขอบุญนั้นทั้งหมด จงเป็นพลังขับดันโรคภัยทั้งหลายที่กำลังเกิดในพระวรกายของพระองค์ให้อันตรธานไป"

จากหลักฐานเทียบเคียงของการใช้สัจอธิษฐาน ในพระไตรปิฎก 91 เล่ม ฉบับมหามกฎราชวิทยาลัย เล่ม 74 หน้า 447-479 ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 มาตรา 1, 3, 341, 342 และ 343 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักสงฆ์ป่าสามแยก ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ (www.samyaek.com) ผู้มีปัญญาทั้งหลาย ขอจงพิจารณาเอาเถิด เพราะไม่บังคับให้ใครมาเชื่อหรือทำตาม เพียงแต่นำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเปิดเผย เพื่อให้ชาวพุทธปฏิบัติได้ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
ยินดีในบุญกับทุกท่านที่รวมใจกันเปิดเผยพระธรรมวินัยให้รุ่งเรือง ค่ะ

ชฎา มีโครงการ จะเปิด บ้านพักตากอากาศ ติดถนน ติดทะเล ไม่ไกลจาก ท่าเรือ ท้องศาลา บรรยากาศ เหงียบ สงบ เป็นธรรมชาติ ให้เช่าที่เกาะพงัน

"สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 ห้ามผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อความใน blog แห่งนี้ไปใช้ ทั้งโดยเผยแพร่และเพื่อการอ้างอิง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด"