space
space
space
<<
พฤศจิกายน 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
space
space
16 พฤศจิกายน 2551
space
space
space

เตรียมยาก่อนออกเดินทาง




ไม่อาจมั่นใจได้ 100% ว่าคุณจะมีสุขภาพแข็งแรงตลอดการเดินทางท่องเที่ยว แต่การจัดเตรียมยาอาจเป็นปัญหากับหลายๆ คนที่ไม่รู้ว่าจะจัดยาอย่างไร









การท่องเที่ยวเป็นการพักผ่อนอีกรูปแบบหนึ่งที่ใครหลายคนปรารถนา ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวในประเทศหรือต่างประเทศ ทุกท่านคงต้องมีการจัดเตรียมข้าวของสัมภาระไปให้พร้อม ยาเป็นสิ่งที่เสียมิได้ทีเดียวที่คุณควรจะจัดเตรียมไปให้พร้อม เพราะไม่อาจมั่นใจได้ 100% ว่าคุณจะมีสุขภาพแข็งแรงตลอดการเดินทาง แต่การจัดเตรียมยาอาจเป็นปัญหากับหลายๆ คนที่ไม่รู้ว่าจะจัดยาอย่างไร หรือไม่แน่ใจว่าจะครบถ้วนหรือไม่ จึงอยากนำเสนอวิธีจัดยาง่ายๆ ก่อนที่คุณจะออกเดินทางเพื่อให้การท่องเที่ยวของคุณสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นนะคะ

การจัดชุดปฐมพยาบาลสำหรับการเดินทาง
คุณสามารถจัดยาตามรายการโรคที่อาจเกิดระหว่างการเดินทาง ดังนี้

สภาวะโรค หรืออาการที่อาจเกิดขึ้นตัวอย่างยาที่แนะนำ ภูมิแพ้ หรืออาการแพ้ต่างๆ ยาครีมทาผื่นคัน เช่น hydrocortisone cream, triamcinolone cream, betametasone cream ยาต้านฮิสตามีน (antihistamines) เพื่อบรรเทาอาการแพ้ อาการคัน ยากลุ่มนี้ ได้แก่ - กลุ่มเก่า ที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงซึม เช่น chlorpheniramine - กลุ่มใหม่ ที่ไม่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงซึม เช่น loratadine, cetirizine ท้องผูก ยาระบาย ควรเลือกที่เคยรับประทานมาก่อนและไม่มีฤทธิ์ระบายรุนแรงจนเกินไป เช่น ใบมะขามแขกเม็ด (senokot), bisacidyl ท้องเดิน ยาฆ่าเชื้อ เช่น cotrimoxazole, doxycycline, norfloxacin, ciprofloxacin เป็นต้น ยาหยุดถ่าย เช่น loperamide ผงเกลือแร่ เช่น ORS ปวดท้อง แสบท้อง จุกเสียด ยาเคลือบกระเพาะ ยาลดกรดต่างๆ เช่น ยาน้ำลดกรด, ยาเม็ดลดกรด ยาแก้ท้องอืดแน่นท้อง, ยาธาตุน้ำแดง อาการติดเชื้อต่างๆ ยาปฏิชีวนะ เช่น amoxycillin, roxithomycin, erythromycin อาการปวดต่างๆ ได้แก่ ปวดประจำเดือน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดฟัน ยาลดไข้ บรรเทาปวด เช่น paracetamol, aspirin ยาแก้ปวดลดอาการอักเสบ เช่น ibuprofen, diclofenac, naproxen อาการไหม้จากแสงแดด ครีมกันแดดที่มีค่า SPF (sun protective factor) มากกว่า 30 ขึ้นไป เมื่อต้องเดินทางหรือมีกิจกรรมกลางแจ้ง อาการเมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน ยาแก้เมา ซึ่งเป็นกลุ่มต้านฮีสตามีน เช่น chlopheniramine, dimenhydrinate (Dramamine) อาการไอ ยาบรรเทาอาการไอ เช่น dextromethophan หรือ ยาน้ำแก้ไอต่างๆ ยาละลายเสมหะ เช่น bromhexine อาการนอนไม่หลับ หรืออ่อนเพลียจากการเปลี่ยนแปลงสถานที่ หรือเวลา (Jet lag) ยานอนหลับ ได้แก่ lorazepam, diazepam ยาบรรเทาอาการ jet lag เช่น melatonin อาการหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล ใช้ยาเช่นเดียวกับอาการภูมิแพ้ แผลเปิด ชุดทำแผลเล็กๆ ผ้าก๊อซ กรรไกร พลาสเตอร์ปิดแผล แอลกอฮอล์ โพวิโดนไอโอดีน
อย่างไรก็ตามรายการยาเหล่านี้ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย เพียงแต่ชี้แนะแนวทางเท่านั้น กรณีที่คุณต้องการจัดยาต่างๆ ควรจัดตามอาการที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ และปรึกษาเภสัชกรประจำร้านยาด้วย หากคุณมีโรคประจำตัวอยู่ หรืออาการแพ้ยาบางประเภทที่ไม่สามารถใช้ยาตามรายการที่ระบุข้างต้นได้

Travel Tips
1. ตรวจสอบว่ากับบริษัทประกันสุขภาพที่คุณทำ ว่าสามารถติดต่อได้อย่างไรบ้างเมื่อคุณอยู่ในต่างประเทศ
2. กรณีที่คุณมีโรคประจำตัว ควรจัดเตรียมยาไปให้ครบตามจำนวนวันการเดินทาง หรือจัดเผื่อไว้ด้วยจะดีหากเกิดเหตุฉุกเฉิน
3. กรณีที่คุณต้องเดินทางเป็นระยะเวลานานๆ ควรตรวจสอบด้วยว่าประเทศที่จะเดินทางไปนั้นสามารถนำยาเข้าไปได้มากน้อยเพียงไร และเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดกับศุลกากรของแต่ละประเทศ คุณควรให้แพทย์ประจำตัวออกใบรับรองการเจ็บป่วยให้คุณเป็นภาษาอังกฤษ รวมทั้งรายระเอียดชื่อยาที่ต้องใช้ขณะนั้นด้วย
4. จัดเตรียมยาชุดปฐมพยาบาลให้พร้อม
5. พกยาที่86Iต้องรับประทานเป็นประจำติดตัวไว้ตลอด เช่น ในกระเป๋าถือ หรือเป้ ไม่ควรเก็บในกระเป๋าเดินทาง

ที่มาข้อมูล : นิตยสาร Health Today




Create Date : 16 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 16 พฤศจิกายน 2551 5:35:07 น. 1 comments
Counter : 1970 Pageviews.

 
กำลังจะเตรียมเดินทางอยู่พอดีเลยค่ะ ลืมนึกเรื่องนี้ซะสนิท ขอบคุณมากนะคะ

ปล. บล็อคน่ารักนะคะ


โดย: nadtha วันที่: 16 พฤศจิกายน 2551 เวลา:11:41:18 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

tanas251235
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]






space
space
[Add tanas251235's blog to your web]
space
space
space
space
space