space
space
space
<<
มีนาคม 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
23 มีนาคม 2552
space
space
space

วิถีชีวิตแห่งโยคะ (ตอนที่ 1)






สวัสดีปีใหม่ พ.ศ.2552 ครับ คอลัมน์โยคะช่วงที่ผ่านมา ผมได้ทยอยแปลโยคะบำบัด ของครูกุลวัลยนันท์ ผู้ก่อตั้งสถาบันโยคะไกวัลยธรรม ประเทศอินเดีย จนเสร็จสิ้นลง ตั้งใจจะรวมเป็นเล่ม เพื่อเผยแพร่ไปยังผู้สนใจเรื่องโยคะบำบัด ซึ่งนับวันจะเพิ่มมากขึ้นๆ

ส่วนปี พ.ศ.2552 นี้ ตั้งใจจะเขียนเกี่ยวกับ "วิถีทางแห่งโยคะ" โดยการนำภูมิปัญญาโบราณของชาวตะวันออก มาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของคนยุคอินเทอร์เน็ต ให้พวกเรามีชีวิตที่สมดุล มีความหมาย มีความอิ่มเต็มในจิตใจ ในจิตวิญญาณ

ปลายเดือนพฤศจิกายนปี พ.ศ.2551 ได้มีโอกาสไปร่วมงานแถลงข่าว Healthy & Beauty Contest ซึ่งจะจัดขึ้นช่วงปลายเดือนมกราคมนี้ มีองค์กรต่างๆ และสื่อมวลชนหลายๆ ฉบับที่ผมไม่คุ้นเลย (ไม่รู้ว่าสื่อฯ เพิ่มขึ้นเร็วมาก หรือเรามัวแต่ฝึกโยคะ) จึงเตรียมที่จะไปแนะนำสถาบันโยคะวิชาการ ว่าเราเป็นใคร มาจากไหน ปรากฏว่าเขารู้จักสถาบันฯ กันหมด รู้ว่าเราทำโยคะแนววิชาการ ก็รู้สึกดีใจเหมือนกันที่สังคมมีความคุ้นเคยกับโยคะวิชาการ เพราะถ้าจะพูดถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน สิ่งสำคัญก็คือ ข้อมูล ความรู้ วิชาการ นั่นเอง

เข้าเรื่องวิถีทางแห่งโยคะกันดีกว่า
ใครที่อ่านตำราปตัญชลีโยคะสูตร ก็จะรู้ว่าวิถีแห่งโยคะนั้น ประกอบด้วยอัษฎางค์โยคะ หรือหนทาง 8 ประการ แต่ทำไมผู้คนในสังคมจึงยังคงฝึกโยคะกันเป็นก้อนๆ ฝึกกันแบบแยกส่วน คือฝึกกันแต่ท่าโยคะ ที่น่าสังเกตคือคนสนใจโยคะกันมากมาย หนังสือโยคะขายดิบขายดีกันมาก แต่ไม่เห็นผู้คนบรรลุโยคะกันตามสัดส่วนเลย ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่เราจะพูดถึงวิถีโยคะโดดๆ หากแต่เราต้องพูดถึงวิถีโยคะในภาพรวมทั้งหมด กล่าวคือเพื่อจะให้ "วิถี" มีความสมบูรณ์ เราต้องคำนึงถึงเป้าหมาย และจุดเริ่มต้นจริงๆ แล้วเราต้องพูดถึงเป้าหมายของโยคะ และจุดเริ่มต้นของผู้ฝึกโยคะ ก่อนจะพูดถึงวิถีโยคะด้วยซ้ำ

ปตัญชลีโยคะสูตรมีอยู่ 4 บท รวม 196 ประโยค ประโยคสุดท้ายคือบทที่ 4 ประโยคที่ 34 กล่าวไว้ว่า
"เมื่ออคติหรือการตีความต่างๆ นานาของจิตหมดไป สภาวะเดิมแท้ก็ปรากฏขึ้น สภาวะเดิมแท้นี้ก็คือ จิต (ที่ทำหน้าที่รู้) กับ กาย (อันเป็นสิ่งที่ถูกจิตรู้) กลับคืนสู่ธรรมชาติเดิมแท้ คือต่างฝ่ายต่างดำรงอยู่โดยเป็นอิสระจากกัน (จากที่เดิมจิตไปตู่เอาเองว่ากายนี้เป็นของฉัน) จิตที่เป็นอิสระนี้ เรียกว่าไกวัลย อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของการฝึกโยคะ (อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของการเกิดมาเป็นมนุษย์) PYS 4.34"

ไม่ทราบผู้อ่านรู้สึกเหมือนผมในขณะนี้หรือไม่ คือยิ่งอ่านตำราก็ยิ่งตระหนักถึงคุณค่าของโยคะในการพัฒนาจิต (ไม่ใช่การพัฒนากาย) ประโยคสุดท้ายของโยคะสูตร บ่งบอกชัดเจนว่าจิตมนุษย์ในธรรมชาติแท้นั้น มัน "รู้" อย่างเดียว รู้อย่างซื่อๆ รู้ด้วยความเป็นกลาง ไม่มีอะไรนอกเหนือไปจากการ "รู้" และจิตที่รู้ลูกเดียวนั้นเป็นไกวัลย หรือ "บรมสุข"
Ž
แล้วไอ้ทุกข์ต่างๆ ของเรามาจากไหน ก็มาจากจิตที่มันทำหน้าที่อื่นๆ ให้เราด้วย ในทรรศนะของปตัญชลี นอกจาก "รู้" จิตยังงานหลักๆ อีก 2 - 3 อย่าง แต่จะขอกล่าวแค่ 2 อย่าง คือ 1) จำสิ่งที่ผ่านมา กับ 2) คิดไปถึงสิ่งที่ยังไม่เกิด

หน้าที่ของจิต 2 ประการนี้ ก็เป็นสิ่งจำเป็นนะ (ไม่งั้นมนุษย์ก็ดำเนินชีวิตไม่ได้นะ) ปัญหาจริงๆ ของเราคือ เมื่อใช้จิตทำหน้าที่ 2 ประการนี้แล้ว เราไปกอด ไปรัดมันไว้อย่างเหนียวแน่น ไม่ปล่อย ไม่วางมัน ไปยึดมันไว้จนแนบแน่น อะไรๆ ก็ต้องไปผูก - ไปเทียบกับสิ่งที่ผ่านมา อะไรๆ ก็ต้องจินตนการล่วงหน้าไว้ก่อน ที่รวมเรียกว่าอคตินั่นเอง

การที่เรามาฝึกโยคะกัน ผลที่เราจะได้รับก็คือการมีจิตรับรู้สิ่งต่างๆ โดยปราศจากอคติ การมีจิตที่หยุดการตีความ หยุดการใส่สีใส่ไข่ หยุดการให้ค่าว่านั่นดี นี่ไม่ดี หยุดการเกลียดความชั่ว หยุดการรักความดี เพราะความดี - ความชั่ว แม้จะมีความสำคัญในระดับการดำเนินชีวิตเบื้องต้น แต่ในเบื้องปลายแล้ว ก็ถือว่าเป็นการตีความของจิตอยู่ดี

ผู้อ่านนิตยสารหมอชาวบ้านนี้ คงเห็นเช่นเดียวกับผมว่าเป็นเรื่องไม่เหมาะ ไม่ควรเอามากๆเลย ที่จะฝึกโยคะโดยไม่มีความรู้เกี่ยวกับโยคะสูตร เมื่อตระหนักเช่นนี้แล้ว บทบาทสำคัญประการหนึ่งในการเผยแพร่โยคะก็คือการรณรงค์ให้คนฝึกโยคะมีโอกาสเข้าถึงตำราดั้งเดิม ผมเชื่อว่ามนุษย์ไม่เคยปฏิเสธสิ่งที่ดีกว่า เมื่อยังไม่มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลความรู้ เขาก็จะฝึกโยคะในขอบเขตที่จำกัด ครั้นเมื่อมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลความรู้ การฝึกโยคะของเขาก็จะโน้มเข้าใกล้ประโยคสุดท้ายของโยคะสูตรมากขึ้นๆ

ผมเชื่อว่าผู้อ่านคงเห็นเช่นเดียวกับผม ถ้าคนสนใจฝึกโยคะทุกคนตั้งต้นจากประโยคสุดท้ายของโยคะสูตรนี้ โลกใบนี้อันเต็มไปด้วยคนฝึกโยคะมากมายไปหมด คงสงบ ร่มเย็น และน่าอยู่มากๆ เลย เฮ้อ...



ขอบคุณ หมอชาวบ้าน



Create Date : 23 มีนาคม 2552
Last Update : 23 มีนาคม 2552 7:11:41 น. 0 comments
Counter : 1137 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

tanas251235
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]






space
space
[Add tanas251235's blog to your web]
space
space
space
space
space