All Blog
ภรรยาต้องรู้ (ภริยาสูตร) เล่ม 37 หน้า 197-200
//www.samyaek.com/pratripidok/index.php?topic=114.0
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 197

(พระไตรปิฎกเล่ม 37 หน้า 197-200)

๑๐. ภริยาสูตร
[๖๐] ครั้งนั้น เมื่อเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดแล้ว ก็สมัยนั้นมนุษย์ทั้งหลาย
ในนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีส่งเสียงอื้ออึง ท่านอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวาย
บังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสถามว่า ดูก่อนคฤหบดี เหตุไรหนอ มนุษย์ทั้งหลายในนิเวศน์
ของท่านจึงส่งเสียงอื้ออึง เหมือนชาวประมงแย่งปลากัน อนาถ-
บิณฑิกเศรษฐีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางสุชาดา
คนนี้ข้าพระองค์นำมาจากตระกูลมั่งคั่งมาเป็นสะใภ้ในเรือน นาง
ไม่เชื่อถือ แม่ผัว พ่อผัว สามี แม้แต่พระผู้มีพระภาคเจ้านางก็ไม่
สักการะเคารพนับถือบูชา ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก
นางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือนว่า มานี่แน่ะนางสุชาดา นางสุชาดา
หญิงสะใภ้ในเรือนทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เขาไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อน
นางสุชาดา ภริยาของบุรุษ ๗ จำพวกนี้ ๗ จำพวกเป็นไฉน คือ

ภริยาเสมอด้วยเพชฌฆาต ๑
เสมอด้วยโจร ๑
เสมอด้วยนาย ๑
เสมอด้วยแม่ ๑
เสมอด้วยพี่สาวน้องสาว ๑
เสมอด้วยเพื่อน ๑


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 198

เสมอด้วยทาสี ๑
ดูก่อนนางสุชาดา ภริยาของบุรุษ ๗ จำพวกแล เธอเป็นจำพวกไหนใน ๗ จำพวกนั้น
นางสุชาดากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน
ยังไม่รู้ทั่วถึงความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว
โดยย่อนี้ได้โดยพิสดาร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระ-
วโรกาส พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงธรรมแก่หม่อมฉัน
โดยที่หม่อนฉันจะพึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสโดยย่อนี้ โดยพิสดารเถิด.
พ. ดูก่อนนางสุชาดา ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใสใจให้ดี
เราจักกล่าว นางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือนทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
ภริยาผู้มีจิตประทุษร้าย ไม่อนุเคราะห์
ด้วยประโยชน์เกื้อกูลยินดีในชายอื่น ดูหมิ่นสามี
เป็นผู้อันเขาซื้อมาด้วยทรัพย์ พยายามจะฆ่าผัว
ภริยาของบุรษเห็นปานนี้เรียกว่า วธกาภริยา
ภริยาเสมอด้วยเพชฌฆาต
สามีของหญิงประกอบด้วยศิลปธรรม พาณิชยกรรม
และกสิกรรม ได้ทรัพย์ใดมา ภริยาปรารถนาจะยักยอกทรัพย์
แม้มีอยู่น้อยนั้นเสีย ภริยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียก
ว่า โจรภริยา ภริยาเสมอด้วยโจร
ภริยาที่ไม่สนใจการงาน เกียจคร้าน กินมาก ปากร้าย
ปากกล้าร้ายกาจ กล่าวคำหยาบ ข่มขี่ผัวผู้ขยันขันแข็ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 199

ภริยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่า อัยยาภริยา ภริยาเสมอด้วยนาย
ภริยาใดอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูลทุกเมื่อ
ตามรักษาสามีเหมือนมารดารักษาบุตร รักษาทรัพย์
ที่สามีเหมือนภริยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่า มาตาภริยา
ภริยาเสมอด้วยมารดา
ภริยาที่เป็นเหมือนพี่สาว น้องสาว มีความเคารพใน
สามีของตน เป็นคนละอายบาป เป็นไปตามอำนาจสามี
ภริยาของบุรุษ เห็นปานนี้เรียกว่า ภคินีภริยา ภริยาเสมอด้วย
พี่สาวน้องสาว
ภริยาใดในโลกนี้เห็นสามีแล้ว ชื่นชมยินดี
เหมือนเพื่อนผู้จากไปนานแล้วกลับมาเป็นหญิงมีตระกูล
มีศีล มีวัตรปฏิบัติสามี ภริยาใดสามีเฆี่ยนตี ขู่ตะคอก
ก็ไม่โกรธ ไม่คิดพิโรธโกรธตอบสามี อดทนได้ เป็นไป
ตามอำนาจสามี ภริยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่า ทาสีภริยา
ภริยาเสนอด้วยทาสี
ภริยาที่เรียกว่า
วธกาภริยา ๑
โจรีภริยา ๑
อัยยาภริยา ๑
ภริยาทั้ง ๓ จำพวกนั้น ล้วนแต่เป็นคนทุศีลหยาบช้า
ไม่เอื้อเฟื้อ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงนรก
ส่วนภริยาที่เรียกว่า
มาตาภริยา ๑
ภคินีภริยา ๑
สขีภริยา ๑
ทาสีภริยา ๑
ภริยาทั้ง ๔ จำพวกนั้น เพราะตั้งอยู่ในศีล ถนอม
รักไว้ยั่งยืน เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 200

ดูก่อนนางสุชาดา ภริยาของบุรุษ ๗ จำพวกนี้แล เธอ
เป็นภริยาจำพวกไหน ใน ๗ จำพวกนั้น.
ส. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า โปรดทรงจำหม่อมฉันว่า เป็นภริยาของสามีผู้
เสมอด้วยทาสี.
จบ ภริยาสูตรที่ ๑๐



Create Date : 26 พฤษภาคม 2554
Last Update : 26 พฤษภาคม 2554 3:07:50 น.
Counter : 1072 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

shada
Location :
น้ำหนาว เพชรบูรณ์ , เกาะพงัน สุราษฯ  Ghana

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]



พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นหูที่วิเศษยิ่ง พระไตรปิฏก เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง พระไตรปิฏก เป็นกายที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นใจที่วิเศษยิ่ง พระไตรปิฏก เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง พระไตรปิฏก เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง.....พระไตรปิฏก เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฏก เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง

ธรรมวินัยอันพระตถาคตเจ้าประกาศแล้วเปิดเผย ไม่กำบังจึงรุ่งเรือง (เล่ม ๑๐ หน้า ๔๖๕_ปกน้ำเงิน)
บัญญัติของพระพุทธเจ้า จากพระไตรปิฎกชุด 91 เล่ม ของมหามกุฎราชวิทยาลัย เล่ม 3
(ปกสีแดง หน้า 887 ปกสีน้ำเงิน หน้า 940)
พระบัญญัติ อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่ง ทอง-เงิน หรือยินดี ทอง-เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ก็ดี เป็นนิสสัคคียปาจิตตีย์(นิสสัคคียปาจิตตีย์ 1 ตัว ต้องตกโรรุวนรก 1 ชั่วอายุ คือ 4,000 ปีของนรกขุมนี้ เท่ากับ 840,960,000 ล้านปีมนุษย์)

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.ให้ไว้ ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535
เป็นปีที่ 47 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภาดังต่อไปนี้ มาตรา 15 ตรี มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
...(4)รักษาหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา
**หยุดทำร้ายพระพุทธศาสนา(โยมควรเรียนรู้) ทำบุญแล้วเป็นบาป ตกนรกทั้งพระและโยม
1.ตักบาตรด้วยเงินและทอง
2.ตักบาตรด้วยสิ่งของที่ต้องห้าม ข้าวสารอาหารแห้ง-ดิบ
3.ทำบุญกับพระทุศีล(ผิดศีลธรรมและไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย)รับเงิน รับทอง มีบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นของตนเอง มีบัตรเอทีเอ็ม มีบัตรเครดิต
4.ฯลฯ
จากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปลไทยฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย 91 เล่ม
**ชาวพุทธทั้งหลาย ขอให้อธิษฐานเพื่อถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้
"ขออำนาจพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงบันดาลบุญของข้าพระพุทธเจ้าให้เข้าไปรวมเป็นพระราชกุศลของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พลังบุญทั้งหลาย ที่พระองค์ได้ทรงกระทำต่อพสกนิกรและราชอาณาจักร ขอบุญนั้นทั้งหมด จงเป็นพลังขับดันโรคภัยทั้งหลายที่กำลังเกิดในพระวรกายของพระองค์ให้อันตรธานไป"

จากหลักฐานเทียบเคียงของการใช้สัจอธิษฐาน ในพระไตรปิฎก 91 เล่ม ฉบับมหามกฎราชวิทยาลัย เล่ม 74 หน้า 447-479 ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 มาตรา 1, 3, 341, 342 และ 343 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักสงฆ์ป่าสามแยก ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ (www.samyaek.com) ผู้มีปัญญาทั้งหลาย ขอจงพิจารณาเอาเถิด เพราะไม่บังคับให้ใครมาเชื่อหรือทำตาม เพียงแต่นำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเปิดเผย เพื่อให้ชาวพุทธปฏิบัติได้ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
ยินดีในบุญกับทุกท่านที่รวมใจกันเปิดเผยพระธรรมวินัยให้รุ่งเรือง ค่ะ

ชฎา มีโครงการ จะเปิด บ้านพักตากอากาศ ติดถนน ติดทะเล ไม่ไกลจาก ท่าเรือ ท้องศาลา บรรยากาศ เหงียบ สงบ เป็นธรรมชาติ ให้เช่าที่เกาะพงัน

"สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 ห้ามผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อความใน blog แห่งนี้ไปใช้ ทั้งโดยเผยแพร่และเพื่อการอ้างอิง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด"