space
space
space
<<
กันยายน 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
space
space
28 กันยายน 2551
space
space
space

บุหรี่ก่อให้เกิดโรคหัวใจ




จากรายงาน การศึกษาในสหรัฐอเมริกา พบว่า ในกลุ่มผู้สูบบุหรี่จะมีโอกาส หรือความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดมากกว่าคนไม่สูบบุหรี่ถึง 2.4 เท่า

และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูบ บุหรี่ที่เป็นโรคความดันเลือดสูงหรือมีไขมันในเลือดสูง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดถึง 1.5 เท่า แต่หากผู้สูบบุหรี่นั้น เป็นทั้งความดันเลือดและไขมันในเลือดสูง จะเสี่ยงต่อโรคหัวใจถึง 8 เท่า ของคนทั่วไป

โดยเฉลี่ยแล้วผู้ติดบุหรี่ จะทำให้เส้นเลือดเสื่อม และเกิดความตีบตันเร็ว มากกว่าผู้ไม่สูบถึง 10 - 15 ปี

องค์การอนามัยได้ระบุว่า 1 ใน 4 หรือ ร้อยละ 25 ของผู้ที่เสียชีวิตจากโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เป็นผลจากการสูบบุหรี่


ในสตรีสูบบุหรี่ที่ได้รับยาคุมกำเนิด จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบมากกว่าสตรีทั่วไปถึง 40 เท่า และยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดสมองตีบ และระบบหลอดเลือดสูงกว่าสตรีทั่วไปด้วย

นอกจากนี้มีความเสี่ยงต่อการ ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 10 เท่า โดยความเสี่ยงจะเพิ่มจากจำนวนบุหรี่ที่สูบ และในกลุ่มผู้ที่เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันนั้น ครึ่งหนึ่ง (ร้อยละห้าสิบ) จะเสียชีวิตในที่เกิดเหตุเลย และอีกร้อยละ 25 จะไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาล นั่นคือ หากเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันขึ้นแล้ว โอกาสจะมีชีวิตอยู่จะน้อยลงและมีปัญหาเรื่องคุณภาพชีวิตต่อไปด้วย



ผลจากการสูบบุหรี่ต่อการทำงานของหัวใจ

นิโคติน
เมื่อดูดซึมเข้ากระแสเลือด มีผลโดยตรงต่อต่อมหมวกไต ก่อให้เกิดการหลั่งสารเอพิเนฟริน (Epinephrine) ทำให้

1. ความดันโลหิตสูงขึ้น
2. หัวใจเต้นเร็วขึ้น
3. หลอดเลือดแดงหดตีบตัน
4. เพิ่มไขมันในเลือด

ผล ของนิโคตินทำให้เกิดการทำลายของเยื่อบุชั้นในของหลอดเลือดแดง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือหัวใจขาดเลือด

# คาร์บอนมอนน๊อกไซด์
การ หายใจเอาคาร์บอนมอนน๊อกไซด์เข้าไปเป็นจำนวนมาก จะทำลายคุณสมบัติในการเป็นพาหนะนำออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อย เป็นผลทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ทำงานมากขึ้น เพื่อจะสูบฉีดโลหิตนำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายให้เพียงพอ

# ไฮโดรเจนไซยาไนด์
เป็น ก๊าชพิษในควันบุหรี่ ทำให้เกิดหลอดเลือดแดงแข็ง ปรกอบกับสารพิษอื่นๆ ได้แก่ นิโคตินเป็นพิษต่อเซลล์เยื่อบุชั้นในของหลอดเลือด เมื่อกลไกนี้เกิดซ้ำอีก ร่วมกับการขาดออกซิเจนจากก๊าซคาร์บอนมอนน๊อกไซด์ ยิ่งจะทำลายเซลล์ชั้นในของหลอดเลือดมากขึ้น ทำให้ไขมันที่มีอยู่ในเลือดไปเกาะที่ผนังหลอดเลือดได้ง่าย นอกจากนี้ควันบุหรี่ยังทำให้เกล็ดเลือดเกาะกันมากขึ้น เกล็ดเลือดอายุสั้นลง เลือดแข็งตัวเร็วขึ้น เลือดข้นขึ้น ทั้งนี้ ทำให้เลือดจับกันเป็นก้อนได้ง่าย เป็นสาเหตุทำให้เส้นแดงที่มีไขมันเกาะอยู่ชั้นในของหลอดเลือด หรือ หลอดแดงที่ตีบอยู่แล้ว เกิดการอุดตันได้ในทีทันใด ทำกล้ามเนื้อหัวใจตาย อาจเสียชีวิตทันทีทันใดได้




การสูบบุหรี่กับโรคหัวใจและหลอดเลือด

ในประเทศที่พัฒนาแล้วคนที่สูบบุหรี่ตาย จากโรคหัวใจขาดเลือดมากกว่าคนที่ไม่สูบเกือบ 3 เท่า และการสูบบุหรี่นั้น มีความสัมพันธ์กับจำนวนบุหรี่ที่สูบ ยิ่งสูบมากเกินกว่าวันละ 1 ซอง ก็ยิ่งทำให้อัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจมากขึ้น

ในประเทศเรา ได้มีการศึกษาในจำนวนประชากรที่เกิดโรคหัวใจขาดเลือด พบปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรค เรียงตามลำดับ คือ

1. การสูบบุหรี่มากกว่า 10 มวนขึ้นไป ยิ่งสูบเกิน 20 มวน ต่อวันขึ้นไป ยิ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสูงมากขึ้น
2. ผู้ป่วยเบาหวาน
3. ความดันโลหิตสูง
4. อ้วน
5. ไขมันในเลือด
6. ความเครียด
7. การไม่ออกกำลังกาย

สรุปข้อมูลที่ได้จากศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า บุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด

และถ้าสูบบุหรี่ร่วมกับปัจจัยอื่นๆ เช่น เป็นความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวานด้วยแล้ว ยิ่งทำให้อัตราการเกิดโรคนั้นสูงมากขึ้นตามลำดับ

ข้อมูลจาก : คู่มือบุหรี่และสุขภาพ สถาบันควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข


Create Date : 28 กันยายน 2551
Last Update : 8 ตุลาคม 2551 4:44:03 น. 0 comments
Counter : 921 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

tanas251235
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]






space
space
[Add tanas251235's blog to your web]
space
space
space
space
space