space
space
space
<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
space
space
14 พฤศจิกายน 2552
space
space
space

ใช้ยาลดไข้ ป้องกันชัก รักษา IQ




เชื่อว่าผู้อ่านที่เป็นคุณแม่ทั้งหลายต้องสะดุดกับชื่อเรื่อง และรีบอ่านเรื่องนี้อย่างแน่นอน เพราะใครๆ ก็อยากให้ลูกเก่ง แต่การทำให้ลูกเก่งมีไอคิวสูงไม่ใช่เนื้อหาของเรื่องนี้
ช้าก่อน อย่าเพิ่งพลิกหน้ากระดาษไป เพราะเรื่องไอคิว (IQ) นั้นทำให้สูงขึ้นได้ลำบากกว่าการทำให้ไอคิวต่ำลง แต่การป้องกันไม่ให้ไอคิวต่ำลงนั้นอยู่ในวิสัยที่คุณแม่จะทำได้ ทั้งนี้มีวิธีการอยู่หลายวิธี แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะการดูแลลูกน้อยเมื่อเป็นไข้ คุณผู้อ่านคงจะนึกไม่ถึงว่าไข้กับไอคิว มันเกี่ยวข้องกันอย่างไร

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับไข้กันก่อน เมื่อไหร่ จึงจะถือว่าเป็นไข้ คือภาวะที่ตัวร้อน เมื่อนำปรอทวัดไข้มาวัดอุณหภูมิร่างกาย หากวัดทางรักแร้ได้สูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส จะถือว่าเป็นไข้ มักเกิดจากการติดเชื้อโรค เช่น หวัด ท้องเสียจากการติดเชื้อ เป็นต้น
อาการชักเมื่อไข้สูง
พบมากในเด็กอายุระหว่าง 6 เดือน – 5 ปี (พบมากที่สุดในช่วง 3 ขวบปีแรก) เนื่องจากสมองของเด็กกำลังเจริญเติบโต จึงมีความไวต่อการกระตุ้นจากไข้
ขณะที่เด็กมีไข้ใน 24 ชั่วโมงแรก จะมีอาการชักเกร็งกระตุกขึ้นมาประมาณ 1-2 นาที ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานมากในความรู้สึกของแม่ แต่จะหยุดชักได้เอง หลังหยุดชัก เด็กจะฟื้นคืนสติเป็นปกติ ไม่ซึม ไม่มีอาการแขนขาอ่อนแรง และมักจะไม่ชักซ้ำอีกในการเจ็บป่วยครั้งนั้น โดยมากไม่มีอันตรายร้ายแรงและไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา
แต่ถ้าเด็กชักนานเกิน 15 นาที หรือมีอาการชักเกิดขึ้นซ้ำภายใน 24 ชั่วโมงหรือในการเจ็บป่วยครั้งนั้นๆ หรือภายหลังการชักอาจมีอาการซึมหรือแขนขาอ่อนแรง หรือชักในขณะที่ไม่มีไข้ เป็นสัญญาณบอกถึงอาการชักที่น่าจะไม่ธรรมดา ซึ่งอาจเกิดความเสียหายต่อสมองเด็กและทำให้มี IQ ต่ำลงได้ จึงควรรีบพบแพทย์เพื่อให้การรักษาได้ทันท่วงที
คุณแม่ควรทำอย่างไรเมื่อลูกชัก
คุณแม่ควรควบคุมสติให้ดี อย่าตกใจเกินกว่าเหตุ
จับให้ลูกนอนตะแคงในที่ปลอดภัยเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการพลัดตก
เช็ดตัวให้ลูกด้วยน้ำธรรมดาเพื่อลดไข้โดยเร็ว
ถ้าเป็นอาการชักครั้งแรก ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อหาว่ามีสาเหตุอื่นๆ ของการชักนอกจากเรื่องไข้สูงหรือไม่
เมื่อลูกเคยชักจากไข้สูงแล้วครั้งหนึ่ง ลูกมีโอกาสจะชักได้อีกเมื่อมีไข้สูง คุณแม่จึงควรเตรียมยาลดไข้ติดบ้านไว้และศึกษาวิธีใช้จากฉลากยาให้ดี
ใช้ยาลดไข้อย่างไร
การใช้ยาลดไข้อย่างถูกต้องจะช่วยลดไข้ได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย และป้องกันผลเสียจากการชักของเด็กได้ ยาลดไข้ในปัจจุบันมี 3 ชนิด คือ พาราเซตามอล แอสไพริน และไอบูโพรเฟน
ยาลดไข้ที่ควรใช้เป็นชนิดแรกในเด็ก คือ พาราเซตามอล ผลิตภัณฑ์มีหลายขนาดความแรง และมีอยู่ในรูปยาน้ำชนิดหยด ขนาด 500 มิลลิกรัมต่อ 5 ซีซี ยาน้ำเชื่อม หรือยาน้ำแขวนตะกอน ขนาด 120 มิลลิกรัมต่อ 1 ช้อนชา 160 มิลลิกรัมต่อ 1 ช้อนชา และ 250 มิลลิกรัมต่อ 1 ช้อนชา โดยที่ 1 ช้อนชาเทียบเท่ากับ 5 ซีซี ห้ามใช้ช้อนชาที่ใช้ชงชากาแฟ เพราะช้อนที่ใช้ชงชากาแฟในแต่ละบ้านมีขนาดไม่เท่ากันและมีปริมาตรน้อยกว่า 5 ซีซี ถ้านำมาตวงยาจะทำให้เด็กได้รับยาน้อยกว่าที่ควร
พาราเซตามอลชนิดหยดสำหรับเด็กเล็ก มีขนาดความแรงสูง (100 มิลลิกรัมต่อ 1 ซีซี) ต้องให้โดยใช้หลอดหยดซึ่งมักจะมีมาพร้อมกับขวดยาในกล่อง ให้สังเกตที่หลอดหยดยาจะมีปริมาตรบอกไว้ เป็น 0.3 ซีซี 0.6 ซีซี หรือ 1 ซีซี ให้ดูดยาตามปริมาตรที่แพทย์สั่ง บางครั้งบนฉลากจะระบุว่าให้ป้อนยาเด็ก 1 หลอด ก็ต้องใช้หลอดดูดยาที่มีให้มากับยาขวดนั้น ห้ามเทลงในช้อนชาโดยเด็ดขาด เพราะ 1 หลอดไม่เท่ากับ 1 ช้อนชา หากป้อนยาให้เด็ก 1 ช้อนชาก็จะทำให้เด็กได้รับยาเกินขนาดอย่างมาก
ขนาดยาพาราเซตามอลปกติในเด็กคือ 10-15 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อครั้ง ทุก 4-6 ชั่วโมง เวลามีไข้ ขนาดยาสูงสุดไม่เกินวันละ 5 ครั้ง ควรให้ยาพร้อมกับการเช็ดตัวลดไข้ที่ถูกวิธี แต่ถ้าเด็กยังคงมีไข้สูงและซึมลง ควรพบแพทย์เพื่อพิจารณาหาสาเหตุอีกครั้ง
แอสไพรินและไอบูโพรเฟน เป็นยาอีก 2 ชนิดที่เลือกใช้ลดไข้เด็กได้
แอสไพริน เป็นยาเม็ด มีขนาดเม็ดละ 60 มิลลิกรัม ขนาดยาจะแปรไปตามอายุของเด็ก กล่าวคือ เด็กอายุ 1 ปีให้ครั้งละ 1 เม็ด ทุก 8 ชั่วโมง และให้ได้สูงสุดไม่เกินครั้งละ 5 เม็ด
ไม่ให้แอสไพรินในยเด็กที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก อายุต่ำกว่า 16 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่ติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ โรคอีสุกอีใส เพราะอาจเกิดความผิดปกติรุนแรงของสมองและตับ โดยเป็นโรคที่เรียกว่า ไรย์ซินโดรม (Reye’s syndrome)
ไอบูโพรเฟน มีชนิดยาเม็ดในขนาด 200, 400, 600, 800 มิลลิกรัม ยาน้ำชนิดหยด ขนาด 200 มิลลิกรัมต่อ 1 ช้อนชา ยาน้ำเชื่อม และยาน้ำแขวนตะกอน ขนาด 100 มิลลิกรัมต่อ 1 ช้อนชา ขนาดยาปกติในเด็กคือ 5 – 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อครั้ง ทุก 8 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดไม่เกิน 40 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน
ยาน้ำสำหรับเด็กต้องเขย่าขวดก่อนใช้ และจะใช้ในกรณีที่ใช้ยาพาราเซตามอลอย่างเดียวแล้วไข้ไม่ลง ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยและเลือกให้ยา ไม่ควรให้ยาไอบูโพรเฟนตอนท้องว่าง เพราะยาระคายกระเพาะอาหาร แต่ก็ไม่ควรหยอดยาลงในนม เพราะยาอาจทำให้รสชาติของนมเปลี่ยนไป และเด็กอาจไม่ยอมกินนม
ไม่ให้ไอบูโพรเฟนในเด็กที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากยาจะทำให้มีภาวะเลือดออกรุนแรงขึ้น และไม่ใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน
ควรมียาลดไข้ไว้ประจำบ้านหรือไม่
ยาพาราเซตามอล เป็นยาที่ใช้ได้ผลดีมากสำหรับการลดไข้ในเด็ก จึงควรมีไว้เป็นยาสามัญประจำบ้าน แต่ควรพิจารณาขนาดและรูปแบบยาที่เหมาะสมสำหรับเด็กในแต่ละช่วงอายุ หากมีปัญหาในการเลือกใช้ยาควรปรึกษาเภสัชกร
โดยสรุปแล้วการใช้ยาลดไข้ในเด็กมีประโยชน์อย่างยิ่งถ้าใช้ถูกขนาด ถูกวิธี และเพื่อให้ปลอดภัยในการใช้ยาควรปรึกษาเภสัชกร


ขอบคุณ healthtoday






Create Date : 14 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2552 7:12:44 น. 0 comments
Counter : 1208 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

tanas251235
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]






space
space
[Add tanas251235's blog to your web]
space
space
space
space
space