space
space
space
<<
ตุลาคม 2551
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
space
space
28 ตุลาคม 2551
space
space
space

อาหาร ตีกับ ยา ???


เรื่อง : ภญ.อัมพร จันทรอาภรณ์กุล


“ยา” มีไว้รักษาโรคยามเจ็บไข้ได้ป่วย “อาหาร” มีไว้เพื่อยังชีพ ทั้งยาและอาหารต่างก็เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักในการในการดำรงชีวิตที่มนุษย์ อาหารในที่นี้ไม่ได้หมายถึงอาหารที่เรากินในแต่ละมื้อเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอาหารเสริมสุขภาพหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีขายทั่วไป เช่น สารสกัดจากสมุนไพร วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ ด้วย ในช่วงหลายปีมานี้สื่อต่างๆ ได้นำเสนอข้อมูลในด้านประโยชน์และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกลไกการทำงานของสารสำคัญที่ออกฤทธิ์เป็นยาในอาหารมากขึ้น โดยเผยแพร่ผลงานของบรรดานักวิจัยจากสถาบันต่างๆ ทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง ทำให้พฤติกรรมการบริโภคของคนไทยเปลี่ยนไป มีความตื่นตัวในเรื่องการดูแลสุขภาพมากขึ้น แนวความคิดเรื่องการแพทย์ทางเลือกเกิดขึ้นมากมาย มีการสรรหาอาหารต่างๆ มาบำรุงร่างกายมากขึ้น เหล่านี้คงจะไม่เป็นภัยหากอาหารชนิดนั้นๆ ไม่ได้ไปทำปฏิกิริยาอะไรกับยาที่คุณกินอยู่



เมื่อ “อาหารตีกับยา” การเกิดปฏิกิริยาระหว่างอาหารกับยาที่ว่านี้อาจทำให้ผลการออกฤทธิ์ของยาเพิ่มขึ้น ลดลง หรือไม่ออกฤทธิ์เลยก็ได้





อาหารตีกับยา ได้อย่างไร ???

อาหารสามารถเกิดปฏิกิริยากับยาได้หลายวิธี ได้แก่

การรบกวนหรือชะลอการดูดซึมของยา ทำให้ยาเข้าสู่ร่างกายน้อยกว่าปกติ ซึ่งพบกับยาส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น การกินแก้ปวดลดไข้ เช่น พาราเซตามอล หากรับประทานขณะท้องว่างจะทำให้ยาออกฤทธิ์เร็วกว่า บรรเทาปวดลดไข้ได้เร็วกว่ารับประทานร่วมกับอาหาร


การเพิ่มการดูดซึมของยา ทำให้ยาเข้าสู่ร่างกายมากกว่าปกติ ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงร่วมกับยา Theophylline ซึ่งเป็นยาขยายหลอดลมที่ใช้ในผู้ป่วยโรคหอบหืด จะทำให้ปริมาณยา Theophyllineในร่างกายสูงขึ้นจนอาจเกิดพิษจากยาได้


การเกิดปฏิกิริยาเคมีกันระหว่างอาหารกับยา ได้แก่ ปฏิกิริยาระหว่างอาหารที่มีแคลเซียมเป็นส่วนประกอบ เช่น นม โยเกริ์ต ไอศกรีม หรือยาลดกรด กับยาTetracycline ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะที่บางท่านอาจเคยได้เพื่อรักษาสิว เมื่อกินร่วมกัน ตัวยาจะถูกจับไว้จนไม่สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้


อาหารออกฤทธิ์เสริมฤทธิ์กับยา ได้แก่ การกินยาแก้หวัดที่ทำให้ง่วง เช่น Chlorpheniramine ร่วมกับแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ จะทำให้อาการง่วงซึมเพิ่มมากขึ้น ความสามารถในการควบคุมตนเองลดลง


อาหารตีกับยา มีความรุนแรงเท่ากันทุกคนหรือเปล่า???

ความรุนแรงของการเกิดปฏิกิริยากันระหว่างอาหารกับยาในคนแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ความรุนแรงนั้นขึ้นกับหลายๆ ปัจจัย ได้แก่



ข้อบ่งใช้ของยาที่ได้รับ: กรณีที่ยานั้นใช้รักษาโรคที่ร้ายแรง หากเกิดปฏิกิริยากับอาหารจนไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ ทำให้การรักษาด้วยยาตัวนั้นล้มเหลว คุณก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ แต่ถ้ายานั้นใช้รักษาโรคที่ไม่รุนแรงมากคุณก็อาจจะเจ็บป่วยนานขึ้นเท่านั้น



ขนาดของยาที่ได้รับ: การเกิดปฏิกิริยาระหว่างอาหารกับยาจะรุนแรง หากได้รับยาในขนาดสูง หรือมีความแรงของยาสูง



อายุ: ปฏิกิริยาระหว่างอาหารกับยาในคนสูงอายุจะมีความรุนแรงมากกว่าในคนที่อายุน้อยกว่า เนื่องจากความเสื่อมถอยของหน้าที่การทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายของคนสูงอายุนั่นเอง ทำให้การกำจัดสารพิษออกจากร่างกายช้ากว่าคนที่อายุน้อย



สภาวะสุขภาพ: เมื่อร่างกายเจ็บป่วยก็ไม่ต่างอะไรกับคนสูงอายุนั่นเองการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายอาจจะสูญเสียหน้าที่ไปได้ชั่วขณะ ทำให้การกำจัดสารพิษออกจากร่างกายช้ากว่าคนที่แข็งแรงกว่า ดังนั้นความรุนแรงของปฏิกิริยาระหว่างยากับอาหารในคนที่สุขภาพไม่แข็งแรงก็ย่อมรุนแรงกว่าแน่นอน



แนวทางปฏิบัติง่ายๆ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ อาหารตีกับยา

การซื้ออาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สมุนไพรต่างๆ มาเสริมสุขภาพนั้นเป็นเรื่องง่าย การกินยาก็ดูเหมือนไม่ยากสักเท่าไหร่ แต่สำหรับการกินทั้งอาหารและยาร่วมกันเพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพสูงสุดจากการรักษาด้วยยานั้นดูยุ่งยากซับซ้อน แต่อย่างไรก็ตามยังพอมีแนวทางปฏิบัติง่ายๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการตีกันระหว่างอาหารกับยาที่ทุกคนสามารถปฏิบัติตามได้ ดังนี้

อ่านฉลากยาให้ละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมวดของ วิธีใช้ยา คำเตือน ข้อควรระวังต่างๆ หากมีข้อสงสัยอะไรอย่ารับประทานยาด้วยวิธี “เดา” เด็ดขาด ควรสอบถามเภสัชกรหรือแพทย์ผู้สั่งจ่ายยาก่อนทุกครั้ง


ไม่ควรผสมยากับอาหารหรือเครื่องดื่ม เพราะความเป็นกรด ด่าง เกลือแร่ และความร้อน ในอาหารหรือเครื่องดื่มอาจมีผลกับยาได้


ยาที่เป็นแคปซูลไม่ควรแกะแคปซูล หากไม่ได้รับการแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรให้ทำ


หลีกเลี่ยงการกินยากับเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ กาแฟ หรือนม ควรกินยากับน้ำเปล่า


ไม่ควรกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกลุ่มวิตามิน และเกลือแร่ ร่วมกับยา เพราะผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเหล่านั้นอาจจะเกิดปฏิกิริยากับยาได้


คำแนะนำเหล่านี้เป็นแนวทางทั่วไปเท่านั้น ซึ่งยังมีรายละเอียดอีกมาก ดังนั้นหากมีข้อสงสัยว่า “อาหารอะไรบ้างที่ตีกับยาที่ต้องกินอยู่” ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทานทุกครั้งค่ะ

ที่มาข้อมูล :นิตยสาร Health Today




Create Date : 28 ตุลาคม 2551
Last Update : 28 ตุลาคม 2551 5:54:52 น. 2 comments
Counter : 1361 Pageviews.

 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


โดย: bannine วันที่: 28 ตุลาคม 2551 เวลา:8:04:35 น.  

 
เข้ามาเก็บความรู้จ้าขอบคุณค่ะ


โดย: สาวพิษณุโลก** วันที่: 28 ตุลาคม 2551 เวลา:11:00:24 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

tanas251235
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]






space
space
[Add tanas251235's blog to your web]
space
space
space
space
space