"ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตย่อมไม่มี พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี....." "พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง, เป็นหูที่วิเศษยิ่ง, เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง, เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง, เป็นกายที่วิเศษยิ่ง, เป็นใจที่วิเศษยิ่ง, เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง, เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง, เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง, เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง, เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง"จากวัดสามแยก
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2555
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
 
18 กุมภาพันธ์ 2555
 
All Blogs
 

เรียนรู้เรื่อง ทาน จากพระไตรปิฏก 3

การให้วิหาร....ชื่อว่าให้ทุกอย่าง (อ.รัตนจงกมนภัณฑ์) เล่ม73 หน้า 58
ผู้ใดมีจิตเลื่อมใส บันเทิงแล้วถวายวิหารอันเหตุ
แห่งภพและโภคะที่น่ารื่นรมย์ยิ่งแห่งใจ แก่ท่านผู้มี
คุณมีศีลเป็นต้นอันเกิดแล้ว ผู้นั้นท่านเรียกชื่อว่าผู้ให้ทุกอย่าง.

การอุทิศบุญให้เปรตญาติของพระเจ้าพิมพิสาร...ไม่มีการกรวดน้ำ (ติโรกุฑฑสูตร) เล่ม 39 หน้า284

พระราชาถวายน้ำทักษิโณทก ทรงอุทิศว่า ขอทานนี้จงมีแก่พวกญาติของเรา.

ทันใดนั้นเอง สระโบกขรณีดารดาษด้วยปทุม ก็บังเกิดแก่เปรตพวกนั้น.
เปรตพวกนั้นก็อาบและดื่มในสระโบกขรณีนั้น ระงับความกระวน
กระวายความลำบากและหิวกระหายได้แล้ว มีผิวพรรณดุจทอง.

ลำดับนั้น พระราชาถวายข้าวยาคู ของเคี้ยว ของกินเป็นต้นแล้วทรงอุทิศ.
ในทันใดนั้นเอง ข้าวยาคูของเคี้ยวและของกินอันเป็นทิพย์ ก็บังเกิดแก่เปรตพวกนั้น.เปรตพวกนั้น ก็พากินบริโภคของทิพย์เหล่านั้น มีอินทรีย์เอิบอิ่ม.

ลำดับนั้น พระราชาถวายผ้าและเสนาสนะเป็นต้น ทรงอุทิศให้เครื่องอลังการต่าง ๆมีผ้าทิพย์ ยานทิพย์ ปราสาททิพย์ เครื่องปูลาดและที่นอนเป็นต้น ก็บังเกิดแก่เปรตพวกนั้น.สมบัติแม้นั้นของเปรตพวกนั้น ปรากฏทุกอย่างโดยประการใดพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงอธิษฐาน (ให้พระราชาทรงเห็น) โดยประการนั้น.พระราชาทรงดีพระทัยยิ่ง.

ทำบุญแล้ววิมานในสวรรค์ปรากฏทันที (นายนันทิยะ) เล่ม42 หน้า 420
นันทิยะดำรงตำแหน่งทานบดี

จำเดิมแต่มารดาบิดาทำกาละ แม้นายนันทิยะก็เป็นมหาทานบดี
เตรียมตั้งทานสำหรับภิกษุสงฆ์. และเริ่มตั้งค่าอาหารแม้สำหรับคนกำพร้า
และคนเดินทางเป็นต้น ไว้ที่ประตูเรือน.ในกาลต่อมา เขาฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา กำหนดอานิสงส์ในการถวายอาวาสได้แล้ว ให้ทำศาลา ๔ มุข ประดับด้วยห้อง ๔ ห้อง ในมหาวิหารในป่าอิสิปตนะแล้ว ให้ลาคเตียงและตั่งเป็นต้น เมื่อจะมอบถวายอาวาสนั้น ได้ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วถวายน้ำทักขิโณทก แด่พระตถาคต.

ปราสาททิพย์สำเร็จโดยรัตนะ ๗ ประการ สมบูรณ์ด้วยหมู่นารี มีประมาณ ๑๒ โยชน์ในทิศทั้งปวง เบื้องบนสูงประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ผุดขึ้นในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ พร้อมด้วยการตั้งน้ำทักขิโณทก ในพระหัตถ์ ของพระศาสดาทีเดียว..

พลี 5 อย่าง (อาทิตยสูตร) เล่ม36 หน้า 94
อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความหมั่น ความขยัน
สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม ทำพลี ๕ อย่าง คือ

๑. ญาติพลี [บำรุงญาติ]
๒. อติถิพลี [ต้อนรับแขก]
๓. ปุพพเปตพลี [ทำบุญอุทิศกุศลให้ผู้ตาย]
๔. ราชพลี [บริจาคทรัพย์ช่วยชาติ]
๕. เทวตาพลี [ทำบุญอุทิศให้เทวดา]

การให้ทานที่ไม่เกิดบุญแต่ชาวโลกเข้าใจว่าได้บุญ (เอกุตตริกะ) เล่ม 10หน้า 490, เล่ม 10หน้า 556

การให้ไม่จัดเป็นบุญ แต่โลกสมมติว่าเป็นบุญมี ๕ คือ
ให้น้ำเมา ๑ ให้มหรสพ ๑ ให้สตรี ๑ ให้โคผู้ ๑ ให้จิตรกรรม ๑

การที่ให้สร้างอาวาสแล้วทำจิตรกรรมในอาวาสนั้น สมควร. แต่คำว่า จิตฺตกมฺมทานนี้ท่านกล่าวหมาย เอาการให้จิตรกรรมที่เป็นลายรูปภาพ.

จริงอยู่ ทาน ๕ อย่างนี้ โลกสมมติกันว่าเป็นบุญก็จริง แต่ที่แท้ หาเป็นบุญไม่ คือเป็นอกุศลนั่นเอง.

การให้ทาน 7 อย่างที่หวังผลต่างกัน (ทานสูตร) เล่ม37 หน้า 139-144

๙. ทานสูตร

[๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ฝั่งสระโบกขรณีชื่อคัคครา ใกล้จัมปานคร ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรพร้อมด้วยอุบาสกชาวเมืองจัมปา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก พึงมีหรือหนอแล และทานเช่นนั้นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว
มีผลมาก มีอานิสงส์มาก พึงมีหรือพระเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนสารีบุตร ทานเช่นนั้นนั่นแลที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้วมีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก พึงมีและทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก พึงมี.

สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ทานเช่นนั้นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมากไม่มีอานิสงส์มาก อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

พ. ดูก่อนสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังมีความหวังให้ทาน มีจิตผูกพันในผลให้ทาน มุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานด้วยติดว่า เราตายไปจักได้เสวยผลทานนี้ เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์ แก่สมณะหรือพราหมณ์ ดูก่อนสารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางตนในโลกนี้ พึงให้ทานเห็นปานนี้หรือ.

สา. อย่างนั้นพระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลมีความหวังให้ทานมีจิตผูกพันในผลให้ทาน มุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานด้วยคิดว่าตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้ เขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช สิ้นกรรมสิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังมีผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้

ดูก่อนสารีบุตร ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มีหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทานไม่คิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้ แล้วให้ทาน แก่ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์ แก่สมณะหรือพราหมณ์ ดูก่อนสารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้พึงให้ทานเห็นปานนี้หรือ.

สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้ แต่ให้ทานด้วย คิดว่า ทานเป็นการดี เขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้.

ดูก่อนสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี เขาให้ทานคือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็น ผู้กลับมาคือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้.

ดูก่อนสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายาย เคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากิน สมณะและพราหมณ์เหล่านี้ ไม่หุงหากิน เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ ผู้ไม่หุงหาไม่สมควร เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ แล้วยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้.

ดูก่อนสารีบุตร บุคคลบางตนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้ สมณะและพราหมณ์เหล่านี้หุงหากินไม่ได้ เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้หุง หากินไม่ได้ ไม่สมควร แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี เวเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี บูชามหายัญ ฉะนั้น เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานวดี เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้.

ดูก่อนสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกทาน เหมือนอย่างฤาษี แต่ครั้งก่อนคือ อัฏฐกฤาษี ฯลฯ และภคุฤาษี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส เขาให้ทานคือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้.

ดูก่อนสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์ ก็สมณะหรือพราหมณ์
ดูก่อนสารีบุตรเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ พึงให้ทานเห็นปานนี้หรือ.

สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ดูก่อนสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลผู้ไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ไห้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปแล้ว ก็ได้เสวยผลทานนี้ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราไม่ควรทำให้เสียประเพณี ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้หุงหากินไม่ได้ จะไม่ให้ทานแก่ผู้ที่หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร ไม่ได้ไห้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนอย่างฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี ผู้บูชามหายัญ ฉะนั้น และไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้ จิตจะเลื่อนใส จะเกิดความปลื้มใจและโสมนัส แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เขาให้ทานเช่นนั้นแล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้น พรหม เขาสิ้นธรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้วเป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้.

ดูก่อนสารีบุตรนี้ เหตุปัจจัย เป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก และเป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

จบ ทานสูตรที่ ๙

ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ อย่าง. เล่ม23 หน้า 396-397
(๑) ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรมมีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลแห่งธรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนทุศีล ทักษิณาของ ผู้นั้น ชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก.

(๒) ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมไสไม่เชื่อธรรม
และผลของธรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนมีศีล ทักษิณาของผู้นั้นชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก.

(๓) ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมใสไม่เชื่อกรรม
และผลของธรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนทุศีล เราไม่กล่าวทานของผู้นั้นว่า มีผลไพบูลย์.

(๔) ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรมมีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคนมีศีล เรากล่าวทานของผู้นั้นแลว่า มีผลไพบูลย์.

(๕) ผู้ใดปราศจากราคะแล้ว ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในผู้ปราศจากราคะ ทานของผู้นั้นนั่นแล เลิศกว่าอามิสทานทั้งหลาย.

จบ ทักขิณาวิภังคสูตร ที่ ๑๒

ผู้ให้ทานย่ิอมเกิดบุญ3วาระ (ทานสูตร) เล่ม 39หน้า 628
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทายกก่อนให้ทาน

เป็นผู้ดีใจ ๑
กำลังให้ทานอยู่ย่อมยังจิตให้เลื่อมใส ๑
ครั้นให้ทานแล้วย่อมปลื้มใจ ๑

บุญเป็นทุกข์พิเศษ (อ.ปฏิจจสมุปปาทวิภังคนิเทศ) เล่ม77 หน้า 474
โดยความเป็นทุกข์พิเศษ ย่อมปรารภปุญญาภิสังขารอันต่าง
ด้วยกายสังขารและวจีสังขาร เพื่อบรรลุทุกข์นั้น เหมือนผู้ต้องการนางฟ้า
(เทพอัปสร) ปรารถนาเกิดเป็นเทพบุตรฉะนั้น และเมื่อบุคคลนั้นแม้ไม่เห็น
ผลบุญนั้น แม้สมมติว่าเป็นสุขซึ่งถึงความเป็นทุกข์เพราะแปรปรวนอันยังความเร่าร้อนใหญ่ให้เกิดขึ้นในบั้นปลาย และความที่ผลบุญนั้นมีความสำราญน้อยย่อมปรารภปุญญาภิสังขารมีประการตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ซึ่งมีผลบุญนั้นเป็นปัจจัย เหมือนตั๊กแตนบ่ายหน้าตกลงสู่เปลวประทีป และเหมือนบุคคลผู้ติดใจในหยดน้ำผึ้งถึงกับเลียคมศัสตราที่เปื้อนน้ำผึ้งฉะนั้น.

พระพุทธเจ้าตรัสให้นายทุคตรับทรัพย์แล้ว..ให้ส่วนบุญแก่เจ้าของทรัพย์ (กุณฑกปูวชาดก) เล่ม56 หน้า418-420
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระนครสาวัตถีทรงปรารภบุรุษผู้เข็ญใจอย่างหนัก ตรัสพระธรรมเทศนานี้

ในพระนครสาวัตถี บางครั้งสกุลเพียงสกุลเดียวเท่านั้น ถวายทานแต่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข บางครั้งสาม - สี่ตระกูลรวมกัน บางครั้งด้วยความร่วมมือกันเป็นคณะ บางครั้งด้วยความร่วมใจกันของผู้ที่อยู่ร่วมถนน บางครั้งรวมคนที่มีฉันทะความพอใจหมดทั้งเมือง ถวายทานแต่พระสงฆ์มีพระพุทธองค์เป็นประมุข ก็ในครั้งนั้น มีภัตร ที่ชื่อว่า วิถีภัตร (คือการถวายภัตตาหารของผู้ที่อยู่ร่วมถนนกัน)ได้มีขึ้น.

ครั้งนั้นพวกมนุษย์ กล่าวเชิญชวนกันว่า เชิญท่านทั้งหลายถวายข้าวยาคู
นำของขบเคี้ยวมาถวายแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธองค์เป็นประมุขกันเถิด.
ในกาลนั้น ยังมีลูกจ้างของคนเหล่าอื่นผู้หนึ่ง เป็นคนยากจนอยู่ในถนนนั้น
คิดว่า เราไม่อาจถวายข้าวยาคูได้ ของขบเคี้ยวพอจัดถวายได้ แล้วนวดรำชนิดละเอียด ให้ชุ่มด้วยน้ำ ห่อด้วยใบรัก เผาในกองเถ้า คิดว่า เราจักถวายขนมนี้แด่พระพุทธเจ้าถือขนมนั้นไปยืนอยู่ในสำนักพระศาสดา พอพระศาสดาตรัสครั้งเดียวว่า พวกท่านจงนำของขบเคี้ยวมาเถิด ก็ไปก่อนคนทั้งปวง ใส่ขนมนั้นในบาตรของพระศาสดาแล้วยืนอยู่ พระศาสดาไม่ทรงรับของขบเคี้ยวที่คนอื่น ๆ ถวาย ทรงเสวยของขบเคี้ยว คือขนมนั้นเท่านั้น.

ในขณะนั้นเองทั่วทั้งพระนคร ก็ได้มีเสียงลือตลอดไปว่า ได้ยินว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ทรงรังเกียจของขบเคี้ยวทำด้วยรำ ของมหาทุคคตบุรุษ ทรงเสวยเหมือนเสวยอมฤต ฉะนั้น อิสสรชนมีพระราชา และมหาอำมาตย์แห่งพระราชาเป็นต้น

โดยที่สุดตลอดถึงคนเฝ้าประตู ประชุมกันทั้งหมดทีเดียว ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว เข้าไปหามหาทุคคตบุรุษ พากันกล่าวว่า

พ่อมหาจำเริญ เชิญพ่อรับเอาทรัพย์ร้อยหนึ่ง สองร้อย ห้าร้อยแล้วให้ส่วนบุญแก่พวกเราเถิด.

เขาตอบว่า ต้องกราบทูลสอบถามแล้วถึงจะรู้ แล้วไปสู่สำนักของพระศาสดา กราบทูลเนื้อความนั้น

พระศาสดาตรัสว่า ท่านจงรับทรัพย์แล้วให้ส่วนบุญ แก่สรรพสัตว์เถิด เขาเริ่มรับทรัพย์ พวกมนุษย์พากันให้ด้วยการ ประมูล เป็นทวีคูณ จตุรคูณ และอัฏฐคูณเป็นต้น ได้ให้ทรัพย์กันถึงเก้าโกฏิ. พระศาสดาทรงกระทำอนุโมทนาแล้วเสด็จไปวิหาร เมื่อพวกภิกษุแสดงวัตตปฏิบัตติถวายแล้ว ประทานพระสุคโตวาท เสด็จเข้าพระคันธกุฎี เวลาเย็นวันนั้น พระราชารับสั่งให้มหาทุคคตบุรุษเข้าเฝ้า ทรงบูชาด้วยตำแหน่งเศรษฐี.

พวกภิกษุตั้งเรื่องสนทนากันในโรงธรรมว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดามิได้ทรงรังเกียจขนมรำ ที่มหาทุคคตบุรุษถวายเลย ทรงเสวยเหมือนอมฤต ฝ่ายมหาทุคคตบุรุษเล่า ได้ทั้งทรัพย์จำนวนมากได้ทั้งตำแหน่งเศรษฐี ถึงสมบัติอันยิ่งใหญ่แล้ว.

พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ?

เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรง ทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นที่เราไม่รังเกียจ บริโภคขนมรำของเขา ถึงครั้งที่เป็นรุกขเทวดา ในกาลก่อน ก็เคยบริโภคเหมือนกัน แม้ในครั้งนั้นเล่า เขาก็อาศัย เราได้ตำแหน่งเศรษฐีเหมือนกัน.

พระราชาคหบดีทั้งหลายต่างส่งทรัพย์ให้แก่หญิงชรา...ผู้ถวายอาหารแก่พระสารีบุตรอยู่ที่บ้านของตน (อ.กุฑกกุจสินธวชาดก) เล่ม 58หน้า 31-32
ได้ยินว่า สมัยหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ในพระนครสาวัตถี
ออกพรรษาแล้วเสด็จเที่ยวจาริกแล้วเสด็จกลับมาอีก.คนทั้งหลายคิดกันว่า
จักกระทำอาคันตุกสักการะ จึงถวายมหาทานแก่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน.พากันตั้งภิกษุผู้ประกาศธรรมรูปหนึ่งไว้ในพระวิหาร. ภิกษุนั้นจัดภิกษุให้แก่ทายกเท่าจำนวนที่ต้องการ.

ครั้งนั้น มีหญิงแก่เข็ญใจคนหนึ่ง ได้จัดแจงส่วนทานวัตถุไว้เฉพาะส่วนเดียว
เมื่อพระธรรมโฆษกจัดภิกษุให้แก่คนเหล่านั้นแล้ว ในเวลาสายนางจึงไปยังสำนักของพระธรรมโฆษกแล้วกล่าวว่า ขอท่านจงจัดภิกษุให้แก่ดิฉันรูปหนึ่งเถิด.

พระธรรมโฆษกกล่าวว่า อาตมาจักภิกษุให้ไปหมดแล้ว แต่พระสารีบุตรเถระยังอยู่ในวิหารท่านจงถวายภิกษาหารแก่ท่านเถิด. หญิงชรานั้นดีใจ. ยืนอยู่ที่ซุ้มประตูพระเชตวันในเวลาพระเถระมา จึงไหว้แล้วรับบาตรจากมือนำไปเรือนนิมนต์ให้นั่งในบ้าน. พวกตระกูลที่มีศรัทธาเป็นอันมากได้

ข่าวว่า หญิงชราคนหนึ่งนิมนต์พระธรรมเสนาบดีให้นั่งในเรือนของตน.ในบรรดาชนเหล่านั้นพระเจ้ากับเสนทิโกศลได้ทรงสดับเหตุนั้นจึงทรงส่งภัตรและโภชนะพร้อมกับผ้าสาฏก และถุงทรัพย์หนึ่งพันไปให้หญิงชรา โดยตรัสสั่งว่า หญิงชราเมื่อจะอังคาสพระผู้เป็นเจ้าของเรา จงนุ่งห่มผ้าสาฎกนี้แล้วใช้จ่ายกหาปณะเหล่านี้อังคาสพระเถระเถิด.

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านจุลลอนาถบิณฑิกเศรษฐี แม้นางวิสาขามหาอุบาสิกาก็ส่งไปเหมือนตัวที่พระราชาทรงส่งไป ส่วนตระกูลอื่น ๆ ก็ส่งกหาปณะไปตามควรแก่กำลังของตน ๆ คนละร้อยสองร้อยเป็นต้น. โดยวิธีอย่างนี้ หญิงชราคนนั้นได้ทรัพย์ประมาณหนึ่งแสนเพียงวันเดียวเท่านั้น.

ฝ่ายพระเถระดื่มยาคูเฉพาะที่หญิงชรานั้นถวาย และฉันเฉพาะของเคี้ยว และเฉพาะภัตรที่สุกแล้วที่หญิงชรานั้นกระทำ แล้วกล่าวอนุโมทนา ให้หญิงชรานั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล แล้วได้ไปยังวิหารทีเดียว.

โจรไม่สามารถลักเอาบุญของผู้ใดไปได้ (ชราสูตร) เล่ม 24 หน้า 270

ชราสูตร

[๑๕๘] เทวดาทูลถามว่า
อะไรหนอ ยังประโยชน์ให้สำเร็จจน กระทั่งชรา
อะไรหนอ ตั้งมั่นแล้วยังประโยชน์ให้สำเร็จ
อะไรหนอ เป็นรัตนะ ของคนทั้งหลาย
อะไรหนอ โจรลักไปไม่ได้.

[๑๕๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ศีลยังประโยชน์ให้สำเร็จจนกระทั่ง ชรา
ศรัทธาตั้งมั่นแล้วยังประโยชน์ให้สำเร็จ
ปัญญาเป็นรัตนะของคนทั้งหลาย
บุญอันโจรลักไปไม่ได้.


บุญที่ให้ผลในชาติปัจจุบัน (จิตุปปาทกัณฑ์) เล่ม75 หน้า 436
พระผู้พระภาคเจ้าทรงถือเอา ทักขิณาวิสุทธิ ๔ อย่าง คือ
ความที่ปัจจัยทั้งหลายเกิดขึ้นโดยธรรม ( ธัมมิกะ) ๑
ความที่เจตนามีกำลังมาก (เจตนามหัตตะ) ๑
วัตถุสมบัติ ๑
ความเป็นผู้มากยิ่งด้วยคุณ (คุณาติเรกตา) ๑.

บรรดาทักขิณาวิสุทธิ ๔ อย่างเหล่านั้น ปัจจัยทั้งหลายที่เกิดขึ้นโดย
ชอบธรรม ชื่อว่า ธัมมิกะ. ก็เมือบุคคลเชื่อมั่นแน่วแน่แล้วให้อยู่ ชื่อว่าเจตนามหัตตะ. ความเป็นแห่งพระขีณาเสพ ชื่อว่า วัตถุสมบัติ. ความที่พระขีณาสพนั่นแหละออกจากนิโรธสมาบัติ ชื่อว่า คุณาติเรกตา. เมื่อบุคคลสามารถประมวลทักขิณาวิสุทธิ ๔ เหล่านั้นมาแล้วถวายอยู่ กามาวจรกุศลย่อมให้วิบากในอัตภาพนี้โดยแท้ ดุจกามาวจรกุศลที่ให้วิบากแก่ปุณณกเศรษฐี นายกาลวลิยะ และนายสุมนมาลาการเป็นต้น.

บุญเกิดขึ้นได้ทุกเวลา (วนโปสูตร) เล่ม 24 หน้า 255


ว่าด้วยเจริญบุญได้ทุกเวลา

[๑๔๕] เทวดาทูลถามว่า
ชนพวกไหนมีบุญ เจริญในกาลทุก
เมื่อทั้งกลางวันและกลางคืน ชนพวกไหน
ตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีลเป็นผู้ไปสวรรค์.

[๑๔๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ชนเหล่าใดสร้างอาราม (สวนไม้ดอกไม้ผล) ปลูกหมู่ไม้ (ใช่ร่มเงา)
สร้างสะพาน และชนเหล่าใดให้โรงน้ำเป็นทาน
และบ่อน้ำทั้งบ้านที่พักอาศัย ชนเหล่านั้น
ย่อมมีบุญ เจริญในกาลทุกเมื่อทั้งกลางวัน
และกลางคืน ชนเหล่านั้นตั้งอยู่ในธรรม
สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้ไปสวรรค์.


บุญที่เกิดทุกย่างก้าว (เรื่องนางปติปูชิกา) เล่ม41 หน้า 44

จุติจากมนุษยโลกแล้วไปเกิดในสวรรค์

ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายทราบว่า "นางนี้ ลุกขึ้นเสร็จสรรพแล้ว
ย่อมปรารถนาสามีเท่านั้น" จึงขนานนามของนางว่า "ปติปูชิกา."
แม้นางปติปูชิกานั้น ย่อมปฏิบัติโรงฉัน เข้าไปตั้งน้ำฉัน ปูอาสนะเป็นนิตย์.
มนุษย์แม้พวกอื่น ใคร่เพื่อจะถวายสลากภัตเป็นต้น นำมามอบให้ด้วยคำว่า
"แม่ ท่านจงจัดแจงภัตเหล่านี้ แก่ภิกษุสงฆ์." แม้นางเดินไปเดินมาอยู่โดยทำนองนั้น ได้กุศลธรรม ๕๖ ทุกย่างเท้า. นางตั้งครรภ์แล้ว. นางก็คลอดบุตร โดยกาลอันล่วงไป ๑๐ เดือน.ในกาลที่บุตรนั้นเดินได้ นางได้บุตรแม้อื่น ๆ รวม ๔ คน.ในวันหนึ่ง นางถวายทาน ทำการบูชา ฟังธรรม รักษาสิกขาบท ในเวลาเป็นที่สุดแห่งวัน ก็ทำกาละด้วยโรคชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งบังเกิดขึ้นในขณะนั้น แล้วบังเกิดในสำนักสามีเติมของตน.

ทักษิณาวิภังคสูตร เล่ม23 หน้า393-394

ว่าด้วยลำดับและผลแห่งการให้ทาน

[๗๑๐] ดูก่อนอานนท์ ก็ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิกมี ๑๔ อย่าง คือ
ให้ทานในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑.
ให้ทานในพระปัจเจกสัมพุทธะ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก... ๒.
ให้ทานในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก.. ๓.
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก.. ๔.
ให้ทานแก่พระอนาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก...๕.
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก.... ๖.
ให้ทานแก่พระสาทกคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก...๗.
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก....๘.
ให้ทานในพระโสดาบัน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก....๙.
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก...๑๐.
ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก...๑๑.
ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก....๑๒.
ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก....๑๓
ให้ทานในสัตว์เดียรัจฉานนี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก...๑๔.

[๗๑๑] ดูก่อนอานนท์ ใน ๑๔ ประการนั้น
บุคคลให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ร้อยเท่า
ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผลทักษิณาได้พันเท่า
ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้แสนเท่า.
ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณาได้แสนโกฏิเท่า.
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาจะนับไม่ได้ จะประมาณไม่ได้
จะป่วยกล่าวไปไยในพระโสดาบันในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ในพระสกทาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ในพระอนาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผล ให้แจ้ง ในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ในปัจเจกสัมพุทธะ และในตถาคตอรหันต์ สัมมาสัมพุทธเจ้า.

วัดป่าสามแยก ศึกษาพระธรรมวินัย เบิกบุญ โอนบุญ อกหัก โดนของ ธรรมะ ธรรมทาน คลายเครียด เจริญรุ่งเรือง //www.samyaek.com




 

Create Date : 18 กุมภาพันธ์ 2555
1 comments
Last Update : 18 กุมภาพันธ์ 2555 22:09:16 น.
Counter : 1414 Pageviews.

 

ชอบมากครับผม

 

โดย: เก็ท IP: 183.89.82.215 30 เมษายน 2558 22:19:14 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Budratsa
Location :
พิจิตร Switzerland

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกๆคนค่ะ
"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา" เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐
Friends' blogs
[Add Budratsa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.