All Blog
Clip สัจจะที่ทำให้คลอดลูกง่าย
ป. = พระเจ้าปเสนทิโกศล
อ. = พระองคุลิมาล
เริ่มเรื่องแต่หน้า 147 หน้า 149 องคุลิมาลไปบิณฑบาตแล้วไปเห็นคนท้อง
(มีชี้แจงอยู่ในหน้า 163,164, 165, 166 ) พระไตรปิฎกเล่ม 21 หน้า 148
[๕๓๐] ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระองคุลิมาลครองอันตรวาสกแล้ว
ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี. กำลังเที่ยวบิณฑบาต
ตามลำดับตรอกอยู่ในพระนครสาวัตถี ได้เห็นสตรีคนหนึ่งมีครรภ์แก่หนัก
ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ ดังนี้. ครั้งนั้น ท่านพระองคุลิมาลเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี เวลาปัจฉาภัตกลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส
เวลาเช้า ข้าพระองค์ครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาต
ยังพระนครสาวัตถี กำลังเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกอยู่ในพระนครสาวัตถี ได้เห็นสตรีคนหนึ่งมีครรภ์แก่หนัก ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า
สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ ดังนี้.
[๕๓๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนองคุลิมาล ถ้าอย่างนั้นเธอจงเข้าไปหาสตรีนั้นแล้วกล่าวกะสตรีนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนน้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดมาแล้วจะได้รู้สึกว่าแกล้งปลงสัตว์จากชีวิตหามิได้ ด้วยสัจจวาจานี้ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์ของท่านเถิด.ท่านพระองคุลิมาลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อาการนั้นจักเป็นอันข้าพระองค์กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่เป็นแน่ เพราะข้าพระองค์แกล้งปลงสัตว์เสียจากชีวิตเป็นอันมาก.
ภ. ดูก่อนองคุลิมาล ถ้าอย่างนั้น เธอจงเข้าไปหาสตรีนั้น แล้วกล่าวกะสตรีนั้นอย่างนี้ว่า
ดูก่อนน้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดแล้วในอริยชาติ จะได้รู้สึกว่าแกล้งปลงสัตว์เสียจากชีวิตหามิได้
ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์ของท่านเถิด.
พระองคุลิมาลทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เข้าไปหาหญิงนั้นถึงที่อยู่ครั้นแล้วได้กล่าวกะหญิงนั้นอย่างนี้ว่า
ดูก่อนน้องหญิง ตั้งแต่เวลาที่ฉันเกิดแล้วในอริยชาติ จะแกล้งปลงสัตว์จากชีวิตทั้งรู้หามิได้ ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์ของท่านเถิด.ครั้งนั้น ความสวัสดีได้มีแก่หญิง ความสวัสดีได้มีแก่ครรภ์ของหญิงแล้ว.
ข้อแตกต่างของในแต่ละวรรค
วรรคแรก
ดูก่อนน้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดมาแล้ว จะได้รู้สึกว่าแกล้งปลงสัตว์จากชีวิตหามิได้ ด้วยสัจจวาจานี้ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์ของท่านเถิด.
วรรคสอง
ดูก่อนน้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดแล้วในอริยชาติ จะได้รู้สึกว่าแกล้งปลงสัตว์เสียจากชีวิตหามิได้ ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์ของท่านเถิด.
แต่เมื่อกล่าวจริง พระองคุลิมาล ได้กล่าวเพื่อให้แน่นอน จึงได้กล่าวว่า ดูก่อนน้องหญิง ตั้งแต่เวลาที่ฉันเกิดแล้วในอริยชาติ จะแกล้งปลงสัตว์จากชีวิตทั้งรู้หามิได้
ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์ของท่านเถิด.
อธิบายเพิ่มเติมใน หน้า 163
ชนทั้งหลายได้กระทำตั่งไว้ตรงที่ที่พระเถระนั่งกระทำสัจจกิริยา. ชนทั้งหลายย่อมนำแม้ดิรัจฉานตัวเมียที่มีครรภ์หลงมาให้นอนที่ตั่งนั้น. ในทันใดนั้นเอง ก็ตลอดออกได้โดยง่าย. ตัวใดทุรพล(กำลังอ่อนมาก)นำมาไม่ได้ก็เอาน้ำล้างตั่งนั้นไปรดศีรษะ ก็คลอคออกได้ในขณะนั้นทีเดียว. แม้โรคอย่างอื่นก็สงบไป. ได้ยินว่า พระมหาปริตรนี้มีปาฏิหาริย์ตั้งอยู่ตลอดกัป.
ผู้ใดสนใจว่า มีท้อง มีลูก อยากจะพูดเองก็ได้ อยากจะกล่าว ด้วยกล่าวให้ผู้อื่นก็ได้ แต่ให้เรียนรู้ให้เข้าใจ ในทั้งอรรถกถาทั้งหมดนี้ก่อน ไม่งั้นจะไปเข้าใจผิดเดี๋ยวพลาดเพราะสัจจะจะต้องขึ้นอยู่กับ กาย วาจา และใจ อย่างแน่นอน แบบไม่ต้องสงสัยถ้ายังเคลือบแคลงอยู่การทำสัจจะจะไม่เป็นผล




https://www.youtube.com/watch?v=IR4NDCG5RQE

จากพระไตรปิฎกเล่ม ๒๑ หน้า ๑๔๗,๑๔๙,๑๖๓ เล่มสีน้ำเงิน

ด้วยบุญนี้ขอให้ข้าดับ



Create Date : 11 มกราคม 2554
Last Update : 23 มกราคม 2554 14:21:17 น.
Counter : 659 Pageviews.

2 comment
ราหูคือใคร (สีลขันธวรรค) พระไตรปิฎก เล่ม 12 หน้า 27
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 27

ยังมีเรื่องแม้อื่นอีก ได้ยินว่า ท้าวอสุรินทรราหูสูงได้ ๔,๘๐๐
โยชน์. ระหว่างแขนของเขาวัดได้ ๑,๒๐๐ โยชน์ ระหว่างนมวัดได้ ๖๐๐
โยชน์. พื้นมือและพื้นเท้าหนาได้ ๓๐๐ โยชน์. ข้อนิ้วยาวได้ ๕๐ โยชน์.
ระหว่างคิ้วกว้าง ๕๐ โยชน์. หน้ายาว ๒๐๐ โยชน์. ลึกได้ ๓๐๐ โยชน์.
มีปริมณฑลได้ ๓๐๐ โยชน์. คอยาวได้ ๓๐๐ โยชน์. หน้าผากยาวได้
๓๐๐ โยชน์. ศีรษะยาวได้ ๙๐๐ โยชน์. เขาคิดว่า เราสูงมาก จักไม่สามารถ
ที่จะน้อมตัวลงแลดูพระศาสดาได้ ดังนี้ จึงไม่มาเฝ้า. วันหนึ่งเขาได้
ฟังพระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงมาด้วยคิดว่า เราจักมองดูโดยอาการ
อย่างใดอย่างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอัชฌาสัยของเขาแล้วทรง
ดำริว่า เราจักแสดงด้วยอิริยาบถไหน ในบรรดาอิริยาบถทั้งสี่ ทรง
ดำริว่า ธรรมดาคนยืน แม้จะต่ำก็ปรากฏเหมือนคนสูง แต่เราจักนอน
แสดงตนแก่เขา ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า อานนท์ เธอจงตั้งเตียงในบริเวณ
คันธกุฏี แล้วทรงสำเร็จสีหไสยาสน์บนเตียงนั้น. ท่านอสุรินทรราหูมาแล้ว
ชูคอขึ้นมองดูพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนอนอยู่ราวกะว่าพระจันทร์เต็ม
ดวงในท่ามกลางท้องฟ้า และเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อสุรินทะ นี้
อะไร จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์มิได้มาเฝ้า
ด้วยคิดว่า เราจักไม่สามารถที่จะโน้มตัวลงแลดูได้ ดังนี้. พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสว่า อสุรินทะ เรามิได้ก้มหน้าบำเพ็ญบารมีมา เราให้ทานทำให้
เลิศทั้งนั้น ดังนี้. วันนั้น อสุรินทรราหู ได้ถึงสรณะ. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงน่าดูน่าชมมิใช่น้อย ด้วยประการดังนี้.

ด้วยบุญนี้ขอให้ข้าดับ



Create Date : 11 มกราคม 2554
Last Update : 11 มกราคม 2554 9:49:35 น.
Counter : 817 Pageviews.

0 comment
รูปเหมือนพระพุทธเจ้า..ไม่มี รูปเป็นเหยื่อที่มารดักใว้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 66

หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้น กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี
กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั่งส่วนอดีตทั่งส่วนอนาคตก็ดี
มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั่งส่วนอดีต
ทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงวาทะหลายชนิด สมณะหรือพราหมณ์
เหล่านั้นทั้งหมด ถูกทิฏฐิ ๖๒ อย่างเหล่านี้ แหละเป็นดุจข่ายคลุมไว้ อาศัย
อยู่ในข่ายนี้แหละ เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ ติดอยู่ในข่ายนี้ ถูกข่ายคลุมไว้
เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตมีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพ
ขาดแล้ว ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมเห็นตถาคต
ชั่วเวลาที่กายของตถาคตดำรงอยู่ ต่อเมื่อกายแตกสิ้นชีวิตแล้ว เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลายจะไม่เห็นตถาคต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวง
มะม่วงเมื่อขาดจากขั้วแล้ว ผลใดผลหนึ่งที่ติดขั้วอยู่ ย่อมติดขั้วไป ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตมีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพชาติแล้ว
ก็เหมือนฉันนั้น ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมเห็นตถาคต
ชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ ต่อเมื่อกายแตกสิ้นชีวิตแล้ว เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลายจะไม่เห็นตถาคต.





รูปหล่อ รูปปั้น ทองแดง ทองเหลือง ไม่ใช้ตัวแทนของพระพุทธเจ้า

รูปทั้งหมดเป็นเหยื่อที่มารดักไว้ (นานาติตถิยสูตร) เล่ม 24 หน้า 401
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 401
[๓๑๙] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าสิงเวฏัมพรีเทพบุตรแล้วได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า สัตว์เหล่าใด ขวนขวาย ในความเกลียดบาปด้วยตบะ รักษาความสงบสงัดอยู่ ติดอยู่ในรูป ปรารถนาเทวโลก สัตว์เหล่านั้น
ย่อมสั่งสอนชอบ เพื่อปรโลกโดยแท้.
[๓๒๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี้เป็นมารตัวร้ายกาจ จึงได้ตรัสคาถาตอบมารผู้มีบาปว่ารูปใด ๆ จะอยู่ในโลกนี้หรือโลกอื่น
และจะอยู่ในอากาศ มีรัศมีรุ่งเรืองก็ตามที่รูปทั้งหมดเหล่านั้น อันมารสรรเสริญแล้ววางดักสัตว์ไว้แล้ว เหมือนเขาใส่เหยื่อล่อเพื่อฆ่าปลา ฉะนั้น.
[๓๒๑] ลำดับนั้น มาณวคามิยเทพบุตร ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ใน
สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า ปรารภถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าภูเขาเวปุละ เขากล่าวกันว่า สูงเป็นเยี่ยมกว่าภูเขาที่ตั้งอยู่ในกรุงราชคฤห์เสตบรรพตเป็นเลิศกว่าภูเขาที่ตั้งอยู่ในป่าหิมวันต์ ดวงอาทิตย์เป็นเลิศกว่าสิ่งที่ไปในอากาศ มหาสมุทรเป็นเลิศกว่าห้วงน้ำทั้งหลาย ดวงจันทร์เป็นเลิศกว่าดวงดาวทั้งหลาย พระพุทธเจ้ากล่าวกันว่าเป็นเลิศกว่าประชุมในทั้งโลก พร้อมทั้งเทวโลก. จบนานาติตถิยสูตร
จบ นานาติตถิยวรรค ที่ ๓

ด้วยบุญนี้ให้ข้าถึงซึ่งความดับด้วยเถิด



Create Date : 10 มกราคม 2554
Last Update : 10 มกราคม 2554 10:04:15 น.
Counter : 1214 Pageviews.

1 comment
Clipบุคคลอันตรายที่สามารถทำลายบุญกุศลของผู้มุ่งสร้างบุญ
https://www.youtube.com/watch?v=Kh1ctAZes9c
บุคคลอันตรายที่สามารถทำลายบุญกุศลของผู้มุ่งสร้างบุญ
และทำลายสวรรค์ ของผู้สร้างบุญด้วย
27 ธันวาม 2553

นวสูตร (เล่ม 34 หน้า 489)ว่าด้วยบุคคลที่เปรียบได้กับผ้าเปลือกไม้ ๓ ชนิด
[๕๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผ้าเปลือกไม้ แม้ใหม่ก็สีทราม สัมผัสหยาบ และราคาถูก แม้กลางใหม่กลางเก่าก็สีทราม สัมผัสหยาบ และราคาถูก แม้เก่าแล้วก็สีทราม สัมผัสหยาบ และราคาถูก ผ้าเปลือกไม้ที่คร่ำคร่าแล้ว
เขาก็ทำเป็นผ้าเช็ดหม้อข้าวบ้าง ทิ้งเสียที่กองขยะบ้างฉันใด ฉันนั้นนั่นแหละ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนวกะก็ดี ภิกษุมัชฌิมะก็ดี ภิกษุเถระก็ดี ถ้าเป็นผู้ทุศีลมีธรรมอันเลว เรากล่าวความทุศีลมีธรรมเลวนี้ ในความมีสีทรามของภิกษุ
กล่าวบุคคลนี้ว่าเหมือนผ้าเปลือกไม้มีสีทรามฉะนั้น
อนึ่ง ชนเหล่าใดคบหาสมาคม ทำตามเยี่ยงอย่างภิกษุนั้น ข้อนั้นย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งอันไม่เกื้อกูลเพื่อทุกข์แก่ชนเหล่านั้น ตลอดกาลนาน
เรากล่าวการคบหาสมาคมทำตามเยี่ยงอย่างที่เป็นเหตุให้เกิดสิ่งอันไม่เกื้อกูลเกิดทุกข์นี้ในความมีสัมผัสหยาบของภิกษุ กล่าวบุคคลนี้ว่า ดุจผ้าเปลือกไม้มีสัมผัสหยาบฉะนั้น
อนึ่ง ภิกษุนั้นรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย ... ของชนเหล่าใด
ข้อนั้น ย่อมไม่เป็นการมีผลานิสงส์มากแก่ชนเหล่านั้น เรากล่าว
การรับปัจจัยอันไม่เป็นการมีผลานิสงส์มากแก่ทายกนี้ ในความมีราคาถูกของภิกษุ กล่าวบุคคลนี้ว่าเป็นดังผ้าเปลือกไม้มีราคาถูกฉะนั้น
อนึ่ง ภิกษุเถระชนิดนั้น กล่าวอะไรในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายก็กล่าวเอาว่า ประโยชน์อะไรด้วยถ้อยคำของท่านผู้โง่เขลาอย่างท่านก็เผยอจะพูดด้วย ภิกษุเถระนั้นโกรธน้อยใจ ก็จะใช้ถ้อยคำชนิดที่เป็นเหตุให้สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม (คือห้ามไม่ให้ติดต่อเกี่ยวข้องกับภิกษุทั้งหลาย)
เหมือนเขาทิ้งผ้าเปลือกไม้เก่าเสียที่กองขยะฉะนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผ้ากาสี แม้ใหม่ก็สีงาม สัมผัสนิ่ม และราคาแพงแม้กลางใหม่กลางเก่าก็สีงาม สัมผัสนิ่มและราคาแพง แม้เก่าแล้วก็สีงามสัมผัสนิ่มและราคาแพง ผ้ากาสี ถึงคร่ำคร่าแล้ว เขายังใช้เป็นผ้าห่อตคนะ (คือเงินทองเพชรพลอย่อมมีค่า) บ้าง เก็บไว้ในคันธกรณฑ์ (หีบอบของหอม) บ้าง ฉันใด.ฉะนั้นนั่นแหละ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนวกะ(ภิกษุใหม่)ก็ดี ภิกษุมัชฌิมะ(ภิกษุกลาง)ก็ดีภิกษุเถระก็ดี ถ้าเป็นผู้มีศีลมีธรรมอันดี เรากล่าวความมีศีลมีธรรมดีนี้ในความมีสีงามของภิกษุ กล่าวบุคคลนี้ว่าเหมือนผ้ากาสีมีสีงามฉะนั้นอนึ่ง ชนเหล่าใดคบหาสมาคมทำตามเยี่ยงอย่างภิกษุนั้น
ข้อนั้นย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของชนเหล่านั้นตลอดกาลนาน
เรากล่าวการคบหาสมาคมทำตามอย่างที่เป็นเหตุให้เกิดประโยชน์สุขนี้ ในความมีสัมผัสนิ่มของภิกษุ กล่าวบุคคลนี้ว่า ดุจผ้ากาสีมีสัมผัสนิ่มฉะนั้น
อนึ่ง ภิกษุนั้นรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย...ของชนเหล่าใด
ข้อนั้นย่อมเป็นการมีผลานิสงส์มากแก่ชนเหล่านั้น เรากล่าวการรับปัจจัยอันเป็นการมีผลานิสงส์มากแก่ทายกนี้ ในความมีราคาแพงของภิกษุ
กล่าวบุคคลนี้ว่า เสมือนผ้ากาสีมีราคาแพงฉะนั้น
อนึ่ง ภิกษุเถระผู้มีคุณธรรมอย่างนี้ กล่าวอะไรขึ้นในท่ามกลางสงฆ์ภิกษุทั้งหลายก็พากันว่า ท่านทั้งหลาย จงสงบเสียงเถิด ภิกษุผู้ใหญ่จะกล่าวธรรมกล่าววินัยนี้ ดังนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้ว่า
เราทั้งหลายจักเป็นอย่างผ้ากาสี ไม่เป็นอย่างผ้าเปลือกไม้
ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
จบนวสูตรที่ ๘
คือในความหมาย เราไม่ควรคบ ไม่ควรเกี่ยวข้อง ไม่ควรเข้าไปใกล้ ในบรรดาภิกษุผู้มีความอันเลวทราม เช่น บรรดาละเมิดศีลแล้วบอกว่าไม่เป็นไร บรรดาละเมิดธรรมของพระพุทธเจ้าที่บอกไว้ บัญญัติไว้ ห้ามไว้
ละเมิดแล้วบอกว่าไม่เป็นไร ในข้อต่างๆ ข้อใดข้อหนึ่ง ในเก้าพันข้อ ข้อใดข้อหนึ่งนั้น เพราะมีคำเตือนอยู่ในวรรคที่ 3 หน้า 489 ว่า อนึ่ง ชนเหล่าใดคบหาสมาคม ทำตามเยี่ยงอย่างภิกษุนั้น ข้อนั้นย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งอันไม่เกื้อกูลเพื่อทุกข์แก่ชนเหล่านั้น ตลอดกาลนาน ฉะนั้น เมื่อทำบุญในที่ใด ได้อานิสงส์ออกมาน้อย เป็นกำไรน้อย ผู้นั้นก็ถือว่าเป็นผู้ทำการขาดทุนในการบุญทั้งหลาย ฉะนั้น ผู้ใดโต้เถียงคำที่เราอ่านเมื่อกี้ (นวสูตร) เป็นผู้โต้เถียงพระพุทธเจ้า บาปกำลังไล่ตามใกล้ๆ ฉะนั้นไม่ควรเถียงมากเพราะอันนี้เป็นคำของพระพุทธเจ้าตรัสไว้
หมายเหตุ :
สีน้ำเงิน คัดลอกมาจากหนังสือพระไตรปิฎก
สีแดง หลวงปู่อธิบาย

https://www.youtube.com/watch?v=Kh1ctAZes9c




ด้วยบุญนี้ขอให้ข้าดับ



Create Date : 09 มกราคม 2554
Last Update : 21 เมษายน 2554 17:46:34 น.
Counter : 747 Pageviews.

0 comment
เหตุให้บ้านเมืองต้องประสบภัยพิบัติและฉิบหาย
พระไตรปิฎกเล่ม 34 หน้า 225(เล่มสีน้ำเงิน)

เป็นเนื้อความที่พระพุทธองค์ตรัสไปเรื่อยๆ ว่ามีคนตายมากเพราะอะไร
เมื่อก่อนมีคนเยอะ ถูกถามว่าทำไมเดี๋ยวนี้มีคนน้อย เป็นเพราะตายที่ละมาก

.....
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
พราหมณ์ คนเดี๋ยวนี้กำหนัด ยินดีไม่เป็นธรรม โลภเกินสมควร
มุ่งไปแต่ทางมิจฉาธรรม เขาทั้งหลายกำหนัด ยินดีไม่เป็นธรรม โลภเกินสมควร
มุ่งไปแต่ทางมิจฉาธรรมแล้วก็จับศาสตราอันคมฆ่ากันและกัน
คนเป็นอันมากตายไป เพราะเหตุนั้น นี่เป็นเหตุเป็นปัจจัยอันหนึ่ง
ซึ่งทำให้คนเดี๋ยวนี้ดูหมดไปเบาบางไป ที่เคยเป็นคาม(บ้าน) นิคม(ตำบล) นคร ชนบท
จึงไม่เป็นคาม(บ้าน) นิคม(ตำบล) นคร ชนบท.

อีกข้อหนึ่ง พราหมณ์ คนเดี๋ยวนี้ กำหนัดยินดีไม่เป็นธรรม โลภเกินสมควร
มุ่งไปแต่ทางมิจฉาธรรม เมื่อเขาทั้งหลายกำหนัดยินดีไม่เป็นธรรม โลภเกินสมควร
มุ่งไปแต่ทางมิจฉาธรรม ฝนจึงไม่ตกตามฤดูกาล ด้วยเหตุนั้น
จึงเกิดทุพภิกขภัย ข้าวเสีย เป็นขยอก ตายฝอย คนเป็นอันมากตายไป
เพราะเหตุนั้น นี่ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยอันหนึ่ง ซึ่งทำให้คนเดี๋ยวนี้ดูหมดไป
เบาบ้างไป ที่เคยเป็นคาม(บ้าน) นิคม(ตำบล) นคร ชนบท จึงไม่เป็นคาม นิคม นคร ชนบท.

อีกข้อหนึ่ง พราหมณ์ คนเดี๋ยวนี้กำหนัดยินดีไม่เป็นธรรม โลภเกินสมควร
มุ่งไปแต่ทางมิจฉาธรรม เมื่อเขาทั้งหลายกำหนัดยินดีไม่เป็นธรรม โลภเกินสมควร
มุ่งไปแต่ทางมิจฉาธรรม ยักษ์ทั้งหลายจึงปล่อยอมนุษย์ร้าย
คนเป็นอันมากตายไปเพราะเหตุนั้น นี่ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยอันหนึ่ง
ซึ่งทำให้คนเดี๋ยวนี้ดูหมดไปเบาบางไป ที่เคยเป็นคาม(บ้าน) นิคม(ตำบล) นคร ชนบท
จึงไม่เป็นคามนิคม นคร ชนบท.

(พรหมตอบพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า) ดีจริง ๆ พระโคดมผู้เจริญ ฯลฯ
ขอพระโคคมผู้เจริญทรงจำข้าพระองค์ไว้ว่า
เป็นอุบาสกถึงสรณะแล้ว จนตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้ไป.

โลภเกินประมาณ โลภเกินความพอดี กำหนัดยินดีไม่เป็นธรรม
ก็หมายความว่ามีคำที่พระองค์สั่งไว้ก็ไม่ทำตาม
และสิ่งที่ควรจะทำให้เป็นประโยชน์แก่ตน ก็เอาเก็บพอกพูนท่วมทับตนเอง
เป็นสมบัติที่กองอยู่เฉยๆ โดยไม่เกิดประโยชน์
และพวกที่เป็นสมณะทั้งหลายก็หาแต่วิธีการรวบรวมและเก็บสมบัติ
จึงเกิดภัยพิบัติขึ้น

ส่วนมีคนถามว่าผู้ใหญ่ในบ้านเมืองพากันทำไม่ถูกต้องรึเปล่า
“ผู้ใหญ่บางคนอาจจะไม่ถูกต้อง”
แต่ที่ถามว่าพ่ออยู่หัวนั้นเป็นผู้ผิดมั้ย เราเช็คดูแล้ว พ่ออยู่หัวไม่ผิดในข้อเหล่านี้
แต่ที่เห็นชัดโดยไม่ต้องถามเลยคือ ภิกษุสามเณรทั้งหลายทำผิดเห็นได้ชัด
มีเรื่องเทียบในพระไตรปิฎกอีกเยอะแยะสำหรับภิกษุสามเณร
ทำผิดแล้วเกิดอันตรายต่อบ้านต่อเมือง ต่อคาม(คา-มะ) นิคม ต่อตำบล ต่อชนบทต่างๆ
ที่พระนั้นๆ อยู่มีอันตรายมาก

ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ให้ค้นดูมีหลักฐานในพระไตรปิฎกอยู่หลายที่ หากใครสนใจให้ถามมาที่วัดสามแยกจะตอบให้
ผู้เป็นสมณะแล้วละเมิดศีล เป็นเหตุให้บ้านเมืองต้องประสบภัยพิบัติและฉิบหาย

ลองศึกษาพิจารณาเอาเองเถิดไม่บังคับให้ใครเชื่อหรือทำตาม แต่ทำเพื่อเอาบุญให้ตัวเองเพื่อให้ไปถึงซึ่งความหลุดพ้น จากกองทุกข์ทั้งปวงเพื่อให้ถึงที่สุดแห่งความดับโดยไม่กลับมาเกิดอีก
บุญนี้ให้ ญาติ ให้เทพที่รักษา ให้นายเวรของข้า และของผู้อ่านด้วยเถิด
สนใจศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ พระไตรปิฏกศึกษา-โรงเรียนวัดสามแยก

//www.samyaek.com/pratripidok/index.php?topic=876.0













ด้วยบุญนี้ให้ข้าถึงซึ่งความดับด้วยเถิด



Create Date : 08 มกราคม 2554
Last Update : 23 มกราคม 2554 14:39:36 น.
Counter : 696 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  

shada
Location :
น้ำหนาว เพชรบูรณ์ , เกาะพงัน สุราษฯ  Ghana

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]



พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นหูที่วิเศษยิ่ง พระไตรปิฏก เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง พระไตรปิฏก เป็นกายที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นใจที่วิเศษยิ่ง พระไตรปิฏก เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง พระไตรปิฏก เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฏก เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง

ธรรมวินัยอันพระตถาคตเจ้าประกาศแล้วเปิดเผย ไม่กำบังจึงรุ่งเรือง (เล่ม ๑๐ หน้า ๔๖๕_ปกน้ำเงิน)
บัญญัติของพระพุทธเจ้า จากพระไตรปิฎกชุด 91 เล่ม ของมหามกุฎราชวิทยาลัย เล่ม 3
(ปกสีแดง หน้า 887 ปกสีน้ำเงิน หน้า 940)
พระบัญญัติ อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่ง ทอง-เงิน หรือยินดี ทอง-เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ก็ดี เป็นนิสสัคคียปาจิตตีย์(นิสสัคคียปาจิตตีย์ 1 ตัว ต้องตกโรรุวนรก 1 ชั่วอายุ คือ 4,000 ปีของนรกขุมนี้ เท่ากับ 840,960,000 ล้านปีมนุษย์)

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.ให้ไว้ ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535
เป็นปีที่ 47 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภาดังต่อไปนี้ มาตรา 15 ตรี มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
...(4)รักษาหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา
**หยุดทำร้ายพระพุทธศาสนา(โยมควรเรียนรู้) ทำบุญแล้วเป็นบาป ตกนรกทั้งพระและโยม
1.ตักบาตรด้วยเงินและทอง
2.ตักบาตรด้วยสิ่งของที่ต้องห้าม ข้าวสารอาหารแห้ง-ดิบ
3.ทำบุญกับพระทุศีล(ผิดศีลธรรมและไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย)รับเงิน รับทอง มีบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นของตนเอง มีบัตรเอทีเอ็ม มีบัตรเครดิต
4.ฯลฯ
จากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปลไทยฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย 91 เล่ม
**ชาวพุทธทั้งหลาย ขอให้อธิษฐานเพื่อถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้
"ขออำนาจพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงบันดาลบุญของข้าพระพุทธเจ้าให้เข้าไปรวมเป็นพระราชกุศลของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พลังบุญทั้งหลาย ที่พระองค์ได้ทรงกระทำต่อพสกนิกรและราชอาณาจักร ขอบุญนั้นทั้งหมด จงเป็นพลังขับดันโรคภัยทั้งหลายที่กำลังเกิดในพระวรกายของพระองค์ให้อันตรธานไป"

จากหลักฐานเทียบเคียงของการใช้สัจอธิษฐาน ในพระไตรปิฎก 91 เล่ม ฉบับมหามกฎราชวิทยาลัย เล่ม 74 หน้า 447-479 ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 มาตรา 1, 3, 341, 342 และ 343 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักสงฆ์ป่าสามแยก ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ (www.samyaek.com) ผู้มีปัญญาทั้งหลาย ขอจงพิจารณาเอาเถิด เพราะไม่บังคับให้ใครมาเชื่อหรือทำตาม เพียงแต่นำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเปิดเผย เพื่อให้ชาวพุทธปฏิบัติได้ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
ยินดีในบุญกับทุกท่านที่รวมใจกันเปิดเผยพระธรรมวินัยให้รุ่งเรือง ค่ะ

ชฎา มีโครงการ จะเปิด บ้านพักตากอากาศ ติดถนน ติดทะเล ไม่ไกลจาก ท่าเรือ ท้องศาลา บรรยากาศ เหงียบ สงบ เป็นธรรมชาติ ให้เช่าที่เกาะพงัน

"สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 ห้ามผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อความใน blog แห่งนี้ไปใช้ ทั้งโดยเผยแพร่และเพื่อการอ้างอิง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด"